ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Dytoy/กระบะทราย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dytoy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Dytoy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
| native_name = ဆူးလေဘုရား
| native_name_lang = my
| image = 20160815 Sule Pagoda 2017Yangon 0307.jpg
| image_size = 250
| alt =
บรรทัด 25:
}}
 
'''เจดีย์ซูเล''' ({{lang-my|ဆူးလေဘုရား}}; {{IPA-my|sʰúlè pʰəjá|pron}}) เป็นเจดีย์ตั้งอยู่ในใจกลางเมือง[[ย่างกุ้ง]] เป็นพื้นที่ภูมิศาสตร์สำคัญของการเมืองพม่าร่วมสมัย ตามตำนานระบุว่าเจดีย์ถูกสร้างขึ้นก่อนเจดีย์ชเวดากอง ในช่วง[[พระโคตมพุทธเจ้า|พระพุทธเจ้า]]ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ทำให้เจดีย์องค์นี้เก่าแก่กว่า 2,500 ปี ตำนานระบุว่าสถานที่สำหรับก่อสร้างเจดีย์ชเวดากองได้รับการแนะนำจาก [[นะ (วิญญาณ)|นะ]] เก่าแก่ของเมืองที่สถิตอยู่บริเวณเจดีย์ซูเล<ref name="buddhist"/><ref name="yangon">[https://www.wmf.org/sites/default/files/article/.../yangon_book_final.pdf yangon book final]</ref><ref name="khinmaung"/>
 
เจดีย์ซูเล เป็นจุดศูนย์กลางทางการเมืองของย่างกุ้งและพม่า เป็นสถานที่ชุมนุมประท้วงใน[[การก่อการกำเริบ 8888|เหตุการณ์ปฏิวัติ 8888]] ในปี พ.ศ. 2531<ref name="Uprising"/> และ[[การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์]] ในปี พ.ศ. 2550<ref name="yangon"/><ref name="Saffron"/> เจดีย์ซูเลถูกจัดอยู่ในรายชื่อโบราณสถานของเมืองย่างกุ้ง<ref name=hl>{{cite journal|url=http://www.myanmar.gov.mm/myanmartimes/no87/New/14.htm|title=Special Reports: Heritage List|work=[[The Myanmar Times]]|date=2001-10-29|archiveurl=https://web.archive.org/web/20090615164607/http://www.myanmar.gov.mm/myanmartimes/no87/New/14.htm|archivedate=15 June 2009}}</ref>
 
==เจดีย์==
เจดีย์ซูเลโครงสร้างเดิมคาดว่าได้รับอิทธิพลจากสถูปเจดีย์ของอินเดียซึ่งทำรูปแบบคล้าย ๆ กันคือเป็นรูปเนินดินสำหรับเก็บพระธาตุ ต่อมาเริ่มได้รับวัฒนธรรมท้องถิ่น รูปแบบอิทธิพลของอินเดียตอนใต้จึงเริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นสถาปัตยกรรมแบบท้องถิ่นเป็นรูปของเจดีย์ เป็นที่เชื่อกันว่าเคยเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า ที่ได้ประทานให้แก่พี่น้องพ่อค้าสองคนคือ ตปุสสะและภัลลิกะ<ref name="buddhist">[https://www.buddhistdoor.net/news/yangons-ancient-sule-pagoda-receives-a-glistering-facelift Sule Pagoda Facelift]</ref><ref name="yangon"/>
 
==ประวัติและตำนาน==
ตามตำนานที่ตั้งของเจดีย์ซูเลในปัจจุบันเคยเป็นที่ตั้งสถิตของศาล [[นะ (วิญญาณ)|นะ]] นามว่า ซูเล เป็นกษัตริย์ของนะ เมื่อ[[ท้าวสักกะ]] อยากจะช่วยเหลือกษัตริย์โอกะละปา เพื่อหาสถานที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ แต่ท้าวสักกะไม่ทราบว่าควรเป็นที่ไหน เหล่าเทวดา มนุษย์ พร้อมด้วยกษัตริย์โอกะละปาจึงมาประชุมบริเวณซูเล และนะซูเลจึงได้แนะนำสถานที่สำหรับการสร้าง[[เจดีย์ชเวดากอง]]<ref name="yangon"/><ref name="khinmaung"/>
 
