ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 2:
อาจถูกเรียกว่า "'''สังคมสงเคราะห์คลินิก'''" ก็ได้
 
== งานประวัติและวิวัฒนาการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ==
 
                วิวัฒนาการการงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ เริ่มต้นขึ้นในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2495  ในเวลานั้น องค์การสหประชาติ  ได้ส่งตัว นางสาว Eileen  Davidso35n  เข้ามาจัดตั้งสถานสงเคราะห์แม่และเด็กในประเทศไทย (นงลักษณ์  เอมประดิษฐ์, 2530, น. 6-7) การปฏิบัติงานเน้นหนักที่ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยเป็นหลัก มีการร่วมมือกันระหว่างองค์การอนามัยโลกและสหประชาชาติ ในการส่งทีมแพทย์ พยาบาล  นักสาธารณสุขศาสตร์ และนักสังคมสงเคราะห์ เข้ามาร่วมดำเนินการ  ตลอดระยะเวลา  62 ปี  ที่นักสังคมสงเคราะห์  ทำหน้าที่ สนับสนุน  ส่งเสริมประชาชนให้มีสุขภาพดี (promotion) บำบัดรักษาสุขภาพอนามัย (cure) ป้องกันปัญหาสุขภาพ (prevention) และ ฟื้นฟูสุขภาพของประชาชน (rehabilitation)
 
( ฉลวย จุติกุล, 2544, )เห็นได้ว่างานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ เป็นงานที่ทำงานกับประชาชนตั้งแต่ระดับปัจเจกชน ไปจนถึงระดับสังคม 
 
                การทำงานสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาล  ระยะเริ่มการปฎิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดส่วนภูมิภาค จนถึงระยะแผนพัฒนาการสาธารณสุขฉบับที่  4 ( พ.ศ.2520-2524)   งานสังคมสงเคราะห์เป็นแผนกงานอิสระขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการโรงพยาบาลไม่ได้สังกัดฝ่ายหรือกลุ่มงานใด ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งฝ่ายเวชกรรมสังคมขึ้นในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป อย่างเป็นทางการ กิจกรรมที่นักสังคมสงเคราะห์ดำเนินการในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค  ได้แก่ การให้บริการสงเคราะห์ผู้ป่วยเฉพาะราย การพิจารณาค่ารักษาพยาบาล  การสัมภาษณ์และสอบประวัติการให้คำปรึกษาแนะนำผู้ป่วยที่มีปัญหาอารมณ์ จิตใจ  แฃะครอบครัวเป็นหลัก      หลัง ปี 2525    การปฎิบัติงานสังคมสงเคราะห์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ถูกรวมไว้เป็นหนึ่งในงานหนึ่งในโครงสร้างงานฝ่ายเวชกรรมสังคม  มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบและแนวทางในการปฎิบัติงาน จากการให้บริการสนับสนุนการรักษาพยาบาล ไปสู่การผสมผสานบริการไปในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งดำเนินการโดยฝ่ายเวชกรรมสังคม ครอบคลุมถึงการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน    เมื่อสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำหนังสือแนวทางการปฎิบัติงานโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ได้กำหนดรายละเอียด งานของฝ่ายเวชกรรมสังคม และในส่วนงานสังคมสงเคราะห์ ได้ อธิบายลักษณะงานไว้ว่า   “ งานสังคมสงเคราะห์ ประกอบด้วย การสงเคราะห์ผู้ป่วยและครอบครัว  การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน การแนะนำปรึกษาการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์และสาธารณสุขต่อคู่สมรส ครอบครัวคนพิการ หรือผู้มีปัญหาทางสังคมอื่นๆ” และกำหนดให้นักสังคมสงเคราะห์ให้บริการในงานเวชกรรมฟื้นฟูและงานจิตเวช 
 
                  ปี 2528-2529 เมื่อโครงการพัฒนาระบบริการของสถานบริการและหน่วยงานสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค (พบส.) คณะกรรมการพัฒนางานเวชกรรมสังคม ได้จัดทำขอบเขตงานและมาตรฐานกิจกรรมในงานสังคมสงเคราะห์ ของ รพศ/รพท ให้มีการปฎิบัติงานด้านการสังคมสงเคราะห์ผู้ป่วยและครอบครัว การประสานงาน และการให้คำปรึกษาแนะนำ ครอบคลุมทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน ซึ่งใช้เป็นแนวทางการฎิบัติงานสังคมสงเคราะห์ในช่วงนั้น  
 
                      ปี พ.ศ. 2532 สังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ได้ก่อตั้งชมรมชมรมนักสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปและเครือข่ายนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ซึ่งได้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพกระจายกันอยู่ในสถานบริการสุขภาพระดับต่างๆทั่วประเทศทั้งในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร กองทัพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานการกุศลและ องค์กรภาคเอกชน เป็นต้น   มีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดและส่งเสริมมาตรฐานการปฏิบัติงานของวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ศึกษา ค้นคว้า ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ทางสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ส่งเสริมพิทักษ์ประโยชน์ของวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ เพื่อส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือในการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์และจัดสวัสดิการแก่หมู่สมาชิก ตลอดจนส่งเสริมการประสานงานแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านสวัสดิการสังคม และสังคมสงเคราะห์และให้ความร่วมมือกับองค์การวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและต่างประเทศ 
 
