ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กะละแม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้ไขให้ข้อมูลกระชับ
บทสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ OTOP
บรรทัด 25:
 
ปาดเหงื่อกันเลยทีเดียวเพราะกรรมวิธีการกวน ต้องใช้เวลาเคี่ยว (กวน) ให้ข้าวเหนียวละลายเป็นเนื้อเดียวกับส่วนผสมต่างๆ หลายชั่วโมง ถึงจะได้ยาหนมหรือกาละแมที่มีรสชาดอร่อย แต่ทุกคนที่มาช่วยกันนั้นต่างก็สุขใจเพราะเป็นงานบุญ เป็นความสมัครสมานสามัคคีในหมู่เครือญาติแบบวิถีชนบท ซึ่งบรรยากาศแบบนี้จะเกิดขึ้นได้เฉพาะคนบ้านนอกเท่านั้น ซึ่งจะพบเห็นบ้างประปรายในปัจจุบัน ช่วงเทศกาลงานบุญเดือน 3 เดือน 5 เดือน 10 และ งานบวช งานแต่ง งานขึ้นบ้านใหม่ หรือ งานเทศกาลใหญ่ๆ ในแต่ละท้องถิ่น
 
== บทสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ OTOP กาละแมสูตรโบราณ น้าปรีดาคีรีรัฐนิคม สุราษฎร์ธานี-La'Mare ==
ด้วยความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการผลิตขนมกาละแม สูตรโบราณต้นตำหรับภาคใต้โบราณไว้ให้ยาวนานที่สุด ของตำบลบ้านยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี น้าปรีดาเล่าให้ฟังว่าได้รับการถ่ายทอดสูตรการทำกาละแมอายุยืนมาจากบรรพบุรุษรุ่นทวด สู่ยาย และรุ่นน้าปรีดา โดยจะทำกันในช่วงงานบุญ งานประเพณี โดยเฉพาะช่วงปากปี (ปีใหม่ไทยโบราณ) และ เดือน 10 (รับส่งตายาย)
 
จนกระทั่ง 30 ปีที่แล้ว ได้นำเอาสูตรขนมกาละแมมาทำอีกครั้งตามการส่งเสริมแนวคิดจากภาครัฐให้มีการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาสานต่ออนุรักษณ์ไว้ให้ลูกหลาน น้าปรีดาจึงได้เข้าร่วมเป็น OTOP ประจำตำบลบ้านยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในชื่อ "กาละแมสูตรโบราณ น้าปรีดาคีรีรัฐนิคม สุราษฎร์ธานี (La'Mare) ในปัจจุบัน
 
ด้วยความตั้งใจที่จะอนุรักษ์ขนมชนิดนี้ไว้ในแบบดั้งเดิม จึงยังคงไม่เปลี่ยนแปลงวิธีการปรุง คงใช้แรงงานคนกวนและกวนในกระทะเหล็กใบบัวใบใหญ่ ใช้ความร้อนจากถ่านฟืนเช่นเดิม มีการควบคุมสูตรปริมาณวัตถุดิบ การปรุง ให้ได้อัตราส่วนผสมและคงไว้ซึ่งกรรมวิธีการกวนในแบบฉบับโบราณ จึงทำให้ขนมกาละแม (ยาหนม) มีรสชาดที่หวานพอดี หอมกลิ่นกะทิและน้ำตาล ควันไฟจากถ่านฟืน ผสมผสานอย่างลงตัว คงไว้ซึ่งเสน่ห์ความอร่อยแบบดั้งเดิม กลายเป็นขนมไทยโบราณที่ "หาทานยาก" รสชาดถูกปาก ทุกเพศ ทุกวัย รับประทานครั้งแรก จะรู้สึกได้ถึง "ความอร่อยที่แตกต่าง" ในแบบฉบับขนมไทยโบราณ
 
== ขนมโดดอล ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กะละแม"