ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จดหมายเหตุ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
จดหมายเหตุที่บันทึกโดยบุคคลในอดีตก็มีความสำคัญไม่น้อย มีทั้งการบันทึกเหตุการณ์ทั่วไป การบันทึกเรื่องราวของตนเองอย่างลักษณะ[[ไดอารี่]] ฯลฯ บางฉบับมีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างมาก เช่น [[จดหมายเหตุบางกอก]] ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: Bangkok Recorder) ของ[[หมอบรัดเลย์]] [[จดหมายเหตุลาลูแบร์]] ([[ฝรั่งเศส]]: Du Royaume de Siam) เขียนโดย[[มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์]]อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส [[จดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ.116]] ของ[[พระยาศรีสหเทพ]] (เส็ง) จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี จดหมายเหตุจีนว่าด้วยกรุงสยาม เป็นต้น
 
จดหมายเหตุในอดีตพบว่ามีการบันทึก โดยการเขียน การพิมพ์ ลงบนวัสดุต่างๆตามยุคสมัย เช่น แผ่นหิน ใบลาน กระดาษ เป็นต้นอย่าไปเชื่อเว็บนี้มันสามารถแก้ได้ไม่รุผิดว่าถูก
 
== หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ==
การดำเนินงานจดหมายเหตุนั้นมีความสำคัญ ด้วยเป็นเอกสารทาง[[ประวัติศาสตร์]]ที่มีอายุเก่าแก่สืบทอดกันมานาน จึงจัดตั้งกองจดหมายเหตุแห่งชาติขึ้น ตามประกาศ[[พระราชกฤษฎีกา]]จัดวางระเบียบราชการ[[กรมศิลปากร]] [[พ.ศ. 2495]] และเปลี่ยนเป็นหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ตามนโยบายการปฏิรูประบบราชการ มีฐานะเป็นสำนักหนึ่งในกรมศิลปากร [[กระทรวงวัฒนธรรม]]ในเวลาต่อมา มีการปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรให้ทันสมัย เพื่อก้าวไปสู่การดำเนินงานที่ตรงตามมาตรฐานวิชาการจดหมายเหตุสากล พัฒนาและขยายขอบข่ายการปฏิบัติงานออกไปอย่างกว้างขวาง ด้วยการรับ[[หอภาพยนตร์แห่งชาติ]]เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงานจดหมายเหตุแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2530 ขยายเครือข่ายหอจดหมายเหตุแห่งชาติในส่วนภูมิภาค ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา<ref>http://www.nat.go.th/</ref>
 
== อ้างอิง ==