                 ใน ปี พ.ศ. 2530-2534  ในระยะแผนสาธารณสุขฉบับที่ 6 กองโรงพยาบาลภูมิภาคได้จัดทำแผนพัฒนาระบบริการเวชกรรมสังคม ซึ่งรวมกิจกรรมการพัฒนางานสังคมสงเคราะห์ในแผนเดียวกัน ภายใต้การดำเนินงานของคณะทำงานพัฒนางานเวชกรรม ซึ่งฝ่ายแผนงานและโครงการ กองโรงพยาบาลภูมิภาค  เป็นหน่วยเลขานุการ  และในปี พ.ศ..2531 ระยะที่นายแพทย์ปัญญา  สอนคม เป็นผู้อำนวยการกองโรงพยาบาลภูมิภาค ( ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว)  และนายแพทย์ศุภชัย คุนารัตพฤกษ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายแผนงานโครงการ     ( ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว)  กองโรงพยาบาลภูมิภาค  มีการแต่งตั้งนักสังคมสงเคราะห์จากโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาค จำนวน 10 คน เป็นคณะทำงานพัฒนางานสังคมสงเคราะห์”  ทำให้เกิดเกณฑ์มาตรฐานในการปฎิบัติงานสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป นอกจากเกณฑ์มาตรฐานในการทำงาน แล้วคณะทำงานดังกล่าว ยังทำหน้าที่พัฒนา ปรับปรุงงานสังคมสงเคราะห์ มีการจัดประชุมวิชาการประจำปี สร้างระบบสนับสนุนช่วยเหลือ นิเทศงาน ปฐมนิเทศงานให้กับผู้ปฎิบัติงานใหม่ พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูล  ได้มีการพัฒนางานอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่นั้นมา (คู่มือการปฎิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป,2538  น.1-5)    
 
                ปี พ.ศ. 2542 นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ได้รวมตัวกันพัฒนามาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป โดยเริ่มจาก กองโรงพยาบาลภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเนื้อหาสาระสำคัญมาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ได้กำหนดประเภทงานสังคมสงเคราะห์ ไว้ 3 มาตรฐาน ได้แก่ แบ่งออกเป็น  3  ส่วน  ดังนี้
 
                  1)  มาตรฐานงานบริหารสังคมสงเคราะห์  ประกอบด้วย  จัดเตรียมสถานที่สำหรับการให้บริการที่เป็นสัดส่วนเหมาะสม  การจัดทำ/จัดหาเครื่องมือ/อุปกรณ์ การให้บริการสังคมสงเคราะห์ ได้แก่ คู่มือการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์  เครือข่ายการให้บริการสังคมสงเคราะห์ที่กำหนดไว้ชัดเจนทั้งภาครัฐและเอกชน   การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรผู้ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์  โดยการมีนักสังคมสงเคราะห์ในการปฏิบัติงาน  และมีบุคลากรในงานสังคมสงเคราะห์ที่ผ่าน การอบรมหรือปฐมนิเทศเกี่ยวกับงานสังคมสงเคราะห์ การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนงานด้านสังคมสงเคราะห์ เกี่ยวกับการจัดให้มีคำอธิบายงาน/จัดทำแผนงานและแผนปฏิบัติซึ่งกำหนดการทำงานที่ชัดเจนรวมทั้งมีการจัดตั้งหรือ บริหารกองทุนสังคมสงเคราะห์ 
 
                  2)  มาตรฐานงานด้านวิชาการ  ประกอบด้วย การจัดทำทะเบียน/บันทึก  การให้บริการสังคมสงเคราะห์  การจัดทำรายงานการนำเสนอข้อมูลงานสังคมสงเคราะห์    การจัดทำวิเคราะห์ข้อมูลงานสังคมสงเคราะห์     การเผยแพร่ วิชาการ ผลงานให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน
 
                 3 ) มาตรฐานงานด้านบริการ ประกอบด้วย   ประกอบด้วย 6 งาน คือ 1. งานตรวจวินิจฉัยและงานบำบัดทางสังคม 2. งานเฝ้าระวังปัญหาทางสังคม 3. งานส่งเสริมและฟืนฟูสมรรถภาพทางสังคม 4. งานจัดการและพัฒนาทรัพยากรทางสังคม 5. งานสังคมสงเคราะห์ชุมชน 6. งานสวัสดิการสาธารณสุข
 
                ปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ส่งผลให้เกิดการปฏิรูประบบราชการของกระทรวงสาธารณสุขและหลักประกันสุขภาพของประชาชน โดยปรับโครงสร้างการบริหารราชการส่วนกลาง กองโรงพยาบาลภูมิภาคได้ปรับเป็น สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และช่วงเวลานั้น ได้มีการออกกฎหมายใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ได้แก่ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 พ.ร.บ. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546  พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546  พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ  พ.ศ. 2546 พ.ร.บ. ส่งเสริมการและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 และพ.ร.บ. สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 เป็นต้น จากสถานการณ์ดังกล่าว นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ได้รวมตัวกันพัฒนา “แนวทางการดำเนินงานสวัสดิการสังคม เพื่อรองรับการปฏิรูประบบราชการและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” จึงส่งผลให้คณะทำงานพัฒนางานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ได้มีการนำ บัญชีปัญหาทางสังคม (social problem list) มาใช้ในประเมินการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานงานสวัสดิการสังคมในมาตรฐานที่ 1 การวินิจฉัยและบำบัดทางสังคม (2546,น. 114)
 
