ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าอโศกมหาราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการก่อกวน 1 ครั้งของ 223.24.177.101 (พูดคุย) ไปยังรุ่นโดย Tvcccp.ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Samai2008 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
'''พระเจ้าอโศกมหาราช''' ({{lang-sa|अशोकः}}; [[พ.ศ. 240]] - [[พ.ศ. 312]] ครองราชย์ [[พ.ศ. 270]] - [[พ.ศ. 311]]) เป็นจักรพรรดิอินเดียโบราณแห่ง [[ราชวงศ์โมริยะ]] หรือเมารยะผู้ปกครอง [[อนุทวีปอินเดีย]] เกือบทั้งหมดพระองค์เป็นราชนัดดา (หลาน) ของผู้ก่อตั้งราชวงศ์เมารยะคือ [[พระเจ้าจันทรคุปต์เมารยะ|พระเจ้าจันทรคุปต์]] ผู้สร้างหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียโบราณและจันทรคุปต์สละทั้งหมดแล้วบวชเป็นนักบวชเชน พระเจ้าอโศกเป็นหนึ่งในจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดียพระองค์ขยายจักรวรรดิของพระเจ้าจันทรคุปต์และครอบครองเหนือดินแดนตั้งแต่ทางทิศตะวันตกคือพื้นที่ [[ประเทศอัฟกานิสถาน]] ในปัจจุบันขยายออกไปทางทิศตะวันออกถึงบังกลาเทศ เป็นพื้นที่ครอบคลุมอนุทวีปของชาวอินเดียทั้งหมดยกเว้นพื้นที่ที่เป็น [[รัฐทมิฬนาฑู]] ในปัจจุบัน [[คาร์นาตากา]]และ[[รัฐเกรละ]] เมืองหลวงของจักรวรรดิคือเมืองปาฏลีบุตร (ในแคว้นมคธปัจจุบันนี้คือเมือง[[ปัฏนะ]])พร้อมด้วยเมืองหลวงต่างจังหวัดคือเมือง [[ตักศิลา]] และเมืองอุชเชน หรือ [[อุชเชนี]] ในครั้งพุทธกาล
 
ประมาณ พ.ศ. 283 หรือ 260 ปีก่อนคริสตกาลพระเจ้าอโศกทำสงครามทำลายล้างอย่างยืดเยื้อกับ[[แคว้นกาลิงคะ]]([[รัฐโอริศา]]ในปัจจุบัน)พระองค์เอาชนะแคว้นกาลิงคะได้ซึ่งไม่เคยมีบรรพบุรุษของพระองค์ทำได้มาก่อนนักวิชาการบางคนบรรยายว่าพระองค์นับถือ[[ศาสนาเชน]]เหมือนบรรพบุรุษแต่ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าพระองค์ยอมรับศาสนาพุทธตำนานบอกว่าพระองค์เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธหลังจากประสบพบเห็นกับคนตายที่มากมายในสงครามแคว้นกาลิงคะ พระองค์เองไม่รู้สึกยินดีกับความต้องการแห่งชัยชนะ พระเจ้าอโศกคำนึงคิดถึงสงครามแคว้นกาลิงคะ ซึ่งผลของสงครามมีคนตายมากกว่า 100,000 คน และ 150,000 คนต้องไร้ที่อยู่อาศัยถูกจำเป็นเชลยศึก สุดท้ายตายประมาณ 200,000 คน พระเจ้าอโศกเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธประมาณ 263 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ให้บันทึกพระบรมราชโองการไว้บนเสาศิลาเรียกว่า[[เสาอโศก]] และส่งสมณทูตเพื่อไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายัง[[ประเทศศรีลังกา]]และ[[เอเชียกลาง]] ให้สร้างอนุสรณ์สถานเพื่อเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าสถานที่นี้เป็นสถานสำคัญในช่วงชีวิตของพระพุทธเจ้าขึ้นมากมายซึ่งเรียกว่า[[สังเวชนียสถาน]]
 
นอกจากพระบรมราช[[โองการของพระเจ้าอโศก]] การให้รายละเอียดถึงชีวประวัติของพระองค์อาศัยตำนานซึ่งเขียนขึ้นในหลายร้อยปีต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ได้แก่อาศัยตำนาน[[อโศกาวทาน]] (เรื่องราวของพระเจ้าอโศกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของติวิยาวทาน Divyavadana) และใน[[ประเทศศรีลังกา]] อาศัยข้อความในคัมภีร์[[มหาวงศ์]] สัญลักษณ์ของสาธารณรัฐอินเดียก็ดัดแปลงมาจากสิงโต 4 ตัวหันหลังเข้าหากันหันหน้าไปยังทิศทั้ง 4 ของพระเจ้าอโศก พระนามของพระเจ้าอโศก หมายความว่า ไม่มีความทุกข์ หรือไม่มีความเศร้าโศกในภาษาสันสกฤต แยกศัพท์ออกเป็น น ปฏิเสธ แปลงเป็น อ แปลว่า ไม่ และคำว่า โสกะ แปลว่า ความโศกเศร้า หรือความทุกข์ใจ ในพระบรมราชโองการของพระองค์ พระองค์ได้ใช้พระนามว่าเทวานัมปริยะ (Devānāmpriya) บาลีเป็น เทวานมฺปิย (Devānaṃpiya) แปลว่า ผู้เป็นที่รักของทวยเทพ และพระนามว่า ปริยทรรศิน (Priyadarśin) บาลีเป็น ปิยทสี (Piyadasī) แปลว่า ผู้เป็นที่เคารพของทุกๆคนด้วยความรัก พระนามของพระองค์มีความสัมพันธ์กับ[[ต้นอโศก]] เพราะพระองค์ชอบต้นไม้ชื่อว่าต้นอโศกซึ่งเป็นการอ้างอิงในคัมภีร์อโศกาวทาน [[เอช. จี. เวลส์]] H.G. Wells ได้เขียนถึงพระเจ้าอโศกในหนังสือของเขาชื่อ The Outline of History ว่าในจำนวน 10000 พระนามของพระมหากษัตริย์ที่หนาแน่นในตารางของประวัติศาสตร์ พระราชอำนาจพระมหากรุณาธิคุณความสงบสุข พระเกียรติคุณ และความชื่นชอบของพวกเขา พระนามของพระเจ้าอโศกส่องสว่าง เจิดจรัสเป็นดวงดาวหนึ่งเดียว