ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสุริโยทัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 7796355 สร้างโดย 49.230.208.5 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
คำราชาศัพท์
บรรทัด 20:
| รัชกาลถัดมา =
|}}
'''พระสุริโยทัย''' หรือ[[คำให้การชาวกรุงเก่า]]ออกพระนามว่า'''พระมหาเทวี'''<ref>คำให้การชาวกรุงเก่า, ''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น'', หน้า 497</ref> เป็นพระอัครมเหสีใน[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]] พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 15 ของ[[อาณาจักรอยุธยา]]สมัย[[ราชวงศ์สุพรรณภูมิ]] พระสุริโยทัยตามพงศาวดารหลวงประเสริฐฯ กล่าวเพียงแค่เป็นอัครมเหสีผู้เสียสละพระชนม์ชีพเพื่อปกป้องพระราชสวามีใน[[สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้]] ในปี [[พ.ศ. 2091]] พงศาวดารบางฉบับ กล่าวว่า พระสุริโยทัยทรงเป็นเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงเจ้า[[กรุงสุโขทัย]]{{อ้างอิง}} โดยมิได้กล่าวรายละเอียดใดมากกว่านี้ ไทยยกย่องว่าเป็นวีรสตรีจากวีรกรรมยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปรในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้
 
== พระราชประวัติ ==
สมเด็จพระสุริโยทัยทรงเป็นพระอัครมเหสีใน[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]] ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจาก[[ขุนวรวงศาธิราช]]ได้เพียง 7 เดือน เมื่อ [[พ.ศ. 2091]] [[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]]และ[[พระเจ้าบุเรงนอง|มหาอุปราชาบุเรงนอง]]ยกกองทัพพม่าเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้าน[[ด่านพระเจดีย์สามองค์]] [[จังหวัดกาญจนบุรี]]และตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์ สวรรคตอยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อ[[วันอาทิตย์]] ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจุลศักราช 910 ตรงกับวันเดือนปีทางสุริยคติ คือ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ [[พ.ศ. 2092]] เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระบรมศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระบรมศพขึ้นเป็นวัด ขนานนามว่า '''วัดสบสวรรค์''' หรือ'''วัดสวนหลวงสบสวรรค์'''
 
== พระวีรกรรมในหลักฐานไทย ==
{{บทความหลัก|สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้}}
[[ไฟล์:Queen Suriyothai elephant combat.jpg|thumb|right|250px|สมเด็จพระสุริโยทัย (กลาง) ไสช้างเข้าขวางช้าง[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]] (ขวา) ซึ่งกำลังเสียทีช้างพระเจ้าแปร (ซ้าย) ใน[[สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้]] (จิตรกรรมฝีพระหัตถ์[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]])]]
 
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2092 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงตัดสินพระทัยยกทัพออกนอกพระนครเพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหารและทอดพระเนตรจำนวนข้าศึก<ref name="สารานุกรมไทย">[http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK21/chapter2/t21-2-m.htm วีรสตรีไทย: สมเด็จพระสุริโยทัย]. สารานุกรมไทยฉบับเยาวชนฯ ฉบับที่ ๒๑. สืบค้น 28 สิงหาคม 2553</ref> สมเด็จพระสุริโยทัยจึงเสด็จพระราชดำเนินพร้อมกับด้วยพระราชโอรส-พระราชธิดารวม 4 พระองค์ได้เสด็จติดตามไปด้วย โดยพระองค์ทรงแต่งกายอย่างมหาอุปราช ครั้นยกกองทัพออกไปบริเวณทุ่งภูเขาทอง กองทัพอยุธยาปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพม่า ช้างทรงของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดเสียทีหันหลังหนีจากข้าศึก พระเจ้าแปรก็ทรงขับช้างไล่ตามมาอย่างกระชั้นชิด สมเด็จพระสุริโยทัยทอดพระเนตรเห็นพระราชสวามีกำลังอยู่ในอันตรายจึงรีบขับช้างเข้าขวางพระเจ้าแปร ทำให้ทรงไม่สามารถติดตามต่อไปได้<ref name="Wood 113">Wood, William A. R. (1924). History of Siam. Thailand: Chalermit Press. ISBN 1931541108. p. 113.</ref><ref name="Damrong 19">Prince [[Damrong Rajanubhab]], Disuankumaan (Originally in 1917, 2001 edition). Our Wars With The Burmese: Thai-Burmese Conflict 1539-1767. Thailand: White Lotus Co. Ltd. ISBN 9747534584. p. 19</ref> พระเจ้าแปรจึงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระสุริโยทัย เนื่องจากสมเด็จพระสุริโยทัยอยู่ในลักษณะเสียเปรียบ ช้างพระเจ้าแปรได้เสยช้างสมเด็จพระสุริโยทัย จนเท้าหน้าทั้งสองลอยพ้นพื้นดิน แล้วพระเจ้าแปรจึงฟันสมเด็จพระสุริโยทัยจากพระพาหาขาดถึงกลางพระองค์<ref name="สารานุกรมไทย"/> พระองค์เสด็จสวรรคตเช่นเดียวกับพระราชธิดา คือ พระบรมดิลก บนช้างทรงเชือกเดียวกัน<ref name="Wood 112">Wood, William A. R. (1924). History of Siam. Thailand: Chalermit Press. ISBN 1931541108. p. 112.</ref><ref>Prince [[Damrong Rajanubhab]], Disuankumaan (Originally in 1917, 2001 edition). Our Wars With The Burmese: Thai-Burmese Conflict 1539-1767. Thailand: White Lotus Co. Ltd. ISBN 9747534584. p.11.</ref><ref>Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Laurier Books Ltd. ISBN 8120613651. p. 159</ref>
 
