ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มนุษย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 47:
 
==== หลักฐานจากบันทึกซากดึกดำบรรพ์ ====
มีหลักฐานซากดึกดำบรรพ์เพียงเล็กน้อยที่อธิบายการเบนออกของเชื้อสายกอริลลา ชิมแปนซีและโฮมินิน ซากดึกดำบรรพ์เก่าแก่ที่สุดที่ถูกเสนอเป็นสมาชิกของเชื้อสายโฮมินิน คือ ''[[Sahelanthropus tchadensis]]'' ซึ่งมีอายุราว 7 ล้านปี, ''Orrorin tugenensis'' ซึ่งมีอายุราว 5.7 ล้านปี และ ''Ardipithecus kadabba'' ซึ่งมีอายุราว 5.6 ล้านปี แต่ละสปีชีส์ดังกล่าวมีการโต้แย้งว่าเป็นบรรพบุรุษสองเท้าของโฮมินินในสมัยหลัง แต่ข้ออ้างในแต่ละกรณีได้ถูกคัดค้าน เป็นไปได้ว่า สปีชีส์หนึ่งข้างต้นเป็นบรรพบุรุษของลิงไม่มีหางแอฟริกาอีกสาขาหนึ่ง หรือพวกมันอาจเป็นบรรพบุรุษร่วมของโฮมินินกับลิงไม่มีหางอื่น ๆ คำถามถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ยุคต้นเหล่านี้กับเชื้อสายโฮมินินยังต้องหาคำตอบต่อไป จากสปีชีส์ยุคแรกเริ่มเหล่านี้ ออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 4 ล้านปีที่แล้ว และเบนออกเป็นสาขา Robust (หรือเรียกว่า Paranthropus) และ Gracile ซึ่งหนึ่งในนั้น (อาจเป็น ''A. garhi'') ต่อมาเป็นบรรพบุรุษของสกุล ''Homo''
 
สมาชิกเก่าแก่ที่สุดของสกุล ''Homo'' คือ ''[[Homo habilis]]'' ซึ่งวิวัฒนาการเมื่อราว 2.3 ล้านปีที่ผ่านมา ''Homo habilis'' เป็นสปีชีส์แรกซึ่งมีหลักฐานการใช้เครื่องมือหิน สมองของโฮมินินยุคเริ่มแรกนี้ยังมีขนาดเท่ากับสมองชิมแปนซี และการปรับตัวหลักของพวกมัน คือ การเดินสองเท้า ซึ่งเป็นการปรับตัวเพื่ออยู่อาศัยบนดิน อีกหนึ่งล้านปีต่อมา ขบวนการรวมอวัยวะสำคัญไว้ที่หัว (encephalization) เริ่มขึ้น และด้วยการมาถึงของ ''Homo erectus'' ในบันทึกซากดึกดำบรรพ์ ความจุกะโหลกได้เพิ่มเป็นสองเท่า ''Homo erectus'' เป็นโฮมินินชนิดแรกที่อพยพจากแอฟริกา และสปีชีส์นี้แพร่กระจายไปทั่วแอฟริกา เอเชียและยุโรประหว่าง 1.8 ถึง 1.3 ล้านปีที่แล้ว ประชากรหนึ่งของ ''H. erectus'' หรือที่บางครั้งจัดเป็นอีกสปีชีส์ต่างหาก ชื่อ ''Homo ergaster'' ยังคงอาศัยอยู่ในแอฟริกาและวิวัฒนาการเป็น ''Homo sapiens'' เชื่อกันว่าสปีชีส์เหล่านี้เป็นพวกแรกที่ใช้ไฟและเครื่องมือที่ซับซ้อน ซากดึกดำบรรพ์ตัวเชื่อมที่เก่าแก่ที่สุดระหว่าง ''H. ergaster/erectus'' และ ''H. sapiens'' โบราณมาจากแอฟริกา เช่น ''Homo rhodesiensis'' แต่ดูเหมือนว่า รูปแบบตัวเชื่อมจะยังพบที่มานีสิ (Dmanisi) [[ประเทศจอร์เจีย]] สิ่งมีชีวิตสืบเชื้อสายของ ''H. erectus'' แอฟริกานี้แพร่กระจายทั่วยูเรเซียจากประมาณ 500,000 ปีที่แล้ว วิวัฒนาการเป็น ''H. antecessor'', ''H. heidelbergensis'' และ ''H. neanderthalensis'' ซากดึกดำบรรพ์เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์สมัยใหม่ทางกายวิภาคศาสตร์อยู่ในยุคหินเก่าตอนกลาง ราว 200,000 ปีที่แล้ว เช่น ซากโอโม (Omo remains) แห่ง[[เอธิโอเปีย]] ฟอสซิลในสมัยหลังจาก Skhul ในอิสราเอล และยุโรปใต้ เริ่มตั้งแต่ราว 90,000 ปีที่แล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 การค้นพบซากฟอสซิลกระดูกมนุษย์โฮโม เซเปียนส์ ที่ถ้ำเซเบล อีร์ฮูด ในประเทศโมร็อกโก อายุระหว่าง 300,000 - 350,000 ปี ซึ่งบ่งชี้ว่ามนุษย์ไม่ได้มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วจากแหล่งเดียวที่เอธิโอเปียตามที่เข้าใจกันแต่เป็นการค่อยๆวิวัฒนาการปรับสภาพทางกายภาพร่วมกันจากหลายๆแหล่งในแอฟริกาแบบที่ละเล็กทีละน้อยผ่านเวลายาวนานจนเป็นลักษณะในปัจจุบันนี้<ref>http://www.bbc.com/thai/international-40202638?SThisFB</ref>
 
==== การปรับตัวทางกายวิภาคศาสตร์ ====
วิวัฒนาการของมนุษย์มีคุณลักษณะพิเศษโดยการเปลี่ยนแปลงทางกายสัณฐานวิทยา พัฒนาการ สรีรวิทยาและพฤติกรรมจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้เกิดขึ้นนับแต่การแยกออกระหว่างบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายของมนุษย์กับชิมแปนซี การปรับตัวทางกายวิภาคศาสตร์ที่สำคัญที่สุด ได้แก่ 1. ทวิบทหรือการเดินสองเท้า 2. ขนาดสมองที่ใหญ่ขึ้น 3. การพัฒนาเจริญเติบโตที่นานขึ้น (การตั้งครรภ์และวัย[[ทารก]]) 4. ภาวะทวิสัณฐานทางเพศที่ลดลง ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเหล่านี้ยังเป็นหัวข้อถกเถียงกันอยู่<ref name=Boyd2003>{{cite book |author=Boyd, Robert; Silk, Joan B. |year=2003 |title=How Humans Evolved |location=New York, New York |publisher=Norton |isbn=0-393-97854-0}}</ref> การเปลี่ยนแปลงทางการสัณฐานวิทยาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ได้แก่ วิวัฒนาการของการหยิบจับที่มีพลังและแม่นยำด้วยนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกใน ''H. erectus''<ref name=Brues1965>{{cite journal |author=Brues, Alice M.; Snow, Clyde C. |title=Physical Anthropology |journal=Biennial Review of Anthropology |year=1965 |volume=4 |pages=1–39 |url=http://books.google.com/books?id=9WemAAAAIAAJ&pg=PA1}}</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/มนุษย์"