ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เดอะบีเทิลส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chalothx (คุย | ส่วนร่วม)
หัวข้อเล็กๆ
ย้อนการแก้ไขของ Chalothx (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Sombatboon
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 48:
[[จอห์น เลนนอน]] นักร้องและนักกีตาร์วัย 16 ได้ก่อตั้งกลุ่มดนตรีสกิฟเฟิล ชื่อ ''เดอะควอร์รีเมน'' (The Quarrymen) ร่วมกับเพื่อนนักเรียนในเมืองลิเวอร์พูลเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1957<ref name="unterberger2009a">{{cite web |last=Unterberger |first=Richie |year=2009a |authorlink=Richie Unterberger |title=Biography of The Beatles |work=Allmusic |url=http://www.allmusic.com/artist/the-beatles-p3644 |accessdate=15 September 2009 |ref=harv}}</ref> [[พอล แม็คคาร์ตนีย์]]ในวัย 15 ได้เข้าร่วมกลุ่มด้วยในตำแหน่งมือกีตาร์ หลังจากที่เขาได้พบกับเลนนอนเมื่อเดือนกรกฎาคม<ref name="spitz2005">{{cite book |last=Spitz |first=Bob |year=2005 |authorlink=Bob Spitz |title=The Beatles: The Biography |publisher=Little, Brown |location=New York |isbn=978-0-316-80352-6 |ref=harv}}</ref> แม็คคาร์ตนีย์ชวน[[จอร์จ แฮร์ริสัน]] วัย 14 มาดูการแสดงของกลุ่มในเดือนกุมภาพันธ์ปีถัดมา แล้วจอร์จก็เข้าร่วมกลุ่มในตำแหน่งกีตาร์นำ<ref name="obrien2001">{{cite book |last=O'Brien |first=Ray |year=2001 |title=The Beatles' Early Venues in and around Merseyside |series=There Are Places I'll Remember |publisher=Ray O'Brien |location=Wallasey, Merseyside |volume=1 |isbn=978-0-9544473-0-4 |ref=harv}}</ref><ref name="miles1997">{{cite book |last=Miles |first=Barry |year=1997 |authorlink=Barry Miles |title=[[Paul McCartney: Many Years from Now]] |publisher=[[Henry Holt and Company]] |location=New York |isbn=0-8050-5249-6 |ref=harv}}</ref> ปี ค.ศ. 1960 เพื่อนนักเรียนของเลนนอนลาออกจากกลุ่ม ส่วนตัวเขาก็เริ่มเข้าเรียนที่วิทยาลัยศิลปะลิเวอร์พูล นักกีตาร์ทั้งสามยังคงเล่นดนตรี[[ร็อกแอนด์โรล]]กันเรื่อยๆ ถ้าหามือกลองได้<ref name="harry2000a">{{cite book |last=Harry |first=Bill |year=2000a |authorlink=Bill Harry |title=The Beatles Encyclopedia: Revised and Updated |publisher=Virgin |location=London |isbn=978-0-7535-0481-9 |ref=harv}}</ref> เดือนมกราคม [[สจ๊วต ซุตคลิฟ]] มือเบส เพื่อนนักเรียนของเลนนอน เสนอให้เปลี่ยนชื่อวงเป็น ''The Beetles'' เพื่อเป็นเกียรติแก่ [[บัดดี ฮอลลี]] และวง[[เดอะคริกเกตส์]] ต่อมาพวกเขาเปลี่ยนชื่อวงเป็น ''The Beatals'' ในช่วงไม่กี่เดือนต้นปี<ref name="harry2000b">{{cite book |last=Harry |first=Bill |year=2000b |title=The John Lennon Encyclopedia |publisher=Virgin |location=London |isbn=0-7355-0404-9 |ref=harv}}
</ref> วงดนตรีเปลี่ยนชื่อไปอีกหลายชื่อ เช่น ''Johnny and the Moondogs'', ''Long John and the Beetles'' และ ''The Silver Beatles'' ในที่สุดวงก็เปลี่ยนชื่อเป็น ''The Beatles'' ในเดือนสิงหาคม<ref name="harry2000a" /> การที่วงไม่มีมือกลองประจำเริ่มเป็นปัญหาขึ้นเมื่อ อัลลัน วิลเลียมส์ ผู้จัดการวงอย่างไม่เป็นทางการ ไปรับงานวงดนตรีประจำได้ในเมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี<ref name="lewisohn1996">{{cite book |last=Lewisohn |first=Mark |year=1996 |location=London |title=The Complete Beatles Chronicle |publisher=Bounty Books |isbn=978-1-85152-975-9 |ref=harv}}</ref> ก่อนสิ้นเดือนสิงหาคม พวกเขาจัดการทดสอบและว่าจ้าง [[พีท เบสต์]] มาเป็นมือกลองประจำวงได้<ref name="harry2000a" /> นักดนตรีทั้งห้าเดินทางไปยังฮัมบูร์กในอีก 4 วันถัดไป โดยได้รับสัญญาจ้างจากนักแสดงงานแฟร์กราวน์ ชื่อ บรูโน คอชไมเดอร์ เป็นเวลา 48 คืนๆละ 8 ชั่วโมง
 
== Beatlemania และ British Invasion ==
หลังจาก The Beatles ออกอัลบั้ม Please Please Me ซึ่งเป็นอัลบั้มแรกของพวกเขาในอังกฤษในเดือน มี.ค. 1963 ก็เกิดกระแสความคลั่งไคล้ของบรรดาแฟนๆโดยเฉพาะสาวๆที่สื่อในอังกฤษเรียกว่า Beatlemania การออกทัวร์แต่ละครั้งในปีนั้นสร้างความลำบากใจให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องคอยรักษาความสงบเรียบร้อย บางครั้งถึงขนาดต้องใช้สายฉีดน้ำแรงสูงเพื่อสกัดฝูงชน
 
Please Please Me ติดอัลบั้มอันดับหนึ่งอยู่นานถึง 30 สัปดาห์ก่อนจะถูกอัลบั้มที่สองของวงคือ With The Beatles เบียดตกจากตำแหน่ง อัลบั้มนี้ขายได้ถึง 5 แสนแผ่นภายในเวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ อัลบั้มนี้มีเทคนิคการอัดเสียงที่ดีกว่าอัลบั้มแรกที่เกือบจะเหมือนกับการบันทึกสดเพราะแทบจะไม่มีการอัดซ้ำเลย นักวิจารณ์ดนตรีเริ่มให้ความสนใจกับผลงานของ The Beatles หนังสือพิมพ์เริ่มลงบทวิเคราะห์ที่จริงจังเกี่ยวกับดนตรีของวง ผู้เขียนโน้ตบนปกแผ่นเสียง Tony Barrow ใช้คำว่า fabulous foursome ในการเรียกวงนี้ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเล่นของวงว่า The Fab Four
 
ความสำเร็จของ The Beatles ในอังกฤษไม่ได้เปลี่ยนไปเป็นความสำเร็จในอเมริกาในทันทีทันใดเนื่องจากCapitol Records ซึ่งเป็นบริษัทในสังกัด EMI ไม่ให้ความสนใจกับดนตรีของวงนี้ การเจรจากับค่ายเพลงอิสระอื่นๆก็ไม่ประสบความสำเร็จนัก ร้อนถึง Brian Epstein ต้องลงทุนไปกับมาร์เก็ตติ้งแคมเปญเพื่อให้ดีเจช่วยเปิดเพลงของวงตามสถานีวิทยุซึ่งทำให้เพลงของวงเริ่มเป็นที่รู้จักและเริ่มกระจายไปทั่วอเมริกา กระแสความนิยมนี้ทำให้ Capitol เปลี่ยนใจรีบออกแผ่นซิงเกิล I Want To Hold Your Hand แผ่นนี้ขายได้ถึงหนึ่งล้านแผ่นและกลายเป็นเพลงแรกที่ขึ้นถึงอันดับหนึ่งในอเมริกาในเดือน ม.ค. 1964
 
กระแสความนิยมนี้เองทำให้ The Beatles ถูกเชิญไปออกรายการ The Ed Sullivan Show เป็นครั้งแรกในวันที่ 9 ก.พ. 1964 ซึ่งประมาณกันว่ามีผู้ชมกว่า 73 ล้านคนซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดจนถึงขณะนั้น แม้ว่าจะยังคงมีการวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบจากการออกรายการในครั้งแรก แต่ก็ไม่สามารถหยุดกระแสความคลั่งไคล้ The Beatles ได้ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกของ Beatlemania ที่เกิดขึ้นในการแสดงสดครั้งแรกในอเมริกาที่ Washington Coliseum วงทำการแสดงสดอีก 2 ครั้งที่ Carnegie Hall ในนิวยอร์ก ก่อนจะออกรายการ The Ed Sullivan Show เป็นครั้งที่ 2 ในฟลอริดาซึ่งก็มีจำนวนผู้ชมทางโทรทัศน์ที่ประมาณว่าสูงถึง 70 ล้านคน ก่อนจะบินกลับอังกฤษ
 
Beatlemania ถือเป็นคลื่นลูกใหญ่ที่สุดของ British Invasion ซึ่งคือกระแสความนิยมดนตรีและวัฒนธรรมจากเกาะอังกฤษที่บุกขึ้นฝั่งอเมริกา เริ่มต้นจากการที่เริ่มมีการผสมผสานแนวดนตรีแบบ rock and roll และ blues จากอเมริกาเข้ากับแนวดนตรีสไตล์อังกฤษ ปี 1962 เป็นปีแรกที่ศิลปินจากอังกฤษเริ่มมีเพลงฮิตติดอันดับ Hot 100 ในอเมริกา เพลง Telstar ของวง The Tornados เป็นเพลงแรกของศิลปินอังกฤษที่ขึ้นถึงอันดับหนึ่งของ US Hot 100
 
== แนวดนตรีและวิวัฒนาการ ==
{{โครงส่วน}}
หากจะลองนำอัลบั้มของวงนี้มาแบ่งเป็นยุคๆแล้วก็พอจะแบ่งได้เป็น 3 ช่วง (หมายเหตุ: จัดแบ่งจากอัลบั้ม original studio albums และ singles ที่ออกในอังกฤษเท่านั้น ไม่รวมอัลบั้มที่ออกในอเมริกาซึ่งมักใช้วิธีผสมเพลงจากหลายอัลบั้มที่ออกไปแล้วในอังกฤษมารวมกันเป็นอัลบั้มใหม่)
 
ยุคแรก คืออัลบั้มก่อนและระหว่างที่เกิดกระแส Beatlemania ช่วงนี้ออกมาทั้งหมด 7 อัลบั้ม ได้แก่
 
·        [[พลีสพลีสมี|''Please Please Me'']] - วันวางจำหน่าย: 1963-03-22
 
·        ''With the Beatles'' - วันวางจำหน่าย: 1963-11-22
 
·        [[อะฮาร์ดเดส์ไนต์ (อัลบั้ม)|''A Hard Day's Night'']] - วันวางจำหน่าย: 1964-07-10
 
·        ''Beatles for Sale'' - วันวางจำหน่าย: 1964-12-04
 
·        [[เฮลป์! (อัลบั้ม)|''Help!'']] - วันวางจำหน่าย: 1965-08-06
 
·        ''Rubber Soul'' - วันวางจำหน่าย: 1965-12-03
 
·        ''Revolver'' - วันวางจำหน่าย: 1966-08-05
 
แม้ว่าทั้ง 7 อัลบั้มแรกจะเป็นอัลบั้มที่ออกมาในช่วงที่กระแส Beatlemania ยังแรงอยู่ แต่เราจะเห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงในทิศทางดนตรีที่ฉีกแนวออกจากเพลงเอาใจวัยรุ่นนับตั้งแต่อัลบั้ม Rubber Soul The Beatles เริ่มใช้เครื่องดนตรีอื่นนอกเหนือจากกีตาร์ ไม่ว่าจะเป็นซีตาร์ที่ George Harrson ใช้ในเพลง Norwegian Wood การใช้ fuzz bass (เบสเหยียบ) เพื่อสร้าง sound effect ในเพลง Think For Yourself เสียง harpsichord ที่ George Martin เล่นในเพลง In My Life อิทธิพลของดนตรี folk เริ่มมีให้เห็นนอกเหนือจากแนว rock and roll เพียงอย่างเดียว
 
เพลงที่มีเนื้อหาค่อนข้างหนักอย่าง Nowhere Man, Norwegian Wood และ In My Life ที่เป็นไอเดียของ Lennon ชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบดนตรีของวง George Harrison เริ่มแสดงให้เห็นถึงแววความสามารถในการแต่งเพลงจากผลงาน 2 เพลงในอัลบั้มนี้ นั่นคือ Think For Yourself และ If I Needed Someone
 
หาก Rubber Soul จะเป็นจุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลง อัลบั้มถัดมา Revolver ก็เป็นการตอกย้ำอย่างชัดเจนของการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีของ The Beatles อัลบั้มนี้แสดงให้เห็นว่าพวกเขาได้พัฒนาจากวงที่เล่นเพลงแนววัยรุ่นไปเป็นวงที่มีความมั่นใจในตัวเองจนกล้าพอที่จะสร้างแนวดนตรีที่เป็นตัวของตัวเองและไม่จำเป็นต้องเอาใจตลาด พวกเขาใช้เวลาทั้งหมด 300 ชั่วโมงในการผลิตอัลบั้มซึ่งมากกว่าอัลบั้ม Rubber Soul ถึง 3 เท่าและเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในวงการดนตรีป๊อป อัลบั้มนี้เด่นด้วยการเขียนเนื้อเพลงที่มีเนื้อหาลึกซึ้งมากขึ้นกว่าอัลบั้มก่อนๆ ดนตรีที่ทำออกมาก็เริ่มแทรกด้วยอิทธิพลจากแนวดนตรีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องสายแบบดนตรีคลาสสิกไปจนถึง psychedelic rock มีการลองใช้เทคนิคการอัดเสียงที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆในช่วงเวลานั้น
 
