ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มูลนิธิกระจกเงา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Veraporn (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเนื้อหาของสำนักงานเชียงราย และข้อมูลจากวิทยานิพนธ์
บรรทัด 4:
| Slogan = Help each other live in harmony!
| foundation = พ.ศ. 2534, [[ประเทศไทย]]
| location = สำนักงานใหญ่

ตำบลแม่ยาว [[จังหวัดเชียงราย]] ประเทศไทย
 
สำนักงาน กทม.
ซอยวิภาวดี 62 ถนนวิภาวดี [[กรุงเทพมหานคร]]
| key_people =
| industry = การพัฒนาชุมชนสังคม
| products =
| revenue =
| num_employees =
| homepage = [http://themirrorfoundationwww.org/ themirrorfoundationmirror.or.org]th
}}
 
เส้น 52 ⟶ 57:
 
=== '''นักศึกษาฝึกงาน''' ===
ประตูสู่การเรียนรู้กับห้องเรียนทางสังคม  ที่เชื่อว่าการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องอยู่กับที่และรู้อยู่เรื่องเดียว  เพราะจุดมุ่งหมายของเราไม่ได้มุ่งหวังให้นักศึกษาได้รับการฝึกฝนแต่เพียง ทักษะเฉพาะทาง แต่วาดหวังว่านักศึกษาจะได้รับประสบการณ์รอบด้านจากการใช้ ชีวิต ในการทำงานเพื่อเด็กและสังคม
 
ภายใต้ยุทธศาสตร์ "สร้างคน" และบูรณาการงานอาสาสมัครขององค์กร การเปิดโครงการนักศึกษาฝึกงานของ มูลนิธิกระจกเงา   ทำให้มีคนหนุ่มสาวมาเรียนรู้งานด้านสังคมผ่านการฝึกงาน ปีละไม่ต่ำกว่า 100 คน เรามีกองกำลังอาสาสมัครมาช่วยงานอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี แม้คนทำงานจะไม่มากเท่าไหร่ แต่ด้วยโครงสร้างงานอาสาสมัครเช่นนี้   ผลักดันให้เราสามารถทำงานได้มากกว่าที่กำลังคนทำงานประจำมี
 
เส้น 66 ⟶ 73:
 
โครงการ ที่ผ่านมาของมูลนิธิได้รวมถึงศูนย์อาสาสมัครสึนามิ (TVC) ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2548 โดยความร่วมมือจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ที่[[เทศบาลเมืองพังงา]] สำหรับการช่วยเหลือฟื้นฟูและบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนตลอดจนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจาก[[แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547|สึนามิในช่วงปลาย พ.ศ. 2547]] <ref>{{cite news | last = Barnes | first = Pathomkanok | title = NGO workers – committed to fight for just causes | date = 2005-07-17 | url = http://www.nationmultimedia.com/2005/07/17/headlines/index.php?news=headlines_18057152.html | accessdate = 2008-10-16 | work = The Nation}}</ref><ref>{{cite news | last = Staff | title = Tsunami aftermath: Volunteers adjust to morgue shift | work = Bangkok Post | url = http://moreresults.factiva.com/results/index/index.aspx?ref=BKPOST0020050121e11l0000i | date = 2005-01-21 | accessdate = 2008-10-26}}</ref>
 
=== โครงการในปัจจุบัน ===
 
==== '''โครงการครูบ้านนอก  (2541-ปัจจุบัน)''' ====
เป็นสะพานเชื่อม สายใยระหว่าง คนเมืองและเด็กๆบนดอยสูง โดยกลุ่มคนผู้มีหัวใจอาสา มาเป็นครูเพื่อสอนเด็กๆชนเผ่า บนภูสูง เกิดการ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ด้วยหวังว่าดอกผลแห่งมิตรภาพ จะเจริญเติบโตงอกงามบนดอยสูง เป็นแรงหนุน ให้ดอกไม้เหล่านี้ เรียนรู้และเบ่งบาน อย่างเต็มศักยภาพ
 
==== '''โครงการคุ้มครองสิทธิและพัฒนาสถานะบุคคล (2542-ปัจจุบัน)''' ====
คืองานที่มุ่งมองถึงการคุ้มครอง  ป้องกัน และขจัดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดพื้นที่ในการละเมิดสิทธิ  และหมายรวมถึงการจัดการปัญหาและพัฒนาสถานะบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งมิได้มีนัยยะเพียงการทำให้บุคคลคนหนึ่งมีบัตรหรือเอกสารแสดงตน  แต่มันหมายถึงโอกาสในเติบโตและใช้ชีวิต ภายใต้การได้รับการคุ้มครอง ป้องกัน และดูแล ในฐานะพลเมืองแห่งรัฐ มีศักดิ์ศรี และมีสิทธิในฐานะมนุษยชาติของสังคมโลก
 
==== '''โครงการกองทุนเด็กดอย (2542-ปัจจุบัน)    ''' ====
การระดมทุนทาง สังคม ที่มุ่งมองถึงการแบ่งปันและการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็ก ๆ ผู้ยากไร้บนภูดอย ที่มีความฝันและความตั้งใจในการที่จะพัฒนาตัวเองไปสู่อนาคตที่วาดหวัง อีกทั้งมีจิตใจเพื่อชุมชนและสังคม  การแบ่งปันที่ได้รับยังขยายผลไปสู่เด็กๆที่ทุกข์ยากเพราะประสบปัญหาด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือปัญหาด้านสุขภาพเพื่อให้เด็กๆกลุ่มนี้ได้กลับมามีรอยยิ้มอีกครั้ง
 
==== '''โครงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม/ท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร''' ====
จากแนวคิดที่ว่า การท่องเที่ยวควรได้รับอะไรมากกว่า การพักผ่อน และในพื้นที่การทำงานของมูลนิธิกระจกเงา ห้อมล้อมไปด้วย วัฒนธรรมที่แตกต่างและหลากหลาย มีมนต์เสน่ห์ และความงดงาม ควรค่าแก่การสัมผัสและเรียนรู้ ด้วยหลักคิดที่ว่า การท่อง เที่ยวที่ดี นอกจากจะสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนแล้ว การท่องเที่ยวควรสร้างรักและปลูกศรัทธาต่อวิถีและวัฒนธรรมที่ดีงามให้คงอยู่ สืบต่อไป ส่วนการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จัดทำขึ้นบนความเชื่อมั่นว่าโลกของการทำดีไม่มีเขตแดน การท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครจึงเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการท่องเที่ยว ที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมประสานผู้คนจากทุกมุมโลกที่ต้องการเรียนรู้และแบ่ง ปันสิ่งดี ๆ ให้กับผู้คนบนโลกเดียวกัน โดยในโครงการจะมีรูปแบบการแบ่งปันสองแบบ คือแบ่งปันทางด้านทักษะ การสอนทักษะทางภาษาให้กับเด็กๆและผู้คนในท่องถิ่นไม่ว่าจะเป็น วัด โรงเรียน โรงพยาบาล หรือ แบ่งปันด้านแรงงาน การซ่อมและสร้าง ระบบสาธารณูปโภคในชุมชนที่ขาดแคลน หรือประสบปัญหา
 
==== '''โครงการสร้างสื่อ สร้างคน''' ====
เพราะการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญที่บอกเล่าเรื่องราว และสามารถเปลี่ยนทัศนคติของผู้ชม โครงการสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลง จึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อเป็นช่องทางการนำเสนอเรื่องราว สะท้อนแง่มุมต่างๆ ของสภาพปัญหา เพื่อเผยแพร่ต่อสังคมใหญ่  อีกทั้งยังผลิตสื่อวีดิทัศน์ ในการสนับสนุนภาคส่วนต่างๆ ของงานเพื่อสังคม
 
==== '''โครงการร้าน อีบ้านนอก    ''' ====
จากแรงหนุนช่วยด้านยุคสมัยและเทคโนโลยี  และการซื้อขายสินค้าบนโลกอินเตอร์เนต www.e-bannok.com คือ พื้นที่ชีวิต ที่สินค้าทุกชนิดถูกประดิษฐ์ คิดทำด้วยใจและภูมิปัญญาของคนชนเผ่า  ด้วยหวังว่าพื้นที่เล็ก ๆ แห่งนี้จะเป็นพื้นที่ใน การแสดงความสามารถ สร้างงาน สร้างรายได้ ในการหล่อเลี้ยงชีวิตและครอบครัว
 