                 ปี  พศ.2547    เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย  ในวันที่ 26 ธันวาคม 2547  เกิดความสูญเสียอย่างเอนกนันท์ต่อประเทศชาติ นักวิชาการทุกกลุ่ม ได้ตื่นตัวเกิดการเรียนรู้ถึงการพัฒนาการบริหารจัดการเมื่อเกิดภัยพิบัติ ในงานครั้งนั้นกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทีมงานหลายทีมงานลงไปช่วยปฎิบัติงานในพื้นที่ประสบภัย  นักสังคมสงเคราะห์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป เป็นบุคลากรอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้เข้าไปร่วมทำงานเพื่อร่วมทำงานเพื่อจัดบริการทางสังคมให้ประชาชนผู้ประสบภัยสีนามึ  หลังจากการทำงาน กลุ่มนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ได้ถอดบทเรียนการทำงานและสร้างคู่มือการทำงานและแนวทางการทำงานในเหตุการณ์วิกฤติขึ้น  ในปี 2549    โดยได้รับสนับสนุนจาก กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  กรมสุขภาพ  และองค์การอนามัยโลก  ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนได้ศึกษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจ เพื่อช่วยให้การจัดบริการสังคมในเหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมพร้อมรองรับเหตุการณ์ภัยพิบัติที่มีโอกาสขึ้นในทุกพื้นที่ในประเทศไทย 
 
                 ปี  พศ.2551      กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพและคณะกรรมการพัฒนางานสวัสดิการสังคม โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ได้จัดหนังสือคู่มือแนวทางการทำงาน ในสถานการณ์ทางด้านด้านสาธารณสุขและสวัสดิการสังคมมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่หน่วยงานสวัสดิการสังคม อยู่ภายใต้กำกับดูแลของกลุ่มภารกิจสนับสนุนบริการสุขภาพ  ทำหนังสือคู่มือเพื่อทวบทวนองค์ความรู้ สถานการณ์แนวโน้ม นโยบายและแผนงานที่สำคัญ แนวทางการให้บริการและการพัฒนางานคุณภาพงานสวัสดิการสังคม 
 
                ปี พ.ศ. 2552  นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทย ได้รวมตัวกัน ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมเพื่อให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล ต่อนายทะเบียนสมาคมประจำจังหวัดนนทบุรี  ทะเบียนเลขที่   จ.นบ  7/2552 ลงวันที่  4 พฤษภาคม  2552  ชื่อ  สมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทย    โดย นางปิยะฉัตร ชื่นตระกูล นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ผู้ก่อตั้งและเป็นนายกสมาคมฯคนแรก นางกรรณิการ์ เจียมจรัสรังษี โรงพยาบาลนครพิงค์  เป็นเลขาธิการ และนางสาวมลฤดี  จินดาอนันต์ยศ  เหรัญญิกและประชาสัมพันธ์ มีที่ทำการสมาคมฯตั้งอยู่ที่ชั้น 5 อาคาร 3 สำนักบริหารสาธารณสุขภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข  ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี      เหตุผลของการจัดตั้งเป็นสมาคมฯสืบเนื่องมาจากสถานการณ์ต่างๆที่ชมรมและเครือข่ายนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ร่วมกันดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ได้เดินทางมาถึงจุดที่แสดงให้เห็นว่าการขับเคลื่อนและพัฒนาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์มีความจำเป็นที่ต้องจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อเป็นหลักและเป็นพลังในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย   ซึ่งนับตั้งแต่ได้จดทะเบียนและได้มีการดำเนินงานาแล้ว  สมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทยได้มีความเจริญเติบโต งอกงาม มีความเป็นปึกแผ่น มีสมาชิกที่รวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น เสียสละ และได้ร่วมสร้างพลังในการขับเคลื่อนและพัฒนาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์อย่างต่อเนื่อง ทั้งงานด้านสังคม  สงเคราะห์ทางการแพทย์  งานต่างๆด้านวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และงานสังคมสงเคราะห์เพื่อสังคมอื่นๆ  ปัจจุบันสมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทย มีสมาชิกประมาณ 500 คน
 
               ปี  2551-2555    นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ทุกสังกัด ร่วมกับ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ    จัดตั้งคณะทำงาน สร้างเครื่องมือการทำงาน งานตรวจวินิจฉัยและงานบำบัดทางสังคม ขึ้นเป็นครั้งแรก  เรียกว่า “แบบบันทึกผู้รับบริการสังคมสงเคราะห์ (สค.1)” และแบบรายงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สค.3) และมีการนำไปทดลองใช้กับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลสังกัดทุกกระทรวงที่มีนักสังคมสงเคราะห์ประจำโรงพยาบาล  ต่อมา ใช้ชื่อ เครื่องมือการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
 