สมาชิกแต่ละคนมีการพัฒนาการในตัวเองมากกว่าอัลบั้มที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในฐานะนักแต่งเพลงของ George Harrison ซึ่งเพลงเสียดสีการเมือง Taxman ของเขาเป็นแทร็กแรกของอัลบั้ม อีก 2 เพลงของเขาในอัลบั้มนี้ก็มีความแปลกใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเพลงที่มีเนื้อหาเชิญปรัชญาอย่าง I Want To Tell You หรือเพลงที่ได้รับอิทธิพลจากดนตรีอินเดียอย่าง Love You To
 
สวน John ก็เริ่มที่สะท้อนด้านมืดออกมามากขึ้นซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากวัฒนธรรมการใช้ยาเสพติดที่เริ่มแพร่หลายในยุคทศวรรษที่ 60 อิทธิพลจากวัฒนธรรมนี้แสดงออกมาอย่างค่อนข้างชัดเจนในเพลง Doctor Robert, She Said She Said และ Tomorrow Never Knows
 
Paul แม้จะยังคงเน้นแนวเพลง ballad ที่ถนัด แต่ก็พัฒนาและยกระดับการเขียนเนื้อเพลงที่มีคุณภาพไม่หวานแหววเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็น Eleanor Rigby ที่น่าจะจัดเป็นเพลงที่มีเนื้อหาหนักแน่นที่สุดเท่าที่เขาเคยแต่งมา Here, There and Everywhere ซึ่งกลายเป็นเพลง ballad ระดับอมตะอีกเพลงหนึ่ง แม้แต่เพลงเร็ว เขาก็ทำได้ดี เช่นเพลงที่คนอาจจะไม่ค่อยรู้จักกันแพร่หลายมากอย่าง For No One หรือ Got To Get You Into My Life
 
อัลบั้ม Revolver ออกมาหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่ทางวงจะออกทัวร์เป็นครั้งสุดท้ายซึ่งไปจบลงที่การแสดงคอนเสิร์ตเชิงพาณิชย์ครั้งสุดท้ายที่ Candlestick Park ใน San Francisco ในวันที่ 29 ส.ค. 1966 ปิดฉากการออกทัวร์แบบแทบจะไม่มีหยุดตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เป็นที่น่าสังเกตว่าในคอนเสิร์ตช่วงหลัง The Beatles ไม่ได้เล่นเพลงจากอัลบั้ม Revolver เลยเพราะผลงานในอัลบั้มนี้เป็นดนตรีที่เกิดจากการผสมผสานด้วยเทคนิคการบันทึกเสียงที่ไม่สามารถจะทำได้ในการแสดงสด นี่อาจจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งนอกเหนือจากความยากลำบากของการร้องระหว่างแสดงสดที่ต้องแข่งกับเสียงกรีดร้องที่ไม่มีวันหยุดของบรรดาแฟนๆ
 
The Beatles ได้มาถึงจุดที่เริ่มเบื่อหน่ายกับ Beatlemania และต้องการใช้เวลาในสตูดิโอในการสร้างผลงานให้มากขึ้น เมื่อปลอดจากภาระในการต้องออกตระเวนทัวร์ ทางวงจึงมีเวลาที่จะทุ่มเทให้กับการสร้างผลงานอัลบั้มต่อไปคือ Sgt. Pepper’s Lonely Hearts Club Band ซึ่งทางวงต้องการให้เป็นผลงานที่แตกต่างจากทุกอย่างที่พวกเขาเคยทำมา
 
'''ยุคที่ 2 ยุคฮิปปี้และอิทธิพลของยาเสพติดต่อการแต่งเพลงของ The Beatles'''
 
ผลงาน 2 อัลบั้มของวงในยุคนี้เกิดจากไอเดียของ Paul ที่ต้องการให้วงทำอะไรที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ เขามีความรู้สึกว่าวงไม่ใช่ Mop Top (หรือที่ในบ้านเราเรียกกันว่า “สี่เต่าทอง”) อีกต่อไปแล้ว พวกเขาโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิดความอ่านมากขึ้น พวกเขาไม่ต้องการสร้างผลงานเพียงเพื่อเอาใจกลุ่มวัยรุ่นอีกต่อไป และเพื่อให้สมาชิกคนอื่นรู้สึกอิสระอย่างเต็มที่ไม่ติดกับภาพเดิมๆของ The Beatles เขาเสนอว่าพวกเขาควรจะใช้ร่างสมมุติหรือ alter ego เป็นตัวแทนพวกเขาในอัลบั้มนี้ นับเป็นเรื่องน่าแปลกที่อาจจะมองได้ว่าการสร้าง alter ego ขึ้นมากลับทำให้พวกเขาสามารถแสดงความเป็นตัวตนที่แท้จริงออกมาได้
 
ความคิดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีเมื่อตอนที่พวกเขาเริ่มต้นทำสตูดิโออัลบั้มที่ 8 ของ The Beatles มันเกิดขึ้นเมื่อพวกเขาทำอัลบั้มนี้ไปได้ครึ่งทางแล้ว โดยไอเดียเรื่อง alter ego เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางกลับจากการพักผ่อนในแอลจีเรียของ Paul ตอนปลายปี 1966 แต่มาตกผลึกเต็มที่ในตอนต้นปี 1967 โดย Paul เสนอไอเดียนี้กับ George Martin ซึ่งชอบแนวคิดนี้ จากนั้นเป็นต้นมา แนวทางการทำอัลบั้มนี้ก็เปลี่ยนไป
 
นี่จึงเป็นที่มาของชื่อวงในจินตนาการว่า Sgt. Pepper’s Lonely Hearts Club Band และที่ใช้ชื่อยาวแบบนี้เพราะตอนนั้นกำลังเป็นเทรนด์ใหม่ที่วงดนตรีที่เกิดขึ้นมามักจะใช้ชื่อยาวๆกัน ตัวอย่างเช่น Dr. Hook and the Medicine Show หรืออะไรทำนองนั้น
 
ความจริง อัลบั้มนี้ไม่ใช่อัลบั้มแรกที่ The Beatles เริ่มเปลี่ยนแนวดนตรีของพวกเขา ความเปลี่ยนแปลงเริ่มจะเห็นได้ตั้งแต่อัลบั้ม Rubber Soul ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มผสมผสานแนวดนตรีอื่นๆนอกจากป็อป เช่น โฟล์คมิวสิคหรือโซลเข้ามาซึ่งสะท้อนอยู่ในชื่ออัลบั้ม Rubber Soul ยังเป็นอัลบั้มแรกที่พวกเขาใช้เวลาในการผลิตแบบต่อเนื่องอย่างมีเอกภาพ นับเป็นต้นแบบของ concept album ที่เริ่มใช้ในอัลบั้ม Sgt. Pepper ในเวลาต่อมา
 
แนวทางเหล่านี้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอัลบั้มต่อมาคือ Revolver ซึ่งมีการใช้เทคนิคการอัดเสียงที่แปลกใหม่อย่าง tape loop เพื่อให้เล่นวนดนตรีในบางช่วงและการเล่นเทปกลับหลังในเพลงแนว psychedelic อย่าง Tomorrow Never Knows หรือการใช้ string octet สไตล์คลาสสิกในเพลง Eleanor Rigby นวัตกรรมการบันทึกเสียงต่างๆเหล่านี้กลายเป็นมาตรฐานใหม่เริ่มนำไปใช้กันในวงการ
 
แม้ว่าอัลบั้มนี้จะไม่ใช่อัลบั้มในแบบ concept album อย่างแท้จริงเพราะไม่ได้มีธีมหลักในการนำเสนอแนวคิดใดๆอย่างชัดเจน (มีเพียงแทร็กเปิดอัลบั้มซึ่งสร้างบรรยากาศให้ฟังดูเหมือนการแสดงสดและเพลงก่อนสุดท้ายซึ่งมีชื่อเดียวกับอัลบั้มบวกกับเพลง With A Little Help From My Friends เท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับวงในจินตนาการ Sgt. Pepper) แต่ก็ต้องถือเป็นต้นแบบของอัลบั้มประเภทนี้เพราะใช้วงในจินตนาการอย่าง Sgt. Pepper’s Lonely Hearts Club Band ในการบอกเล่าเรื่องราวหลากหลายในอัลบั้ม ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการนำเสนอในรูปแบบนี้ในวงการเพลงป็อป จึงถือเป็นการบุกเบิกอย่างแท้จริง
 
สองเพลงแรกที่เกิดจากไอเดียนี้คือเพลงที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเมือง Liverpool ได้แก่ เพลง Strawberry Fields Forever และ Penny Lane แต่เนื่องจากเหตุผลเชิงพาณิชย์ EMI ต้องการให้ออกสองเพลงนี้มาในรูป double A-side single สองเพลงนี้จึงถูกตัดออกไปจากอัลบั้ม ซึ่งโปรดิวเซอร์ George Martin ยอมรับในภายหลังว่านับเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างยิ่ง
 
อิทธิพลสำคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลให้ Paul เกิดไอเดียเกี่ยวกับอัลบั้มนี้คือการที่เขาได้ฟังอัลบั้ม Pet Sounds ของวง The Beach Boys ซึ่งมี Brian Wilson เป็นหัวหน้าวง ในอัลบั้ม Pet Sounds Wilson ผสมผสานการใช้วงออร์เครสตราขนาดใหญ่ในสไตล์ที่โปรดิวเซอร์ Phil Spector (ที่เรียกกันว่า Wall of Sound หรือ Big Sound) นิยมใช้เข้ากับแนวเพลงในอัลบั้ม Rubber Soul ซึ่ง Wilson ชื่นชอบ Paul ชอบอัลบั้ม Pet Sounds และแนวการผลิตอัลบั้มนี้ของ Wilson ที่มีความสามารถทั้งทางด้านการแต่งเพลงและเรียบเรียงเสียงประสาน George Martin เชื่อว่าไอเดียในการทำอัลบั้ม Sgt. Pepper เกิดจากอิทธิพลจากอัลบั้ม Pet Sounds ที่มีต่อ Paul
 
นักวิจารณ์ส่วนใหญ่ยกให้อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มร็อกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลเนื่องจากอิทธิพลของมันที่มีต่อวงการในเวลาต่อมา ไม่ว่าจะเป็นต้นแบบ concept album ที่นำไปสู่ยุค album era ที่ศิลปินมีอิสระในการสร้างสรรค์ผลงาน แทนที่จะต้องถูกพันธนาการด้วยการมุ่งผลิตเพลงในรูปแบบของซิงเกิลที่ค่อนข้างมีข้อจำกัดในการนำเสนอเพียงอย่างเดียว การออกอัลบั้มส่วนใหญ่จะเป็นเพียงการรวมเอาเพลงที่ออกเป็นแผ่นซิงเกิลมาแล้วเข้าด้วยกันแล้วเพิ่มเพลงที่มีคุณภาพด้อยกว่าเพียงเพื่อ “เติม” อัลบั้มให้เต็มเท่านั้น The Beatles ไม่เห็นด้วยกับการทำแบบนี้เพราะมองว่าเป็นการเอาเปรียบแฟนเพลงที่ต้องเสียเงินซื้อเพลงเดียวกันถึงสองหน นี่ยังเป็นหนึ่งในเหตุผลที่สองเพลงที่ผลิตขึ้นมาก่อนหน้าและถูกนำไปทำเป็นซิงเกิล Strawberry Fields Forever / Penny Lane ไม่ถูกเอากลับมารวมในอัลบั้ม Sgt. Pepper นี่นับเป็นการปฏิวัติรูปแบบการทำอัลบั้มเพลงป็อป เพราะมีเพียงไม่กี่ครั้งในประวัติศาสตร์วงการเพลงป็อปที่เราจะแยกได้อย่างชัดเจนว่าอะไรคือ “ยุคก่อน” และ “ยุคหลัง” อัลบั้ม Sgt. Pepper ถือเป็นเส้นแบ่งยุคที่เห็นได้อย่างชัดเจน
 
อัลบั้ม Sgt. Pepper ถูกมองว่าเป็นตัวแทนของยุคฮิปปี้ที่คนหนุ่มสาวในยุคนั้นปฏิเสธวัฒนธรรมดั้งเดิมและต้องการมองหาสิ่งใหม่ๆให้กับสังคม เป็นยุคแห่งการแสวงหาและไม่ยอมรับคิดแบบเก่าๆหรือที่เรียกกันว่า counterculture มีเพลงซึ่งเนื้อหาถูกตีความว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพติดอย่าง Lucy In The Sky With Diamonds (ซึ่งย่อได้เป็น LSD ยาเสพติดที่นิยมกันในหมู่ฮิปปี้ในยุคนั้น) หรือ With A Little Help From My Friends (ซึ่งมีท่อนหนึ่งที่บอกว่า “I get high” ซึ่งเป็นคำสแลงหมายถึงกำลังเมายา หรือ “take some tea” ซึ่งอาจจะหมายถึงการพี้กัญชา) หรือแม้แต่ปกอัลบั้มที่ออกแนว psychedelic ที่ฉีกแนวจากปกอัลบั้มป็อปทั่วไป (ความจริงแนวโน้มนี้เริ่มเห็นได้ตั้งแต่อัลบั้มก่อนหน้าคือ Revolver ซึ่งใช้ลายเส้นสีขาวดำ)
 
แต่หากมองในเนื้อหาของหลายเพลงในอัลบั้มนี้แล้ว เรากลับพบว่าเพลงส่วนใหญ่ยังมีเนื้อหาที่ค่อนข้างอนุรักษ์นิยม เช่น เพลง She’s Leaving Home และเพลง When I’m Sixty-Four ที่ยังมีมุมมองของคนรุ่นเก่า หรือแม้แต่เพลง Fixing Hole ก็เป็นการบอกเล่าเรื่องราวธรรมดาสามัญของการใช้ชีวิตของคนทั่วไป เนื้อหาเช่นนี้ดูจะไม่เหมาะกับอัลบั้มที่ออกมาในช่วง Summer of Love ปี 1967 ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์สำคัญทางวัฒนธรรมในยุคแห่งการแสวงหาของเหล่าบุปผาชน
 
