ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Kongkham6211/กระบะทราย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kongkham6211 (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กระบะทรายผู้ใช้}} <!-- กรุณาทดลองเขียนหรือร่างบทความใต้บรรทัด...
 
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:11, 23 กันยายน 2561

การพัฒนาแผนแม่บทสวนสัตว์ : ทำไมแผนแม่บทจึงมีความสำคัญต่อสวนสัตว์ ( Developing a Zoo Master Plan : Why is master planning particularly important for zoo )

'จุดประสงค์ของการเขียนแผนแม่บท ( Purpose )

         ความคาดหวังของประชาชนและสังคมกับสวนสัตว์มีในหลายมิติมากขึ้นกว่าเดิม  ที่เป็นสถานที่จัดแสดงสัตว์ป่า  การพัฒนาสวนสัตว์จะต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งในการบรรลุสู่เป้าหมาย  ความผันแปรในเรื่องการเมืองทั้งภายในและภายนอกองค์กรมีอยู่อย่างต่อเนื่อง  จากเหตุผลส่วนหนึ่งที่กล่าวมา  ทำให้การตัดสินใจทำในเรื่องที่ถูกต้องและเหมาะสม  เพื่อความสำเร็จในอนาคต
         แผนแม่บทคือเอกสารที่ถูกจัดทำขึ้นจากแผนงานของสวนสัตว์ในเนื้อในส่วนของนโยบาย ( policy )  แนวทางการปฏิบัติ ( guideline )  และลำดับของงาน ( priorities )  เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นแนวทางในการพัฒนาและวิวัฒนาการของสวนสัตว์  ผู้เขียนจะต้องมีกระบวนการที่จะระดมความคิดจากทุกส่วนงาน  ที่อาจจะมีหน่วยงานจากภายนอกหรือไม่ก็ได้  
         ข้อดีของการใช้ทีมเขียนแผนแม่บทเป็นทุกฝ่ายในสวนสัตว์คือ  เป็นผู้รู้รายละเอียดในสวนสัตว์  เมื่อเขียนแผนเสร็จก็จะเป็นผู้ผลักดัน  ควบคุมการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย  การนำกลุ่มบุคคลจากภายนอกที่มีประสบการณ์ในด้านของการวางแผน  การออกแบบส่วนแสดง มาร่วมในการเขียนแผนซึ่งจะได้มุมมองแบบใหม่ในการพัฒนาสวนสัตว์
         การมีแผนแม่บทเป็นการงานที่ใช้การระดมความคิดจากทุกฝ่ายในสวนสัตว์เพื่อไม่ให้เกิดการพัฒนาในลักษณะที่มาจากผู้บริหารที่ขึ้นมาและออกไปแต่เพียงฝ่ายเดียว  ซึ่งผู้บริหารแต่ละท่านมีแนวคิดที่แตกต่างกัน  ทำให้การพัฒนาสวนสัตว์ออกมาในรูปที่ไร้ทิศทาง  การมีแผนแม่บทและได้รับการรับรองจากคณะผู้บริหารระดับสูงแล้ว  งานต่อไปคือในการของบประมาณเพื่อดำเนินการก่อสร้าง  ผู้บริหารสวนสัตว์จะต้องอ้างอิงจากแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาเกิดเป็นอัตลักษณ์ที่ทุกฝ่ายร่วมกันคิด ว่าสวนสัตว์ในอนาคตควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไรอย่างมีทิศทาง  การเขียนแผนแม่บทควรมีการเขียนทุก 5 ปี  เพื่อให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนของสังคมและการเมืองในองค์กร
         แผนแม่บทจะมีความแตกต่างจากการออกแบบส่วนแสดงในเรื่องของขนาด  ขอบเขตของเนื้อหา  และตารางเวลาในการทำงาน  แผนการพัฒนาองค์กรโดยพื้นฐานจะประกอบด้วย 3 แผนตามลำดับคือ แผนกลยุทธ ( strategic Planning )  แผนแม่บท ( Master Plan )   และแผนโครงการ ( Project Design )
         ขั้นตอนในกาทำแผนกลยุทธคือ การแยกแยะความแตกต่างระหว่างเป้าหมายพื้นฐาน ( Fundamental goals )  และวิสัยทัศน์ขององค์กร ( overall vision of the institution )  ซึ่งแผนกลยุทธจะอยู่ในลักษณะคำบรรยาย  ที่มีภาพประกอบและข้อมูลทางสถิติ  โดยขอบเขตเนื้อหาจะประกอบด้วย  ประวัติศาสตร์สวนสัตว์  เป้าหมายในอนาคต  วิสัยทัศน์  แผนการเพาะขยายพันธุ์และควบคุมประชากร  กลยุทธการตลาด  กลยุทธด้านการเงิน  แผนความร่วมกับองค์กรณ์ภายนอก  เป้าหมายงานให้การศึกษา  และวันเวลาในการปฏิบัติงานตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุดแผน  
         แผนแม่บทคือการมองไปในอนาคต 5 -25 ปี  ขนาดของแผนแม่บทจะมีขอบเขตที่จำเพาะกว่าแผนกลยุทธที่จะมองในหลายหัวข้อขององค์กร  แต่แผนแม่บทจะมองในเรื่องของกายภาพของสวนสัตว์เป็นหลัก  แผนแม่บทมีขอบเขตที่กว้างกว่าเอกสารการออกแบบส่วนแสดง  โดยจะมองในด้านกายภาพของสวนสัตว์เช่น  เส้นทางการเข้าสู่สวนสัตว์  แนวคิดการวางสิ่งปลูกสร้างและถนน ซึ่งจะมีความเชื่อมโยงกับส่วนแสดงอื่นๆ อย่างไร  สวนสัตว์กำลังจะเล่าเรื่องราวอะไรแก่นักท่องเที่ยว  การเคลื่อนที่ของผู้เที่ยวชมในสวนสัตว์จะเป็นรูปแบบใด  การวิเคราะห์พื้นที่  รูปแบบการจัดโซนพื้นที่และช่วงเวลาในการออกแบบและก่อสร้าง  
         การออกแบบโครงการ ( project Design )  คือการออกแบบกลุ่มส่วนแสดง  หรือส่วนแสดงแห่งเดียว  จะเป็นการเปลี่ยนข้อความให้เป็นรูปแบบบที่จัดต้องได้มากขึ้น  ช่วงระยะเวลาของโครงการอยู่ในช่วง 6 เดือน ถึง 3 ปี  ประกอบด้วย เช่น  แนวกันสัคว์  ( barrier  type )  วัสดุที่เลือกใช้  การติดตั้งอุปกรณ์ส่งเสริมพฤติกรรมสัตว์  ขนาดและรูปทรงของส่วนแสดง  รูปแบบของทางเดิน  
         ในแต่ละขั้นของการพัฒนาจะต้องมีเอกสารอ้างอิงที่มาที่ไป  แผนแม่บทจะอ้างอิงจากแผนกลยุทธ  แต่ละแผนโครงการก่อสร้างต้องอ้างอิงจากแผนแม่บท  รวมทั้งในขณะที่กำลังเขียนแผนงานโครงการ  หากมีข้อมูลใหม่  ข้อมูลที่มีเหตุผลก็สามารถกลับมาทบทวนแผนแม่บท ( re-thinking in the master plan )  โดยแผนทั้งสองส่วนต่างเป็นเอกสารอ้างอิงซึ่งกันและกัน  จนกระทั่งแผนงานโครงการที่เขียนออกมาเหมาะสมกับพื้นที่ก่อสร้าง
         ขอบเขตของแผนแม่บทจะลงในรายละเอียดมากกว่าแผนกลยุทธ  โดยจะลงเฉพาะรายละเอียดทางกายภาพในพื้นที่สวนสัตว์  แต่มีขอบเขตกว้างกว่าแผนงานก่อสร้างส่วนแสดงหรือสิ่งปลูกสร้าง  โดยแผนแม่บทจะบอกในภาพกว้างของลักษณะทางกายภาพของส่วนแสดงนั้นและแนวคิดการจัดแสดง  การจัดการสัตว์  การวางรูปแบบส่วนแสดงและถนน  ซึ่งตำแหน่งที่สร้างเหมาะสมกับการรูปแบบการพัฒนาของสวนสัตว์หรือไม่  การเคลื่อนที่ของนักท่องเที่ยว  เรื่องราวที่จะนำเสนอแก่นักท่องเที่ยวในแต่ละโซน  สิ่งแวดล้อมเช่น ต้นไม้  ก้อนหิน  พืชล้มลุก  ศิลปะ วัฒนธรรมที่ต้องการจะสอดแทรกลงในส่วนแสดงหรือโซนส่วนแสดง  
