ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กฎทรงพลังงาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pimpa waan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pimpa waan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
หากเราพิจารณาการการเปลี่ยนรูปพลังงานของวัตถุเฉพาะพลังงานกล(พลังงานจลน์กับพลังงานศักย์ถูกเรียกรวมว่าพลังงานกล)โดยไม่มีพลังงานอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องเลย จะได้การเปลี่ยนรูปพลังงานตามสมการที่เราคุ้นเคยกันดี
:<math>1/2 mv_1^2+mgh_1=1/2 mv_2^2+mgh_2</math><ref>Planck, M. (1923/1927). Treatise on Thermodynamics, third English edition translated by A. Ogg from the seventh German edition, Longmans, Green & Co., London, page 40.</ref>
 
== การอนุรักษ์พลังงานกล ==
 
เมื่อพิจารณาระบบที่มีวัตถุก้อนหนึ่งมวล <math>m</math> กิโลกรัม อยู่ภายใต้อิทธิพลของ''แรงอนุรักษ์ (Conservative force)'' เช่น แรงโน้มถ่วงของโลกหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การที่วัตถุก้อนนี้อยู่ในสนามโน้มถ่วงของโลก '''g''' มีขนาดคงตัวประมาณ <math>9.8 m/s^2</math> หรือแม้แต่ใช้กันโดยอนุโลมเป็น <math>10 m/s^2</math> โดยทั่วไปแล้วเราจะเรียกผลรวมของพลังงานศักย์โน้มถ่วง <math>E_p</math> และพลังงานจลน์ <math>E_k</math> ของวัตถุก้อนนี้ ณ ตำแหน่งหนึ่ง ณ ขณะหนึ่งว่า [[พลังงานกล]] (Mechanical energy) และเป็นที่ประจักษ์ว่าพลังงานกลของวัตถุก่อนหนึ่งๆ จะมีค่าคงตัวเสมอจึงได้เรียกกันว่า ''กฎการอนุรักษ์พลังงานกล (Law of conservation of mechanical energy)'' กล่าวโดยสรุป คือ
 
''ในขณะที่ระบบวัตถุหนึ่งๆอยู่ภายใต้อิทธิพลของแรงอนุรักษ์ ดังเช่นในกรณีแรงโน้มถ่วงของโลกที่กำลังพิจารณาอยู่นี้ จะได้ว่าพลังงานกลของระบบวัตถุนี้ คือผลรวมของพลังงานศักย์โน้มถ่วงและพลังงานจลน์ของระบบวัตถุนี้ย่อมมีค่าคงตัว''
 
เนื่องจากทั้งพลังงานศักย์โน้มถ่วงและพลังงานจลน์ มีหน่วยเดียวกัน นั่นคือ ''จูล(Joule)'' ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเมื่อวัตถุก้อนหนึ่งมีการเปลี่ยนรูปไปมาระหว่างพลังงานสองชนิดนี้ เราควรจะพิจารณาลักษณะของพลังงานที่เปลี่ยนจะดูสมจริงมากกว่าการอ้างถึงกฎการอนุรักษ์พลังงานกลเพียงอย่างเดียว
 
== Notes ==