สิ่งที่เป็นจุดเด่นอย่างแท้จริงของอัลบั้มนี้คือรูปแบบดนตรีที่แม้นักวิจารณ์ส่วนหนึ่งจะบอกว่าเพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มนี้ไม่ใช่เพลงที่เพราะและชวนจดจำมากเท่ากับอัลบั้มก่อนหน้าของ The Beatles ไม่ว่าจะเป็น Rubber Soul หรือ Revolver แต่สิ่งหนึ่งที่นักวิจารณ์เห็นพ้องกันคือความกล้าในการลองและผสมผสานรูปแบบดนตรีหลากหลาย เช่น rock, jazz, blues, avant-garde เป็นต้น นับได้ว่าเป็นต้นแบบของ progressive rock ในเวลาต่อมา  มีการใช้เทคนิคการอัดเสียงใหม่ๆที่ เช่น การตัดต่อเทปให้เล่นวนหรือ loop tape การสร้างเอฟเฟกต์ด้วยการเล่นเทปกลับหลัง การผสมเสียงของเทปจากการอัดสองครั้งที่จังหวะและระดับความถี่เสียง (pitch) ที่แตกต่างกัน เทคนิคต่างๆเหล่านี้ไม่ใช่เป็นแค่ลูกเล่นเท่านั้น แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของการแต่งเพลงเพราะเป็นการใช้เอฟเฟกต์เพื่อให้เกิดอิทธิพลต่ออารมณ์ของผู้ฟังที่สอดคล้องกับเนื้อหาของเพลง มีรูปแบบที่คล้ายกับการสร้างงานศิลปะแนว avant-garde ซึ่งมีอิทธิพลมากในยุคนั้น โดยเฉพาะเทคนิคแบบ collage ที่สร้างงานศิลปะขึ้นใหม่จากการผสมผสานและดัดแปลงงานศิลปะแบบเก่าเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ Sgt. Pepper ยังเป็นอัลบั้มแรกที่ไม่มีช่องว่างระหว่างแต่ละแทร็ก โดยเมื่อแทร็กหนึ่งจบจะเริ่มอีกแทร็กหนึ่งทันทีโดยไม่มีช่วงหยุดระหว่างเพลงทำให้อารมณ์ในการฟังเพลงเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่สะดุด
 
เพลงที่เป็น highlight ของอัลบั้มนี้คือเพลง A Day In The Life ซึ่งเป็นเพลงสุดท้ายของอัลบั้มต่อจากแทร็กเพลงซ้ำ Sgt. Pepper (Reprise) เพื่อให้สะท้อนถึงจุดจบของเรื่องราวในจินตนาการและการกลับเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริง เพลงนี้เป็นเพลงที่ค่อนข้างมีความสลับซับซ้อน ประกอบด้วยท่อนหลัก 4 ท่อน ท่อน bridge ท่อนที่แปลกและค่อนข้าง abstract คือช่วงที่บรรเลงด้วยออร์เครสตราใช้เครื่องดนตรี 40 ชิ้นแบบให้อิสระกับนักดนตรีในการไล่โน้ตจากต่ำไปสูงซึ่งมีความยาวทั้งหมด 24 ห้อง สอดแทรกด้วยท่อนกลางที่ Paul เป็นคนแต่งและร้อง ส่วนที่เหลือของเพลงแต่งโดย John จากเรื่องราวที่เขาอ่านพบในหนังสือพิมพ์ เนื้อเพลงช่วงก่อนเข้าสู่การบรรเลงแบบอิสระของออร์เครสตรามีข้อความว่า “…I love to turn you on..” ซึ่ง BBC ในสมัยนั้นมองว่าหยาบคายเกินไป เป็นเหตุให้เพลงนี้ถูกแบนไม่ให้ออกอากาศ เพลงจบลงด้วยคอร์ด E major ที่ดังอยู่เกือบหนึ่งนาทีเต็ม คอร์ดนี้เล่นด้วยเปียโน 3 หลังผสมด้วยเสียงของ harmonium (ออร์แกนโบราณชนิดหนึ่ง) และใช้เทคนิคในการอัดที่ช่วยให้ลากเสียงคอร์ดสุดท้ายออกไปนานถึงกว่า 40 วินาที
 
มีเกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับเพลงนี้ว่า ในตอนแรก เพลงปิดอัลบั้มควรจะเป็น Sgt. Pepper (Reprise) เพราะจะเป็นไปตาม concept ที่ให้เป็นการบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดโดยวง Sgt. Pepper แต่เมื่อโปรดิวเซอร์ George Martin ได้ฟังคอร์ดสุดท้ายของเพลง A Day In The Life แล้ว เขาคิดว่าเสียงทอดยาวของคอร์ดนี้ควรจะเป็นคอร์ดสุดท้ายของอัลบั้มนี้ ไม่มีอะไรจะมาแทนมันได้
 
ต่อจากเพลงสุดท้าย The Beatles ใส่เสียงเอฟเฟกต์ที่เกิดจากการอัดเสียงพูดของ John ว่า “been so high” และของ Paul ว่า “never could have been any other way” พร้อมเสียงหัวเราะที่เล่นกลับหลังและวนไปมา เท่านั้นยังไม่พอ พวกเขายังทิ้งลูกเล่นสุดท้ายไว้ในร่องแผ่นเสียงร่องสุดท้ายซึ่งในสมัยนั้นเครื่องเล่นจานเสียงยังไม่มีระบบยกหัวเข็มแบบอัตโนมัติ ดังนั้น ถ้าใครทิ้งหัวเข็มค้างไว้ จะมีเสียงความถี่สูง 15 กิโลเฮิร์ทซ์ซึ่งเป็นความถี่ที่มนุษย์ไม่ได้ยินแต่จะเป็นเสียงที่กวนประสาทสุนัขแบบสุดๆ นักวิจารณ์ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าไอเดียเรื่องการใช้เทคนิคการอัดเสียงแบบแปลกๆในแผ่นนี้น่าจะมาจากจินตนาการของคนที่กำลังเมายาและเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะสมัยใหม่แบบ avant-garde
 
แม้แต่ปกอัลบั้มนี้ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างแพร่หลาย อย่างแรกที่มักพูดถึงกันคือการสื่อด้วยภาพของวงในจินตนาการ Sgt. Pepper ที่มีการแต่งกายรวมทั้งการไว้ทรงผมและหนวดเคราที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากภาพลักษณ์ “mop tops” หรือ “สี่เต่าทอง” ที่มีสัญลักษณ์ปรากฏบนปกอัลบั้มด้วยหุ่นขี้ผึ้ง (จากพิพิธภัณฑ์ Madame Tussauds) ของสมาชิกทั้งสี่คนที่ถูกเบียดให้ไปยืนอยู่ด้านข้าง การไว้หนวดครึ้มและการแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีฉูดฉาดสื่อถึงวัฒนธรรมฮิปปี้ที่กลายเป็นกระแสนิยมในยุคนั้น ภาพหมู่ของบุคคลสำคัญประกอบด้วยภาพถ่าย 57 ภาพและภาพหุ่นขี้ผึ้งอีก 9 ภาพซึ่งเป็นบุคคลสำคัญหลากหลายจากวงการต่างๆซึ่งรวมทั้งนักแสดง นักวิทยาศาสตร์ นักกีฬา กูรูลัทธิทางศาสนา นักเขียน นักร้องและนักแสดง เหตุผลที่อัลบั้มนี้ได้รับการยกย่องจากหลายสำนักให้เป็นอัลบั้มร็อกยอดเยี่ยมตลอดกาลน่าจะเป็นเพราะการที่เป็นอัลบั้มที่ทรงคุณค่าในด้านการยกระดับดนตรีป็อปจนเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่ไม่สามารถมองข้ามไปได้อีกต่อไป ความเป็นผู้บุกเบิก album era ที่ปลดปล่อยศิลปินจากพันธนาการเชิงพาณิชย์ยุคที่ยังเน้นแต่แผ่นซิงเกิล และที่สำคัญที่สุด Sgt. Pepper เป็นอัลบั้มซึ่งนับเป็น iconic album ที่เป็นตัวแทนสะท้อนความเป็นไปทางวัฒนธรรมและสังคมในยุคทศวรรษที่ 60 ในปี 2003 นิตยสาร Rolling Stone จัดให้เป็นอัลบั้มอันดับหนึ่งของรายชื่อ 500 Greatest Albums of All Time และในปีเดียวกัน Library of Congress ของอเมริกาบรรจุอัลบั้มนี้ในทำเนียบ National Recording Registry เพื่อให้เกียรติถึงความเป็นอัลบั้มที่มีความสำคัญทางศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ในเชิงพาณิชย์ อัลบั้มนี้ก็ประสบความสำเร็จอย่างสูง ขายไปทั่วโลกแล้วกว่า 32 ล้านแผ่น
 
อย่างไรก็ตาม Paul McCartney พูดถึงอัลบั้มนี้อย่างถ่อมตัวว่าเขาเชื่อว่าหลายๆอย่างที่พวกเขาใส่ไว้ในอัลบั้มนี้เป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่แล้วในยุคนั้น The Beatles เป็นเพียงผู้ที่สามารถนำเสนออิทธิพลต่างๆที่ได้รับจากศิลปวัฒนธรรมในยุคนั้นจนทำให้เกิดกระแสนิยมกันอย่างกว้างขวาง
 
มีเกร็ดเล็กน้อยสำหรับเพื่อนสมาชิกที่เป็นคอเพลงพันธุ์แท้ที่ต้องการฟังเพลงจากต้นฉบับที่มาจากการอัดเสียงในครั้งแรกจริงๆ ไม่ใช่การมามิกซ์เสียงในภายหลัง อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มสุดท้ายของ The Beatles ที่ต้นฉบับเป็นการอัดในระบบโมโน ส่วนเวอร์ชั่นที่เป็นสเตอริโอนั้นเป็นการมามิกซ์เสียงในภายหลัง มีนักวิจารณ์ส่วนหนึ่งบอกว่าหากต้องการอรรถรสที่แท้จริงจากอัลบั้มนี้ ควรจะฟังอัลบั้มในระบบโมโนเพราะมิติเสียงที่อออกมาจะเป็นไปตามความตั้งใจของนักดนตรีและโปรดิวเซอร์มากกว่า
 
ในขณะที่เอฟเฟกต์เสียงในระบบสเตอริโอจะให้ความรู้สึกของความเป็น psychedelic มากกว่า เช่นการที่เสียงวิ่งไปมาระหว่างลำโพงซ้ายขวาทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนพวกกำลังเพลินจากอิทธิพลของการเสพยา แต่เวอร์ชั่นโมโนจะให้ความรู้สึกที่ดิบเป็น rock มากกว่า ก็ลองไปหามาฟังกันดูนะครับว่าจะเป็นอย่างที่เขาว่าหรือไม่ คงจะเหมือนการได้กลับไปสัมผัสกับอัลบั้มนี้เป็นครั้งแรก
 
อันที่จริง Magical Mystery Tour ที่ออกครั้งแรกในอังกฤษไม่ได้ออกมาในรูปอัลบั้ม แต่ออกมาในรูปของ double EP เพราะมาจากเพลง soundtrack 6 เพลงจากหนังเรื่อง Magical Mystery Tour ซึ่งสร้างปัญหาให้กับต้นสังกัด Parlophone ในอังกฤษ เนื่องจากมีเพลงมากไปสำหรับแผ่น single แต่ก็น้อยไปสำหรับแผ่น LP ค่ายนี้จึงแก้ปัญหาด้วยการออกเป็น double EP 2 แผ่น แต่เมื่อออกในอเมริกา ค่าย Capitol ตัดสินใจออกเป็น LP โดยบรรจุทั้ง 6 เพลงจาก soundtrack หนังเป็น side A โดยใน side B นำเพลงที่ออกมาเป็นแผ่นซิงเกิลมาแล้ว 4 เพลงซึ่งรวมเพลง Strawberry Fields Forever และ Penny Lane อยู่ด้วย
 
Magical Mystery Tour เป็นหนังเรื่องที่ 3 ของ The Beatles ต่อจาก A Hard Day’s Night และ Help! แต่จะแตกต่างจากสองเรื่องที่กำกับโดยผู้กำกับมืออาชีพอย่าง Richard Lester ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ส่วน MMT เป็นหนังสร้างสำหรับฉายทางทีวี เป็นหนังที่มีไม่มีการเขียนบทไว้ก่อน เป็นไอเดียที่ Paul ได้ได้จากการอ่านเรื่องราวของ Ken Kesey (ผู้เขียนเรื่อง One Flew Over the Cuckoo’s Nest) เกี่ยวกับการตระเวนเสพยาไปทั่วอเมริกากับรถบัสชื่อ Further ของเขากับกลุ่มคนเดินทางที่เรียกตัวเองว่า Merry Pranksters
 
เมื่อออกฉายเป็นครั้งแรกทางช่อง BBC ก็ถูกนักวิจารณ์และคนดูสวดยับว่าเป็นหนังที่ไม่มีเนื้อหา เหมือนเอาเหตุการณ์มาปะติดปะต่อกันโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย การถ่ายทำที่เหมือนมือสมัครเล่นจนเกิดอาการภาพสั่นไหวเกือบทั้งเรื่อง คนดูให้เรตติ้งต่ำเป็นประวัติการณ์ที่ 23 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100 อย่างไรก็ตาม มีนักวิจารณ์ในปัจจุบันบางส่วนเริ่มมองว่าเป็นไปได้ว่าการนำเสนอของหนังเรื่องนี้เป็นแนว avant-garde ที่ล้ำยุคจนยากที่คนสมัยนั้นจะยอมรับได้ ซึ่งก็อาจจะมีเค้าความเป็นจริงเนื่องจากในช่วงนั้น Paul McCartney สนใจศึกษางานดนตรีของนักประพันธ์ดนตรีแนว avant-garde อย่าง Karlheinz Stockhausen และ John Cage ถึงขนาดนำรูปของ Stockhausen ลงบนปกอัลบั้ม Sgt. Pepper ด้วย
 
นอกจากนี้ หนังเรื่องนี้ยังมีความเป็น surrealism ในแนวศิลปะเหนือจริงของ Dali จึงไม่น่าแปลกใจที่ตอนที่หนังเรื่องนี้ออกมาจึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบกันอย่างแพร่หลาย แต่ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบหนังเรื่องนี้ก็ตาม อย่างหนึ่งที่นักวิจารณ์ยอมรับกันคือความกล้าของ The Beatles ที่สร้างผลงานแบบที่สามารถสะท้อนสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม counterculture ในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี
 