==== '''ศูนย์การเรียนไร่ส้ม''' ====
อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ปลูกส้มที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ  มีพื้นที่กว่า 70,000 ไร่ จึงไม่แปลกที่จะมีลูกหลานแรงงานในสวนส้มจำนวนมากหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งไทยใหญ่ ดาราอั้ง ลาหู่  ซึ่งเด็กส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเป็นเด็กไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ยังเข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่3) พ.ศ.2553 และกฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสิทธิของชุมชนและองค์กรเอกชน ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในศูนย์การเรียน พ.ศ. 2555 ดังนั้นโครงการนี้จึงมุ่งสร้างทางเลือกและโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็ก ๆ เหล่านี้ ด้วยเหตุผลว่าการไม่รู้หนังสือจะทำให้เด็กขาดโอกาสและสร้างวัฎจักรแห่งความยากแค้นไม่รู้จบ  โดยรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนจะเน้นการเชื่อมใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ ครูผู้สอน เวลาและเนื้อหา จะถูกออกแบบให้เหมาะสมและสอดคล้องกับชุมชนแต่ละชุมชน
 
=== โครงการในอดีต ===
 
# ปี 2541-2542 โครงการห้องสมุดเคลื่อนที่
# ปี 2543-2545 โครงการป้องกันและแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานและการค้ามนุษย์
# ปี 2543-2545 โครงการสถานีโทรทัศน์ชุมชน - บ้านนอกทีวี
# ปี 2544-2545 โครงการชุมชนบำบัดยาเสพติด
# ปี 2547-2552 โครงการพิพิธภัณฑ์ชนเผ่า Hilltribe.org
# ปี 2551-2552 โครงการป้องกันการค้ามนุษย์
# ปี 2551-2552 โครงการกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิต
# ปี 2550-2561 โครงการ Free Schools
 
== โครงการภายใต้สำนักงานกรุงเทพ ==
เส้น 102 ⟶ 143:
 
=== โครงการในอดีต ===
1.    โครงการ ICT เพื่อการพัฒนา
 
2.#    โครงการ TV4kidsICT  เพื่อการพัฒนา
# โครงการ TV4kids  
# โครงการสถาบันเด็กทำสื่อKids Story
# โครงการคุ้มคองสิทธิแรงงานประมง
# โครงการศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติทางเทคโนโลยีIT WATCH
# โครงการฅนอาสา
# โครงการจัดการจัดการสิ่งแวดล้อมน้ำท่วมเพื่อป้องกันโรคระบาดในจังหวัดปทุมธานี
# โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนจิตอาสาในสถานศึกษา
# โครงการนำร่อง ICT เพื่อผู้ป่วยในพื้นที่โรงพยาบาล
# โครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน
# โครงการการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน เป็นโครงการที่เสร็จสิ้นภารกิจลงแล้ว แต่หากมีสถานการณ์ภัยพิบัติเกิดขึ้นโครงการก็พร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจอีกครั้ง
 
== กิจกรรม/เหตุการณ์พิเศษ ==
3.    โครงการสถาบันเด็กทำสื่อKids Story
 
=== '''โครงการการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน''' ===
4.    โครงการคุ้มคองสิทธิแรงงานประมง
เนื่องด้วยสถานการณ์ภัยพิบัติจากธรรมชาติในปัจจุบัน มีความน่าเป็นห่วง เพราะมีแนวโน้มการเกิดและความเสียหายขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ ศูนย์ข้อมูลภัยพิบัติภาคประชาชนจึงได้ถือกำเนิดมา ด้วยมีจุดมุ่งหมายว่า เป็นส่วนหนึ่งในการ กระจายความรู้ การป้องกัน และการช่วยเหลือ ทั้งก่อนเกิด ขณะเกิด และหลังเกิด วิกฤติภัยจากธรรมชาติต่างๆ เพื่อหวังลดความเสียหายที่เกิดกับ ประชาชนในท้องที่ต่างๆ
 
===='''เหตุการณ์มหาพิบัติภัย “สึนามิ”'''====
5.    โครงการศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติทางเทคโนโลยีIT WATCH
ก่อตั้งศูนย์ประสานงานอาสาสมัครสึนามิ  Tsunami Volunteer Center ที่เขาหลัก จ.พังงา เมื่อปลายปี พ.ศ. 2547  เพื่อทำการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยตลอด 3 ปีของการดำเนินการได้มีอาสาสมัครจากทุกมุมโลกร่วมปฏิบัติการครั้งนี้มากกว่า 5.000 คน และได้ทำการสร้างบ้านพัก เรือประมง กองทุนส่งเสริมอาชีพ กิจกรรมด้านการศึกษาให้แก่ลูกหลานผู้ประสบภัย  นับเป็นโครงการแรกของมูลนิธิกระจกเงา ที่ได้ร่วมประสบการณ์ในงานด้านภัยพิบัติ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการทำงานด้านนี้ ในโอกาสต่อมา
 
===='''น้ำท่วมโคลนถล่ม ลับแล จ.อุตรดิตถ์'''====
6.    โครงการฅนอาสา
ก่อตั้ง อาสาลับแล หลังเหตุการณ์โคลนถล่มครั้งใหญ่ ปี พ.ศ. 2549 ที่ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ โดยอาสาสมัครกลุ่มแรกเป็นผู้ประสบภัยจากพื้นที่สึนามิที่มาช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยกัน ต่อมาได้เปิดรับอาสาสมัคร ทั่วประเทศกว่า 3,000 คนในภาระกิจขุดโคลนออกจากบ้านผู้ประสบภัยนับร้อยหลัง
 
===='''มหาวาตภัย น้ำท่วมใหญ่ปี 2554'''====
7.    โครงการจัดการจัดการสิ่งแวดล้อมน้ำท่วมเพื่อป้องกันโรคระบาดในจังหวัดปทุมธานี
ก่อตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคประชาชน (ศปภ.ประชาชน) เพื่อหนุนเสริมการช่วยเหลือภาครัฐ ที่ตั้ง ศปภ. ขึ้นที่สนามบินดอนเมือง ในเหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่ปี พ.ส.2554 โดยมีภาระกิจสนับสนุนอาหาร แพ เรือพาย ห้องน้ำชั่วคราว และการจัดการขยะหลังน้ำลด  มีอาสาสมัครเข้าร่วมกว่า 10,000คน
 
== '''รอยทาง - ผ่านงานวิทยานิพนธ์''' ==
8.    โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนจิตอาสาในสถานศึกษา
'''ความนำ :''' ข้อมูลชุดนี้คัดลอกมาจากวิทยานิพนธ์ของนายปริญญา สร้อยทอง นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ที่จัดทำขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของกระจกเงา สำนักงานจังหวัดเชียงราย   ทั้งนี้ผู้รวบรวมเห็นว่ามีหลายเรื่องหลายราวที่เป็นทั้งแง่มุมทางประวัติศาสตร์ในแต่ละยุค และความคิดความอ่านของผู้คนในยุคสมัยนั้นๆ ผู้รวบรวมจึงถือโอกาสหยิบยกเรื่องราวบางช่วงตอนของวิทยานิพนธ์เล่มนี้มาไว้ในข้อมูลนี้ เผื่อว่าจักเป็นประโยชน์สำหรับผู้คน ณ ยุคปัจจุบันสมัย
 
=== '''ยุคก่อร่างสร้างกลุ่ม''' ===
9.    โครงการนำร่อง ICT เพื่อผู้ป่วยในพื้นที่โรงพยาบาล
 
==== 23 ก.พ.2534 ====
10. โครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน
เมื่อเกิดเหตุการณ์รัฐประหารขึ้นในประเทศไทยโดยนายทหารกลุ่มหนึ่ง  การกระทำดังกล่าวทำให้กลุ่มพลังต่าง ๆ ถึงกับอยู่ในภาวะที่สับสนเป็นอย่างยิ่ง  เพราะรัฐบาลที่ถูกโค่นล้มไปนั้น ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเท่าที่ควร เพราะมีเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการคอรัปชั่น  และเมื่อนายทหารกลุ่มนี้ได้เข้าบริหารประเทศได้ระยะหนึ่ง ก็มีการใช้อำนาจที่ตนได้มาอย่างไม่ชอบธรรม กลุ่มพลังต่างๆอยู่ในภาวะที่เกร็งตัวเป็นอย่างยิ่งเพราะยังอยู่ในภาวะประกาศกฎอัยการศึก  การเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษาและองค์กรพัฒนาเอกชนที่ไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจจึงดำเนินกิจกรรมได้อย่างจำกัด
 