             ปี 2538 -2553   งานบริการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ได้ใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูล โดยโปรแกรม FOXPRO ตั้งแต่ ปี 2538   จากความร่วมมือ ผู้พัฒนาโปรแกรม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้านนทบุรี ต่อมา ปี 2553   ได้พัฒนาระบบการบันทึกข้อมูลออนไลน์ จากความร่วมมือจากผู้พัฒนาโปรแกรม โรงพยาบาลอำนาจเจริญ  และ ปี 2555  พัฒนาเข้าสู่ระบบการบันทึกข้อมูลออนไลน์  สำนักบริหารการสาธารณสุข  กระทรวงสาธารณสุข     
 
              ปี 2554   มีความพยายามผลักดันผ่านกองประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสารณสุข ให้มีการ    กำหนดสาขาการประกอบโรคศิลปะ ในสาขาสังคมสงเคราะห์ทำงการแพทย์ แต่เนื่องจำกยังไม่ได้รับ ความเห็นชอบ จึงได้ยุติการดำเนินการไว้ก่อน
 
               ปี  2556      สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์  มีมติและอนุมัติ ให้นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ใช้ เครื่องมือการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ประกอบด้วยเครื่องมือการทำงานกับผู้ป่วยระดับเบื้องต้น ได้แก่ เครื่องมือประเมิน วินิจฉัย และจัดการทางสังคม (Social Diagnosis and Management Assessment) S.D.M.A.   เครื่องมือการทำงานกับผู้ป่วยระดับเชิงลึก ได้แก่    เครื่องมือประเมินความพร้อมของครอบครัว  (Family Assessment :F.A.)  เครื่องมือคัดกรองและประเมินผลการบำบัดทางสังคม    (Social Therapy Assessment : S.T.A. )  เครื่องมือแบบประเมินทักษะพื้นฐานในการทำงานและทักษะการปรับตัวทางสังคม(Social skill Assessment : S.S.A.) และเครื่องมือประเมินการดูแลสุขภาพจิตตนเอง    (Mental Self Care Assessment: M.S.C.A.)  และ คณะทำงานพัฒนางานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป และสำนักบริหารการสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จัดทำโปรแกรมบันทึกข้อมูลการบริการแบบออนไลน์
 
              ปี 2556  นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ได้จัดทำร่างหนังสือ แนวทางแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ( Service  Plan)  ในส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ สำนักบริหารการสาธารณสุข    สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข   โดยมีนายแพทย์ไชยนันท์ ทยาวิวัฒน์ สาธารณสุขนิเทศก์ สนับสนุนและเป็นผู้วางรูปแบบ การทำงานด้านสวัสดิการสังคม โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการพัฒนาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ให้น้องๆ  รุ่นหลัง ได้คำเนินรอยตาม รวมทั้งเป็นวิทยาจารย์ให้ความรู้ เสริมความคิด ให้เกิดการเรียนรู้ ตลอดจน เพื่อให้นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ทุกคนได้ใช้เป็นกรอบในการดำเนินงาน ใช้เป็นเครื่องมือที่จะเชื่อมงานสังคมสงเคราะห์เข้ากับงานอื่น ๆ  ในลักษณะงานที่เป็นทีมงาน มีบรูณการองค์รวม ให้เกิดความชัดเจนในหน้าที่รับผิดชอบ ใช้เป็นกลไกความร่วมมือเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
 
             ปี 2557 คณะทำงานพัฒนาสังคมสงเคราะห์ รพศ/รพท  และสมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทย ได้เข้าร่วมการจัดประชุมเชิงปฎิบัติการ กับวิชาชีพ 17  สายงานในกระทรวงสาธารณสุข  วิเคราะห์อัตรากำลัง  วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ สาขาทางการแพทย์  มีวิธีการคิดวิเคราะห์อัตรากำลัง  2 แบบ ได้แก่  การกำหนดอัตรากำลัง ตามบริการและภาระงาน  (SERVICES  BASE)   การกำหนดกรอบอัตรากำลัง ของนักสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ได้จัดระดับการบริการ ออกเป็น  3 ระดับ ได้แก่ ระดับปฐมภูมิ บริการระดับทุติยภูมิ  และ บริการระดับตติยภูมิ ในแต่ระดับได้กำหนดบทบาทหน้าที่บุคลากร รวมทั้งเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ที่ผ่านการรับรองจาก สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์  สัดส่วนการให้บริการกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และการบริการตาม SERVICES BASE  มีการกำหนด แนวทาง ระดับปฐมภูมิ  F๓ F๒ F๑  M๒  ระดับทุติยภูมิ ระดับตติยภูมิ A S M๑  และ การกำหนดอัตรากำลัง ตามพื้นที่และ  ประชากร (AREA AND POPULATION BASE)  
 
                15 พฤศจิกายน 2558 กระทรวงสาธารณสุข เห็นชอบให้มีการเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยงานในราชการบริหารส่วน จากสภาพปัญหาสาธารณสุขและปัญหาสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มของการสาธารณสุขประเทศไทยต้องปรับบทบาททันกับสภาพปัญหา เพื่อรองรับกลุ่มบุคคลที่เป็นเป้าหมาย ของการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งในชนบทและในเมือง รวมทั้งการพัฒนางานให้ผลถึงการป้องกันการขยายตัวของปัญหาในอนาคต ดังนั้น   จึงมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานใหม่ ภายใต้นโยบายวิสัยทัศน์ และพันธกิจของกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
 