'''ยุคที่ 3 ยุคแห่งปัจเจกบุคคลและการแยกวง'''<ref>[http://thebeatlesfortheages.blogspot.com/2017/08/2-brianepstein-beatles-liverpool-cavern.html The Beatles เหนือกาลเวลา]</ref>
 
ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกวง The Beatles เริ่มส่อเค้าตั้งแต่ทางวงตัดสินใจที่จะไม่ตระเวนทัวร์อีกต่อไปหลังจากออกอัลบั้ม Revolver John เคยให้สัมภาษณ์ว่านั่นเริ่มจุดประกายความคิดว่าเขาอาจจะต้องเริ่มคิดถึงอนาคตที่จะไม่มี The Beatles อีกต่อไป แต่ความคิดนั้นดูจะเป็นสิ่งที่น่ากลัวเกินไปสำหรับเขา ในช่วงนั้น ทางวงอยู่ในระหว่างการทำอัลบั้มถัดมาคือ Sgt. Pepper’s Lonely Hearts Club Band ซึ่งจะเป็นสตูดิโออัลบั้มอย่างแท้จริงเพราะพวกเขาจะไม่มีภาระการต้องออกทัวร์อีกต่อไป จึงมีเวลาทุ่มให้กับมันอย่างเต็มที่
 
ตามที่เล่าไว้ในตอนที่ 3 ว่าอัลบั้ม Sgt. Pepper เป็นความคิดของ Paul ซึ่งเป็นช่วงที่เขากำลัง creative อย่างเต็มที่ เขาสนใจเข้าร่วมกับสังคมของศิลปิน avant-garde ในลอนดอน นับเป็นช่วงเวลาที่ Paul เปิดตัวออกสู่โลกกว้างเพื่อแสวงหาแนวทางดนตรีและศิลปะแขนงต่างๆและมีความมั่นใจในตัวเองอย่างเต็มที่ ซึ่งผิดกับ John ที่แม้ภายนอกจะดูเหมือนเป็นคนแกร่ง แต่กลับเต็มไปด้วยความกังวลภายในใจและยังไม่มั่นใจในผลงานของตัวเองเช่นเดียวกับ Paul นี่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาเริ่มหันเข้าหายาเสพติดและใช้ยา LSD เป็นประจำ
 
แต่สิ่งที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงคือการตายของ Brian Epstein ผู้จัดการวงที่เป็นหลักยึดของวงโดยเฉพาะ John หลังจากออกอัลบั้ม Sgt. Pepper ได้ไม่ถึง 3 เดือน ในตอนนั้น John เกิดความวิตกอย่างมากว่าพวกเขาจะทำอย่างไรต่อไปเพราะพวกเขาไม่เคยสนใจกับเรื่องอื่นเลยนอกจากเรื่องของดนตรี ผิดกับ Paul ซึ่งเริ่มแสดงความเป็นผู้นำออกมาให้เห็น เพียงไม่กี่วันหลังการตายของ Epstein Paul เสนอให้ทางวงทำหนังเพลงแนวแฟนตาซีเรื่อง Magical Mystery Tour อาจจะเป็นด้วยสาเหตุนี้ที่ตอกย้ำให้ John ซึ่งมีความรู้สึกลึกๆว่าตนเองกำลังสูญเสียความเป็นผู้นำที่ก่อตั้งวงนับตั้งแต่ Paul เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในการกำหนดทิศทางของวงนับจากอัลบั้ม Sgt. Pepper ซึ่งเป็นไอเดียของ Paul นักวิจารณ์หลายคนเชื่อว่าหาก Epstein ยังอยู่ เหตุการณ์ทำนองนี้คงไม่เกิดขึ้นเพราะเขาจะเป็นผู้ที่กำหนดทิศทางต่างๆให้กับวง นอกจากนี้ ในความเห็นของ Paul เขาเชื่อว่าการที่ทางวงหยุดออกทัวร์ก็มีส่วนทำให้ขาดความรู้สึกผูกพันธ์และมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกันเหมือนเดิม ความเห็นนี้อาจจะมีมูลความจริง เนื่องจากหากดูจากการแสดงคอนเสิร์ตร่วมกันเป็นครั้งสุดท้ายบนชั้นดาดฟ้าของตึกสำนักงาน Apple Corps ที่ถนน Seville Row ลอนดอน เราจะเห็นได้ว่าทั้งๆที่ John และ Paul จะมีความสัมพันธ์ส่วนตัวที่แย่มากๆในขณะนั้น แต่ดูทั้งคู่จะมีความสุขที่ได้เล่นดนตรีด้วยกันอย่างเห็นได้ชัด
 
ยิ่งเมื่อ Magical Mystery Tour ไม่ประสบความสำเร็จเหมือนอัลบั้มที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในวงก็ยิ่งเสื่อมทรามลง เป็นผลให้อัลบั้มต่อมาซึ่งเป็นอัลบั้มคู่ The Beatles หรือที่เรียกกันว่า White Album เนื่องจากปกอัลบั้มที่เป็นพื้นสีขาวล้วน เป็นอัลบั้มที่เหมือนกับอัลบั้มของศิลปินเดี่ยวแต่ละคนมารวมกัน ขาดการทำงานร่วมกันอย่างเห็นได้ชัด ทุกคนเป็นศิลปินปัจเจกบุคคลที่ต่างคนต่างแต่งเพลงจนเสร็จก่อนจะมาซ้อมกันเพื่ออัดแผ่น ไม่มีการแชร์ไอเดียต่างๆกันเหมือนในอดีต เรามาพูดกันถึงแต่ละอัลบั้มที่ออกมาในยุคสุดท้ายของ The Beatles กันเลยครับ
 
เพลงใน  White Album จึงมีความหลากหลายมากเป็นพิเศษ และสมาชิกแต่ละคนเริ่มแสดงความเป็นปัจเจกบุคคลออกมา ขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเช่นอัลบั้มที่ผ่านๆมา จะเห็นได้ว่าจากจำนวนเพลงทั้งหมดในอัลบั้มคู่นี้ที่มีถึง 30 เพลง มีเพียง 16 เพลงเท่านั้นที่สมาชิกทั้ง 4 คนอยู่เล่นกันพร้อมหน้า การทำงานในอัลบั้มนี้จะเป็นลักษณะที่เพลงเป็นของใคร สมาชิกคนนั้นก็จะดูแลในส่วนของตัวเองไป ทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกที่เหลืออีก 3 คนเป็นเพียงตัวประกอบเท่านั้น ขาดความเป็นเอกภาพอย่างที่ไม่เป็นมาก่อน Paul ถึงกลับพูดถึงอัลบั้มนี้ในภายหลังว่าเป็น tension album เพราะเต็มเป็นไปด้วยความตึงเครียดทุกครั้งที่ต้องมาทำงานร่วมกันในห้องอัดเสียง ความตึงเครียดมากขนาดนี้ที่มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ Ringo ทนไม่ได้หายหน้าไปจากห้องอัดอยู่ ?? สัปดาห์ก่อนที่เพื่อนๆจะตามกลับมาโดย George ปลอบใจด้วยประดับด้วยดอกไม้เพื่อต้อนรับการกลับมา
 
แต่นักวิจารณ์บางส่วนก็บอกว่าด้วยการเริ่มเป็นตัวของตัวเองนี้เองอาจจะมีส่วนทำให้นี่การเป็นอัลบั้มที่ยิ่งใหญ่อัลบั้มหนึ่งของพวกเขา เพราะทำให้ได้เห็นแต่ละคนฉายแววที่ซ่อนไว้ในตัวเองออกมาอย่างเต็มที่แทนที่จะต้องทำตัวเป็น The Beatles ในแบบที่แฟนเพลงคุ้นเคย อัลบั้มนี้อัดแน่นไปด้วยแนวดนตรีที่มีหลากหลายตั้งแต่ blues, rock and roll ไปจนถึง avant-garde
 
พวกเขาต้องการทำอัลบั้มที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจาก Sgt. Pepper ที่เน้นเรื่อง production การอัดเสียงจนไม่ได้สัมผัสเนื้อแท้ของดนตรีอย่างเต็มที่ ด้วยเหตุนี้เอง อัลบั้มนี้จึงนับเป็นความพยายามของ The Beatles ที่จะกลับหาความเรียบง่ายมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ซึ่งเริ่มเห็นได้ตั้งแต่แทร็กซ์แรกคือ Back to the U.S.S.R. ที่เป็นการหวนกลับไปหารากเหง้าของดนตรี rock and roll ในแนวของ Chuck Berry สอดแทรกด้วยกลิ่นอายของ The Beach Boys ซึ่งก็ได้รับอิทธิพลจาก Chuck Berry มาอีกต่อหนึ่ง หรือเพลงบลูส์อย่าง Yer Blues ที่ดิบและเรียบง่ายตามแนวดนตรีดั้งเดิมของเพลงประเภทนี้อย่างแท้จริง นักวิจารณ์บางคนเชื่อว่าส่วนหนึ่งที่ทำให้แนวดนตรีในอัลบั้มนี้ออกมาแบบเรียบง่ายอาจจะมาจากการที่เพลงส่วนใหญ่แต่งโดยใช้กีตาร์ซึ่งน่าจะมีผลต่อรูปแบบง่ายๆของเพลงที่ออกมา
 
มีหลายเพลงในอัลบั้มนี้ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากประสบการณ์ของพวกเขาระหว่างไปศึกษาการทำสมาธิจาก Maharishi Mahesh Yogi ในอินเดีย เพลง Dear Prudence เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กสาวขี้อายชาวอินเดียคนหนึ่งที่พวกเขาพบระหว่างอยู่ที่นั่น
 
ส่วนเพลง Everybody's Got Something to Hide Except Me and My Monkey แม้จะได้แรงบันดาลใจมาจากการเห็นลิงข้างถนนระหว่างการเดินทางไปยังอาศรม แต่เป็นเพลงที่พูดถึง Yoko Ono ซึ่งตอนนั้นเริ่มจะมีความสัมพันธ์ที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนกับ John เนื่องจากเขายังแต่งงานอยู่กับ Cynthia อีกเพลงที่ได้แรงบันดาลใจจากลิงคือเพลง Why Don’t We Do It in the Road? เมื่อ Paul เห็นลิงกำลังร่วมเพศกันข้างถนน อย่างไรก็ตาม Paul บอกว่าเขาแต่งเพลงนี้ในสไตล์ของ John
 
เพลง Sexy Sadie เป็นเพลงที่ John แต่งเพื่อล้อเลียน Maharishi Mahesh Yogi ซึ่งถูกกล่าวหาว่าแอบพยายามมีความสัมพันธ์ทางเพศกับหญิงสาวในคณะของ The Beatles คนหนึ่ง
 
เพลงที่แต่งจากประสบการณ์ของตัวเอง มีเพลง Honey Pie ซึ่ง Paul แต่งจากความทรงจำจากการได้ฟังเพลงเก่าๆที่พ่อของเขามักจะเปิดให้ฟังตอนเป็นเด็ก นักวิจารณ์บางคนบอกว่าเพลงนี้ถือเป็นในท่วงทำนองเดียวกับ When I’m Sixty-Four แต่ลึกซึ้งมากกว่า เพลง Martha, My Dear เป็นเพลงที่ได้ชื่อมาจากสุนัขของ Paul เขาแต่งเพลงนี้ขึ้นระหว่างที่กำลังหัดเล่นเปียโนและฮัมทำนองไปด้วย
 
John เองก็แต่งเพลงจากประสบการณ์ของตัวเองในอัลบั้มนี้ Julia เป็นเพลงเกี่ยวกับแม่ของเขาผสมด้วยความนึกคิดเกี่ยวกับ Yoko เขาเล่นกีตาร์ในเพลงนี้ในสไตล์ finger-picking (เกากีตาร์) ซึ่ง John หัดมาจาก Donovan นักดนตรีแนว folk song ที่โด่งดังในยุคนั้น อีกเพลงที่ John แต่งจากความรู้สึกของตัวเองคือ I’m So Tired เมื่อเขานอนไม่หลับเพราะนั่งทำสมาธิมาทั้งวัน ซึ่งฟังดูขัดๆกัน
 
สิ่งที่ขาดไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นอัลบั้มไหนของ The Beatles คือเพลง ballad ของ Paul ซึ่งในอัลบั้มนี้มีอยู่ 2 เพลงคือ Blackbird และ I Will สำหรับทำนองเพลง Blackbird ได้ความคิดมาจากทำนองเพลงของ Bach เพลงหนึ่งซึ่ง Paul เรียนตอนเด็กที่เขาจำไม่ได้ว่าเป็นเพลงอะไรกันแน่ เขาบอกด้วยว่าเขาเขียนเพลงนี้โดยคิดถึงการต่อสู้ของผู้หญิงผิวดำในยุคทศวรรษที่ 60 ซึ่งการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนกำลังดำเนินอยู่ Paul แต่งทำนองเพลง I Will ไว้นานแล้ว แต่ยังคิดเนื้อเพลงที่ถูกใจไม่ได้ แม้แต่ตอนอยู่อินเดีย เขาลองเล่นทำนองเพลงนี้และลองคิดเนื้อเพลงกับ Donovan แต่ก็ออกมาเกี่ยวกับดวงจันทร์ ยังไม่ใช่เวอร์ชั่นสุดท้ายที่ปรากฏในอัลบั้มนี้ Paul บอกว่าชอบทำนองเพลงนี้มากเพราะต้องถือว่าลงตัวที่สุดเพลงหนึ่ง
 
John เองก็พิสูจน์ให้เห็นว่าหากเขาอยากจะแต่งเพลง ballad หวาน เขาก็ทำได้เช่นกัน เขาแต่งเพลง Good Night ในอัลบั้มนี้ให้กับลูกชาย Julian (เช่นเดียวกับเพลง Beautiful Boy ที่แต่งให้กับลูกชายอีกคนคือ Sean) เขาให้ Ringo เป็นคนร้อง Paul ให้สัมภาษณ์ว่า John ไม่อยากร้องเพลงนี้เองเพราะอาจจะกลัวที่จะเสียภาพลักษณ์ของตัวเองที่ไม่ค่อยชอบร้องเพลงประเภทหวานแหวว Paul บอกอีกว่านี่เป็นภาพอีกด้านหนึ่งของ John ที่เราไม่ค่อยจะได้เห็นกัน แต่เขาก็ชอบที่จะเก็บความทรงจำของ John เวลาที่เขามีความอ่อนโยนและละเอียดอ่อนแบบนี้
 
