ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอพนัสนิคม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Billner2009 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 38:
[[ไฟล์:Bkkphranangklao0609.jpg|300px|thumb|right|[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม]]
 
ช่วงเมืองพนัสนิคม โดยกำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]มีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทราในปี พ.ศ. 2371 และพระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน พนัศนิคมเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทพิศาล (บางเอกสารเขียน เขียน”อินพิศาลพิศาล”) ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชยศรีวิไชย (บางเอกสารเขียน ศรีวิชัยเขียน”ศรีวิชัย”) อุปฮาดเมืองนครพนมและเป็นโอรสในพระบรมราชา(ท้าวกู่แก้ว) เจ้านายเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทรอาษา (บางเอกสารเขียน เขียน“อินทอาษา, อินทราษาษา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทรอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180)
ลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม ประมาณ 2 พันคน การอพยพครั้งแรกนำโดยท้าวไชยศรีวิไชย อุปฮาดเมืองนครพนม บุตรชายชองเป็นโอรสในพระบรมราฃา (ท้าวอุ่นเมืองกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนมคนเก่า ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (ท้าวมังสุดตา) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน คนลาวนครพนมกลุ่มนี้จึงได้ไปอยู่เมืองพนัสนิคมในเวลาต่อมา
 
ใน พ.ศ. 2372 พระอินทรอาษา เจ้าเมืองพนัสนิคม ได้ไปเกลี้ยกล่อมครอบครัวลาวเมืองนครพนมมาอยู่ที่เมืองพนัสนิคมอีกจำนวนหนึ่ง