บนข้อจำกัดด้านรูปแบบของการนำเสนอความไม่เห็นด้วยต่อการรัฐประหาร  คนทำงานด้านวัฒนธรรมจึงเข้ามามีบทบาทอย่างสูงในช่วงการเมืองเก็บกดนี้  บทกวีถูกร่ายออกมาเพื่อสาปแช่งคนบ้าอำนาจ ดนตรีถูกขับร้องขึ้นเพื่อบอกถึงความฉ้อฉล  และละครก็มีการจัดแสดงขึ้น
11. โครงการการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน เป็นโครงการที่เสร็จสิ้นภารกิจลงแล้ว แต่หากมีสถานการณ์ภัยพิบัติเกิดขึ้นโครงการก็พร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจอีกครั้ง
 
ละครเวทีเรื่อง “สภาวะที่ชอบธรรม” เป็นละครเวทีที่จัดแสดง 2 รอบ ณ หอประชุมใหญ่ รามคำแหง  และหอประชุมใหญ่ ม.อ. และละครใบ้เรื่อง “อำนาจ” เปิดการแสดงขึ้นข้างถนน สวนสาธารณะ ในชุมชน หมู่บ้าน และมหาวิทยาลัย  โดยการรวมตัวของคนกลุ่มหนึ่งที่ประกอบด้วยนักกิจกรรมในมหาวิทยาลัยและคนทำงานพัฒนา เนื้อหาของละครสื่อถึงการแย่งชิงอำนาจกันเองในหมู่ชนชั้นปกครอง  โดยอ้างถึงประชาชนเป็นสาเหตุในการกระทำของตน อย่าได้รออัศวินคนใดเลยที่จะมาช่วยแก้ปัญหาของชาวบ้าน นอกจากตัวเราเองที่จะต้องร่วมกันเรียกร้องอย่างจริงจัง โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า “พิราบดำ”
== กิจกรรม/เหตุการณ์พิเศษ ==
 
หลังจากการออกรณรงค์  เคลื่อนไหวในนามกลุ่ม “พิราบดำ” ตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ.2534 เรื่อยมา  จะเห็นได้ว่ากิจกรรมที่ทำให้สมาชิกกลุ่มรวมตัวกันเป็นรูปเป็นร่าง ก็คือการทำละคร เรื่อง “สภาวะที่ชอบธรรม” เพื่อเสียดสีการปกครองแบบเผด็จการ  และจากความสำเร็จในละครเรื่องแรก ได้รับความสนใจจากองค์กรนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และถูกนำไปเผยแพร่ในตามมหาวิทยาลัยต่างๆ จนปลายปี 2534 ทำให้กลุ่มหนุ่มสาวจำนวน 5 คน ที่เป็นนักกิจกรรมในมหาวิทยาลัย  และเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนที่เคยร่วมรณรงค์ในนามกลุ่มพิราบดำกันมา ก็ได้เริ่มก่อตั้งเป็นกลุ่มขึ้นมาใหม่ โดยให้ชื่อว่า “กลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา” (The Mirror Art Group) มีความหมายว่า '''“ ''เมื่อเรายืนหน้ากระจกเงา เราเห็นอะไร  และเมื่อเลื่อนกระจกไปอีกมุมหนึ่งเราจะเห็น อีกมุม อีกแบบปรากฏอยู่ในนั้น  และไม่ว่าภาพนั้นจะสวยงามหรืออัปลักษณ์เพียงใด กระจกเงาคงทำหน้าที่เพียงแค่สะท้อนความจริงที่มีอยู่ให้ปรากฏออกมาเท่านั้น'' ”''' และมีการนิยามการทำงานของกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา   ไว้ว่า '''“''กระจกเงาไม่ใช่คนทำงานเพื่อสังคม เราทำเพราะอยากทำ ทำเพราะความสบายใจ  แต่เลือกที่ทำโครงการที่มีประโยชน์และสร้างสรรค์'' ”''' จากนั้นจึงพัฒนาตัวเองจากการทำกิจกรรมแบบนักศึกษามาเป็นกลุ่มที่มีลักษณะจัดตั้ง  ทำงานเป็นระบบ และทำงานอย่างต่อเนื่อง
=== '''เหตุการณ์มหาพิบัติภัย “สึนามิ”''' ===
ก่อตั้งศูนย์ประสานงานอาสาสมัครสึนามิ  Tsunami Volunteer Center ที่เขาหลัก จ.พังงา เมื่อปลายปี พ.ศ. 2547  เพื่อทำการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยตลอด 3 ปีของการดำเนินการได้มีอาสาสมัครจากทุกมุมโลกร่วมปฏิบัติการครั้งนี้มากกว่า 5.000 คน และได้ทำการสร้างบ้านพัก เรือประมง กองทุนส่งเสริมอาชีพ กิจกรรมด้านการศึกษาให้แก่ลูกหลานผู้ประสบภัย  นับเป็นโครงการแรกของมูลนิธิกระจกเงา ที่ได้ร่วมประสบการณ์ในงานด้านภัยพิบัติ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการทำงานด้านนี้ ในโอกาสต่อมา
 
เมื่อกลุ่มหรือองค์กรเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น  ประมาณต้นปี พ.ศ.2535 สมาชิกทุกคนจึงได้ตัดสินใจตั้งสำนักงานขึ้นมาในแถบพื้นที่ใกล้เคียงกับถนนสุขาภิบาล 1  เพื่อสร้างความเป็นองค์กร เป็นสำนักงานที่ทุกคนทำงานร่วมกัน เป็นเหมือนบ้านที่สมาชิกและลูกหลานใช้ชีวิตร่วมกัน  นอกจากนี้สำนักงานยังเป็นแหล่งข้อมูล เป็นโรงเรียนหรือศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาตนเองของสมาชิก โดยเน้นการอยู่ร่วมกันเป็น “ชุมชน” เป็นสำคัญ
=== '''น้ำท่วมโคลนถล่ม ลับแล จ.อุตรดิตถ์''' ===
ก่อตั้ง อาสาลับแล หลังเหตุการณ์โคลนถล่มครั้งใหญ่ ปี พ.ศ. 2549 ที่ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ โดยอาสาสมัครกลุ่มแรกเป็นผู้ประสบภัยจากพื้นที่สึนามิที่มาช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยกัน ต่อมาได้เปิดรับอาสาสมัคร ทั่วประเทศกว่า 3,000 คนในภาระกิจขุดโคลนออกจากบ้านผู้ประสบภัยนับร้อยหลัง
 
หลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ  เมื่อกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา  ได้เข้าสังกัด[http://www.komol.com มูลนิธิโกมลคีมทอง] เพื่อสถานะทางนิติบุคคลอันเอื้อประโยชน์ให้แก่การหาทุนดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง
=== '''มหาวาตภัย น้ำท่วมใหญ่ปี 2554''' ===
 
ก่อตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคประชาชน (ศปภ.ประชาชน) เพื่อหนุนเสริมการช่วยเหลือภาครัฐ ที่ตั้ง ศปภ. ขึ้นที่สนามบินดอนเมือง ในเหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่ปี พ.ส.2554 โดยมีภาระกิจสนับสนุนอาหาร แพ เรือพาย ห้องน้ำชั่วคราว และการจัดการขยะหลังน้ำลด  มีอาสาสมัครเข้าร่วมกว่า 10,000คน
กลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา  จึงเริ่มเขียนโครงการเพื่อขอทุนเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งในครั้งนั้นกระทรวงสาธารณะสุขเป็นแหล่งทุนแหล่งแรก  ที่สนับสนุนกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาในการดำเนินโครงการด้านละครชุมชน  และรายได้ก้อนแรกที่ได้จากการใช้ทักษะของสมาชิกในกลุ่ม เกิดมาจากการจัดกิจกรรมค่ายให้กับเด็กในสลัม  โดยองค์กรพัฒนาเอกชนแห่งหนึ่งที่ทำงานในชุมชนแออัดเป็นผู้ให้ทุนสนับสนุน จากนั้นเป็นต้นมากลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาก็ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐและต่างประทศ  ในการทำละครสะท้อนปัญหาสังคมแก่ชุมชนเป็นระยะๆ เรื่อยมา
 