แต่ใช่ว่า Paul จะมีแต่เพลงหวานแหววหรือฟังดูย้อนยุค เขาพิสูจน์ให้เห็นในอัลบั้มนี้ว่าเขาก็สามารถแต่งเพลงร็อกแบบดิบๆที่ได้อารมณ์เพลงร็อกอย่างแท้จริงอย่าง Back in the USSR หรือเพลง Helter Skelter ที่นักวิจารณ์บางคนบอกว่าน่าจะถือได้ว่าเป็นเพลง heavy metal เพลงแรกเลยก็ว่าได้เพราะ Paul ทั้งร้องทั้งเล่นแบบใส่อารมณ์ได้สุดๆแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน Paul ให้สัมภาษณ์ว่าเขาได้อ่านบทวิจารณ์ที่พูดถึงเพลงร็อกประเภทดุดันทั้งด้านดนตรีและเนื้อร้องแล้วเกิดอยากลองดูบ้าง เขาชอบอะไรที่ท้าทาย แม้ว่าเพลงนี้จะเป็นเพลงที่ Charles Manson หัวหน้ากลุ่มจิตวิตถารที่เรียกตัวเองว่า “Family” และได้ก่อคดีฆ่าหมู่สยดสยองในปลายยุคทศวรรษที่ 60 ซึ่งเหยื่อของเขารวม Sharon Tate ดาราสาวภรรยาของผู้กำกับชื่อดังในยุคนั้น Roman Polanski
 
Manson คลั่งไคล้ The Beatles และพยายามตีความหมายต่างๆจากเพลงของวงนี้แม้ว่าในความเป็นจริงผู้แต่งจะไม่ได้มีเจตนาที่จะสื่อความหมายตามที่ Manson เข้าใจก็ตาม โดยเฉพาะเพลง Helter Skelter ซึ่ง Manson อ้างว่าเป็นเพลงที่พูดถึงกลียุคตามคัมภีร์ไบเบิลที่กำลังจะเกิดขึ้นและเชื่อว่า The Beatles คือ “the Four Horsemen of the Apocalypse” หรือภูติทั้งสี่ที่จะนำมาซึ่งกลียุคและความหายนะ แต่ Paul ยืนยันว่าแม้ว่าแนวดนตรีของเพลงนี้จะฟังดูเป็นร็อกดุดัน แต่ความจริงเป็นเพลงไม่มีพิษไม่มีภัยที่มีเนื้อร้องเกี่ยวกับเครื่องเล่นประเภทไม้ลื่นตามงานเทศกาลในอังกฤษ
 
อัลบั้มนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของ George Harrison ซึ่งเดิมจะเป็นเหมือนตัวประกอบให้กับ John และ Paul แต่ในอัลบั้มนี้เขาเริ่มแต่งเพลงที่ถือได้ว่ามีคุณภาพเทียบเคียงกับทั้งคู่ได้เป็นอย่างดี ในความเห็นของนักวิจารณ์ส่วนใหญ่มองว่าเพลง While My Guitar Gently Weeps จัดเป็นเพลงระดับคลาสสิกเพลงหนึ่งของ The Beatles เพลงนี้ George ได้แรงบันดาลใจมาจากการได้อ่านคัมภีร์อี้จิง (I Ching) ซึ่งเป็นคัมภีร์จีนโบราณว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงที่สอนว่าทุกอย่างในจักรวาลล้วนมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ต่างกับความคิดแบบตะวันตกที่ว่าทุกอย่างมักจะเป็นเรื่องของเหตุบังเอิญ George นำแนวคิดมาใช้ในการแต่งเพลงนี้โดยที่เขาสุ่มหยิบหนังสือและเปิดไปที่หน้าใดก็ได้ เขาใช้ข้อความแรกที่ปรากฏต่อสายตาเป็นจุดเริ่มต้นในการแต่งเพลง ข้อความแรกที่เขาเจอคือ “…gently weeps…”
 
George บ่นในภายหลังว่าเมื่อเขาลองเล่นเพลงที่แต่งออกมานี้ให้สมาชิกคนอื่นฟัง ไม่มีให้ความสนใจ แต่ลึกๆในใจแล้ว เขามั่นใจว่านี่เป็นเพลงที่ดีเพลงหนึ่ง วันรุ่งขึ้น เขาพบกับ Eric Clapton และชวนเขามาเล่นเพลงนี้ด้วยกัน ทีแรก Eric ปฏิเสธเพราะเชื่อว่าเป็นธรรมเนียมของ The Beatles ที่จะไม่เชิญนักดนตรีคนอื่นมาร่วมงานด้วย แต่ George คะยั้นคะยอโดยบอกว่านี่เป็นเพลงของเขา เขามีสิทธิ์จะเชิญใครมาเล่นด้วยก็ได้ นี่จึงเป็นเพลงแรกของ The Beatles ที่มีนักนักดนตรีอื่นมาร่วมงานด้วยโดยที่ Eric Clapton มาช่วยเล่นกีตาร์โซโล่ในเพลงนี้
 
George Martin เชื่อว่าอัลบั้มนี้น่าจะออกมาดีกว่านี้ถ้าจะทำให้กระชับขึ้นและตัดเพลงบางเพลงออกไปโดยทำออกมาเป็น single แทนที่จะเป็น double album แต่เขาเข้าใจว่าที่ทางวงตัดสินใจทำออกมาแบบนี้เพราะจะได้หมดสัญญากับค่ายเพลงได้เร็วขึ้นเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในวงโดยเฉพาะระหว่าง John และ Paul เริ่มจะแย่ลงเรื่อยๆถึงขนาดที่แยกกันอัดเพลงของตัวเองไม่ได้มาร่วมกันทำเพลงเหมือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม George Martin ก็ยอมรับว่านักวิจารณ์ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่านี่เป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดอัลบั้มหนึ่งของ The Beatles
 
เพลงในอัลบั้มนี่ที่สะท้อนความเป็นไปของการต่อสู้เรียกร้องของคนหนุ่มสาวที่เรียกกันว่า counterculture ในยุคนั้นน่าจะเป็นเพลง Revolution 1 ซึ่งเป็นเวอร์ชันเล่นช้า (ความยาว 4.15 นาที) ของซิงเกิล Revolution ที่เป็น side B ของซิงเกิล Hey Jude ที่ออกมาก่อนหน้านี้ (ความยาว 3.21 นาที) ในตอนหนึ่งของเพลงนี้ที่มีเนื้อว่า “…But when you talk about destruction; Don't you know you can count me out (in)…” ซึ่งแสดงจุดยืนที่ค่อนข้างกำกวมของ John ซึ่งเป็นผู้แต่งเพลงนี้ว่า หากมีการปฏิวัติเกิดขึ้น John ร้องโดยใช้วลีที่ว่า …count me out… แต่กลับพูดคำว่า …in… ต่อท้าย ทำให้ยากต่อการตีความว่าเขามีจุดยืนในเรื่องนี้อย่างไรกันแน่
 
เพลงที่มีความเป็น experimental music และห่างไกลจากความเป็น The Beatles มากที่สุดน่าจะเป็นเพลง Revolution 9 เพราะเป็นเพลงที่สร้างสรรค์ขึ้นมาโดยใช้เทคนิค collage แบบศิลปะ avant-garde ในการนำเทปที่บันทึกเสียงต่างๆไว้มาตัดต่อเป็น tape loop แล้วมิกซ์เสียงต่างๆที่มีทั้งเสียงดนตรี เสียงคนพูดและเสียงอื่นๆเข้าด้วยกันเป็น “เพลง” ที่มีความยาวถึง 8:22 นาที เห็นได้ชัดว่าเพลงนี้ซึ่งเป็นผลงานของ John ได้รับอิทธิพลอย่างเห็นได้ชัดจาก Yoko Ono ที่เป็นศิลปินแนว avant-garde และเป็นคนช่วย John ตัดสินใจว่าจะนำเทปใดมาใช้บ้าง
 
เป็นเรื่องแปลกที่ว่าอัลบั้มนี้แม้จะใช้ชื่อวงเป็นชื่ออัลบั้มซึ่งเหมือนจะสื่อถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของสมาชิกทุกคน แต่อัลบั้มนี้กลับเป็นเหมือนการรวมเพลงที่แต่ละคนแต่ง 30 เพลงโดยไม่ได้มีความเป็น The Beatles เหมือนอัลบั้มอื่นๆที่เคยผ่านมา
 
ในอังกฤษ อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มสุดท้ายของ The Beatles ที่ออกมาโดยใช้การอัดเสียงทั้งในระบบโมโนและสเตอริโอเนื่องจากการที่คนส่วนใหญ่ยังใช้เครื่องเล่นจานเสียงระบบโมโน ส่วนในอเมริกา อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มแรกที่ออกมาในระบบสเตอริโอเพียงอย่างเดียว อัลบั้มของวงหลังจากนี้จะออกมาในระบบสเตอริโอเพียงอย่างเดียว ยกเว้นแผ่น Yellow Submarine ในอังกฤษ (ทำจากต้นฉบับเทปที่เป็นสเตอริโอ ไม่ใช่การอัดในระบบโมโนตั้งแต่ต้น) และอัลบั้มในบางประเทศที่ยังมีออกมาในระบบโมโน
 
สำหรับซิงเกิล Hey Jude เป็นเพลงที่ Paul แต่งขึ้นเพื่อปลอบใจ Julian ลูกชายของ John กับ Cynthia ในช่วงที่กำลังแยกทางจากกัน แต่เมื่อ John ได้ยินเพลงนี้ครั้งแรก เขาคิดว่า Paul กำลังพูดถึงเขา เหมือนกับจะท้าให้ John ออกจากวงเนื่องจากในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งคู่กำลังเลวร้ายลงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม John ชมว่านี่น่าจะเป็นเพลงที่ดีที่สุดของ Paul
 
'''Yellow Submarine (ม.ค. 1969)'''
 
อัลบั้มนี้เป็น soundtrack จากภาพยนตร์แอนิเมชันชื่อเดียวกัน Side A จะเป็นเพลงจากหนังเรื่องนี้ซึ่งจะมีเพียง 4 เพลง ส่วนอีก 2 เพลงเป็นเพลงที่เพิ่มเข้ามา Side B จะเป็นเพลงบรรเลงด้วยวงออร์เคสตราแต่งโดย โปรดิวเซอร์ George Martin ที่นำมาเรียบเรียงและบันทึกเสียงใหม่ เดิมทีเคยมีแผนที่จะออกเพลงชุดนี้เป็นแบบ double EP ถึงขนาดมีการทำมาสเตอร์เทปไว้แล้ว แต่ก็เปลี่ยนแผนมาเป็นการออกเป็น LP แทน เหตุผลหนึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าการนำผลงานการประพันธ์และเรียบเรียงเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ของ George Martin มารวมไว้จะเปิดโอกาสให้เขาได้รับค่า royalty จากอัลบั้มนี้
 
แม้ว่าในตอนแรกเริ่ม The Beatles จะไม่สนใจการทำหนัง animation เรื่องนี้เพราะไม่ค่อยพอใจกับผลงานหนังเรื่องที่สอง Help! ของพวกเขาที่ออกมาก่อนหน้านี้ แต่พวกเขาก็หวังว่าหนังเรื่องนี้จะช่วยให้พวกเขาหมดสัญญาการทำหนัง 3 เรื่องกับค่าย United Artists อย่างไรก็ตาม ทาง UA ตีความสัญญาว่าเนื่องจาก The Beatles มีบทบาทในหนังที่เป็นแค่ animation นี้น้อยมาก ในทางกฎหมายแล้วยังถือว่าพวกเขายังติดสัญญาหนังอีกเรื่องกับทางค่าย นั่นจึงเป็นที่มาของหนังเรื่องสุดท้ายคือ Let It Be ซึ่งจะได้พูดถึงต่อไป
 
สำหรับ soundtrack ของหนัง animation เรื่องนี้ เพลงไตเติ้ลแทร็ก Yellow Submarine เป็นเพลงเก่าในอัลบั้ม Revolver ที่นำมาบรรจุไว้ในหนังเรื่องนี้ เพลงส่วนใหญ่เป็นการนำบางส่วนของเพลงเก่าของ The Beatles มาใส่ไว้ มีเพียง 4 เพลงที่เป็นเพลงใหม่ซึ่ง 3 เพลงแต่งโดย George Harrison คือเพลง All Together Now, It’s All Too Much และ Only A Northern Song (เพลงนี้ทำไว้ตั้งแต่อัลบั้ม Sgt. Pepper แต่ไม่ได้รวมไว้ในอัลบั้ม) ส่วนเพลง Hey Bulldog ที่แต่งโดย Lennon-McCartney มีอยู่เฉพาะในหนังที่ออกฉายในอังกฤษ แต่ถูกตัดออกไปเมื่อนำออกฉายในอเมริกา เพลงสุดท้ายบน Side A คือเพลง All You Need Is Love เคยออกมาแล้วในอัลบั้ม Magical Mystery Tour
 
แม้ Paul จะย้ำว่าเขาแต่งเพลง Yellow Submarine ให้เป็นเพลงฟังสนุกโดยใช้จินตนาการแบบเด็กๆ ไม่ได้มีความหมายทางปรัชญาอะไรแฝงเร้นอยู่ก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนหนึ่งก็อดไม่ได้ที่จะโยงเรือดำน้ำสีเหลืองนี้ว่าเป็นสิ่งที่สะท้อนความเป็นไปในสังคมยุคนั้นที่มีการต่อต้านสงครามเวียดนามกันอย่างกว้างขวางและปัญญาชนถูกมองว่าขังตัวเองอยู่ในโลกของตัวเอง ไม่สนใจความเป็นจริงในสังคม Donovan นักร้องแนวโฟล์คซองชื่อดังในสมัยนั้นผู้ได้ร่วมเดินทางไปกับ The Beatles ในช่วงที่อยู่อินเดียและมีโอกาสใกล้ชิดกับ Paul McCartney ในขณะที่กำลังแต่งเพลงนี้ ตีความหมายเพลงนี้ว่า Yellow Submarine ไม่ได้เป็นเพียงเรือดำน้ำสีเหลือง แต่เป็นตัวแทนของโลกบนหอคอยงาช้างที่ The Beatles ต้องหลบซ่อนตัวอยู่เพราะชื่อเสียงของพวกเขา ไม่มีโอกาสสัมผัสกับโลกภายนอกได้เหมือนเดิมอีกต่อไป
 