         แผนแม่บทเป็นแผนที่มีกรอบความคิดสำหรับภาพในอนาคตที่ต้องการให้สวนสัตว์นี้เป็น  โดยใช้แผนกลยุทธเป็นเอกสารประกอบพื้นฐาน  ซึ่งเมื่อเขียนแผนแม่บทเสร็จจะนำไปสู่แผนงานโครงการ ( Project Planing )  และ การออกแบบส่วนแสดงต่อไป ( Exhibit Design )  ซึ่งการมีแผนแม่บทจะช่วยให้มีทิศทางชัดเจนในการพัฒนา  แต่อย่างไรก็ตามควรเป็นแผนที่มีความยืดหยุ่น  เพียงพอสำหรับความผันแปรที่อาจจะเกิดขึ้น  แผนแม่บทที่ทำเสร็จสิ้นแล้วจะมีการนำไปใช้ประโยชน์ในหลายช่องทาง  เช่น  นำไปใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์  เพื่อการของบประมาณ  เพื่อการขอทุนสนับสนุน  ซึ่งการเขียนแผนที่ทำได้อย่างชัดเจน  เข้าใจง่าย  มีภาพประกอบ  มีผู้นำเสนอที่ทำได้อย่างน่าสนใจ  จะช่วยในการนำเสนออนาคตอันใกล้ของสวนสัตว์ไปสู่สังคมและผู้สนับสนุน  
         เนื่องจากเป็นงานเขียนที่ใช้ข้อความเป็นองค์ประกอบหลัก  ข้อความต้องกระชับ  ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญ  ทำให้มองเห็นภาพในอนาคต  ไม่ควรเกิน  30,000 คำ  และร้อยละ 75  ควรเป็นภาพวาด  ตาราง  แผนที่  ภาพประกอบแบบอื่นๆ  โดยผู้อ่านเอกสารจะเป็น  เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ  นักธุรกิจ  ประชาชนทั่วไป  และผู้ออกแบบสวนสัตว์ในอนาคต
    ขั้นตอนการทำแผนแม่บท

1. ทำความเข้าใจแผนกลยุทธของสวนสัตว์ ความต้องการและแนวโน้มของผู้เที่ยวชมในปัจจุบัน 2. วิเคราะห์ทรัพย์สินที่มี รวมทั้งองค์ประกอบทางธรรมชาติ พืชพันธุ์ ลักษณะพื้นที่ วัฒนธรรม ( ประวัติศาสตร์ ศาสนา และคู่แข่งทางการตลาด ) สิ่งแวดล้อม ( อุณหภูมิ สภาพภูมิอากาศ ) สิ่งปลูกสร้าง ระบบน้ำ ไฟฟ้า 3. ต้องกำหนด “ Dominant Organization theme ” ตัวอย่างเช่น สวนสยามทะเลกรุงเทพ สวนสัตว์นครราชสีมา ซาฟารีอีสาน 4. การทำวิจัยทางการตลาดเพื่อหาลักษณะของผู้เที่ยวชม ชนิดสัตว์และส่วนแสดง ที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้เที่ยวชม 5. การจัดการการเคลื่อนที่ของผู้เที่ยวชมและเจ้าหน้าที่ในสวนสัตว์ 6. การกำหนดขนาด จำนวน สิ่งปลูกสร้าง ส่วนแสดง ชนิดสัตว์ สำหรับผู้เที่ยวชม โดยอาศัยพื้นที่ งบประมาณ และความต้องการของฝ่ายต่างๆ 7. การแบ่งช่วงเวลา การปฏิบัติงานออกเป็นช่วงๆ


การสำรวจตัวเองของสวนสัตว์ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ( Understanding the Zoo’s Present and Future )

         ก่อนที่แผนแม่บทจะเป็นสำเร็จเป็นเอกสารที่มีเนื้อหาครบถ้วน  การประชุมเพื่อหาจุดร่วมที่ลงตัวของทีมออกแบบ  ทั้งจากสวนสัตว์และทีมที่ปรึกษา  เพื่อให้เกิดการตกผลึกสำหรับภาพในอนาคตของสวนสัตว์ควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร  