             วิสัยทัศน์   “กระทรวงสาธารณสุข  เป็นองค์กรหลักด้านสุขภาพที่รวมพลังสังคมเพื่อประชาชนสุขภาพดี”
 
           พันธกิจ      “พัฒนาและอภิบาล  ระบบสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน”
 
           เป้าหมาย     “ประชาชนสุขภาพดี  เจ้าหน้าที่มีความสุข    ระบบสุขภาพยั่งยืน”           
 
                โรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป กำหนดให้มี  6 กลุม่ภารกิจ  ได้แก่   กลุ่มภารกิจด้านอานวยการ   กลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิ   กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ กลุ่มภารกิจด้านบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล   กลุ่มภารกิจด้านผลิตบุคลากรทางการแพทย์  การเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ดังกล่าว กลุ่มภารกิจกลุ่มภารกิจด้านบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ  มี 19 กลุ่มงาน  ''' มี 19 กลุ่มงาน ดังแผนภูมิ ที่ 1 '''              
 
                การปรับเปลี่ยนโครงสร้างกลุ่มงานสวัสดิการสังคมและประกันสุขภาพในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป เป็นกลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ ภายใต้กลุ่มภารกิจบริการด้านทุติยภูมิและตติยภูมิและมีการกำหนดภารกิจ บทบาทหน้าที่ ของนักสังคมสงเคราะห์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างมาก    เพื่อการดำเนินงานให้สอดคล้อง กับวิสัยทัศน์และพันธกิจดังกล่าว กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  กำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ   โครงสร้างใหม่อยู่ภายใต้การทำงานของกลุ่มภารกิจด้านบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ   มีโครงสร้างการทำงาน  หน้าที่และความรับผิดชอบหลัก ( Production  line )  ดังนี้ 
 
'''วิสัยทัศน์'''
 
         ภายในปี 2563    กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป จะเป็นองค์กรที่ให้บริการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน
 
'''ปรัชญาในการดำเนินงาน'''
 
การดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนช่วยตนเองได้บนพื้นฐานของความเชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์   “ช่วยเขาให้ช่วยเหลือตนเองได้.”  ( Help them  to help  themself )         
 
'''ค่านิยมการทำงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์'''
 
➢    ค่านิยม (Core Value)  : Medical Social Work  :  MSW
 
                          M = Morality : การบริการด้วยคุณธรรมและจริยธรรม ยึดหลักธรรมาภิบาล
 
    S = S (Service Mind) : การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มีพฤติกรรมบริการที่ดี
 
                                 S (Standard) : ปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ
 
                                  S ( Social Responsibility) : มีความรับผิดชอบต่อสังคม
 
                         W = Work with : W (Work with not work for) การบริการแบบมีส่วนร่วมกับผู้ป่วยและครอบครัว ทีมสหวิชาชีพ เครือข่าย
 
                           Moral Intelligence หมายถึง ทุกคนในองค์กรยึดมั่นในหลักความเป็นธรรม และเสมอภาค มีคุณธรรม ทํางานด้วยความสุจริต ยึดมั่นในประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนตามศีลธรรมอันดี มีจิตสาธารณะ
 
                         Service Mind  หลักการการให้บริการที่ดีต่อทุกคนที่มาใช้บริการ คือ ปัจจัยความสำเร็จ โดยปลูกฝังให้ทุกคนในองค์การมีหัวใจบริการ (Service – Mind) เป็นหลักยึดสำหรับสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในจิตใจของ       ผู้ให้บริการทุกคน  คำว่า หัวใจบริการ หมายถึง การอำนวยความสะดวก การช่วยเหลือ การให้ความกระจ่าง การสนับสนุน การเร่งรัดการทำงานตามสายงาน และความกระตือรือร้นต่อการให้บริการคนอื่น รวมทั้งการยิ้มแย้มแจ่มใส ให้การต้อนรับด้วยไมตรีจิตที่ดีต่อผู้อื่น ต้องการให้ผู้อื่นประสบความสำเร็จในสิ่งที่เขาต้องการ การที่บุคคลมีหัวใจบริการดังกล่าวข้างต้น ช่วยให้เกิดผลดีต่อคนอื่น ต่อตนเอง และต่องานที่ทำ ที่ว่าเกิดผลดีต่อคนอื่นในการให้บริการ คือ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ เกิดความรู้ที่ดีต่อผู้ให้บริการ ผู้มาติดต่อขอรับบริการ เมื่อผลลัพธ์เกิดขึ้นเร็ว และด้วยน้ำใจบริการที่ดี จะสร้างสัมพันธ์ที่ดีซึ่งกันและกัน ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ผู้รับบริการจะเกิดความประทับใจ และยินดีที่จะกลับมาติดต่อและมารับบริการอีก และยังจะนำผลที่เกิดขึ้น หรือความประทับใจที่มีไปบอกต่อเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์อีกทางหนึ่ง
 
                        work with, not work for นั้นมีความหมายที่ว่า การสังคมสงเคราะห์นั้นเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักสังคมสงเคราะห์กับผู้ที่ประสบปัญหาและสหสาวิชาชีพ เป็นการช่วยเหลือในฐานะเพื่อนมนุษย์อย่างเท่าเทียม
 