'''Abbey Road (ก.ย. 1969)'''
 
ถ้าดูตามปีที่ออกแล้ว อาจจะเข้าใจว่าอัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มที่ทำไว้ก่อนอัลบั้มสุดท้าย Let It Be แต่ความจริงควรจะถือว่าอัลบั้มนี้คืออัลบั้มสุดท้ายของ The Beatles ที่ได้มาร่วมงานกันอย่างแท้จริง สาเหตุสำคัญที่ทำให้อัลบั้ม Let It Be ล่าช้าจนออกมาหนึ่งปีหลังจากอัลบั้มนี้เป็นเพราะปัญหาความสัมพันธ์ที่เริ่มเลวร้ายลงอย่างมากระหว่างสมาชิกวงโดยเฉพาะระหว่าง John และ Paul ทำให้อัลบั้ม Let It Be ซึ่งเดิมเป็นโครงการที่ใช้ชื่อว่า Get Back ต้องสะดุดลงเพราะสมาชิกเริ่มมองหน้ากันไม่ติด ซึ่งผมจะเล่าเรื่องราวโดยละเอียดต่อไปเมื่อพูดถึงอัลบั้ม Let It Be
 
มองในแง่หนึ่ง Abbey Road เป็นอัลบั้มที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะเป็นช่วงที่ความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างสมาชิกวงกำลังตกต่ำสุดขีดหลังจากปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการอัดเสียงอัลบั้ม Let It Be (ซึ่งใช้ชื่อเดิมว่าGet Back) ถึงขนาดที่มองหน้ากันแทบจะไม่ติด ปัญหาระหว่างสมาชิกมีทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับแนวทางการทำดนตรีของแต่ละคน และในด้านธุรกิจจากปัญหาในบริษัท Apple Records โดยเฉพาะเรื่องการเฟ้นหาตัวผู้จัดการวงคนใหม่ ซึ่งในขณะที่ John, George และ Ringo ต้องการให้จ้าง Allen Klein แต่ Paul ไม่เห็นด้วยเพราะได้ยินข่าวลือเรื่องการทำธุรกิจที่ไม่ค่อยใสสะอาดของ Klein โดยต้องการจ้าง Lee และ John Eastman (พ่อและพี่ของ Linda Eastman ภรรยาของ Paul) ซึ่งสมาชิก Beatles คนอื่นคัดค้านอย่างหนักเพราะเห็นว่าจะเป็นการให้อำนาจกับ Paul มากเกินไป เลยต้องโหวตกันและ Paul แพ้เสียงข้างมากของคนอื่น (Beatles ทำสัญญากับในรูป Partnership ซึ่งใช้เสียงข้างมากในการดำเนินการเรื่องสำคัญ) John, George และ Ringo เซ็นสัญญาจ้าง Klein แต่ Paul ไม่ยอมเซ็นซึ่งเป็นการตัดสินใจที่สำคัญยิ่งต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดตามมาซึ่งผมจะได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ในโอกาสต่อไปครับ
 
ในความเห็นของโปรดิวเซอร์ George Martin เขาตั้งข้อสังเกตว่า Abbey Road นับเป็นอัลบั้มที่มีปัญหาในการผลิตน้อยมากเพราะสมาชิก Beatles ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีทั้งๆที่ความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาไม่ค่อยจะดีนักในช่วงนั้น ที่เป็นเช่นนี้อาจจะเป็นเพราะทุกคนเชื่อว่านี่จะเป็นอัลบั้มสุดท้ายที่พวกเขาจะได้ร่วมงานกันก็เป็นได้ พูดง่ายๆคือเป็นการทิ้งทวนในฐานะ The Beatles เป็นครั้งสุดท้าย อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ต้องทนกับสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ระหว่างการอัดเสียงอัลบั้ม The Beatles (White Album) และ Let It be เขาบอกลา The Beatles และไม่อยากกลับมาร่วมงานกันอีก แต่ก็ยอมในที่สุดจากการขอร้องอ้อนวอนของ Paul แต่ Martin ตั้งเงื่อนไขว่าเขาจะต้องมีสิทธิ์ขาดในการควบคุมทุกอย่างเหมือนกับที่เป็นมาในการทำงานกับอัลบั้มในอดีต
 
มีเกร็ดเรื่องภาพปกอัลบั้มว่าเกิดจากความขี้เกียจของ The Beatles เรื่องมีอยู่ว่าชื่อเล่นๆของอัลบั้มนี้ระหว่างการผลิตคือ Everest ซึ่งเป็นเอามาจากชื่อบุหรี่ยี่ห้อโปรดของ Geoff Emerick ซึ่งเป็น sound engineer ของวง  และเพื่อให้เข้ากับชื่อนี้ เดิมทีพวกเขาคิดว่าจะไปถ่ายปกอัลบั้มนี้ที่เทือกเขา Everest แต่พวกเขาก็ขี้เกียจต้องเดินทางไกล Paul เลยออกไอเดียให้ตั้งชื่ออัลบั้มตามชื่อถนนที่เป็นที่ตั้งของสำนักงาน EMI Studios ทำให้พวกเขาประหยัดเวลาเดินทางไปได้มหาศาลเพราะใช้เวลาไปยังทางม้าลายใกล้สำนักงานแค่ครึ่งชั่วโมงเท่านั้น
 
ภาพปกด้านหน้าและด้านหลังของอัลบั้มนี้กลายเป็นที่มาของข่าวลือเรื่องการตายของ Paul รูปบนปกหน้าจะเป็นสมาชิกทั้งสี่กำลังเดินข้ามทางม้าลายบนถนน Abbey Road John เดินนำหน้าในชุดขาวซึ่งมักจะเป็นสีที่ผู้นำขบวนศพใส่กัน Ringo ที่เดินตามอยู่ในชุดดำซึ่งเป็นสีของผู้ที่แบกโลงศพ George ที่เดินรั้งท้ายอยู่ในชุดยีนส์ซึ่งสัปเหร่อมักจะใส่กัน ส่วน Paul เดินเท้าเปล่าซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคนตาย นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่า Paul ก้าวเท้าแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นซึ่งเดินนำหน้าด้วยเท้าซ้ายขณะที่เขาก้าวโดยใช้ขาขวานำ ถ้าสังเกตดูดีๆจะเห็นว่า Paul เป็นคนเดียวที่หลับตาเหมือนกับคนตาย เขายังคาบบุหรี่ด้วยนิ้วมือขวาทั้งๆที่เป็นคนถนัดซ้าย
 
ส่วนปกหลังจะมีอักษรชื่อวงปรากฏบนกำแพงอิฐโดยที่อักษรตัวสุดท้ายคือตัว S จะมีรอยร้าวพาดผ่าน หน้าชื่อ Beatles มีจุดอยู่ 8 จุดซึ่งเรียงเป็นตัวเลข 3 ซึ่งอาจจะหมายถึงสมาชิกวงที่เหลืออยู่แค่ 3 คนหลังการตายของ Paul ด้านหลังชื่อมีเงาสีขาวที่ดูคล้ายหัวกะโหลก มากไปกว่านั้น บรรดา conspiracy theorists ยังบอกว่าหากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าแขนของผู้หญิงที่เดินผ่านป้ายชื่อ Beatles จะมีเค้าหน้าของ Paul โดยเป็นรูปร่างคล้ายจมูกที่มุมซ้ายด้านบนของปก ส่วนข้อศอกจะเป็นส่วนริมฝีปาก นี่ก็เป็นเรื่องสนุกๆมาเล่าสู่กันฟังนะครับ อาจจะฟังดูเพี้ยนๆ แต่ยังยุคนั้น แฟนเพลง The Beatles จริงจังกับข่าวลือเรื่อง Paul is dead อย่างไม่น่าเชื่อ
 
สำหรับในส่วนของดนตรีในอัลบั้มนี้ แม้ว่าตอนที่มันออกมาใหม่ๆ นักวิจารณ์มีทั้งๆที่ชอบและไม่ค่อยชอบอัลบั้มนี้ แต่กาลเวลาก็เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วถึงความอยู่ยงคงกระพันของอัลบั้มนี้ แฟนเพลงและนิตยสารหลายฉบับโหวตให้อัลบั้มนี้เป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ดีที่สุดของ The Beatles นักวิจารณ์ส่วนหนึ่งให้ความเห็นว่าคงจะเป็นเพราะอัลบั้มนี้ได้ George Martin กลับมาเป็นโปรดิวเซอร์อย่างเต็มตัว จึงมีการใช้เทคนิคการอัดเสียงช่วย โทนที่ออกมาจึงต่างจาก White Album ที่เน้นความเรียบง่าย
 
Side A ของอัลบั้มจะเป็นด้านที่เปิดโอกาสให้สมาชิกแต่ละคนได้ร้องกันอย่างน้อยหนึ่งเพลง John กับ Paul ร้องคนละ 2 เพลง ส่วน George กับ Ringo ได้โควตาไปคนละเพลง สำหรับ Side B จะเป็นด้านที่เน้นการเล่นแบบ medley และแจมดนตรีระหว่างสมาชิกราวกับจะเป็นการทิ้งทายหรือการบอกลาแฟนเพลงในฐานะ The Beatles เป็นครั้งสุดท้าย จึงมีบรรยากาศของความร่วมมือกันระหว่างสมาชิกมากกว่าสองอัลบั้มก่อนหน้านั้น
 
เพลงเปิดอัลบั้ม Come Together ที่แต่งโดย John ซึ่งช่วงที่ทำอัลบั้มนี้เป็นช่วงที่เขากำลังตกอยู่ใต้มนต์สะกดของ Yoko Ono ภรรยาคนใหม่ของเขา เพลงนี้โดดเด่นด้วยการเดินเบสที่คุ้นหูที่สุดเพลงหนึ่งในประวัติศาสตร์เพลงร็อก สัมผัสได้ถึงกลิ่นอายแบบ R&B ชื่อเพลงมาจากวลีหนึ่งในคัมภีร์อี้จิง (I Ching) เนื้อเพลงส่วนหนึ่งที่ว่า “…Here come old flat top…” ไปเหมือนกับท่อนหนึ่งของเพลง You Can’t Catch Me ของ Chuck Berry ที่ว่า “…Here come a flat-top…” ทำให้ถูกฟ้องร้องมาเลียนแบบ ต้องตกลงกันนอกศาล โดย John Lennon ให้สัญญาว่าจะทำอัลบั้มโดยเอาเพลงที่ถือลิขสิทธิ์โดย Morris Levy (ผ่านบริษัท Big Seven) ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลง You Can’t Catch Me จำนวน 3 เพลงมา cover ซึ่งเป็นที่มาของอัลบั้ม Rock ‘n’ Roll ที่ออกมาในปี 1975 ซึ่งเป็นอัลบั้มที่ John นำเพลง rock ‘n’ roll เก่าๆมา cover
 
อีกเพลงของ John และเป็นเพลงปิดท้าย Side A  คือเพลง I Want You (She’s So Heavy) ซึ่งต่างกับ Come Together อย่างสิ้นเชิง ในขณะที่เพลงหลังเป็นเพลงที่เน้นลูกเล่นที่เนื้อร้อง  I Want You กลับมีเนื้อร้องที่เรียบง่ายเพียงท่อนเดียวและร้องวนเวียนไปมาโดยดัดแปลงเพียงเล็กน้อยในแต่ละเที่ยวซึ่งจะเพิ่มความเข้มข้นเรื่อยๆแล้วจบลงห้วนๆแบบทันทีทันใด เนื้อร้องที่มีลักษณะซ้ำไปซ้ำมาน่าจะได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบ minimalism ซึ่งมักใช้เทคนิคนี้โดยจะมี variations ในแต่ละท่อน เรื่องนี้มีความเป็นไปได้เพราะเพลงนี้แต่งในช่วงที่ John กำลังหลงใหลในตัว Yoko Ono ซึ่งเป็นศิลปินแนว avant-garde สังเกตว่าแม้เนื้อเพลงที่มีเพียง 14 คำและร้องซ้ำไปมาแต่จะมี variations ในรูป จังหวะ ความเร็วช้า และ time signature ในแต่ละท่อนทำให้แม้จะเป็นเพลงที่มีความยาวถึง 7:47 นาทีแต่ก็ฟังไม่น่าเบื่อ การจบแบบห้วนๆทันทีทันใดไม่รู้เนื้อรู้ตัวสะท้อนสิ่งที่ John พูดเปรียบเปรยเกี่ยวกับเพลงนี้ว่า เวลาคนกำลังจมน้ำ คงไม่มีใครมัวแต่พูดเยิ่นเย้อ เราคงได้ยินแต่เสียงตะโกนจากคนๆนี้เท่านั้น
 
ส่วน Paul ก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของตัวเองด้วยเพลงแนวจินตนาการที่มีเนื้อร้องสนุกๆและเมโลดี้ที่ผิวปากตามไปด้วยได้ Paul อธิบายว่าเขาแต่งเพลงนี้เพื่อสื่อถึงเหตุการณ์ร้ายต่างๆที่มักจะเกิดขึ้นกับคนเราโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว และนั่นน่าจะเป็นความรู้สึกของ George และ Ringo ระหว่างการอัดเพลงนี้ (John ไม่ได้ร่วมอัดเพลงนี้เพราะป่วย ซึ่งอาจจะเป็นโชคดีของเขา) พวกเขาบ่นว่า Paul พิถีพิถันกับเพลงนี้มากเป็นพิเศษ มีการอัดซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่า Paul จะพอใจ John แขวะว่าพวกเขาหมดค่าใช้จ่ายไปกับการอัดเสียงเพลงนี้เพียงเพลงเดียวมากกว่าเพลงอื่นๆทั้งหมดในอัลบั้มนี้รวมกัน นี่ละครับ perfectionist ตัวจริง!
 