เจดีย์ซูเลเริ่มเป็นศูนย์กลางของย่างกุ้งโดย อเล็กซานเดอร์ ฟราเซอร์ (Lt. Alexander Fraser) วิศวะกรจากเบงกอล ผู้ซึ่งสร้างรูปแบบถนนย่างกุ้งอย่างในปัจจุบัน ไม่นานนักหลังจากการยึดครองของ[[จักรวรรดิบริติช|จักรวรรดิอังกฤษ]]ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ฟราเซอร์ ยังให้ยืมชื่อของเขาไปตั้งชื่อถนน ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น ถนนอโนรธา และยังคงเป็นหนึ่งในเส้นทางสายหลักของย่างกุ้ง)<ref name="yangon"/><ref name="khinmaung"/>
 
เจดีย์เป็นรูปทรงแปดเหลี่ยมซึ่งแต่ละด้านมีความยาว 24 ฟุต (7 เมตร) สูง 144 ฟุต (9 1/2)½ นิ้ว (44 เมตร) เจดีย์ได้รับการบูรณะและมีขนาดเท่าปัจจุบันในสมัย[[พระนางเชงสอบู]] (ค.ศ. 1453–1472) รอบ ๆ เจดีย์มีระฆังสัมฤทธิ์ 10 ใบขนาดและอายุแตกต่างกันไปโดยมีการจารึกชื่อผู้บริจาคและวันที่ถวาย คำอธิบายเกี่ยวกับชื่อเจดีย์แตกต่างกันไปตามความเชื่อเช่น มาจาก ซู-เว หมายถึง "การชุมนุมโดยรอบ" มาจากเมื่อครั้งกษัตริย์โอกะละปาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ สืบหาที่ตั้งของเนินเขาเชียงกุตระเพื่อสร้างเจดีย์ อีกความเชื่อกล่าวว่ามาจาก ซู-เล หมายถึงพุ่มไม้ป่าชนิดหนึ่ง และสมมุติฐานใหม่ที่ไม่เกี่ยวกับตำนานมาจากความเชื่อมโยงกับภาษาบาลีคำว่า จุลฺล หมายถึง "เล็ก" และ เจติย หมายถึง "เจดีย์"<ref name="buddhist"/><ref name="yangon"/><ref name="khinmaung">[[Khin Maung Nyunt]], from a series of articles on famous bells in Burma in the ''Working People's Daily'': this article published 31 January 1988.</ref>
 
==ที่ตั้ง==
เจดีย์ซูเลตั้งอยู่ใจกลางกรุงย่างกุ้งและเป็นส่วนหนึ่งของเมืองทั้งด้านเศรษฐกิจและชีวิตของประชาชน ระหว่างการชุมนุมประท้วงเมื่อปี พ.ศ. 2531<ref name="Uprising"/> และ พ.ศ. 2550 เจดีย์ซูเลเป็นจุดนัดพบของผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลและผู้ประท้วงเพื่อประชาธิปไตย<ref name="buddhist"/><ref name="Saffron"/>
 
==บทบาทสถานที่ทางการเมือง==
ในช่วงการ[[การก่อการกำเริบ 8888|เหตุการณ์ปฏิวัติ 8888]] เจดีย์เป็นจุดนัดพบและจุดหมายปลายทางที่ได้รับการเลือก ทั้งเนื่องจากแหน่งที่ตั้งและเป็นนัยสำคัญทางสัญลักษณ์<ref name="Uprising">[https://www.nytimes.com/1988/08/12/world/uprising-in-burma-the-old-regime-under-siege.html Uprising in Burma]</ref> ในปี พ.ศ. 2550 ระหว่างการปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ เจดีย์ซูเลถูกใช้เป็นจุดชุมนุมในการประท้วงเพื่อประชาธิปไตย พระสงฆ์จำนวนหลายพันคนมาชุมนุมกันเพื่อกราบไหว้รอบพระเจดีย์ และเป็นสถานที่แรกที่ได้เห็นถึงปฏิกิริยารุนแรงของรัฐบาลพม่าต่อกลุ่มผู้ประท้วง<ref name="buddhist"/><ref name="Saffron">[https://www.irrawaddy.com/from-the-archive/saffron-revolution-rangoon-diary.html Saffron Revolution: A Rangoon Diary]</ref>
 
==คลังภาพ==
<center><gallery mode="nolines" widths="180" heights="140">
ไฟล์:Fytche Square, Rangoon.jpg|เจดีย์ซูเล ค.ศ. 1895
ไฟล์:Sule Pagoda Yangon Burma.JPG|บริเวณด้านนอกรอบเจดีย์
ไฟล์:Sule Pagoda 2017.jpg|บริเวณภายในเจดีย์
ไฟล์:Sule Bo Bo Gyi.JPG|ซูเล โบโบจี [[นะ (วิญญาณ)|นะ]]เจดีย์ซูเล
</gallery></center>
 
==อ้างอิง==