=== '''ยุคอุตสาหกรรมละครและค่าย''' ===
ช่วงปลายปี พ.ศ.2537  ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่อยู่และสำนักงานของกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา  มาสู่ที่ตั้งใหม่ ที่ซอยสุขุมวิท 71 พระโขนง เนื่องด้วยปัญหาการเดินทาง  จำนวนปริมาณงานและปริมาณคนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นช่วงที่ “งานเริ่มเยอะ คนเริ่มแยะ”  เพราะกลุ่มเริ่มเป็นที่รู้จักของคนกลุ่มต่าง ๆ มากมาย มีองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนหลายองค์กรที่ติดต่อให้เข้ามาช่วยสร้างงานและกิจกรรม  และกลุ่มนักศึกษาก็อาสาสมัครข้ามาทำงานเป็นจำนวนมาก มีบันทึกชิ้นหนึ่งที่ผู้ประสานงานกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา เขียนเอาไว้ว่า “'''''การทำงานของกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงานั้น  พัฒนาการมาจากการทำงานแบบลงแขก แบบใครมีงานอะไรก็แห่กันไปทำ จำได้ว่าเริ่มต้นจากการทำงานทีละชิ้น  เมื่อเสร็จงานนี้ก็จะมีงานใหม่ต่อกันเข้ามา พอถึงยุคอุตสาหกรรมละคร และค่าย พวกเราก็สามารถทำงาน 2-3 ชิ้น''''' '''''ในเวลาเดียวกันได้  จนเกิดโครงสร้างของฝ่ายต่าง ๆ ในที่สุด  แต่ก็ยังเป็นการแบ่งฝ่ายแบบไม่ตัดขาดจากกัน''''' ”   จากบันทึกดังกล่าวทำให้ยืนยันได้ว่าปริมาณงาน  และปริมาณคนเพิ่มขึ้นจริงๆ เมื่อเปรียบเทียบกับครั้งที่ก่อตั้งกลุ่มใหม่   ซึ่งมีอยู่เพียง 5 คน ในช่วงนี้ มีระบบโครงสร้างการทำงานชัดเจนยิ่งขึ้น มีทีมต่างๆประกอบด้วย  ผู้ประสานงานกลุ่ม 1 คน หัวหน้าฝ่ายจำนวน 4 คน รับผิดชอบฝ่ายต่าง ๆ มีเจ้าหน้าที่ประจำ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันสังกัดแต่ละฝ่ายจำนวน 11 คน  อาสาสมัครประจำ 2 คน อาสาสมัครโครงการ 2-4 คน และอาสาสมัครทั่วไป ซึ่งมาช่วยงานเป็นครั้งคราวประมาณ 30 คน ถือได้ว่าเป็นกองทัพของคนหนุ่มสาวที่ใหญ่มากในเวลานั้น
 
ในช่วงปี พ.ศ.2538- พ.ศ.2540 งานทุกฝ่ายของกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาเริ่มขยายมากขึ้น  และเกิดโครงการใหม่ ๆ หลายโครงการ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นงานลักษณะโครงการระยะสั้น เช่น งานของฝ่ายละคร  ซึ่งจะแสดงละครเร่ ประมาณ 100-200 รอบต่อปี ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฝ่ายทำค่าย ซึ่งเป็นการพูดกันเล่น ๆ ของสมาชิกในกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา  ฝ่ายนี้ปีหนึ่ง ๆ จะทำค่ายประมาณ 30 กว่าค่าย ส่วนโครงการที่เกิดใหม่ คือ โครงการเดอะบางกอกที่เป็นการสร้างระบบเครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ และโครงการศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาเชียงราย  ที่มุ่งเน้นการทำงานในพื้นที่เฉพาะจังหวัดเชียงราย โดยส่งเสริมการผลิตสื่อระดับย่อยในชุมชน และ การจัดตั้ง และส่งเสริมระบบเยาวชนในท้องถิ่นต่อการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน
 
และจากการบันทึกของผู้ประสานงานกลุ่มอีกชิ้นหนึ่งเขียนไว้ว่า  “ '''''การสลับไปทำงานในกิจกรรมต่าง ๆ  โยกคนไปมาประหนึ่งการทำสงครามที่ดุเดือด  นักยุทธวิธีต่างวางหมาก และเคลื่อนกำลังพล  สำหรับสมรภูมิอันโหดร้าย และรวดเร็ว การวางเดินหมากผิด  หรือวางกำลังผิดพลาด ย่อมเสียพื้นที่ให้กับศัตรู แม้งานบางส่วนจะคืบหน้าไปด้วยดี  แต่เห็นได้ชัดว่า โครงการหมื่นปี ยังคอยหลอกหลอนพวกเราอยู่ตลอดเวลา เช่น โครงการละครหุ่น  โครงการโรงงาน ฯลฯ แล้วยังมีปริมาณงานมหาศาลที่กำลังเคลื่อนตัวเข้าประชิดติดจมูกเพิ่มขึ้นทุกวัน  คนที่เคยเป็นตัวรอง ต้องพัฒนาขึ้นเป็นหลัก ในขณะที่หน่วยสนับสนุน ก็ถูกตัดตอน และดึงไปช่วยงานสมรภูมิอื่นที่กำลังพัวพัน  จนแทบไม่สามารถขับเคลื่อนโครงการใหม่ขึ้นไปข้างหน้า หรือเปิดสนามรบใหม่ได้''''' ”  ซึ่งเป็นข้อเขียนที่ผู้เขียนพยายามตั้งคำถามกับสมาชิกกลุ่มทุกคนว่า '''''พวกเราจะหาทางออกจากสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร''''' '''''?''''' มีสมาชิกหลายคนวิเคราะห์การทำงานของกลุ่มว่า เป็นมือปืนรับจ้างบ้าง  ทำงานอย่างนี้จะแก้ไขปัญหาได้อย่างต่อเนื่องจริงหรือ ?
 
=== '''ยุคคำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน''' ===
เมื่อกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา ได้ดำเนินงานผ่านมา 6 ปี  โดยวางบทบาทของตนเองเป็นองค์กรที่ทำงานด้านการสื่อสาร วัฒนธรรม และการคิดค้นกระบวนการด้านการศึกษาและงานพัฒนาต่าง ๆ โดยประสานงานและทำงานร่วมกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ประสบการณ์จากการทำงานและดำเนินกิจกรรมในแต่ละปี  ของทางกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาเอง เช่น จัดการแสดงละครเฉลี่ยปีละ 100-200 รอบ จัดฝึกอบรมและจัดทำค่ายประมาณ 30 ครั้งต่อปี ถึงแม้การทำงานในปริมาณมากๆจะทำให้ได้เรียนรู้และได้พบเห็นการทำงานที่หลากหลายรูปแบบก็ตาม แต่การทำงานและการดำเนินการในวิธีการดังกล่าวมานั้น  ก็ยังเป็นการทำงานที่มีรูปแบบ (Form) และแบบแผนตายตัว ขาดความต่อเนื่อง ไม่สามารถติดตามกลุ่มเป้าหมาย ติดตามปัญหา และแก้ไขปัญหาได้อย่างเท่าทันกับสถานการณ์
 
เมื่อองค์กรทำงานมาถึงจุดนี้ก็อาจกล่าวได้ว่า  การทำงานของกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาในลักษณะที่ผ่านมาอาจถึงจุดอิ่มตัวแล้ว  และประกอบกับยังมีคำถามต่าง ๆ และเรื่องราวอีกหลายอย่าง ในการที่จะค้นหาคำตอบ  เพื่อกำหนดทิศทางใหม่ ๆ ขององค์กรขึ้นมาให้ได้ และสมาชิกของกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาในขณะนั้น ก็มีความคิดสอดคล้องกันว่า  วิถีชีวิตในระยะยาวของคนทำงานอย่างพวกเรา และความยั่งยืนขององค์กร ควรที่จะเริ่มพัฒนาจากการทำงานในชุมชนเล็ก ๆ ที่ใดสักแห่ง  โดยองค์กรและผู้ปฏิบัติงานสร้างความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเป็นองค์กรชุมชน ผสมกับทักษะการทำงานที่มีอยู่เดิมของกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาเอง  ก็น่าจะเป็นการสร้างบทเรียนหรือองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในการพัฒนาหรือเป็นแนวทางเลือกในการพัฒนาชุมชนแบบใหม่ได้
 
