ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การบังคับบุคคลให้สูญหาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{{{แก้ไข}}} กรณีที่บุคคลถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐ
'''การบังคับให้บุคคลสูญหาย''' หรือภาษาปากเรียก '''การอุ้มหาย''' (forced disappearance หรือ enforced disappearance) เป็นคำใน[[กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ]] หมายถึง กรณีที่บุคคลถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐ [[political organization|องค์การการเมือง]] หรือบุคคลอื่นซึ่งได้รับอนุญาต การสนับสนุน หรือการรับรู้จากรัฐหรือองค์การการเมือง ลักพาตัวไป และรัฐ องค์การการเมือง หรือบุคคลอื่นดังกล่าว บอกปัดไม่รับรู้ชะตากรรมหรือถิ่นที่อยู่ของผู้หายตัวไป โดยจงใจจะให้ผู้นั้นอยู่ภายนอกความคุ้มครองของกฎหมาย<ref name="HenckaertsDoswald-Beck2005">{{cite book|author1=Jean-Marie Henckaerts|author2=Louise Doswald-Beck|author3=[[International Committee of the Red Cross]] |title=Customary International Humanitarian Law: Rules|url=http://books.google.com/books?id=9ny1Dv3VNPYC&pg=PA342|year=2005|publisher=Cambridge University Press|isbn=978-0-521-80899-6|page=342}}</ref>
 
ตาม[[ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ]] (Rome Statute of the International Criminal Court) ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2002 เมื่อการบังคับให้บุคคลสูญหายนั้นกระทำเป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีพลเรือนเป็นวงกว้างหรือเป็นระบบ ก็จะถือเป็น[[อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ]]และไม่อยู่ใน[[อายุความ]] นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2006 [[สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ]]ยังได้ตกลงรับ[[International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance|อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย]] (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance)
 
โดยปรกติแล้วเป็นที่เข้าใจได้ว่า บุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายจะถูกฆ่าทิ้ง เพราะบ่อยครั้งที่ผู้เสียหายในกรณีเช่นนั้นถูกลักพา หน่วงเหนี่ยวไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทรมานระหว่างการรีดเอาข้อมูล ฆ่าปิดปาก แล้วเอาศพไปซ่อน อนึ่ง แน่นอนว่า การฆ่าดังกล่าวย่อมกระทำโดยซ่อนเร้น ส่วนศพก็มักถูกกำจัดเพื่อมิให้ถูกพบ พยานหลักฐานสำหรับพิสูจน์เกี่ยวกับความตายจึงมักได้มายากเย็น ผู้กระทำจึงสามารถบอกปัดได้ และผู้เสียหายจึงสาบสูญไปในที่สุด กรณีเช่นนี้ ภาษาปากเรียก '''การอุ้มฆ่า'''