ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กล้องดีเอสแอลอาร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Toys2541 (คุย | ส่วนร่วม)
Wut456 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติม ฝั่ง Nikon
บรรทัด 59:
หรือเรียกง่ายๆว่ากล้องตัวคูณ กล้อง DSLR ประเภทนี้จะใช้เซ็นเซอร์รับภาพที่มีขนาดเล็กกว่าขนาดฟิล์ม 35 มม. โดยมักจะเทียบเป็นขนาดเท่ากับฟิล์ม APS เช่น ในกล้องแคนนอน EOS 50D จะมีขนาดเซ็นเซอร์เท่ากับ 22.3x14.9 มม. ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับฟิล์ม APS-C ในขณะที่ฟิล์ม 35 มม. มีขนาด 36x24 เลยถูกเรียกว่าเป็นเซ็นเซอร์ขนาด APS-C และด้วยเหตุที่เซ็นเซอร์มีขนาดเล็กกว่าฟิล์ม 35 มม. ทำให้เวลาที่นำเลนส์มาใส่กับกล้องชนิดนี้ องศารับภาพของเลนส์ตัวเดิมจะแคบลง เช่น กล้องที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาด 22.3x14.9 มม. ซึ่งเล็กกว่าขนาดของฟิล์ม 35 มม. อยู่ 1.6 เท่า ทำให้เวลานำเลนส์ทางยาวโฟกัส 50 มม. มาใส่กับกล้องตัวคูณ องศารับภาพของเลนส์ 50 มม. ก็จะกลายเป็นเท่ากับเลนส์ 80 มม. ในกล้องฟิล์มแทน (มาจาก50x1.6) คือมีมุมที่แคบลง
2. กล้อง DSLR ที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาดเท่าฟิล์ม (Full Frame)
หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กล้องฟูลเฟรม (Full Frame) กล้องชนิดนี้จะใช้เซ็นเซอร์ที่มีขนาดใหญ่เท่ากับฟิล์ม 35 มม. คือใช้เซ็นเซอร์ขนาด 36x24 มม.ทำให้ได้สัดส่วนของภาพที่เท่ากับกล้องฟิล์ม เวลาที่นำเลนส์มาสวมจึงไม่ต้องคูณค่าใดๆเข้าไปเหมือนกับกล้องที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาด APS-C เลนส์ที่นำมาใช้จึงมีองศารับภาพเท่าเดิม ข้อแตกต่างที่สำคัญคือเซ็นเซอร์ชนิด Full Frame จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า ทำให้รับสัญญาณแสงได้ดีกว่า คุณภาพของภาพจึงดีกว่าและมีจุดรบกวน (์Noise) ที่ต่ำกว่า อีกทั้งระยะชัดหรือ Depth of Field ของภาพที่ได้จากกล้อง Full Frame ก็มีน้อยกว่า ทำให้สามารถเบลอฉากหลังได้ง่ายกว่ากล้องตัวคูณ ส่วนข้อเสียของกล้องแบบ Full Frame ก็คือ มีราคาที่แพงกว่ากล้องตัวคูณมาก ทั้งยังใช้ได้เฉพาะกับเลนส์ซีรีส์ EF (Canon) เท่านั้น ส่วน F Mount (Nikon) ยังคงสามารถใช้เลนส์ร่วมกับ DX Format ได้ โดย Nikon ใช้ชื่อรูปแบบ Full Frame ว่า FX Format
 
== ชนิดของเซ็นเซอร์รับภาพ ==