จุดเริ่มต้นที่จะย้ายสำนักงานไปอยู่จังหวัดเชียงรายนั้น  เริ่มจากความคิดในข้างต้นประกอบกับ ยังมีจุดเริ่มต้นอีกบางอย่าง คือ  การไปทำโครงการศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาจังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ..2539 โดยการจัดทำค่ายอาสาสมัครสร้างสรรค์  ละครต้านเอดส์ ซึ่งส่งเสริมบทบาทเยาวชนใน 12 อำเภอ ให้มีส่วนร่วมต่อการแก้ปัญหาด้านเอดส์ในชุมชน และเผยแพร่ให้คนในชุมชนของตน  และหมู่บ้านใกล้เคียงชม โดยเจ้าหน้าที่ของกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา เป็นเพียงคนทำงานด้านเทคนิคและการผลิต เป็นที่ปรึกษาของเยาวชน  และผลักดันให้เกิดการเกาะกลุ่มของเยาวชนขึ้น
 
ความคิดดังกล่าว  ที่ว่าพวกเขาจะเริ่มทำงานพัฒนาในชุมชนเล็ก ๆ  ที่ใดสักแห่งก่อนร่วมกับประสบการณ์ 2 ปี ในการทำงานกับชุมชนในจังหวัดเชียงราย  จึงเกิดแรงผลักดันขึ้น โดยการตัดสินใจย้ายสำนักงาน ซึ่งถือว่าเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่สุดของกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาเลยที่เดียว  เนื่องจากต้องสอบถามสมาชิกกลุ่มทุกคนว่า จะย้ายไปอยู่จังหวัดเชียงรายด้วยกันหรือไม่ แล้วคำตอบก็ปรากฏว่า จากสมาชิกที่มีอยู่ทั้งหมดตอนนั้น คือ มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 14 คน อาสาสมัครประจำ 5 คน เหลือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเพียง 11 คน ที่ตกลงจะไปอยู่อาศัยและทำงานที่จังหวัดเชียงราย
 
ในช่วงต้นปี พ.ศ.2541  จึงมีการตกลงซื้อที่ดินจำนวน 5  ไร่ เพื่อดำเนินการโครงการ โดยสมาชิกของกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาที่พอมีกำลังทุนรวมตัวกันก่อเป็นหุ้นส่วนจำนวน 8 หุ้น  ได้ใช้เงินส่วนตัวร่วมกันซื้อที่ดินและยกมอบให้กลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาใช้ประโยชน์ในการดำเนินโครงการ โดยมีการตกลงกันว่าหุ้นส่วนทั้ง 8 มีสิทธิในการอยู่อาศัยได้เป็นการถาวร สามารถปลูกสร้างบ้านของตนได้ในพื้นที่ขนาดเท่า  ๆ กัน มีการจัดสรรพื้นที่การใช้งานร่วมกัน เช่นการกำหนดอาณาเขตและตำแหน่งการสร้างบ้านอยู่อาศัยของผู้ลงหุ้น การจัดกันบริเวณสำหรับการดำเนินกิจกรรมและทำงาน
 
หลังจากนั้นจึงประกาศอำลาและปิดสำนักงานกรุงเทพ  เพื่อเปิดสำนักงานใหม่ที่บ้านห้วยขม จังหวัดเชียงราย ในช่วงเดือน กันยายน 2541
 
==== '''ย้อนมอง...ก้าวแรกของยุคคำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน''' ====
 
===== '''มุมมองทางสังคม''' =====
“'''''สังคมเคลื่อนตัว มีทั้งที่ดีขึ้น และเสื่อมทรามลง เราเป็นส่วนหนึ่งในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง ผมเลือกที่จะเป็นผู้ร่วมในการเปลี่ยนแปลง แทนทีจะอยู่เฉยๆ และเป็นเพียงตัวละครที่ถูกเปลี่ยน'''''” (สมบัติ  บุญงามอนงค์ ,สัมภาษณ์  พฤศจิกายน 2542)
 
'''“''มองว่าสังคมมันเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลานั่นแหละ และก็ไม่ได้คาดหวังอะไรมากมายกับสังคมกว้างๆนี้ เพียงคิด เชื่อ และจะทำสังคมรอบตัวให้มันอยู่ดี น่าอยู่ ฉลาดและเท่าทันการเปลี่ยนแปลง เจ็บปวดเปล่าๆต้องมานั่งคิดถึงเพียงความงามในอดีต เหมือนคนอกหักชอบตอกย้ำตัวเอง เชื่อในปัจจุบัน ทำวันนี้ให้ดีที่สุดเดี๋ยวพรุ่งนี้ก็ดีเอง''”''' (ชื่นจิตร  เปรมใจชื่น ,สัมภาษณ์  พฤศจิกายน 2542)
 
'''“''คิดว่าถ้าเป็นสังคมเล็กก็มีปัญหาเล็กๆ พอเป็นสังคมใหญ่ขึ้นปัญหาก็ซับซ้อนใหญ่ขึ้นตาม ไม่มีสังคมไหนที่ไม่มีปัญหา เพียงแต่ว่า เราจะแก้ปัญหานั้นอย่างไรต่างหาก จะมีใครสักกี่คนที่เห็นปัญหา และพร้อมที่จะช่วยกันแก้ไข ไม่ปล่อยเป็นหน้าที่ของใครหรือของหน่วยงานไหนแต่เพียงอย่างเดียว''”''' (สุจิตรา  ศักดิ์แก้ว, สัมภาษณ์  พฤศจิกายน 2542)
 
'''“''ตอนนี้มองว่าสังคมกำลังถูกทำลายเพราะมีเรื่องยาเสพติดเข้ามา  ทุกโรงเรียนมัธยม เทคนิค เด็กนักเรียนติดยาเสพติด พ่อแม่กลุ้มใจ  ยาเสพติดเข้าไปทุกที่ของประเทศไทย มีประชากรทุกกลุ่มอาชีพที่เข้ามาเกี่ยวข้องมีผลประโยชน์กับยาเสพติด''”''' (ณัฐพล  สิงห์เถื่อน, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''“''ปัญหามันเยอะ  และนับวันมันก็ซับซ้อนขึ้น  ปัจจัยประกอบของการเกิดปัญหามันก็มากขึ้น'' ”''' (ประไพ  เกสรา, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''“''สังคมกำลังเปลี่ยนแปลง เราเป็นเฟืองตัวเล็กๆที่ทำหน้าที่ที่ดีที่สุดในบทบาทที่เป็นอยู่ให้สังคมเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดี"''''' (ปริสุทธา  สุทธมงคล , สัมภาษณ์  พฤศจิกายน 2542)
 
'''''“สังคมไทยยังต้องร่วมมือการพัฒนาในทุกๆ ด้าน  เนื่องจากปัจจุบันเป็นสังคมแบบทุนนิยม”''''' (วีระ  อยู่รัมย์ , สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''“''ไม่รู้จะพูดอย่างไรดี  แต่มันก็เป็นไปตามเรื่องราวของสังคมเองนั่นแหละ  อดีตทำอะไรไว้มันก็ส่งผลถึงปัจจุบัน และปัจจุบันทำอะไรลงไปมันก็ส่งผลถึงอนาคตเช่นกัน ทั้งในแง่ดีและร้าย'' ”'''  (เชษฐา อำพันพงศ์ ,สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''“''มองว่าสังคมในอดีตเป็นสิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงไม่ได้  แต่เราสามารถเรียนรู้กับสิ่งที่ผ่านมาเหล่านั้นได้ เพื่อเป็นประสบการณ์'' ''เป็นข้อคิด ข้อแก้ไข เป็นแนวทางสำหรับการทำงาน  ในปัจจุบัน และการทำปัจจุบันให้ดีที่สุด หรือทำวันนี้ให้ดีที่สุด  งานวันนี้ก็จะส่งผลไปสู่อนาคตเอง''”''' (ประไพพร  อุตอามาตย์ , สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''“''สังคมมีความเชื่อมโยงกันในทุกระดับ  การแก้ไขในระดับใหญ่ หรือภาพรวมไม่ได้ ก็เริ่มแก้ไขในจุดเล็กๆ  และมันคงจะขยายผลไปสู่จุดใหญ่ๆได้เอง เพราะสังคมไม่มีวันแยกขาดออกจากกัน''”'''  (นงนุส แก้วเรือง , สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
จากการสัมภาษณ์สมาชิกกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาเกี่ยวกับแนวคิดมุมมองทางสังคมเห็นได้ว่ามุมมองทางสังคม  ของกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา มีดังนี้
 