เพลง “เดี่ยว” อีกเพลงของ Paul คือเพลง Oh! Darling เป็นเพลงที่เขาแต่งเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าเขาไม่ได้แต่งได้แค่เพลงหวานแหววเท่านั้น เพลงร็อกหนักที่ต้องตะโกนร้อง เขาก็ทำได้เช่นกัน Paul จริงจังกับเสียงร้องเพลงนี้ที่ต้องการให้ออกมาแบบสุดๆถึงขนาดลองซ้อมร้องเพลงอยู่นาน ถึงขนาดยอมลงทุนมาซ้อมร้องเพลงนี้แต่เช้าในวันอัดเสียงเพื่อให้เสียงออกมาแหบตามที่ต้องการ แต่ John กลับคิดว่าสไตล์การร้องเพลงนี้เหมาะกับเสียงของเขามากกว่า และเชื่อว่า Paul น่าจะให้เขาเป็นคนร้องเพลงนี้มากกว่า
 
หาก George จะเริ่มฉายแววการแต่งเพลงที่เทียบเคียงได้กับ Lennon-McCartney ด้วยเพลง While My Guitar Gently Weeps ใน White Album เพลงในอัลบั้มนี้ของเขาทำให้เขาแจ้งเกิดได้อย่างสมบูรณ์โดยเฉพาะเพลง Something ซึ่ง John และนักวิจารณ์บางคนบอกว่าน่าจะเพลงที่ดีที่สุดในอัลบั้มนี้ ส่วน Paul เชื่อว่านี่เป็นเพลงที่ดีที่สุดของ George
 
George เริ่มแต่งเพลงด้วยเปียโนนี้ตั้งแต่ตอนทำ White Album แต่แต่งค้างไว้แค่ท่อนแรกซึ่งมักจะเป็นวิธีที่เขาทำงาน และสร้างปัญหาตอนที่กลับมาแต่งต่อเพราะไม่อยู่ในอารมณ์เดิมแล้ว John เคยแนะนำเขาว่าควรจะแต่งทีเดียวให้จบเพราะจะได้อารมณ์เพลงที่ต่อเนื่อง นี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ George บอกว่าเขามีปัญหากับท่อนแยก (bridge หรือ middle 8) ของเพลงนี้เป็นพิเศษ
 
ตอนแต่งเพลงนี้ George จินตนาการว่า Ray Charles จะเป็นคนร้องเพลงนี้ ส่วนการที่เนื้อเพลงตอนต้นที่ไปซ้ำกับชื่อเพลง Something In The Way She Moves ของ James Taylor ซึ่งเป็นศิลปินสังกัด Apple Records เหมือนกัน เกิดจากการที่ George ยังคิดเนื้อร้องไม่ออกที่จะให้เข้ากับทำนอง จึง “ยืม” เนื้อร้องตอนต้นมาจากชื่อเพลงนี้ และเมื่อเริ่มแต่งเพลงนี้ไปแล้ว มันก็กลายเป็นส่วนที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้แล้ว แม้แต่ชื่อเพลงก็ยังใช้ว่า Something เพราะเป็นคำที่กลายเป็นหัวใจของเพลงนี้ไปแล้ว
 
หาก Something จะเป็นเพลงที่แทรกไว้ด้วยความรู้สึกไม่มั่นใจหรือเศร้าหมองบางอย่างที่ซ่อนอยู่ภายในใจ เพลง Here Comes the Sun ของ George เป็นเพลงที่ให้ความรู้สึกสดชื่นเต็มไปด้วยความหวัง George เล่าว่าเขาแต่งเพลงนี้ในวันที่เบื่อหน่ายต่อปัญหาด้านต่างๆทั้งในทางธุรกิจและความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกทั้งวงที่กำลังเกิดขึ้น เขาเบื่อขนาดที่ไม่อยากโผล่หน้ามาที่ห้องอัดในวันหนึ่งและหลบไปอยู่บ้าน Eric Clapton เขากำลังเดินเล่นในสวนหลังบ้าน Eric พร้อมกับกีตาร์โปร่งที่ยืมมาเล่น และเกิดแรงบันดาลใจที่จะแต่งเพลงนี้ในช่วงที่กำลังอยู่ในอารมณ์สบายๆปลอดจากความกังวลต่างๆ
 
Octopus’s Garden เป็นเพลงที่สองที่ Ringo แต่ง (เพลงแรกคือ Don’t Pass Me By ใน White Album) George ชอบเพลงนี้ บอกว่าแม้ว่าจะเป็นเพลงที่มีทำนองและเนื้อร้องสนุกๆแบบเด็ก แต่ก็แฝงไว้ด้วยปรัชญาที่แม้แต่ Ringo ก็อาจจะไม่ทราบ โดยเฉพาะท่อนที่มีเนื้อว่า “…I'd like to be under the sea; In an octopus's garden in the shade…” และ “…We would be warm below the storm; In our little hideaway beneath the waves; Restin' our head on the sea bed…” เป็นเรื่องของสภาวะจิตใจที่มีผลต่อความรู้สึกเป็นสุขหรือทุกข์ของเราได้ ส่วน Ringo เองบอกว่าเขาได้ความคิดนี้เมื่อได้ฟังกัปตันเรือคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าปลาหมึกที่อยู่ที่พื้นทะเลจะเก็บวัตถุต่างๆมาทำสิ่งที่เป็นเหมือนสวนของพวกมัน ที่สำคัญคือเขาบอกว่าเขาแต่งเพลงนี้ตอนที่เกิดเบื่อหน่ายต่อสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นและอยากจะหลบไปอยู่ในท้องทะเลสักพัก ซึ่งน่าจะสะท้อนสิ่งที่ George ให้ความเห็นเกี่ยวกับเพลงนี้ก็ได้
 
เพลง “เดี่ยว” อีกเพลงใน Side B นอกจากเพลง Here Comes the Sun คือเพลง Because เพลงนี้ John เกิดแรงบันดาลใจจากการได้ฟัง Yoko Ono เล่นเปียโนเพลง Moonlight Sonata ของ Beethoven John ฟังแล้วเกิดไอเดียให้ Yoko ลองคอร์ดเพลงนี้แบบกลับหลัง จากนั้น John ก็ใช้การเดินคอร์ดที่ได้มาใส่เมโลดี้เข้าไป เพลงนี้ร้องประสานเสียงแบบ 3-part harmony โดย John, Paul และ George ซึ่ง George บอกว่าเป็นเพลงโปรดของเขาในอัลบั้มนี้
 
เพลงที่เหลือบน Side B เป็นเพลง medley สองชุด ชุดแรกคือ You Never Give Me Your Money/Sun King/Mean Mr. Mustard/Polythene Pam/She Came in Through the Bathroom Window แม้ว่าเพลง medley ชุดนี้จะเป็นแค่การเอาเพลงหลายเพลงมาเล่นแบบติดต่อกัน แต่ทุกเพลงก็เข้ากันและผสมผสานการได้แบบไม่สะดุด Paul ให้สัมภาษณ์ว่าเขาแต่งเพลง You Never Give Me Your Money โดยได้แรงบันดาลใจจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างเขากับ Allen Klein ผู้จัดการวงคนใหม่ แต่นักวิจารณ์บางคนเห็นว่าไม่น่าจะใช่ เพราะบางแทร็กของเพลงนี้อัดไว้ตั้งแต่ก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งดังกล่าว ทั้ง George และ John เล่นกีตาร์โซโล่ในเพลงนี้โดย John เล่นในตอนท้ายเพลงซึ่งนักวิจารณ์บางคนบอกว่าน่าจะเป็นกีตาร์โซโล่ที่ดีที่สุดของเขาตอนที่ยังเป็น Beatle
 
สามเพลงต่อไปใน medley นี้ได้แก่ Sun King; Mean Mr. Mustard และ Polythene Pam เป็นเพลงของ John เพลงแรก Sun King เป็นเพลงที่เริ่มต้นความพยายามทำเพลงให้ออกมาในแนวเดียวกับเพลง Albatross ของ Fleetwood Mac โดยมีการเล่นคำต่างๆทั้งคำในภาษาสเปนและที่ไม่ใช่แต่ให้ฟังดูเหมือนคำในภาษาสเปน สองเพลงที่เหลือเป็นเพลงเกี่ยวกับตัวละครในจินตนาการของ John เพลง Mean Mr. Mustard แต่งไว้ตั้งแต่ตอนที่วงเดินทางไปอินเดีย Medley ชุดแรกปิดท้ายด้วยเพลง She Came in Through the Bathroom Window ที่ Paul แต่งเกี่ยวกับแฟนเพลงคนหนึ่งที่แอบปีนหน้าต่างเข้ามาในบ้านของ Paul
 
เพลง medley ชุดที่สองเป็นเพลงที่เหมือนกับจะบอกลาแฟนเพลง ได้แก่ Golden Slumbers/Carry That Weight/The End ทั้งหมดแต่งโดย Paul เพลงแรกในชุดนี้มีที่มาค่อนข้างแปลก มันเกิดจากการที่ Paul ไปเปิดดูหนังสือหัดเล่นเปียโนสำหรับเด็กของน้องสาวระหว่างที่เขาเล่นเปียโนที่บ้านคุณพ่อ แล้วเปิดไปเจอชื่อเพลงนี้โดยบังเอิญ Paul จำได้แต่ชื่อเพลงแต่ไม่ทราบว่าทำนองคืออะไรเพราะเขาอ่านโน้ตดนตรีไม่ได้ เขาใช้ชื่อนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการเพลง เพลงนี้มีวงออร์เครสตราเล่นประกอบด้วยซึ่งเป็นอะไรที่ John ไม่ค่อยสนใจเพราะเขาชอบใช้เครื่องดนตรีน้อยชิ้นหรือไม่ก็ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยมากกว่า
 
เพลง Carry That Weight เป็นเพลงที่แต่งในช่วงที่ Paul กำลังเครียดกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นซึ่งก็สะท้อนออกมาทั้งในท่วงทำนองและเนื้อร้องของเพลงนี้ นักวิจารณ์บางคนก็มองไปขนาดว่าเพลงนี้เป็นเพลงที่บอกให้รู้ถึงภาระหนักอึ้งที่สมาชิกทั้งสี่คนต้องแบกรับในการรักษาความเป็น The Beatles และความคาดหวังของแฟนเพลงไว้
 
เพลงสุดท้ายของ medley ที่สองเป็นเพลงบอกลาแฟนเพลงอย่างแท้จริงแฝงไว้ด้วยปรัชญาในแนวคิดที่ว่าถ้าทุกอย่างในโลกจะดำเนินไปด้วยความรักดังที่ John แต่งไว้ในเพลง All You Need Is Love แล้วละก็ความรักที่คุณได้กลับมาคือความรักที่คุณให้กับคนอื่นนั่นเองดังเนื้อร้องอมตะตอนจบของเพลงนี้ที่ว่า “And in the end; The love you take; Is equal to the love you make.” เพลงนี้เปิดโอกาสให้สมาชิกแต่ละคนได้แจมกันอย่างเต็มที่ โดยเริ่มต้นจาก drum solo ของ Ringo ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่เขาปล่อยลวดลายแบบนี้เพราะปกติสมาชิกทุกคนในวงไม่ชอบการโซโล่กลองในเพลงของพวกเขา นอกจากนี้ ก็เป็นครั้งแรกอีกเช่นกันที่ John, Paul และ George จะผลัดกันโซโล่กีตาร์กันเป็นความยาวทั้งหมด 18 ห้อง (เริ่มที่นาทีที่ 0:54) Paul เล่น 2 ห้องแรก ต่อด้วย George 2 ห้อง ปิดท้ายด้วย John อีก 2 ห้อง แล้ววนกลับมาอีก 2 เที่ยว
 
แม้ว่าเพลง The End จะเป็นเพลงที่ The Beatles ตั้งใจจะให้เป็นเพลงสุดท้ายของอัลบั้ม แต่ Side B จะมีแถมมาอีกเพลงคือ Her Majesty (แต่ไม่ได้ระบุที่ปก) ซึ่ง Paul แต่งให้เป็นเพลงตลกล้อเลียนและต้องการให้ตัดออกจากอัลบั้ม แต่สตูดิโอต้องการคงไว้และแอบเพิ่มเข้าไปตอนตัดแผ่นทั้งๆที่ได้พิมพ์ปกอัลบั้มเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น เพลงนี้จึงน่าจะเป็นเพลงแถมแบบไม่ได้ตั้งใจและไม่น่าจะนับเป็นเพลงสุดท้ายที่แท้จริง
 
อัลบั้มนี้เปรียบเหมือนกับ ป.ล. (ปัจฉิมลิขิต) หลังจากอัลบั้มสุดท้ายของ The Beatles คือ Abbey Road ซึ่งเป็นอัลบั้มที่สมาชิกวงได้ทำงานร่วมกันในสตูดิโอเป็นครั้งสุดท้าย มันออกมาหนึ่งเดือนหลังจากที่ Paul McCartney ประกาศการแยกวงอย่างเป็นทางการ (ซึ่งผมจะได้นำเหตุการณ์ที่นำไปสู่การประกาศแยกวงมาเขียนเป็นบทความพิเศษในโอกาสต่อไป) ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในวงทั้งในระหว่างการบันทึกเสียงและหลังจากนั้นทำให้อัลบั้มนี้ซึ่งอัดเสียงเสร็จไปก่อนหน้าอัลบั้ม Abbey Road ต้องใช้เวลากว่าหนึ่งปีกว่าจะเข็นออกมาได้
 
