ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงศ์ปาดโลกเก่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
bnk48 จบ
{{Taxobox
| regnum = [[Animalia]]
| phylum = [[Chordata]]
| classis = [[Amphibia]]
| ordo = [[Anura]]
|familia = '''Rhacophoridae'''
| image = ปาดเขียวตีนดำ.gif
| image_caption = [[ปาดเขียวตีนดำ]] (''Rhacophorus nigropalmatus'') เป็นปาดที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย<ref>ศิริพร ทองอารีย์, ธัญญา จั่นอาจ, ยอดชาย ช่วยเงิน และอังสนา มองทรัพย์. ไม่ระบุปีที่พิมพ์. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในป่า ฮาลา-บาลา.กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช.</ref>
| familia_authority = [[Abraham Carel Hoffman|Hoffman]], 1932
| subdivision_ranks = วงศ์ย่อย
| subdivision =
*[[Buergeria|Buergeriinae]]<br/>
*[[Mantellinae]]
*[[Rhacophorinae]]
}}
'''วงศ์ปาดโลกเก่า'''<ref name="multiple">Emerson, S.B., Travis, J., & Koehl, M.A.R. (1990). "Functional complexes and additivity in performance: A test case with 'flying' frogs." ''Evolution'', 44(8), 2153-2157.</ref>
<ref name="อ้าง"/> ({{lang-en|Shrub frogs, Flying frogs, Tree frogs, Old World flying frogs<ref name="multiple"/>}}) เป็นวงศ์ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวก[[กบ]]วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อว่า Rhacophoridae
 
จัดเป็น[[ปาด]]วงศ์หนึ่ง มีลักษณะทั่วไป คือ มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของโพรซีลัสหรือเป็นแบบอย่างของไดพลาสิโอซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของเฟอร์มิสเทอร์นัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลคาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย มีชิ้นกระดูกอ่อนแทรกระหว่างกระดูกนิ้วสองชิ้นสุดท้าย กระดูกนิ้วชิ้นสุดท้ายเรียวยาวหรือเป็นรูปตัวอักษร T ในภาษาอังกฤษ ส่วนปลายของนิ้วขยายออกเป็นตุ่มคล้ายคลึงกับปาดใน[[วงศ์ปาดโลกใหม่]] (Hylidae) แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีบางชนิดในวงศ์นี้ที่ใช้ชีวิตอยู่บนพื้นดิน และไม่ได้มีตุ่มที่ปลายนิ้ว ลูกอ๊อดมีโครงสร้างของมีจะงอยปากและมีตุ่มฟัน ช่องเปิดของห้องเหงือกมีช่องเดียวอยู่ทางด้านข้างลำตัวและทางซ้ายของลำตัว
 
มีความยาวลำตัวประมาณ 2-12 เซนติเมตร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนต้นไม้ หลายชนิดสามารถร่อนไปมาระหว่างต้นไม้หรือจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำได้ โดยการพยุงตัวให้ลอยอยู่ในอากาศได้จากแผ่นหนังระหว่างนิ้วตีนขนาดใหญ่มากร่วมกับการทำลำตัวให้แบนราบเพื่อให้พื้นที่ต้านอากาศมากขึ้น เช่น [[ปาดเขียวตีนดำ]] (''Rhacophorus nigropalmatus'')
 
เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะกอดรัดตัวเมียในตำแหน่งหน้าอก แต่ชีววิทยาการสืบพันธุ์แตกต่างหากหลายกันมาก บางชนิดวางไข่ในน้ำ และลูกอ๊อดอาศัยอยู่ในน้ำ แต่ในบางสกุลสร้างก้อนฟองขึ้นมาซึ่งอาจติดอยู่กับน้ำหรือติดไว้กับกิ่งไม้เหนือแหล่งน้ำแล้ววางไข่ไว้ในก้อนฟอง บางสกุลมีการรวมตัวกันหลายตัวแล้วสร้างก้อนฟองขึ้นมาเพียงก้อนเดียว แล้ววางไข่รวมกัน พื้นผิวของก้อนฟองด้านนอกเมื่อถูกอากาศจะแห้งและแข็ง ซึ่งช่วยป้องกันการระเหยของน้ำออกจากภายใน ไข่ที่อยู่ด้านในจะได้รับความชุ่มชื้นตลอดเวลา ลูกอ๊อดที่อยู่ใต้ก้อนฟองจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างตามกาลเวลา หรือทิ้งตัวลงสู่แหล่งน้ำและอาศัยอยู่ในน้ำ ในขณะที่บางชนิดวางไข่ในโพรงของไม้ไผ่และลูกอ๊อดที่อยู่ในนั้นกินไข่ที่ตัวเมียไม่ได้ปฏิสนธิปล่อยมาให้ หลายชนิดวางไข่บนต้นไม้ เอมบริโอเจริญเติบโตและลูกอ๊อดเปลี่ยนรูปร่างเป็นของตัวเต็มวัยภายในไข่
 
จำแนกออกได้เป็น 3 วงศ์ย่อย มีทั้งสิ้น 21 สกุล และประมาณ 476 ชนิด พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่แอฟริกา, เกาะมาดากัสการ์, ตอนใต้ของอินเดียไปจนถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เกาะฟอร์โมซา และหมู่เกาะญี่ปุ่น<ref name="อ้าง">{{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง = วีรยุทธ์ เลาหะจินดา|ชื่อหนังสือ =วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก| URL = | จังหวัด = กรุงเทพฯ| พิมพ์ที่ =สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์| ปี =2552 | ISBN =978-616-556-016-0 | จำนวนหน้า =458 | หน้า =347-348}}</ref>
 
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}
==แหล่งข้อมูลอื่น==
{{wikispecies|Rhacophoridae}}