หน้าที่และความรับผิดชอบของกลุ่มงานสังคมสงเคราะห์  ประกอบด้วย
 
.1 การบริการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ประจำแผนกผู้ป่วยนอก /ผู้ป่วยใน
 
.2 การบริการคลินิกศูนย์พึ่งได้  งานให้บริการช่วยเหลือเด็ก สตรีและบุคคลในครอบครัวที่ถูกกระทำรุนแรง และผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม
 
3 การบริการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ประจำแผนกผู้ป่วยนอกคลินิกพิเศษ /กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ       
 
.4 การบริการสังคมสงเคราะห์ชุมชนและครอบครัว
 
.5  การจัดการทรัพยากรทางสังคมและสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่าย
 
.6  การจัดการกองทุนและมูลนิธิ ช่วยเหลือผู้ป่วยยากจนและผู้ด้อยโอกาส
 
.7. งานวิชาการและงานการให้คำปรึกษาทางสังคมสงเคราะห์  งานวิชาการและงานการ             
 
งานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ===
งานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ เป็นสาขาหนึ่งของสังคมสงเคราะห์ ทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพในโรงพยบาล ผู้ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวถูกเรียกว่า นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ หรือ
เส้น 82 ⟶ 179:
           - ผู้ป่วยเด็ก/สตรี ที่ถูกทำรุนแรงหรือถูกทารุณกรรม ทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางเพศ ทางการถูกละเลยทอดทิ้ง ซึ่งผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำโดยทำให้เกิดความบาดเจ็บ พิการหรือถึงแก่ชีวิต เกิดปัญหาสุขภาพกายจิต บุคลิกภาพบกพร่อง ก้าวร้าว เกิดภาวะการตั้งครรภ์ไม่พร้อมหรือโรคทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่สงบสุข ถูกทำลาย จนมีปัญหาด้านพัฒนาการ ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ปัญหาครอบครัวติดตามมา มีพฤติกรรมและความไม่มั่นคงทางจิตใจ อารมณ์ในระยะยาว ในการแก้ปัญหานี้ไม่สามารถ แก้ไขได้ด้วยการรักษาพยาบาลหรือให้บริการทางการแพทย์ได้เพียงอย่างเดียว นักสังคมสงเคราะห์จะต้องทำหน้าที่ในการประเมินวินิจฉัยสภาพครอบครัว ปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่กระตุ้นให้เกิดการใช้ความรุนแรง การจัดการกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในตัวผู้ป่วยเช่นทัศนคติและความเชื่อต่างๆ สิ่งแวดล้อมภายนอกเช่น ความเป็นอยู่ สภาพเศรษฐกิจ อาชีพ รายได้ แหล่งทุน/ทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งการช่วยเหลือกรณีมีความรุนแรงมากจนถึงขั้นต้องใช้กระบวนการแบบสหวิชาชีพจากภายนอกเข้าควบคุมหรือคุ้มครองสวัสดิภาพแก่เด็กและสตรีเพื่อป้องกันการถูกทำร้ายซ้ำ หรือการจัดหาสวัสดิการสังคมอื่นๆให้กับผู้ป่วยและครอบครัวที่ประสบปัญหา เพื่อให้หลุดพ้นจากการถูกทำร้ายอย่างถาวรไม่กลับมารักษาอีกหลายครั้ง
 
'''นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ในงานผู้ป่วยจิตเวชผู้ป่วยและยาเสพติด'''
 
           - ผู้ป่วยที่มีภาวะพิการทางกายและใจ หรือผู้ป่วยจิตเวชที่ถูกทอดทิ้งจากครอบครัว จนเกิดปัญหาซ้ำซ้อนที่ไม่ได้รับการแก้ไข  ทำให้ผู้ป่วยกลับเป็นซ้ำ ส่งผลให้การเจ็บป่วยรุนแรง มีความยากลำบากในการดูแลช่วยเหลือ  และการแก้ไขปัญหา นักสังคมสงเคราะห์ทำหน้าที่ในการติดตาม บำบัดเยียวยาทางสังคม จัดหาทรัพยากร กายอุปกรณ์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคมของผู้ป่วย นอกจากนี้ ผู้ป่วยจิตเวชที่ถูกทอดทิ้ง   ถูกล่ามขัง ผู้ป่วยจิตเวชที่มีปัญหาทางด้านกฎหมายร่วมด้วย (เช่น  กรณีเป็นผู้ถูกกล่าวหา)    ผู้ป่วยที่ก้าวร้าวรุนแรงเป็นอันตรายต่อครอบครัวและสังคม ทรัพย์สิน ซึ่งหากไม่ได้รับการ ประเมินปัญหาทางสังคม ปัจจัยกระตุ้นหรือแรงขับของพฤติกรรม อย่างถูกต้อง ครบถ้วน โดยนักสังคมสงเคราะห์ ย่อมนำไปสู่การวางแผนการบำบัดรักษาของ ทีมสหวิชาชีพที่ผิดพลาด การช่วยเหลือดูแล ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง และในที่สุดก็จะทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ ป่วยซ้ำ และมีพฤติกรรมที่เป็นอันตราย รุนแรงหนักกว่าเดิม                 
 