ถึงแม้ว่าจะมีการสร้างอนุสาวรีย์พระราชานุสาวรีย์ขึ้นเฉลิมพระเกียรติพระองค์ขึ้นหลายแห่งในประเทศไทย แต่ตัวตนและความเสียสละของพระองค์ยังเป็นหัวข้อที่ยังเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ เนื่องจากความจริงที่ว่าพระนามของพระองค์มิได้ถูกกล่าวถึงหรือบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์พม่าเลย<ref>[http://www.rebound88.net/sp/ngb/sthai5.html A Historical Divide] Subhatra Bhumiprabhas. Retrieved 2010-03-04</ref> และข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับชีวิตของพระองค์ถูกคัดมาจากบางตอนของจดหมายเหตุกรุงศรีอยุธยาและการบรรยายของนักสำรวจชาวโปรตุเกส โดมิงกู เซชัส (Domingo Seixas)<ref>[http://www.asiaticafilmmediale.it/2001/uk2001/database/surijotai.html Suriyothai: The Sun and The Moon.] Retrieved 2010-03-04 {{Wayback|url=http://www.asiaticafilmmediale.it/2001/uk2001/database/surijotai.html|date =20060514084200|bot=DASHBot}}</ref>
 
== พระราชโอรสและพระราชธิดา ==
สมเด็จพระสุริโยทัย ทรงมีพระราชโอรส-พระราชธิดา 5 พระองค์ ซึ่งน่าจะเรียงลำดับดังนี้
* '''[[พระราเมศวร (พระราชโอรสในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ)|พระราเมศวร]] ''' พระราชโอรสองค์โต ถูกจับเป็นองค์ประกันแก่พม่า และสิ้นพระชนม์ระหว่างไปหงสาวดี
* '''[[สมเด็จพระมหินทราธิราช|พระมหินทร์]]''' พระราชโอรสองค์รอง ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น[[สมเด็จพระมหินทราธิราช]] กษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ใน [[พ.ศ. 2112]]
บรรทัด 41:
* '''[[พระเทพกษัตรี]]''' พระราชธิดา ภายหลังถูกส่งตัวถวายแด่[[สมเด็จพระเจ้าอภัยพุทธบวร ไชยเชษฐาธิราช]] แห่ง[[อาณาจักรล้านช้าง]] ซึ่งระหว่างการเดินทางถึงชายแดนสยามประเทศพระนางถูก[[พระเจ้าบุเรงนอง]]กษัตริย์แห่งพม่าทำการชิงตัวไปยังกรุงหงสาวดี
 
== พระราชานุสาวรีย์ ==
== อนุสาวรีย์ ==
หลังสงคราม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้พระราชทานเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระสุริโยทัยที่สวนหลวง แล้วสร้างวัดอุทิศพระราชกุศลพระราชทาน คือ [[วัดสวนหลวงสบสวรรค์]] สถูปขนาดใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเก็บพระอัฐิบรมอัฐิของสมเด็จพระสุริโยทัย ถูกเรียกว่า เจดีย์พระศรีสุริโยทัย<ref name="Damrong 19">Damrong Rajanubhab p. 19</ref>
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ได้มีโครงการก่อสร้าง[[พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย]] ในบริเวณ[[ทุ่งมะขามหย่อง]] [[ตำบลบ้านใหม่]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] เป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระสุริโยทัยและ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] ในวโรกาสที่มีทรงเจริญพระชนมายุชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในปี พ.ศ. 2535
 
== วัฒนธรรมสมัยนิยม ==