         แผนกลยุทธจะแสดงออกมาในรูปของงานการตลาด  การให้บริการแก่นักท่องเที่ยว  ชนิดสัตว์ที่จะบำรุงเลี้ยงเพื่อจุดประสงค์  งานให้การศึกษา  ( interpretation )  และการมีส่วนร่วมกับผู้ประกอบการและสังคม ( partnership )  
         ทุกงาน  ทุกฝ่ายในสวนสัตว์จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนแม่บท  โดยจะต้องอยู่บนพื้นฐานของรายละเอียดในปัจุบัน  ในการที่จะมองภาพในอนาคต  

การวิเคราะห์พื้นที่ ( Site Analysis ) ขั้นตอนที่ 1 ในการพัฒนาแผนแม่บทสำหรับอนาคต คือ การทำระเบียนทรัพยากร และข้อจำกัด การวิเคาระห์พื้นที่เป็นการตรวจสอบสิ่งปลูกสร้างที่เกิดขึ้นแล้ว โดยจะมองในมิติของข้อดี ข้อด้อย โอกาสและข้อจำกัด ( SWOC ) ตัวอย่างเช่น มุมหนึ่งของสวนสัตว์จะมีเสียงดัง มีต้นไม้ใหญ่ที่บัดบังแสงแดด ซึ่งมีผลดีต่อสัตว์ในแง่ที่เป็นร่มเงา จุดแข็งเป็นจุดที่ต้องยกขึ้นมาเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดี ต้องรักษาให้มีคุณภาพที่คงที่ และจะต้องถูกนำเสนอให้เป็นเป้าหมายหนึ่งของวิสัยทัศน์ หรือในแผนกลยุทธ ตัวอย่างจากสวนสัตว์ เช่น เป็นสวนสัตว์ที่อยู่ในเมืองใหญ่ที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาได้โดยสะดวก มีต้นไม้ใหญ่เป็นร่มเงาร่มรื่น สภาพอากาศไม่หนาวมากจนเกินไป สัตว์สามารถอยู่ในส่วนแสดงกลางแจ้งได้ตลอดทั้งปี มีสิ่งปลูกสร้างที่เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของเมือง มีแหล่งน้ำที่เป็นประโยชน์ โดยเป็นทั้งแหล่งน้ำสำรอง เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมทางน้ำ และเป็นภาพที่สวยงามน่าประทับใจของสวนสัตว์ แผนแม่บทจะต้องรักษาจุดแข็งนี้ไว้ และใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ให้เต็มที่ จุดอ่อน หมายถึงประเด็นที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งต้องได้รับการปรับปรุง ส่วนแสดงที่ทรุดโทรมต้องปรับปรุง การวางส่วนแสดงและเส้นทางเมื่อนักท่องเที่ยวผ่านประตูเข้ามาแล้วไม่ทราบว่าจะเริ่มในการเที่ยวชมอย่างไร ขาดพื้นที่นั่งพักผ่อน ไม่มีที่เติมน้ำดื่ม ไม่มีป้ายบอกเส้นทาง โอกาศ เป็นองค์ประกอบของพื้นที่ที่ยังไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึง หรือยังใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ด้านข้างที่สามารถนำไปใช้เป็นฉากหลังของส่วนแสดงได้ พื้นที่ที่น้ำท่วมและมีลักษณะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำสามารถดัดแปลงสร้าเป็นส่วนแสดงของสัตว์ในกลุ่ม wetland species ได้ มีเส้นทางจักรยานที่เริ่มจากใจกลางเมืองที่สามารถประชาสัมพันธ์การเดินทางมาเที่ยวชมสวนสัตว์อีกเส้นทางหนึ่ง การทำ Site Analysis จะเป็นการทบทวนจุดที่ถูกละเลย ( look beyond ) ในส่วนของประโยชน์ ( function) ที่ปรากฏในปัจจุบัน และได้ดำเนินงานต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ว่างเปล่าด้านตะวันตกเฉียงเหนือของสวนสัตว์สามารถปรับปรังเป็นพื้นที่ทานอาหารที่นักท่องเที่ยวเตรียมมาเอง ( Service Yard ) ข้อจำกัดของพื้นที่คือ สิ่งปลูกสร้างที่ได้ก่อสร้างเสร็จสิ้นไปแล้ว ไม่สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรได้ สิ่งปลูกสร้างบางแห่งจะถูกเก็บรักษาไว้เนื่องจากเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ พื้นที่สวนสัตว์ที่ไม่สามารถเพิ่มได้แล้วเนื่องจากติดกับพื้นที่ราชการหรือเอกชน จะเห็นได้ว่าในประเด็นเดียวกันอาจจะเป็นได้ทั้งจุดแข็ง โอกาศและข้อจำกัดจะขึ้นอยู่กับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ที่เขียนไว้ในแผนกลยุทธ เช่น สิ่งปลูกสร้างที่มีอายุมาก ที่อาจมีจึดมุ่งหมายที่จะรื้อ แต่ถูกขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งปลูกสร้างทางประวัติศาสตร์ ก็จะกลายเป็นจุดแข็งโดยเป็น historic character ของสวนสัตว์ที่ควรต้องมีการปรับปรุงใหม่ หรือถ้าเป็นข้อจำกัดก็จะทำการตกแต่งพื้นที่เพื่อที่จะให้มองภาพรวมว่ามีขนาดลดลง ยกตัวอย่าง SWOC ที่สวนสัตว์ Woodland Park Zoo จุดแข็งคือ มีสภาพอากาศที่ไม่หนาวรุนแรง ทำให้สามารถจัดแสดงสัตว์ในพื้นที่กลางแจ้งได้ทั้งปี ไม้ดอกไม้ประดับสามารถปลูกหมุนเวียนให้นักท่องเที่ยวชมใบและดอกได้ทุกฤดู จุดอ่อน มีกิจกรรมหลากหลายที่แย่งเวลา พื้นที่ความสนใจเช่น กิจกรรมกลางแจ้ง ขี่จักรยาน สวนน้ำ โอกาส มีพื้นที่ว่างเปล่าที่ยังไม่ได้พัฒนาที่มีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย สามารถนำไปตกแต่งเป็นฉากหลังได้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน ลำดับก่อนหลัง ( Prioritizing ) เป้าหมายทั้งหมดอาจจะยังไม่สามารถจัดทำให้เสร็จสิ้นในปีเดียว อาจจะต้องมีการจัดสรรก่อนหลัง ซึ่งทั้งทีมสวนสัตว์และทีมที่ปรึกษาจะต้องหาตารางเวลาที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายได้ ในการพิจารณาให้มองในแง่ความเชื่อมโยงในการพัฒนาสวนสัตว์ ในประเด็นของชนิดสัตว์ ส่วนแสดง ประสบการณที่จะเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะต้องรองรับความต้องการ ซึ่งการเขียนลำดับการพัฒนาส่วนใหญ่มักจะถูกเขียนไว้ในแผนกลยุทธ ซึ่งแผนดังกล่าวจะถูกเขียนเพิ่มเติมไว้ในส่วนของพื้นที่และเวลา ในเนื้อหาที่เกี่นวข้องกับลำดับจะประกอบด้วยรายการสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่ส่วนใด งบประมาณ รวมทั้งตารางเวลาในรายละเอียดก่อนหลัง ยกตัวอย่างในสวนสัตว์ Zoo Leipzing 1. ที่โซนปองโก้แลนด์จะกินพื้นที่มากว่า 1 ใน 4 ของสวนสัตว์ แต่มีชนิดสัตว์ 6 ชนิดจาก 950 ชนิด และจำนวนสัตว์ 40 ตัว จากทั้งหมด 1800 ตัว 2. รวมทั้งต้องมีข้อกำหนดให้ชัดเจนในการจัดแสดงเนื่องจาก รูปแบบส่วนแสดง Landscape Immersion จะเป็นรูปแบบที่ใช้พื้นที่มาก 3. ลิงเอฟ คือลิงไม่มีหางขนาดใหญ่ เช่น ลิงชิมแพนซี อุรังอุตัง กอลิลาร์เป็นชนิดสัตว์ที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจ ใช้เวลานานในการเที่ยวชม ในส่วนแสดงมีสถานีวิจัยอยู่ด้วย ตัวอย่างใน สวนสัตว์โอคลาโฮมา ได้แบ่งโครงการในอนาคตออกเป็น 2 ส่วน “ โครงการลำดับ 1 ..” และโครงการลำดับ 2 โดยโครงการลำดับ 1 จะเป็นส่วนหลักของสวนสัตว์ ( Central Core of The Zoo ) ซึ่งจะทำให้ทุกส่วนแสดงที่ควรได้รับการปรับปรุงเข้ามาอยู่ในแผนทั้งหมด การจัดลำดับสำคัญจะมีประเด็นที่ต้องนำมาพิจารณาคือการสร้างอัตลักษณ์ โดยทีมออกแบบจะต้องมีการวางแผนที่จะทำประเด็นนี้ให้มีความเด่นชัด โดยต้องให้ส่วนแสดงที่มีส่วนในการสร้างอัตลักษณ์ได้รับการปรับปรุงพัฒนาก่อน การเริ่มต้น Theme ของสวนสัตว์ ( Establishing an Organizational Theme )

        ธีม คือการสร้างความสอดคล้องกัน  เชื่อมโยงในเรื่องพื้นที่ ( ป้าย สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ ) กับประสบการณ์ของผู้เที่ยวชม  
       โดยตัวสัตว์และองคืประกอบในพื้นที่จะเป็นสิ่งยืนยันถึง  ข้อความหลัก  ซึ่งจะต้องทำตลอดทั่วทั้งสวนสัตว์เพื่อช่วยยืนยันในความสอดคล้อง  ประโยคที่เป็นหัวใจ  เป็น Theme ของสวนสัตว์จะต้องมีการสื่อสารที่สามารถจับต้องได้  มีความหมาย
         สวนสัตว์มานาน  และไม่ได้มีหลักการจัดการพื้นที่แบบเป็น ธีม  ส่วนแสดงที่มีจะไม่มีการเชื่อมโยงเช่น  เนื้อหา  ความสัมพันธ์ระหว่างกัน  เหมือนส่วนแสดงนั้นตั้งอยู่โดดเดี่ยวไม่สามารถจัดกลุ่มอะไรได้  หลักการพื้นฐานในการจัดการสัตว์คือ  ตอบได้ว่าส่วนแสดงที่อยู่ใกล้เคียงกันมีความสัมพันธ์กันด้วยเหตุผลใด  
         สวนสัตว์ Hannover จัดทำแผนแม่บทโดยตั้งเป้าหมาย  ฉากละคร ( Scenario ๗แทนสวนสัตว์ ( Menageries )  โดยจะมีหลายธีมที่นำมาใช้เช่น  วัฒนธรรมจากประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดของชนิดสัตว์ที่จัดแสดงในส่วนแสดง  พฤติกรรม  ความสัมพันธ์ทางสายวิวัฒนาการ  อนุกรมวิธาน  ความสัมพันธ์กับมนุษย์และระบบนิเวศวิทยา  โดยทีมออกแบบจะต้องถามตัวเองว่าสวนสัตว์จะสามารถมอบ  ประสบการณ์ที่มีเฉพาะในสวนสัตว์แห่งนี้เท่านั้น ( Unique Experience ) 
         แผนงานโดยภาพรวมจะกำหนดโดย Story ที่สวนสัตว์ต้องการจะเล่าให้นักท่องเที่ยวได้ทราบ  โดยเรื่องราว  เรื่องหนึ่งที่สวนสัตว์ใช้เล่าได้คือ  เช่น  ระบบนิเวศวิทยา  ( ecosystem )  ถิ่นที่อยู่ของสัตว์ ( Zoological )  เช่น  เอเชีย  แอฟริกา หรือ อเมริกา  bio-climate  เช่น  ทะเลทราย  ป่าเขตร้อน  ซึ่งการใช้รูปแบบใดแบบหนึ่งจะเป็นการช่วยกระตุ้นการเรียนรู้แก่นักท่องเที่ยว  โดยใช้การสื่อสารเข้าช่วยเช่น ป้ายให้การศึกษา ( Interpretive signage )  และ ใช้ ทางเดินเที่ยวชม ( main Visitor path ) เพื่อเชื่อมไปยังโซนที่แตกต่างกัน  หรือแบบหนึ่งคือการเรียงลำดับส่วนแสดงโดยใช้แนวคิดการติดตามความน่าสนใจ  จากงานวิจัยจากหลายสวนสัตว์พบว่าข้อความในงานให้การศึกษาจะสื่อไปถึงผู้เที่ยวชมได้ดีเมื่อมี emotional engagement  