1. มองสังคมในเชิงพลวัตที่มีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวตลอดเวลา
 
2. มองสังคมในเชิงองค์รวม มีการเชื่อมโยงกันไปมา
 
3. มองสังคมว่ามีปัญหาที่สลับซับซ้อน
 
4. มองสังคมในเชิงการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
 
===== '''วัฒนธรรมการทำงานขององค์กร''' =====
'''*ปรัชญาชาการทำงานขององค์กร*'''
 
'''ทำงานหนัก   ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอด'''
 
'''ทุ่มเท  รักงาน มีการพัฒนาทั้งงานและคน'''
 
(ข้อความจากสรุปสัมมนากลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา ปี พ.ศ.2538)
 
จากปรัชญาการทำงานดังกล่าว  ได้ถูกพัฒนาโดยสมาชิกในกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา  มาสู่การปฏิบัติจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร และเป็นวัฒนธรรมการทำงานองค์กร  ที่เรียกว่า '''ความคิด 3 ประสาน เสาหลัก''' ของกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา มีดังนี้
 
ความคิด 3 ประสานเสาหลักกระจกเงา  คือ การทำสำนักงานให้เป็นมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียน , โรงงานหรือที่ทำงาน , และบ้านหรือชุมชน ที่ประสานไปพร้อม ๆ กันทุกเรื่อง
 
'''ก)'''      '''มหาวิทยาลัย  หรือโรงเรียนกระจกเงา'''
 
การสร้างให้ที่ทำงานเป็นแหล่งการเรียนรู้  และเป็นมหาวิทยาลัยนั้น สมาชิกกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา  กล่าวว่า '''“ ''โลกมนุษย์ที่เพิ่งจะมีมหาวิทยาลัยมาไม่กี่ร้อยปี  แต่กลับหลอมคนในสังคมเสียจนเชื่อว่า “ มหาลัย ” เท่านั้นที่เป็นแหล่งสร้างมาตรฐานคนได้  และคุณค่าของใบปริญญาสำคัญที่สุดสำหรับการเรียน พวกเราเชื่อว่าก่อนหน้าที่จะมีมหาวิทยาลัยปรากฏอยู่บนโลก  องค์ความรู้ต่าง ๆ มันมีอยู่แล้วทุกที่ มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการสร้างให้กลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาเป็นมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนนั้น  น่าจะสอดคล้องกับธรรมชาติ การเรียนรู้ดั้งเดิมของมนุษย์มากที่สุด โดยพวกเราจะจัดการเรียนรู้และหลักสูตรให้สอดคล้องและยืดหยุ่นไปตามกระบวนการทำงาน  และวิถีการดำรงชีวิตของพวกเราเอง''  ”'''  เป็นบทสะท้อนที่ชัดเจนในการสร้างที่ทำงานให้เป็นมหาวิทยาลัย หรือโรงเรียนกระจกเงา
 
'''ข)'''     '''โรงงาน หรือที่ทำงานกระจกเงา'''
 
      ตามทัศนะของกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา  “ โรงงาน” หมายถึง สถานที่ทำงานที่ผลิตสิ่งของออกสู่ตลาด  กลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาไม่ใช่โรงงานผลิตกระดาษทิชชู่ สำหรับเช็ดก้น แต่เป็นโรงงานที่ผลิตกิจกรรมทางสังคมที่สร้างสรรค์  เมื่อมีการนำผลิตภัณฑ์จากโรงงานกระจกเงาไปใช้ จะทำให้อาการเจ็บปวดทางสังคมทุเลาลง ยิ่งผลิตได้มากเท่าไหร่ ความงดงาม รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะจะดังมากขึ้นเท่านั้น
 
      บทบาทและความสำคัญของการมรโรงงานกระจกเงา คือ
 
1.       โรงงานเป็นเจตนารมณ์แรกของการตั้งกลุ่มฯ เพราะพวกเราร่วมกลุ่มเพื่อทำงาน
 
2.       โรงงานเป็นเวทีสำหรับการกลั่นความคิดและทักษะเป็นรูปธรรม  นำสู่การปฏิบัติ
 
3.       โรงงานทำหน้าที่ผลิตแบบฝึกหัดสำหรับคนทำงานให้ได้เรียนรู้
 
4.       ผลิตผลของโรงงาน เป็นที่มาของรายได้สำหรับหมุนเวียนกัน”
 
'''ค)'''      '''บ้าน หรือชุมชนกระจกเงา'''
 
      อาจกล่าวได้ว่าความสำเร็จของกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาในช่วงที่ผ่านมา  ส่วนหนึ่งเกิดจากความเป็น “บ้าน” และ “ชุมชน” การทำงานตั้งแต่เช้า ยันเที่ยงคืนตีหนึ่ง  โดยไม่ต้องห่วงว่าจะเลยเวลาทำงาน ไม่ต้องห่วงว่าจะเลยเวลาทำงาน ไม่ต้องห่วงการเดินทางฝ่าสภาพรถติดกลับบ้าน  เพราะเหตุผลสำคัญคือทุกคนอยู่ที่บ้าน “บ้านและชุมชนกระจกเงา” นี้เอง
 
      ความเป็นบ้านและชุมชน  ยังนำมาซึ่งความเป็นพี่น้อง เป็นเพื่อน  ที่เหนี่ยวแน่นต่อกัน ถักร้อยกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาเอาไว้  เพื่อท้าทายอุปสรรคต่าง ๆ อย่างมุ่งมั่น และสามารถสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆออกมา
 
      ดังนี้  “บ้านและชุมชนกระจกเงา” นี้  จึงทำให้เกิดการประสานของแต่ละส่วนให้เป็นไปด้วยดีกลมกลืน  และสนับสนุนบทบาทของ 3 ประสานได้เป็นอย่างดี
 
      สรุปว่า ความคิด 3 ประสาน บ้าน โรงงาน โรงเรียนนั้น เป็นวัฒนธรรมองค์กร  ที่สำคัญ และลงตัวหล่อหลอมเป็นวัฒนธรรมการทำงานของกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
 
·   '''แรงจูงใจ'''
 
'''1.'''       '''แรงจูงใจที่อยากทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ และสิ่งที่ถูกต้อง'''
 
จุดกำเนิดสำคัญมาจากการร่วมกันเคลื่อนไหวทางการเมือง จนทำให้คนที่สนใจในประเด็น หรือเรื่องคล้ายๆ กันรวมตัวและอาสาสมัครเข้ร่วมกันทำงาน ดังบันทึกและคำกล่าวของสมาชิกกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาหลาย ๆ  คนดังนี้
 
'''“''การรวมตัวของพวกเราในครั้งนี้เกิดจาก จิตสำนึกแห่งการรับใช้ประชาชนและสังคม'' ”'''
 
(บันทึกการประชุมกลุ่มวัฒนธรรมกระจกเงาเมื่อกุมภาพันธ์ 2538)
 
'''“''ตอนปี 3 ที่รามฯ การเมืองครุเรื่อง รสช. พฤษภาทมิฬ ก็เลยตัดสินใจเข้าร่วมเล่นละครการเมืองกับกลุม “พิราบดำ” พอเหตุการณ์สงบก็ต่อด้วย “เขื่อน 2” ละครล้อสังคมการเมือง และตอนเรียนปี 4 ก็เริ่มต้นกับงานชมรม จึงติดต่อรุ่นพี่คนหนึ่งซึ่งเป็น NGO แล้วบอกว่าอยากทำงานทีไม่ใช้นักศึกษาทำ แต่สามารถคิดอย่างที่คิดอยู่นี้ได้ด้วยนะ แล้วรุ่นพี่ก็ชักนำเข้าวงการ (งานพัฒนา) ให้'' ”''' (ชื่นจิตร เปรมใจ ชื่น,สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''“''ต่อเนื่องจากกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการรัฐประหาร เพื่อน ๆ ที่ทำงานด้วยกัน ในนาม พิราบ'''''
 