ไอเดียของอัลบั้มนี้เกิดจาก Paul ที่ต้องการให้ทางวงกลับไปทำดนตรีกันในแบบที่ทำกันก่อนหน้าที่จะเริ่มใช้เทคนิคการอัดเสียงต่างๆไม่ว่าจะเป็นการ overdub การอัดเสียงทีละแทร็กทำให้สมาชิกบางครั้งต่างคนต่างเล่นส่วนของตัวเอง ไม่มีปฏิสัมพันธ์กันเหมือนการได้ร่วมเล่นดนตรีพร้อมหน้ากัน ด้วยเหตุนี้ Paul จึงเกิดความคิดที่จะทำอัลบั้มที่ทำเหมือนการเล่นสด โดยจะมีจัดทำสารคดีบันทึกเหตุการณ์ของขั้นตอนต่างๆในการเตรียมการและการซ้อมเพบงของสมาชิกก่อนที่จะเล่นสดกันจริงๆ สารคดีจะจบลงด้วยการบันทึกการแสดงสดของทางวง Paul หวังว่าการทำเช่นนี้จะเป็นการปลุกวิญญาณความเป็น The Beatles ให้กลับคืนมา หลังจากเรื่องราวระหองระแหงระหว่างการทำ White Album
 
นับตั้งแต่การเสียชีวิตลงของ Brian Epstein ผู้จัดการคนเดิม Paul ก็เริ่มสวมบทบาทเหมือนผู้จัดการวงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดไอเดียของอัลบั้มอย่าง Sgt. Pepper หรือหนังเรื่อง Yellow Submarine เป็นผลให้สมาชิกคนอื่นเริ่มรู้สึกถึงความเจ้ากี้เจ้าการของ Paul ซึ่งมีส่วนทำให้ White Album ออกมาเหมือนกับการรวมเพลงของศิลปินเดี่ยวมากกว่าจะเป็นอัลบั้มจากการร่วมงานกันจริงๆของสมาชิกทุกคน
 
แนวคิดเกี่ยวกับอัลบั้มนี้ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า Get Back คือการกลับไปสู่แนวทางการทำดนตรีที่เรียบง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนเหมือนอัลบั้มอย่าง Sgt. Pepper Paul เชื่อว่าสาเหตุหนึ่งของความสัมพันธ์ที่เลวร้ายลงของสมาชิกในวงเริ่มมาจากการตัดสินใจที่จะไม่ออกทัวร์อีกเพราะเบื่อหน่ายกับ Beatlemania เขามั่นใจว่าหากพวกเขาได้กลับมาเล่นดนตรีแบบแสดงสดอีกครั้งน่าจะทำให้ความกระตือรือร้นในการทำดนตรีด้วยกันกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งแนวทางแบบ back to basics นี้ก็เป็นกระแสในหมู่นักดนตรีร็อกในช่วงเวลานั้น Paul ต้องการให้ถ่ายสารคดีที่บันทึกขั้นตอนต่างๆนับแต่การซ้อมเพลงไปจนถึงการเตรียมการเพื่อหวนคืนไปสู่คอนเสิร์ตการแสดงสดในตอนจบ โดยจะใช้ Twickenham Film Studios เป็นสถานที่ถ่ายทำ ส่วนสถานที่จะใช้ในการแสดงคอนเสิร์ตจะกำหนดในภายหลัง การถ่ายทำเริ่มขึ้นในเดือน ม.ค. 1969
 
แต่ดูเหมือนว่าสมาชิกคนอื่นจะไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นไปกับ Paul ด้วย โดยเฉพาะ George ซึ่งเป็นสมาชิกที่เกลียดการต้องออกตระเวนทัวร์ในช่วง Beatlemania มากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม เขาชอบแนวทางการทำดนตรีแบบ back to basics และการจะได้สนุกกับการได้แจมดนตรีกันอีกครั้ง John ก็เป็นอีกคนที่อยากจะกลับไปทำดนตรีแบบไม่เน้นที่เทคนิคการอัดเสียงมากเกินไป สมาชิกตกลงที่จะทำอัลบั้มนี้ในแนวทางดังกล่าวทั้งๆที่ยังไม่ได้กำหนดรายละเอียดต่างๆกันเลย
 
แม้ว่าจะมีการตกลงกันถึงแนวทางที่จะอัลบั้มนี้แล้วก็ตาม แต่ไม่ได้ช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างการซ้อมดีขึ้นแต่อย่างใด ปัญหาเดิมที่เกิดขึ้นระหว่างการทำ White Album กลับมาทันทีที่การซ้อมและการถ่ายทำเริ่มขึ้น พวกเขาไปด้วยกันไม่ค่อยได้ เช่นเดียวกับหลายๆอัลบั้มหลังการตายของ Brian Epstein คนที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำจำเป็นของวงคือ Paul ในขณะที่ John ก็เป็นช่วงที่หลงใหลในว่าที่ภรรยา Yoko Ono เขาแยกตัวจากสมาชิกคนอื่นและไม่ยอมห่างจาก Yoko ขนาดที่พามาที่ห้องอัดด้วย สร้างความไม่พอใจให้กับสมาชิกคนอื่นเพราะทุกคนไม่เคยพาภรรยามายุ่งกับการทำงาน โดยเฉพาะ George แสดงความไม่พอใจอย่างออกนอกหน้า เขามีปากเสียงกับทั้ง John และ Paul ซึ่งการปะทะคารมระหว่างเขากับ Paul ถูกกล้องบันทึกภาพไว้ในสารคดีด้วย ความจริงการมีปากเสียงกับ John นั้นดุเดือดกว่าถึงขนาดมีการลงไม้ลงมือกัน แต่เป็นโชคดีที่กล้องไม่ได้บันทึกภาพไว้
 
ด้วยความเบื่อหน่ายในการละเอียดลออทุกเรื่องของ Paul และไม่สนใจที่จะทำงานร่วมกับสมาชิกคนอื่นของ John ทำให้ George อดรนทนไม่ได้ประกาศว่าจะลาออกจากวงและหนีหน้าไปจากห้องอัดหลายวัน John ประชดด้วยการบอกว่าน่าจะชวน Eric Clapton มาแทน แต่ ทั้ง Paul และ Ringoคัดค้านความคิดนี้โดยบอกว่าถ้าไม่มี George ก็จะไม่เป็น The Beatles ที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม หลายวันต่อมา พวกเขาก็สามารถชักชวนให้ George กลับมาร่วมงานได้อีกครั้ง ดูเหมือนว่า สารคดีที่ตั้งใจจะให้เป็นการบันทึกกระบวนการทำงานในการทำอัลบั้มและการซ้อมดนตรีก่อนการแสดงสดได้การเป็นสารคดีที่บันทึกเหตุการณ์ต่างๆที่นำไปสู่การแยกวงในที่สุด ไม่น่าเชื่อว่าเหตุการณ์ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นเพียงประมาณหนึ่งปีครึ่งหลังการตายของผู้จัดการวง Brian Epstein
 
ดังที่กล่าวไปตอนต้นว่าแนวทางการทำอัลบั้มเป็นเพียงการตกลงกันคร่าวๆระหว่างสมาชิกในวง เมื่อพวกเขาเริ่มงานกันจริงๆที่ Twickenham Films Studios จึงไม่มีใครทราบแน่นอนว่าบทบาทของตัวเองจะเป็นอย่างไร ความสับสนเริ่มกันตั้งแต่โปรดิวเซอร์ George Martin ซึ่งได้รับการทาบทามจาก Paul ให้กลับมาร่วมงาน แต่ในขณะเดียวกัน Paul ก็จ้าง Glyn Johns ให้มาดูแลงานทางด้านการผลิตและเป็นวิศวกรด้านเสียงด้วย จนในที่สุดก็ลงเอยว่า Glyn Johns จะทำหน้าที่วิศวกรควบคุมการอัดเสียง ส่วน George Martin ทำหน้าที่เหมือนเป็นที่ปรึกษาในการผลิตอัลบั้มนี้
 
นอกจากความวุ่นวายในด้านการบริหารแล้ว การนำสมาชิกในวงที่มีปัญหาความสัมพันธ์ส่วนตัวกันอยู่แล้วให้มาทำงานร่วมกันแบบไปไหนไม่ได้ในสตูดิโอโดยมีกล้องจับภาพพวกเขาเกือบทุกอิริยาบถทำให้เกิดความตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่ทราบว่าเป็นเรื่องดีหรือไม่ดีที่กล้องได้จับภาพเหตุระหองระแหงระหว่างสมาชิกในวงที่เป็นหลักฐานได้อย่างดีถึงความสัมพันธ์ที่เริ่มเลวร้ายระหว่างพวกเขา
 
จากปัญหาความขัดแย้งต่างๆที่กล่าวมาทำให้คุณภาพของดนตรีในเทปที่อัดไว้อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานตามปกติของพวกเขา ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าเทปที่บันทึกไว้ส่วนใหญ่เป็นการซ้อมที่คุณภาพจะเทียบกับที่อัดในสตูดิโอตามปกติไม่ได้ ทำให้ทุกคนไม่พอใจต่อผลงานที่ออกมา นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เทปที่อัดไว้ชุดนี้ถูกทิ้งไว้โดยไม่ได้ดำเนินการใดๆต่อไปเป็นเวลานานหลายเดือน กว่าจะปรับปรุงเพื่อให้คลอดออกมาได้ จนต้องออกมาหลังอัลบั้ม Abbey Road แม้ว่าจะอัดไว้ก่อนหน้านี้ก็ตาม
 
ยังครับ ปัญหายังไม่จบเท่านั้น เมื่อมีการตัดสินใจว่าจะนำเทปชุดนี้มา remix เพื่อปรับปรุงทั้งคุณภาพด้านการอัดและด้านเสียงให้ดีขึ้น การหาผู้ที่จะมารับงานนี้ก็กลายเป็นประเด็นปัญหาขึ้นมาอีก ผู้จัดการวงคนใหม่ Allen Klein ซึ่งเป็นคนที่ Paul ไม่ไว้วางใจต้องการจะจ้าง Phil Spector ให้มาทำหน้าที่นี้ ด้วยความเป็นเจ้าของสไตล์ “Big Sound” หรือ “Wall of Sound” Phil ก็จัดการมิกซ์เสียงเพลงทั้งหมดใหม่และเพิ่มการบรรเลงด้วยออร์เคสตราพร้อมนักร้องประสานเสียงเข้าไปใน 3 แทร็กของอัลบั้มนี้ ได้แก่ Across the Universe, I Me Mine และ The Long and Winding Road ชื่ออัลบั้มถูกเปลี่ยนจาก Get Back เป็น Let It Be
 
เมื่อได้ยินเพลงที่ถูก Phil รีมิกซ์ใหม่ Paul แสดงความไม่พอใจโดยเฉพาะกับเพลง The Long and Winding Road เพราะตามจุดประสงค์เดิมของ Paul เขาต้องการให้เพลงนี้ออกมาแบบเรียบง่ายมีเสียงดนตรีเพียงน้อยนิดบรรเลงคู่ไปกับเสียงร้องเท่านั้น Paul พยายามที่จะหยุดการปล่อยเพลงนี้ออกมาแต่ก็ไม่สำเร็จเพราะการผลิตแผ่นทำไปมากแล้ว สำหรับเรื่องนี้ John กลับมีความเห็นที่แตกต่างจาก Paul อย่างสิ้นเชิง เขาแก้ตัวแทน Phil ว่าคงโทษ Phil ไม่ได้เพราะเขาต้องหาทางปรับปรุงคุณภาพการอัดที่ไม่ได้มาตรฐานของแม่เทปที่ถูกอัดไว้ในบรรยากาศการทำงานที่ไม่เอื้อให้ผลงานออกมาดี พูดง่ายๆก็คือ ของเดิมแย่อยู่แล้ว ทำได้เท่านี้ก็ต้องถือว่าใช้ได้
 
จากความรู้สึกไม่พอใจที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ถูกเก็บไว้เป็นเวลานาน ในปี 2003 หรือ 33 ปีหลังจากอัลบั้ม Let It Be ออกมา Paul ต้องการจะทำอัลบั้มนี้ใหม่เพื่อให้สะท้อนเจตนาดั้งเดิมที่ต้องการให้เป็นอัลบั้มแบบ back to basics เขาชวน Ringo ซึ่งเป็นสมาชิกอีกคนเดียวที่เหลืออยู่ของ The Beatles (George ตายด้วยโรคมะเร็งในปี 2001) มาร่วมกัน remix เพลงทั้งหมดในอัลบั้มนี้ใหม่ โดยตัด overdub ทั้งหมดที่ Phil Spector ทำไว้ออกไปทั้งหมด รวมทั้งเสียงพูดคุยของสมาชิกระหว่างการอัดที่ Phil ทิ้งไว้ในเวอร์ชันเดิมออกไปเกือบทั้งหมด มี 2 เพลงที่ถูกตัดออกไปคือ Dig It และ Maggie Mae โดยแทนที่ด้วยเพลง Don’t Let Me Down แทน ซึ่งเดิมเคยเป็น B side ของแผ่นซิงเกิล Get Back แต่เวอร์ชันที่อยู่ในอัลบั้มนี้จะเป็นการมิกซ์เสียงจากเทปบันทึกเสียงทั้งสองเท็คจาก rooftop concert ซึ่งเป็นการแสดงสดต่อสาธารณชนครั้งสุดท้ายของ The Beatles บนยอดตึกที่ทำการ Apple บนถนน Sevile Row ย่าน Mayfair ใจกลางกรุงลอนดอน สำหรับรายละเอียดอื่นๆจาก rooftop concert จะขอพูดถึงในโอกาสต่อไปก็แล้วกันนะครับ
 
สำหรับเพลงอื่นๆในอัลบั้ม ต้องถือว่าคุณภาพโดยทั่วไปเมื่อเทียบกับอัลบั้มเด่นอื่นๆที่ผ่านมาของ The Beatles นอกจากเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม Let It Be และเพลง Across the Universe ที่อัดไว้ตั้งแต่ตอนทำ White Album เพลงอื่นๆในอัลบั้มนี้ฟังดูเหมือนยังไม่เสร็จสมบูรณ์อย่างแท้จริง สะท้อนให้เห็นปัญหาภายในวงทั้งระหว่างและหลังการบันทึกเทปสำหรับสารคดีเรื่อง Get Back ได้เป็นอย่างดี แม้ว่าจะมีเพลงที่ถือว่า “สอบผ่าน” อย่าง Two of Us, For You Blue และ Get Back แต่ก็มีเพลงที่ถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานมากๆอย่าง Dig a Pony, Dig It, Maggie Mae, One After 909{{โครงส่วน}}
 
== อนุสรณ์ ==