ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7793286 สร้างโดย 2A03:2880:11FF:0:0:0:FACE:B00C (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
จากนั้นเมื่อปี [[พ.ศ. 2515]] ไพบูลย์เริ่มการทำงานที่ [[ฟาร์อีสต์แอดเวอร์ไทซิง|บริษัท ฟาร์อีสต์แอดเวอร์ไทซิง จำกัด]] ในเครือ[[สหพัฒนพิบูล]] จึงมีโอกาสเรียนรู้งานกับ[[เทียม โชควัฒนา]]อย่างใกล้ชิด จนกระทั่งปี [[พ.ศ. 2520]] เขากับเพื่อนร่วมงานส่วนหนึ่ง ก็ลาออกมาทำงานที่ บริษัท [[พรีเมียร์มาร์เก็ตติ้ง]] จำกัด ในเครือ[[โอสถสภา]] เป็นเวลา 7 ปี ซึ่งผลงานที่สำคัญคือ การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด แก่ผลิตภัณฑ์[[น้ำส้มสายชู]]กลั่น ของ[[องค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป]] (อสร.) และผลิตภัณฑ์ปลาสวรรค์ ตราทาโร่ ทั้งนี้ ระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว ไพบูลย์ก็ทำงานพิเศษหลายอย่างเช่น การผลิตหนังสือที่โรงพิมพ์พิฆเนศ ร่วมกับ[[ขรรค์ชัย บุนปาน]] และสุจิตต์ วงษ์เทศ, เป็น[[บรรณาธิการ]]หนังสือ ให้แก่[[บุรินทร์ วงศ์สงวน]], ก่อตั้งบริษัท โฟร์เอจ จำกัด ร่วมกับเพื่อนฝูง เพื่อทำงานวิจัย สร้างสรรค์[[โฆษณา]] และ[[สถาปัตยกรรม]]
 
ไพบูลย์สมรสกับ เม ดำรงชัยธรรม [[นักธุรกิจ]][[อสังหาริมทรัพย์]]ชาวไต้หวัน มีลูกชายบุตรสองคนคือ ฟ้าใหม่ (ปัจจุบัน เป็นผู้อำนวยการสายงานการตลาด ''บริษัท [[จีเอ็มเอ็มแซท]] จำกัด'') และระฟ้า (ปัจจุบัน เป็นผู้อำนวยการสายงานบริหารสมาชิก บริษัท จีเอ็มเอ็มแซท จำกัด)<ref>[http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=114876 'ระฟ้า-ฟ้าใหม่' คลื่นลูกใหม่ที่ 'อากู๋' ปั้นมากับมือ], [[หนังสือพิมพ์]][[ฐานเศรษฐกิจ]], ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,727 ประจำ[[วันอาทิตย์]]ที่ [[1 เมษายน|1]] - [[วันพุธ]]ที่ [[4 เมษายน]] [[พ.ศ. 2555]].</ref> และลูกสาวธิดาสองคนคือ อิงฟ้า และฟ้าฉาย (ปัจจุบันทั้งสองกำลังศึกษาอยู่) อนึ่ง ไพบูลย์เป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียนก่อตั้ง''มูลนิธิดำรงชัยธรรม'' ขึ้นเพื่อให้โอกาสทางการศึกษา แก่เด็กไทยที่ขาดโอกาส จนได้เป็นบัณฑิตและมหาบัณฑิต รวมทั้งส่งนักศึกษาซึ่งมีผลการเรียนดีมากส่วนหนึ่ง ไปศึกษาต่อยังต่างประเทศด้วย
 
ไพบูลย์มีชื่อเรียกซึ่งเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ''อากู๋'' ซึ่งมีที่มาจากเลขานุการส่วนตัว ''วิภาพร สมคิด'' ธิดาของศิวลี พี่สาวของไพบูลย์ เธอจึงเป็นหลานสาวของไพบูลย์ และเรียกไพบูลย์ว่าอากู๋ อันหมายถึงน้าชาย (น้องชายของแม่) ใน[[ภาษาจีน]][[สำเนียงแต้จิ๋ว]] ต่อมา [[ธงไชย แมคอินไตย์]] นักร้องยุคแรกๆ ซึ่งทำงานใกล้ชิดกับไพบูลย์ จึงได้ยินชื่อเรียกดังกล่าวอยู่เสมอ เมื่อธงไชยขึ้นแสดง[[คอนเสิร์ต]][[คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์|แบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์]]ครั้งหนึ่ง แล้วพบว่าไพบูลย์มานั่งชมอยู่หน้าเวที ธงไชยจึงกล่าวทักทายขึ้นว่า "สวัสดีพี่บูลย์ สวัสดีอากู๋" หลังจากนั้น ธงไชยยังเอ่ยถึงชื่อเรียกนี้อีกสองสามครั้ง จึงกลายเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในที่สุด
 
=== [[จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่]] ===
เมื่อปี [[พ.ศ. 2526]] ไพบูลย์นำเงินที่สะสมไว้ราว 400,000-500,000 บาท มาเป็นทุนจดทะเบียนก่อตั้ง ''[[แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์|บริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด]]'' เมื่อวันที่ [[11 พฤศจิกายน]] เพื่อผลิตงานดนตรีแล้วบันทึกเพื่อจำหน่าย (ค่ายเพลง) โดยร่วมกับท่านเรวัต พุทธินันทน์ นักดนตรีซึ่งมีชื่อเสียงในยุคนั้น ซึ่งผลงาน[[ลิขสิทธิ์]]ชิ้นแรกของแกรมมี่ คือการผลิตเพลงชุด''มหาดุริยางค์ไทย'' ที่ประพันธ์โดย[[หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)|หลวงประดิษฐ์ไพเราะ]] (ศร ศิลปบรรเลง) จากนั้นในปี [[พ.ศ. 2538]] แกรมมี่นำบริษัทเข้าจดทะเบียน เพื่อจำหน่ายหุ้นใน[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]] และปี [[พ.ศ. 2544]] เปลี่ยนชื่อเป็น''[[จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่|บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)]]'' ซึ่งปัจจุบันไพบูลย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวนรวม 392,834,599 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 47.91%<ref>[http://www.settrade.com/C04_05_stock_majorshareholder_p1.jsp?txtSymbol=GRAMMY&selectPage=5 ข้อมูลผู้ถือหุ้น บริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ จำกัด (มหาชน)], [http://www.settrade.com เซ็ตเทรด.คอม]</ref>
 
== อ้างอิง ==