           - ผู้ป่วยติดสารเสพติด อันเนื่องมาจากปัญหาทางครอบครัวและสังคมที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความกดดันและหันไปใช้สารเสพติดเป็นเวลานาน จนไม่สามารถเลิกการใช้สารเสพติดได้ ทั้งนี้หากขาดการเยียวยาหรือการบำบัด แก้ไขทางสังคมโดยมีนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้ประสานความช่วยเหลือ  ผู้ป่วยจะกลายเป็นภาระของสังคม และครอบครัวในระยะยาว อีกทั้งมีแนวโน้มย้อนกลับมาเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะป่วยซ้ำซ้อนมากขึ้นในโรงพยาบาล 
 
'''นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์กับผู้ป่วยยาเสพติด'''
 
          ทางการแพทย์มองผู้ใช้ยาเสพติด เป็นปัญหาของบุคคลที่มีสาเหตุมาจากโรคสมองติดยา หรือสุขภาวะอื่น ๆ  ซึ่งจำเป็นต้องรักษาโดยผู้ชำนาญทางการแพทย์  การจัดการความบกพร่อง หรือการบำบัดรักษา  ผู้ใช้ยาเสพติด  มีจุดมุ่งหมายในการที่รักษา หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของปัจเจกบุคคล การดูแลทางการแพทย์ดูว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด และสิ่งที่รัฐบาลต้องทำเป็นอย่างแรก คือการ เปลี่ยนแปลง หรือปฎิรูปนโยบายด้านสาธารณสุข ในขณะที่รูปแบบทางสังคม มองว่า ผู้ใช้ยาเสพติด เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม และเป็นของบุคคลกับสิ่งแวดล้อม  ผู้ใช้ยาเสพติดเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ความเจ็บป่วยจากการใช้สารเสพติดไม่เป็นเพียงลักษณะของปัจเจกบุคคล แต่ประกอบด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งหลายๆ เงื่อนไข เกิดจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการจัดการปัญหานี้ จึงต้องใช้ปัจจัยทางสังคม เป็นเป็นความรับผิดชอบของสังคมในการที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม  เพื่อที่จะทำให้ผู้ใช้ยาเสพติดนั้น สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น เรื่องนี้จึงถือเสมือนเป็นเรื่องเกี่ยวกับทัศนคติและบริบทที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งในระดับนโยบายกลายเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน การรวมกัน  การดำเนินงาน จึงต้องนำแนวคิด  ด้าน  ชีวจิต วิทยา สังคม  (Bio psycho social ) แนวคิดการดูแลทางสังคมผู้ใช้ยาเสพติด แบบบูรณาการ  ทั้งด้าน  ชีววิทยา  ปัจเจกบุคคล  และมุมมองทางสังคม  ซึ่งรวมถึง การทำงานของร่างกาย  โครงสร้างทางร่างกาย  สมรรถภาพ ความสามารถ ความยากลำบาก หน้าที่ของบุคคล  การทำกิจกรรม และการมีส่วนร่วม  ปัจจัยแวดล้อม  แสดงถึง ภูมิหลังหมดของชีวิต และการดำรงชีวิตของปัจเจกบุคคล ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อตัวบุคคลที่มีปัญหาการใช้ยาเสพติด  ดังนั้น วิเคราะห์ความรุนแรงของรากเหง้าปัญหาของบุคคล กับสิ่งแวดล้อม    จึงเป็นสิ่งสำคัญ     
 
'''นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ในงานผู้ป่วยโรคมะเร็งและระยะสุดท้าย'''
 
การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเป็นกระบวนการทำงานที่ละเอียดอ่อน ต้องการการทำงานสหวิชาชีพ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นองค์รวมครอบคลุมทุกมิติทั้งด้านร่างกาย จิตใจสังคม และจิตวิญญาณ นักสังคมสงเคราะห์เป็นวิชาชีพหนึ่งในทีมสุขภาพที่สำคัญ ที่ช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถเตรียมพร้อมและรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ตลอดจนสามารถดำรงชีวิตในสังคมต่อไปได้ การทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ เป็นผู้ประยุกต์ศาสตร์ทางด้านสังคมสงเคราะห์ จิตวิทยาหรือศาสตร์อื่น ๆ ด้านสังคมศาสตร์ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องมาใช้เพื่อประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นพื้นฐานในการทำงานอยู่แล้ว แต่เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นการขยายบทบาทการทำงาน (Expanding role) ประกอบกับแต่ละพื้นที่มีบริบทการทำงานที่แตกต่างกัน ทั้งในประเด็นวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ นักสังคมสงเคราะห์และผู้ทำงานเชิงสังคมแต่ละพื้นที่จึงต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ จะต้องรู้ นโยบาย และระบบบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้องงานดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ต้องได้รับการฝึกฝนทักษะที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวเรียนรู้การใช้เครื่องมือในการประเมินผู้ป่วยและครอบครัว กลวิธีการทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ได้รับการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการอยู่ดีและความตายดี สามารถประยุกต์สิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และการสร้างเครือข่ายทางสังคมในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้ป่วยมีคุณภาพการอยู่ที่ดีอันจะนำไปสู่การตายที่ดี ตลอดจนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาคุณภาพบริการทางสังคมสงเคราะห์
นักสังคมสงเคราะห์ มีบทบาทในการการประเมินเส้นความสัมพันธ์ (Genogram) การวิเคราะห์แผนผังครอบครัว (Family Tree) กระบวนการปรึกษา(Counseling) การเสริมพลัง   (Empowerment) การสร้างเครือข่ายทางสังคม (Social Network)   เป็นต้น   นักสังคมสงเคราะห์ วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นและคาดว่าจะเกิดขึ้นได้ รวมถึงทำให้  ผู้ป่วยและครอบครัว เห็นศักยภาพของตนจะทำให้ “ยอมรับความจริง”    นักสังคมสงเคราะห์ ประเมินผู้ป่วยและครอบครัว “ก่อน”การแจ้งความจริง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และวางแนวทางการจัดการปัญหาเมื่อบอกความจริงแล้ว อันจะส่งผลให้เกิดการร่วมมือต่อการดูแลรักษาต่อไป  
 