'''''ดำ มาทำกลุ่มกระจกเงา''”''' (สมบัติ บุญงามอนงค์, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''“''เริ่มต้นจากเพื่อนๆ กันที่รามคำแหง ที่เป็นคนที่ชอบด้านการทำสื่อทางวัฒนธรรมเพื่อชีวิต พอดีเจอะกับพี่หนูหริ่ง ก็เลยชักชวนกันมาทำงานเป็นกลุ่มวัฒนธรรมกระจกเงา เพื่อให้ห่างจากรเป็นกิจกรรมนักศึกษามากขึ้น'' ”''' (เชษฐา อำพันพงศ์, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''''“เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง และทำงานชมรม มร. ทำงานด้านการเมืองช่วงนั้นเป็นช่วงเหตุการณ์ รัฐประหาร ทางกลุ่มนักศึกษาก็ออกมาต่อต้าน แมวก็ร่วมอยู่ด้วย”''''' (ประไพพร อุตอามาตย์ , สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''2.'''       '''แรงจูงใจที่อยากท้าทาย และลองสิ่งใหม่ ๆ'''
 
ความท้าทาย และความอยากลองสิ่งใหม่ๆ ของสมาชิกกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา ก็เป็นแรงจูงใจที่ทำให้สมาชิกบางคนเข้ามาทำงานกับกลุ่ม ดังคำกล่าวนี้
 
'''“''ชอบงานที่ต้องดิ้นรนมากที่สุด งานที่เพิ่งเริ่ม ประเภทไหนก็ได้มั้ง ไม่แน่ใจ แต่ไม่ชอบและไม่อยากทำเลย คืองานที่ลงตัวแล้ว''”'''  (ปริสุทธา ศุทธมงคล,สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''“ ''ทำงานอยู่ก่อนหน้านี้ แต่ก็รู้สึกไม่ไหว เหมือนฟังเพลงจังหวะเดียวตลอด ไม่ตื่นเต้น ไม่มีสีสัน ไม่สนุก รู้สึกตัวเองเหมือนหุ่นยนต์ ตื่นเช้าแต่งตัว นั่งรถ ไปทำงาน ตกเย็นก็นั่งรถอีกกลับบ้าน เป็นอย่างนี้อยู่เนื่องนิจ ไม่มีชีวิตชีวา รู้สึกวิถีชีวิตเรามันไม่ได้เลย มันไม่สอดคล้อง มันไม่มีชีวิตชีวาในการทำงาน มันโดดเดี่ยวพิลึกกึกกือ (งงหรือยัง) หลังจากนั้นก็ออกมาทำงาน กับกระจกเงา อยู่กับกระจกเงาได้ประมาณ 3-4 ปีแล้วมั้ง (ถ้าจำไม่ผิด) ”''''' (ประไพ เกสรา,สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''3.'''       '''แรงจูงใจที่อยากเข้ามาเรียนรู้ประสบการณ์ และฝึกฝนทักษะ'''
 
การเรียนรู้ประสบการณ์ และการฝึกฝนทักษะเป็นพลังและแรงจูงใจที่มีอยู่ในตัวของสมาชิกกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาแทบทุกคน เพราะเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรด้วย และยังเป็นวิธีที่จะทำให้ตัวเอง และองค์กรสามารถพัฒนาไปพร้อมๆกันได้ด้วย โดยมีคำกล่าวของบางคน ที่สะท้อนถึงแรงจูงใจของกลุ่มในเรื่องนี้ คือ
 
'''''“ เริ่มจากการอบรมละครโดยกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาที่รามคำแหง และตัวเองสนใจงานละคร อยากเรียนรู้เทคนิควิธีการต่างๆ เรียนรู้อยู่จนพี่หมูเลย ชวนมาเล่นละครเวทีกับกลุ่มกระจกเงา แล้วก็เลยลองเป็นอาสาสมัครอยู่ระยะหนึ่ง ก็ได้เป็นเจ้าหน้าที่กระจกเงาจนถึงปัจจุบัน''''' '''”''' (สุจิตรา ศักดิ์แก้ว,สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
      '''''“ เริ่มต้น ด้วยการเข้าช้วยทำงาน เป็นอาสาสมัคร และอย่างเรียนรู้เรื่องคอมพอวเตอร์แต่นั้นมาก็ได้ทำงานอยู่ในส่วนของ ฝ่ายคอมพิวเตอร์ตลอดมา”''''' (วีระ อยู่รัมย์,สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''4.'''       '''แรงจูงใจที่อยากมีเวทีหรือพื้นที่ทางสังคมเป็นของตนเอง'''
 
แรงจูงใจนี้ เป็นแรงจูงใจที่อยากมีเวทีและพื้นที่ทางสังคม หรือที่ยืนที่มั่นคงในสังคม และคนในสังคมยอมรับในความสามารถ แม้สมาชิกกลุ่มหลายคนจะเรียนไม่จบในระบบโรงเรียน แต่พวกเขาก็ไม่ได้หยุดเรียนรู้เลยในชีวิต และก็ยังสามารถทะประโยชน์ให้กับสังคมได้ด้วย โดยมีคำกล่าวที่แสดงถึงความสำคัญของแรงจูงใจข้อนี้ คือ
 
'''''“ พวกเราทุกคนในกระจกเงาต้องสร้สงความเข้มแข็งให้ตนเองและกระจกเงา เพื่อจะได้สร้างให้กระจกเงาเป็นเวทีที่คนในสังคมยอมรับ และนำไปทำเป็นตัวอย่าง และกระจกเงาจะต้องเป็นเวทีของคนที่ผิดหวังในระบบ เพื่อคนเหล่านี้จะได้มีพื้นที่ยืนในสังคมบ้าง”''''' (สมบัติ บุญงามอนงค์,สัมภาษณ์ พฤศจิกายน)
 
'''5.'''       '''แรงจูงใจที่มาจากการชักชวนของเพื่อนและพี่'''
 
“เพื่อนและพี่” ถือได้ว่าเป็นแรงจูงใจอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ ที่สามารถทำให้คนกระจกเงามาทำงานและอยู่ด้วยกันได้ มีหลายๆคำกล่าวที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเป็นเพื่อนและพี่ที่ก่อให้เกิดกลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา เช่น
 
'''''“พี่น้องชวนมาทำฉากละคร”''''' (พรธรา แก่นแก้ว, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
      '''“''รู้จักกับพี่ๆ ที่เป็นรุ่นพี่ชมรมกิจกรรมนักศึกษา รามฯ คือพี่น้อง, พี่อ้อ, พี่จี๊ด, พี่แป้น แล้วก็ได้พี่ๆชักชวนเข้าสู่เป็นอาสาสมัครของกระจกเงาจนถึงทุกวันนี้''”''' (นงนุส แก้วเรือง, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''“''เดิมทีเรียนจบก็มาอยู่ที่บ้านทำงานที่บ้าน ซ่อมรถ และเที่ยวเก่งมาก มีเพื่อนเยอะ เคยทำงานเก็บศพในมูลนิธิร่วมกตัญญู ก็สนุกสนานไปวันๆไม่มีอะไรให้ตัวเอง กลับบ้านไม่เป็นเวลา เดือนเมษายน 2539 แม่กลับมาจากต่างประเทศเห็นลูกเรียนจบแล้วงานก็ไม่มีทำเที่ยวกับเพื่อน กลับบ้านดึกๆดื่นๆ ก็เลยคิดว่าถ้าอยู่อย่างนี้ต่อไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ก็เลยพามาฝากไว้กับพี่สาวที่กระจกเงา (พี่สาวทำงานอยู่ที่นี่ก่อนแล้ว) ก็เลยมาอยู่ที่กระจกเงาได้ 3 ปี แล้วครับ'' ”''' (ณัฐพล สิงห์เถื่อน,สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''ความคาดหวังในอนาคต'''
 
'''       '''
 
'''ก)'''            '''ความคาดหวังส่วนตัวของแต่ละคน'''
 
