ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สวนโบราณแห่งซูโจว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nattawan s (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
สุทธิศักดิ์15132 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
}}
 
'''สวนโบราณแห่งซูโจว''' ({{zh|t=蘇州古典園林|s=苏州古典园林}}) เป็นสถานที่ที่มี[[สวน]] [[คลอง]] สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ มากมายแบบจีนในเมือง[[ซูโจว]] [[มณฑลเจียงซู]] [[ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน]] ซึ่งได้รับการบันทึกเป็น[[มรดกโลก]]โดยโดย[[UNESCO|องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ]] ([[UNESCO]])
 
สวนโบราณแห่งซูโจวมีประวัติศาสตร์ยาวนานมากว่า 2,000 ปี ตั้งแต่ก่อนศตวรรษที่ 6 ในยุค[[ชุนชิว]] ชาวเมืองรู้จักการสร้างและจัดสวนมานานแล้ว ต่อมาช่วงกลางสมัย[[ราชวงศ์หมิง]] การสร้างสวนของซูโจวเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น จนถึงต้นสมัย[[ราชวงศ์ชิง]] (ศตวรรษที่ 11-19) มีสวนทั้งในและนอกเมืองซูโจวมากกว่า 200 สวน<ref name="chinavista">{{cite web|url=http://www.chinavista.com/suzhou/tour/garden.html |title=Classical Gardens |publisher=Chinavista.com |date= |accessdate=2012-12-01}}</ref> ซึ่งมักสร้างขึ้นโดยเหล่าเจ้านายชั้นสูง ขุนนาง เศรษฐี และมหาบัณฑิตต่าง ๆ
 
สวนโบราณในเมืองซูโจว แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ สวนในที่พักอาศัย สวนในวัด และสวนชานเมือง โดยมีจำนวนสวนในที่พักอาศัยมากที่สุด ศิลปะในการสร้างสวนแห่งเมืองซูโจวนั้น เป็นผลงานสร้างสรรค์สวนที่มักจะจำลองมาจากธรรมชาติ เช่นหิน เนินเขา และแม่น้ำ โดยมีศาลาหรือเจดีย์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ<ref name="chinavista"/>
บรรทัด 19:
ตามข้อมูลขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ&nbsp;(UNESCO) สวนในเมืองซูโจว "ได้แสดงถึงพัฒนาการทางด้านการออกแบบภูมิสถาปัตย์มานานกว่า 2,000 ปี (represent the development of Chinese landscape garden design over more than two thousand years)"<ref name="unesco">{{cite document|title=World Heritage List (Suzhou)|publisher=UNESCO Advisory Body Evaluation|date=1996-07-26}}</ref> นอกจากนั้น สวนเหล่านี้ยัง “เป็นสวนที่ปราณีตสวยงามที่สุด (most refined form)” ในด้านศิลปะการจัดสวน<sup><ref name="unesco" />
 
สวนของจีนมีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาวัฒนธรรมประเพณีจีนโบราณ สิ่งที่ทำให้สวนซูโจวมีชื่อเสียงมากก็คือการรวมเอาลักษณะของศิลปะต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้อย่างกลมกลืนลงตัว ตั้งแต่สถาปัตยกรรม (เช่น ศาลา และสะพาน) สิ่งของตกแต่ง (เช่น ภาพเขียนพู่ำกันจีน ภาพปัก หรือการเขียนอักษรจีนด้วยพู่กัน) การจัดภูมิทัศน์ (เช่น การจัดวางตำแหน่งและรูปแบบของทะเลสาบ ลำธาร ที่สามารถสะท้อนแสงจากดวงจันทร์ได้ดี โดยสระน้ำในสวนจะไม่นิยมรูปแบบที่เป็นเรขาคณิต แต่จะออกแบบทำให้กลมกลืนไปกับส่วนอื่น ๆ โดยเน้นให้เกิดความรู้สึกอันสงบเงียบ) อีกทั้งในด้านการเลือกต้นไม้ที่มีชื่ออันเป็นมงคล (ไม่ว่าจะเป็นไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ใบหลากสี รวมทั้งไม้กระถาง และไม้ดัด) โดยมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า สวนซูโจวเน้นเรื่องหินกับน้ำเพื่อทำจิตให้เป็นสมาธิเหมือนกับ[[สวนเซ็นญี่ปุ่น|สวนเซ็น]]ของ[[ประเทศญี่ปุ่น]] มากกว่าจะเป็นการประดับประดาด้วยพันธุ์ไม้หลากสี<ref>เจียงหนานแสนงาม หน้า 248-257 บทพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี</ref>
 
ปัจจุบันมีสวนจำนวน 69 แห่งในซูโจวที่ได้รับการบูรณะใหม่<ref name=record>{{cite web|url=http://archrecord.construction.com/projects/portfolio/archives/0705Suzhou.asp|title=I.M. Pei returns to his family’s hometown in China and designs the Suzhou Museum for a sensitive, historic site|publisher=''[[Architectural Record]]''|author=Robert Ivy, FAIA}}</ref>&nbsp;โดยสวนเหล่านี้ทุกแห่งได้รับการบันทึกให้เป็น "มรดกของชาติ (National Heritage Sites)"<ref name=emel>{{cite web|url=http://www.emel.com/article?id=77&a_id=2174|title=Flowing Serenity - The Chinese Garden|publisher=''[[Emel magazine]]'' Issue 73 October 2010}}</ref>&nbsp;ในปี ค.ศ. 1997 และปี ค.ศ. 2000 มีสวนในเมืองซูโจว 8 แห่ง และสวนในเมือง[[Tongli|ถงหลี่]] (Tongli;&nbsp;同里) ซึ่งอยู่ใกล้เคียงอีก 1 แห่ง ได้รับการคัดเลือกและบันทึกให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ&nbsp;(UNESCO) ด้วย<ref name=record/>