ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Delicious (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 59:
ในขณะที่ทรงพระเยาว์นั้น ได้ทรงศึกษาใน[[พระบรมมหาราชวัง]] โดยมี[[หม่อมเจ้าประภากร มาลากุล]] [[พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)]] และ[[พระยาอิศรพันธุ์โสภณ (หนู อิศรางกูร ณ อยุธยา)]] เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรภาษาไทย ส่วนวิชาภาษาอังกฤษนั้นทรงศึกษากับนายโรเบิร์ต มอแรนต์ (Robert Morant)<ref>สุกัญญา ตีระวนิช. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการหนังสือพิมพ์ --: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ กรุงเทพฯ, ISBN 974-7442-60-4</ref> ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2436 พระชนมายุได้ 12 พรรษาเศษ สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเก ล้าฯ ให้เสด็จออกไปทรงศึกษาต่อ ณ อังกฤษ ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ ณ อังกฤษ [[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร]] ได้เสด็จสวรรคต สมเด็จพระบรมชนกนาถจึงโปรดฯให้สถาปนาเฉลิมพระอิสริยยศขึ้นเป็น[[สยามมกุฎราชกุมาร]]สืบแทนสมเด็จพระเชษฐา<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2437/043/346.PDF ประกาศสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร], เล่ม ๑๑, ตอน ๔๓, ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗, หน้า ๓๔๖ </ref><ref>พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้ากรุงสยาม (บางตอน) และพระราชนิพนธ์อันเป็นสุดที่รัก เรื่อง พระนล คำหลวง, หน้า 20</ref>
 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษาวิชาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษหลายแขนง ทางทหารทรงสำเร็จการศึกษาจาก[[แซนเฮิสต์]]แล้วเข้ารับราชการในกรมทหารราบเบาเดอรัม ทางด้านพลเรือนทรงศึกษาวิชา[[ประวัติศาสตร์]]และ[[กฎหมาย]] ที่วิทยาลัยไครสต์เชิร์ช [[มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดออกซฟอร์ด]] ระหว่างปี พ.ศ. 2442 - พ.ศ. 2444<ref>พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้ากรุงสยาม (บางตอน) และพระราชนิพนธ์อันเป็นสุดที่รัก เรื่อง พระนล คำหลวง, หน้า 39</ref> แต่เนื่องด้วยทรงพระประชวรด้วยพระโรคอันตะ (ไส้ติ่ง) อักเสบ มีพระอาการมากต้องเข้ารับการผ่าตัดทันที ทำให้ทรงพลาดโอกาสที่ได้รับ[[ปริญญา]] ระหว่างการศึกษาในต่างประเทศ ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจแทนพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ โดยเสด็จในฐานะผู้แทนพระองค์ไปในงานพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ทั้งในประเทศอังกฤษและประเทศใกล้เคียง เสด็จนิวัตพระนครตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถโดยเสด็จผ่าน[[สหรัฐอเมริกา]]และ[[ประเทศญี่ปุ่น]] ถึงกรุงเทพมหานครเมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2445<ref>พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้ากรุงสยาม (บางตอน) และพระราชนิพนธ์อันเป็นสุดที่รัก เรื่อง พระนล คำหลวง, หน้า 21</ref>
 
=== การผนวช ===
บรรทัด 406:
[[หมวดหมู่:กวีชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกกองเสือป่า]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดออกซฟอร์ด]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก.| ]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.| ]]