ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 4:
เกิดเมื่อวันที่ [[10 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2470]] เป็นผู้มีบทบาทสำคัญผู้หนึ่งในการพัฒนา[[การศึกษา|ระบบการศึกษา]]ของ[[ประเทศไทย]] บิดา คือ [[พระยาอิศรพงษ์พิพัฒน์]] (หม่อมหลวงศิริ อิศรเสนา) มารดาคือ ม.ล.สำลี อิศรเสนา (นามสกุลเดิม กุญชร) และเป็นหลานปู่ [[เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา)|เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์]](หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) อดีตเสนาบดีกระทรวงวัง การศึกษาเมื่อปี[[พ.ศ. 2479]] เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่[[โรงเรียนเทพศิรินทร์]] เลขประจำตัวนักเรียน ท.ศ.5270 ป.และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาที่วชิราวุธวิทยาลัย เข้ารับการศึกษาต่อที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี[[พ.ศ. 2493]] ได้รับวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (ไฟฟ้า) (เกียรตินิยม)จาก[[คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]และในปีถัดมาในปี[[พ.ศ. 2494]]ได้รับวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (เครื่องกล) คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกหนึ่งสาขา และได้เดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา และในปี[[พ.ศ. 2497]]ได้รับวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล จาก[[สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์MIT ]] [[สหรัฐอเมริกา]] และในปี[[พ.ศ. 2529]]ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เสนอให้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ จาก[[คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]และในปี[[พ.ศ. 2535]] มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เสนอให้ได้รับปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ [[มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]] รวมทั้งในปี[[พ.ศ. 2542]] ได้รับเกียรติจากทางวิทยาลัยโยนกเสนอให้ได้รับปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ [[วิทยาลัยโยนก]]นับว่าได้รับเกียรติให้เป็นด๊อกเตอร์กิตติมศักดิ์จาก3แห่ง
== ประวัติการทำงาน ==
ในหน้าที่การทำงาน ได้เข้าเริ่มทำงาน อยู่ที่บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทยนานถึง 12 ปี และได้เข้าร่วมงานกับทางกลุ่มปูนซิเมนต์ไทย ดำรงตำแหน่งจากผู้บริหารระดับกลาง จนสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กรแห่งนี้ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท [[ปูนซีเมนต์ไทย]] จำกัด (มหาชน) [[กลุ่มปูนซีเมนต์ไทย]]หรือเครือซิเมนต์ไทย(SCG)ในปัจจุบัน เน้นในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทำให้กลุ่มธุรกิจนี้มีความพร้อมสามารถแข่งขันและดำเนินธุรกิจอย่างมั่นคงต่อมา และจากความรู้ความสามารถได้รับการยอมรับให้เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย [[มหาวิทยาลัยชินวัตร]] รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัย [[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี]]และได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ [[สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ|คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ]]กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประธานกรรมการ มูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย ประธานกิตติมศักดิ์ [[สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย]] กรรมการอำนวยการ [[สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย]] รองประธานกรรมการ [[มูลนิธิไทยคม]] ที่ปรึกษา คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา [[กระทรวงศึกษาธิการ]] ที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการดำเนินการปฏิรูปการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และไม่นานมานี้เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2551 เป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นหนึ่งในร้อยท่านที่ได้รับรางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นประจำปี 2550 และท่านได้เป็นผู้บุกเบิกและริเริ่ม[[โรงเรียนดรุณสิกขาลัย]]ซึ่งเป็นโรงเรียนในแนว Contructionism ที่เปิดโอกาสให้เด็กๆคิดได้ตัวตนเอง ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเนื่องจากดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ[[สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ]]<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/079/1.PDF</ref> เขาดำรงตำแหน่งอยู่เพียง 2 เดือนก่อนที่จะพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว
 
== ชีวิตครอบครัว ==