 ( Configulation a circulation System )
        การเริ่มวาง  exhibit และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ  จะเกิดขึ้นติดตามมาเมื่อเรากำหนดวิธีการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง  และได้เขียน zoo experience จากเริ่มต้นจนกระทั่งจบ  การเดินรถทางเดียวจะช่วยในการควบคุม experience  ,  เรื่องที่เราพยายามจะเล่าในส่วนแสดงต่างๆ  และการสือความหมายด้วยวิธีการต่างๆ  จะเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เที่ยวชมสนุกสนานจากการเลือกและวางแผนการชมด้วยตัวเขาเอง  แต่ละส่วนแสดงจะเป็นส่วนเติมเต็ม  และคู่แข่งซึ่งกันและกัน  นอกจากส่วนแสดงแล้วส่วนอื่นๆ  ที่ต้องมองคือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ห้องน้ำ โรงอาหาร  ป้ายบอกทาง  ถนน  พื้นที่กิจกรรมเพื่อสร้างจังหวะที่เหมาะสมด้วย  
         ต้องคิดประเด็นเรื่องการเคลื่อนที่ของผู้เที่ยวชม  โดยมองความเชื่อมโยงในเรื่องของการวางทางเดินเท้า  สิ่งปลูกสร้าง  ส่วนแสดงและเรื่องราวที่จะนำเสนอแก่นักท่องเที่ยวที่จะสร้างความพึงพอใจ  ความปลอดภัย  งานให้การศึกษาและความบันเทิง  ทางเดินทางตรงหรือคดเคี้ยว  ส่วนแสดงจัดเรียงเป็นแนวตามทางเดิน  โดยจะเป็นแบบอยู่ 2 ข้าง  หรืออยู่ด้านใดด้านหนึ่ง  ทางเดินที่ผ่านเข้าไปในส่วนแสดง ( cutting through exhibit )  หรือจะวางส่วนแสดงไว้ที่ปลายทางเดินเท้า ลำดับที่ 2  ( second path )  
         สวนสัตว์หลายแห่งจะเป็น loop เดียวหรือแบบหลาย loop  ซึ่งจะเหมือนรูปแบบพื้นฐานของทางเดินเท้า  
         รูปแบบของถนน  ทางเดินชมสัตว์จะแบ่งเป็น Primary  Second และ Tertiary  โดยจะใช้ความกว้าง  วัสดุและรูปแบบการใช้งาน  primary pathway จะกว้าง 10 เมตร  เพื่อให้นักท่องเที่ยวใช้ stroller wagon และ wheelchair ได้  โดยวัสดุในการสร้างต้องเป็นวัสดุที่ทนทาน  และให้พิจารณาม้านั่งและป้ายเครื่องหมายบอกเส้นทาง  ส่วนถนน แบบ second และ tertiary ควรมีความกว้าง  4 และ 2  เมตร ตามลำดับ  โดยมีจุดประสงค์ที่จะให้การเคลื่อนที่ช้าลงและได้รับรู้เรื่องราวที่สวนสัตว์ต้องการสื่อมากยิ่งขึ้น  ป้ายอาจจะลดลง  พื้นผิวถนนให้แตกต่างจากถนนลำดับที่ 1 เช่น  ทางเดินยกพื้นด้วยไม้  ก้อนกรวด  เพื่อนำไปสู่พื้นที่จัดแสดง ( exhibit area )  
         ในส่วนของการวางตำแหน่งสิ่งปลูกสร้าง  ส่วนแสดงและแนวถนน  รูปแบบการเคลื่อนที่ของนักท่องเที่ยว  ต้องมีกรรมการของฝ่ายโยธา  เข้าร่วมพิจารณาด้วย  ในประเด็นเช่น  ถนนเส้นที่จะเป็นเฉพาะงานบริการ  ส่งอาหาร เก็บขยะ  หรือเส้นทางที่จะเข้าสู่ส่วนแสดงใดที่ต้องมีขนาดถนนให้รถเครนเข้าไปได้เพื่อใช้ในการยกก้อนหินหรือท่อนไม้ขนาดใหญ่  

การกำหนดขนาดของพื้นที่จัดแสดงสัตว์ พืนที่ของเจ้าหน้าที่เลี้ยงสัตว์และนักท่องเที่ยว

