ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
สุทธิศักดิ์15132 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
}}
 
'''การรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล''' ({{nihongo|元寇|Genkō}}) เป็นเหตุการณ์ที่กองทัพของ[[จักรวรรดิมองโกล]] เข้ารุกรานญี่ปุ่นสองครั้ง ในปี ค.ศ. 1274 และ ค.ศ. 1281
 
ขณะนั้น จักรวรรดิมองโกลขณะนั้นปกครองดินแดนมากกว่าครึ่งของ[[ทวีปเอเชีย]] และบางส่วนของ[[ทวีปยุโรป]] เป็นชาติมหาอำนาจที่เป็นที่หวั่นเกรงของทุกอาณาจักร ได้นำพาเกาหลีภายใต้[[ราชวงศ์โครยอ]] ซึ่งยอมสวามิภักดิ์ต่อมองโกลมาเป็นแนวร่วมในการรุกรานญี่ปุ่น
 
แม้มองโกลจะมีกำลังทหารที่เหนือกว่าญี่ปุ่นมหาศาล แต่การรุกรานทั้งสองครั้งของมองโกลประสบความล้มเหลวอย่างยิ่งยวดอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติที่ร้ายแรง การสูญเสียไพร่พลและทรัพยากรมหาศาลจากการรุกรานทั้งสองครั้ง เป็นการนำมาซึ่งการเสื่อมถอยของจักรวรรดิมองโกล จนล่มสลายในอีก 87 ปีต่อมา
 
== เบื้องหลัง ==
ภายหลังการแผ่ขยายอาณาเขตของมองโกลอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1231-1259 [[พระเจ้าโคจงแห่งโครยอ]]ทรงตระหนักว่า มันยากเย็นนักที่จะต่อต้านมองโกลที่มีกำลังทหารอย่างมหาศาล และการต่อต้านมองโกลนั้นก็อาจจะนำมาซึ่งผลที่ร้ายแรง ดังนั้น เกาหลีจึงได้ยินยอมเป็นประเทศราชของจักรวรรดิมองโกล ในปี ค.ศ. 1258 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1270 เมื่อมองโกลสามารถยึดครองเกาหลีได้อย่างสมบูรณ์ [[กุบไล ข่าน]] จึงได้สถาปนา[[ราชวงศ์หยวน]]แห่ง [[จักรวรรดิมองโกล]]ขึ้นอย่างสมบูรณ์
 
ญี่ปุ่นในขณะนั้นปกครองโดย "[[ชิกเก็ง]]" (ผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน) ที่มาจาก[[ตระกูลโฮโจ]] ซึ่งเป็นตระกูลที่กุมอำนาจบริหารประเทศมาตั้งแต่ ค.ศ. 1203 ในนามของ[[โชกุน]] แห่ง[[รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ]] ซึ่งขณะนั้นมีโชกุนคือ เจ้าชายโคะเระยะซุ
 
== การทูต ==