'''''“มีโอกาสใช้ชีวิตให้คุ้ม ที่ได้เกิดมา”'''''  (สมบัติ บุญงามอนงค์, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''''“คาดหวังว่าตัวเองมีความเข้มแข็งกับงานที่ทำมากขึ้น และสามารถอยู่ที่นี่ได้อย่างกลมกลืน”''''' (สุจิตรา ศักดิ์แก้ว, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''''“ในอนาคตอยากอยู่กับลูกและครอบครัวที่บ้านในเชียงราย”''''' (ณัฐพล สิงห์เถื่อน, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''''“ความคาดหวัง! เป็นคนไม่ค่อยคาดหวังกับอะไรนัก  เพราะไม่ชอบให้ใครมาคาดหวังกับตัวเองมากนัก แม้จริงๆจะหนีความคาดหวังของคนมากมายไม่ได้  เรามักจะแบกมันจนเป็นภาระในชีวิต ตัวน้องก็เป็น แต่จะกำจัดมันทันทีเมื่อมีโอกาส การกำจัดที่ว่าไม่ใช่หยุดทำนะคะ  แต่ทำให้มันไม่ใช่ความคาดหวัง ดิฉันเป็นมนุษย์ประหลาดไม่มีอนาคตค่ะ (ฮ่า) แม้แต่เรื่องงานเขียนที่ฝันว่าอยากทำเลยเชื่อว่าตัวเองทำได้  ก็ไม่เคยคาดหวังว่าจะต้องมีหนังสือที่เขียนโดย ชื่นจิตร เปรมใจชื่น ซักเล่ม น้องมีอุดมคติของวันนี้มากมายทั้งเรื่องชีวิตและงาน แต่ไม่ได้วาดเพื่ออนาคต  แต่มันอาจเป็นตัวบอกอนาคตได้บ้างกระมัง (นี้พยายามตอบจากใจจริงเลยนะค่ะ) ”''''' (ชื่นจิตร เปรมใจชื่น, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''“''คาดหวังว่าทุกวันที่ผ่านมาจะทำให้ตัวเองเติบโต เรื่องความคิดและสามารถคิดค้นขบวนการใหม่เพื่อรองรับงานต่อไปนี้”''''' (นงนุส แก้วเรือง, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''“''มีข้าวกิน มีครอบครัวที่ดี มีเพื่อนที่ดี มีชุมชนที่ดี และมีคุณค่ากับคนอื่น”''''' (ประไพ เกสรา, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''''“ตัวกระจกเงาบินได้ ตัวเองก็บินได้ แล้วจะเดินทางไปเรื่อย ๆ อยากเรียนเมื่อตอนแก่”''''' (ปริสุทธา  สุทธมงคล, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''''“ไม่อยากคาดหวังมากเพราะอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน แต่มีคติประจำตัวที่ว่า “ทำวันนี้ให้ดีที่สุด” แค่นี้ก็ยากตายแล้ว”''''' (พรธรา แก่นแก้ว, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''“''บ้านกับที่ทำงานคือที่เดียวกัน”''''' (วีระ อยู่รัมย์, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''“''เรื่องในอนาคตคงอธิบายภาพยากเพราะไม่มีอะไรแน่นอน ขึ้นอยู่กับโอกาส แต่ก็ฝันที่จะมีชีวิตที่สงบอยู่เชียงรายนี้แหละ”''''' (เชษฐา อำพันพงศ์, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''ข)'''           '''ความคาดหวังต่อกลุ่ม'''
 
'''''“คาดว่าเราจะดีขึ้น เก่งขึ้น ฉลาดขึ้นผมยังรอเวลาที่จะพัฒนากลไกของกระจกเงาได้ ผมหวังว่า กระจกเงา จะสะท้อนประสบการณ์ และ การทำงานของเราเพื่อกระตุ้นให้สังคมค้นหา ตรวจสอบ และร่วมกันมีฝันที่แปลกใหม่ และสวยงามไม่จำนนอะไรง่ายๆด้วยพลังสร้างสรรค์มุมบวก”''''' (สมบัติ บุญงามอนงค์, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''''“หวังว่าเราเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชน และมีความเข้มแข็งสามารถทำให้คนในชุมชนอยู่ที่ตรงนี้ได้อย่างมัน่ใจ มั่นคง และมีความหวัง”'''''  (สุจิตรา ศักดิ์แก้ว, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
    '''''“เรา...คนกระจกเงาถูกสังคมของเราเองทำให้คิดและเชื่อว่าวันหนึ่งเราจะเป็นอัจฉริยะด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งน้องก็เชื่อว่าน้องจะเป็นอย่างนั้นเพียงแต่ยังตอบไม่ได้ว่ามันคืออะไรน่ะ เช่นกันกับกระจกกเงาน้องก็ไม่คาดหวังอะไรมากเพียงเชื่อว่างานที่เราทำวันนี้จะเป็นทางออกที่ดีทางหนึ่ง และชุมชน รวมทั้งตัวเองจะมีความสุขแบบนี้ ทำงานที่รักมีบ้านมีเพื่อน”''''' (ชื่นจิตร เปรมใจชื่น, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
    '''''“คาดหวังว่างานที่ทำจะไปสู่เป้าหมาย กระจกเงาคือทุกคนที่ทำงาน ฉะนั้นคาดหวังก็คือ คาดหวังคนทำงานด้วย ถึงงานบางอย่างจะยากและไม่แน่ใจเรื่องความสำเร็จแต่คิดว่าขบวนการที่คนทำงานได้ทำไปนั้นจะเกิดการเรียนรู้ และมันจะนำไปสู่ความคิดที่จะพางานสู่เป้าหมายต่อไป”''''' (นงนุส แก้วเรือง, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''''“คาดหวังว่ากระจกเงาจะไม่ใช่เพียงองค์กรที่ทำงานกับชาวบ้านในชุมชน แต่จะเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่นี่ และด้วยศักยภาพของเรา เราจะเป็นกระจกเงาสำหรับชนบท และเป็นสะพานเชื่อมช่องว่างของคนในสังคม ให้ได้แวะเวียนเข้ามารู้จักทักทายกับอีกมุมหนึ่งที่มีอยู่จริงในสังคม เราจะเป็นกลุ่มที่เข้มแข็ง อยู่กันจนแก่เฒ่า ให้ลูกหลานมาทำต่อ”''''' (ประไพ เกสรา, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''''“กระจกเงาต้องบินได้ ไม่ใช่แค่อยู่ได้”''''' (ปริสุทธา ศุทธมงคล, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''''“คาดหวังกับกระจกเงาไม่ได้เพราะเป็นนามธรรม'''''
 
'''''คาดหวังกับเพื่อนก็ไม่ได้เพราะเราจะต้องให้สิทธิเขากระทำ'''''
 
'''''คาดหวังกับตัวงานได้ว่ากำหนดถึงเป้าหมายอย่างไร”'''''
 
(พรธรา แก่นแก้ว,สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''''“อยากให้เป็นเหมือนกระจกเงา ที่สะท้อนภาพสังคมบางมุม ที่คนอื่นมองไม่เห็น”'''''   (วีระ อยู่รัมย์, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''''“ปัจจุบัน คาดหวังว่ากระจกเงาจะเป็นองค์กรระดับชุมชนที่มีศักยภาพในการทำงานในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้มากกว่านี้ รู้จักปรับตัวและเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ให้รอบด้านมากขึ้น และฉลาดพอที่จะเลือกเครื่องมือต่างๆ ที่จะมาใช้ในงานอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับชุมชน อนาคต...”''''' (เชษฐา อำพันพงศ์, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
'''''“อยากให้กระจกเงามีการพัฒนางานของตัวเองให้มีศักยภาพการทำงาน และมีองค์ความรู้ที่ชัดเจน เป็นผู้เชี่ยวกับการทำงานชุมชน และงานการศึกษาของเด็กให้มากที่สุด สุดท้ายคาดหวังว่าคนทำงานของกระจกเงาทุกคนจะมีความสุข สนุกในการทำงานของแต่ละคน”''''' (ประไพพร อุตอามาตย์, สัมภาษณ์ พฤศจิกายน 2542)
 
== ผลงาน/รางวัล ==
เส้น 172 ⟶ 427:
* จากวุฒิสภา
* 3 มิถุนายน 2561: เกียรติบัตร ผู้สนับสนุนกิจกรรมวันเท้าปุกประเทศไทย จาก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
* Parents of the Year 2014 - 2018   อันดับ 1 จากการโหวต 5 ต่อเนื่อง                                                                            สาขา สุดยอดองค์กรที่สนับสนุนเรื่องเด็กและครอบครัว ในงาน Amarin Baby & Kids Fair
 
== อ้างอิง ==