ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมแทบอลิซึม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
สารอินทรีย์ มิใช่ สสารอินทรีย์ และให้นิยามที่ชัดเจนของแอแนบอลิซึม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มนิยามให้เหมาะสม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
'''กระบวนการสร้างและสลาย''' หรือ '''เมแทบอลิซึม'''<ref>ศัพท์บัญญัติ[[ราชบัณฑิตยสถาน]] สาขาพฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕</ref> ({{lang-en|metabolism}}) มาจาก[[ภาษากรีก]] μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่ม[[ปฏิกิริยาเคมี]]ที่เกิดขึ้นใน[[เซลล์ (ชีววิทยา)|เซลล์]][[สิ่งมีชีวิต]]เพื่อค้ำจุน[[ชีวิต]] วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของ[[โปรตีน]] [[ลิพิด]] [[กรดนิวคลิอิก]]และ[[คาร์โบไฮเดรต]]บางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มี[[เอนไซม์]]เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า '''เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต''' (intermediary หรือ intermediate metabolism)
 
โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ [[แคแทบอลิซึม]] (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารสารโมเลกุลขนาดใหญ่เป็นสารโมเลกุลขนาดเล็ก การสลายสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลาย[[กลูโคส]]ให้เป็น[[กรดไพรูวิก|ไพรูเวต]] เพื่อให้ได้พลังงานใน[[การหายใจระดับเซลล์]] และ[[แอแนบอลิซึม]] (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างหรือสังเคราะห์สารโมเลกุลขนาดเล็กเป็นสารโมเลกุลขนาดใหญ่ในแมทาบอลิซึม<ref>http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/4435/anabolism-แอแนบอลิซึม</ref> เช่นการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ [[โปรตีน]]และ[[กรดนิวคลีอิก]] ทั้งนี้ การเกิด[[แคแทบอลิซึม]]ส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิด[[แอแนบอลิซึม]]นั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา
 
ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ใน[[วิถีเมแทบอลิซึม]] (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้[[เอนไซม์]]หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับ[[ปฏิกิริยาที่เกิดเองได้]] (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็น[[ตัวเร่งปฏิกิริยา]] ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือ[[การสื่อสารของเซลล์|สัญญาณจากเซลล์อื่น]]