        ขนาดพื้นที่ของสัตว์ที่มีถิ่นที่อยู่ใน Africa Savannah  ต้องการ  จำนวนห้องน้ำที่เหมาะสมสำหรับจำนวยนักท่องเที่ยว  รูปแบบของพื้นที่คอกกักที่ลิงเอฟต้องการ  พื้นที่ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เลี้ยงสัตว์สำหรับปฏิบัติงาน  ในส่วนแสดงแห่งนั้นควรมีพื้นที่ขายของที่ระลึกเพื่อเพิ่มรายได้สวนสัตว์หรือไม่  มีพื้นที่สำหรับงานธุรการที่เพียงพอหรือไม่  งานที่ท้าทายอย่างหนึ่งคือ  ความสมดุลในการเฉลี่ย พื้นที่ เงินทุน  บุคลากรลงไปให้กับ  สัตว์  นักท่องเที่ยว  เจ้าหน้าที่  รวมทั้งการจัดทำแผนประชากรสัตว์ให้อยู่ในจำนวน  และคุรภาพที่ดีเพื่อการจัดสรรทรัพยากรไปยังสัตว์ทุกตัวด้รับประโยชน์  แผนแม่บทจะต้องทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเพื่อการวางแผนในอนาคต  แหล่งข้อมูลอีกแหล่งหนึ่งคือ  การใช้ตัวอย่างจากสวนสัตว์ที่มีขนาดพื้นที่  จำนวนนักท่องเที่ยว  จำนวนสัตว์ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน  รายได้ใกล้เคียงกัน  

การแบ่งการพัฒนาเป็นช่วงเวลา ( Phasing Plan )

         แผนแม่บทมีช่วงอายุประมาณ 5-20 ปี  แต่หลักใหญ่คืองบประมาณที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนตามที่เขียนไว้ตามแผนที่เขียนหรือไม่  แผนแม่บทจะเป็นรายงานเอกสารที่จะช่วยบอกว่างบประมาณที่จะต้องใช้ในแต่ละปี  แต่พบว่าในเหตุการณ์จริงจะมีความผันแปรอยู่มาก  ค่าก่อสร้างจะผันแปรตามค่าวัสดุก่อสร้าง  ความซับซ้อนของงานที่จะส่งผลต่อค่าแรงงาน  
         มีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นของเมื่อไหร่  อย่างไร  เช่น ในช่วงการก่อสร้างจะมีวิธีการจัดการสัตว์อย่างไร  มีช่องทางหรือช่วงเวลาที่เหมาะสมในการส่งวัสดุก่อสร้าง  ในส่วนของนักท่องเที่ยวที่สวนสัตว์ยังมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในส่วนแสดงอื่นๆ  สวนสัตว์จะต้องมีการจัดการเพื่อให้ไม่เกิดกรณี “ เข้ามาเห็นแต่งานก่อสร้าง  สร้างอะไรนักหนา  เมื่อไหร่จะจบเสียที เข้ามากี่ปีก๋เห็นแต่งานก่อสร้าง - ผู้แปลเพิ่ม ”  ในช่วงการปลูกต้นไม้ที่อย่างไรที่จะให้สวยสมบูรณ์ในวันเปิดส่วนแสดง  

การนำเสนอ ( Presentation ) แผนแม่บทที่ได้ดำเนินการจนเสร็จสมบูรณ์ ต้องมีการนำเสนอในหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เข้าถึงผู้รับที่มีหลายกลุ่ม เช่น เจ้าหน้าที่ของสวนสัตว์เอง ผู้ออกแบบส่วนแสดง ซึ่งต้องเลือกใช้ข้อความที่อ่านเข้าใจง่าย โดยประเด็นหลักการเชื่อโยงระหว่างพื้นที่กับเป้าหมายที่อยากจะให้เกิดขึ้น และต้องการให้เห็นภาพว่าในอนาคตที่กำลังจะมาถึงจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง การนำเสนอต้องใช้กราฟฟิค เช่นวงกลม ลูกศร การใช้สีที่แตกต่างกันเพื่อบอกให้ทราบถึงช่วงเวลาที่แตกต่างกัน แผนแม่บทควรเป็นแผนที่มีการเขียนในลักษณะที่มีเป้าหมายที่ชัดเจน แต่ให้มีความความยืดหยุ่นไว้ด้วย เพื่อให้เป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ประสบความสำเร็จ