นักสังคมสงเคราะห์ มีบทบาทในการการประเมินเส้นความสัมพันธ์ (Genogram) การวิเคราะห์แผนผังครอบครัว (Family Tree) กระบวนการปรึกษา(Counseling) การเสริมพลัง   (Empowerment) การสร้างเครือข่ายทางสังคม (Social Network)   เป็นต้น   นักสังคมสงเคราะห์ วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นและคาดว่าจะเกิดขึ้นได้ รวมถึงทำให้  ผู้ป่วยและครอบครัว เห็นศักยภาพของตนจะทำให้ “ยอมรับความจริง”    นักสังคมสงเคราะห์ ประเมินผู้ป่วยและครอบครัว “ก่อน”การแจ้งความจริง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และวางแนวทางการจัดการปัญหาเมื่อบอกความจริงแล้ว อันจะส่งผลให้เกิดการร่วมมือต่อการดูแลรักษาต่อไป  
 
'''นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ในงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อ เอช ไอ วี และเอดส์และผู้ได้รับผลกระทบ'''
เส้น 248 ⟶ 351:
 ปัจจุบันจะพบว่าทุกภาคส่วนในสังคมมีแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพมีความเชื่อมโยงทั้งในส่วนของวิถีชีวิต สังคม เศรษฐกิจ จิตใจ ครอบครัว ชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทำให้การดูแลสุขภาพมีความแตกต่างกันตามสภาพปัญหา  ภาครัฐหรือเอกชนต่างได้รวมกันคิดหาแนวทางและผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้บุคคลซึ่งถูกจำกัดความสามารถให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ 
 
                ในการจัดบริการสังคมสงเคราะห์ นักสังคมสงเคราะห์  มีการดำเนินการหาข้อมูล  (Fact finding) วิเคราะห์วินิจฉัยบำบัดทางสังคมกับผู้ป่วย การประเมินความพร้อมของผู้พิการและครอบครัว การเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่ายร่วมกับสหสาขาวิชาชีพและทีมสุขภาพ (Patient care team) และการวางแผนการจัดบริการทางสังคม (Social care plan) ร่วมกับภาคีเครือข่าย (stakeholder)  มีจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้พิการแบบครบวงจร (one stop service) เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ มีความสะดวกรวดเร็ว  มีการให้คำปรึกษาแนะนำ และ จัดระบบการดูแลและประสานงานการออกเอกสาร จดทะเบียนผู้พิการ  คุ้มครองสิทธิ แนะนำสิทธิประโยชน์ คนพิการ ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข  ตลอดจน ตลอดจนการจัดประชุม case conference การจัดระบบส่งต่อคนพิการถูกทอดทิ้ง ไม่มีญาติเข้าสถานสงเคราะห์ทั้งของรัฐและเอกชน
 
นักสังคมสงเคราะห์ จึงมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเสริมสร้างความเข็มแข็ง และ การสร้างระบบการสนับสนุนทางสังคมสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว โดยวิธีการการประเมินปัญหาและความต้องการ (Problem and Need Assessment) การประเมินความพร้อมของครอบครัวในการดูแล (Family Assessment) การจัดบริการร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาล พมจ. องค์กรเครือข่ายผู้พิการ เป็นต้น การวิเคราะห์และวางแผนการจัดบริการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเสริมสร้างระบบสนับสนุนให้เกิดการดูแลตนเอง การดูแลโดยกลุ่ม รวมทั้งการจัดหาทรัพยากร เพื่อสนับสนุนให้ให้ผู้ป่วยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม  นอกจากนี้นักสังคมสงเคราะห์ต้องใช้กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ทางสังคมได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ เหมาะสมกับศักยภาพในครอบครัวและชุมชน และเพื่อสนับสนุนเครือข่ายทางสังคมให้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก การฝึกทักษะการทำงาน การฝึกทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในชุมชน การฝึกอาชีพ การจัดหางาน รวมทั้งการฝึกเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน เป็นต้น  เนื่องจากสภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้พิการ นั้นมีความซับซ้อน ลำพังหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไม่สามารถให้การช่วยเหลือได้เพียงพอและครอบคลุมปัญหาทั้งหมดของผู้รับบริการ  เพื่อการจัดบริการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