ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอริช ฟ็อน มันชไตน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 46:
'''ฟริทซ์ แอริช เกออร์ก แอดวร์ด ฟอน เลอวินสกี''' ({{lang-de|Fritz Erich Georg Eduard von Lewinski}}) หรือเป็นที่รู้จักกันคือ '''แอริช ฟอน มันชไตน์''' ({{lang-de|Erich von Manstein}}) เป็นผู้บัญชาการใน[[เวร์มัคท์]] กองทัพของ[[นาซีเยอรมนี]]ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] เขาได้ดำรงตำแหน่งยศ[[จอมพล]]
 
เกิดในตระกูลขุนนาง[[ปรัสเซีย]]ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวในการรับราชการทหาร มันชไตน์ได้เข้าร่วมกองทัพในช่วงวัยเยาว์และได้เห็นว่าทำหน้าที่ทั้ง[[แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)|แนวรบด้านตะวันตก]]และ[[แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)|ตะวันออก]]ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] (ค.ศ. 1914-18) เขาได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งยศร้อยเอกโดยสงครามได้ยุติลงและมีบทบาทมากขึ้นในช่วงสมัยระหว่างสงครามซึ่งได้ช่วยให้เยอรมนีได้ทำการฟื้นฟูกองทัพขึ้นมาใหม่ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 ในช่วง[[การบุกครองโปแลนด์]]ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] เขาได้ทำหน้าที่เป็นเสนาธิการทหารบกแก่[[กองทัพกลุ่มตอนใต้]]ของ[[แกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์]] [[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]ได้เลือกแผนทางยุุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์ของมันชไตน์สำหรับ[[ยุทธการที่ฝรั่งเศส|การบุกครองฝรั่งเศส]]ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940 แผนนี้ต่อมาได้ถูกคัดกรองโดย[[ฟรันซ์ ฮัลเดอร์]]และสมาชิกคนอื่นๆของ[[กองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมัน]] (OKH) ด้วยความคาดหมายว่า กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรจะต้องออกมาตอบโต้อย่างรุนแรงขึ้นในการเข้ารุกรานที่เกิดขึ้นในเนเธอร์แลนด์ มันชไตน์ได้คิดแผนปฏิบัติการขึ้นใหม่—ซึ่งต่อมาเรียกว่า Sichelschnitt ("เคียวตัด")—ที่ได้เรียกให้เข้าโจมตีผ่านป่าของ[[อาร์แดน]]และพุ่งอย่างรวดเร็วไปยัง[[ช่องแคบอังกฤษ]] เป็นการปิดล้อมกองทัพฝรั่งเศสและฝ่ายสัมพันธมิตรที่อยู่ใน[[เบลเยียม]]และ[[แฟลนเดอส์]] เขาได้รับตำแหน่งยศนายพลในช่วงสิ้นสุดการทัพ เขาได้เข้าร่วมใน[[ปฏิบัติการบาร์บารอสซา|การรุกรานสหภาพโซเวียต]]ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 และ[[การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)]] และได้รับตำแหน่งยศ[[จอมพล]] เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคมกรกฎาคม ค.ศ. 1942 เขายังได้มีส่วนร่วมใน[[การล้อมเลนินกราด]]
 
โชคชะตาของเยอรมนีในช่วงสงครามได้พลิกให้กลายเป็นความเสียเปรียบในปี ค.ศ. 1942 โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยความพินาศย่อยยับจาก[[ยุทธการที่สตาลินกราด]] ที่มันชไตน์ได้ล้มเหลวในการบังคัญชาเพื่อการบรรเทาวงล้อม ([[ปฏิบัติการพายุฤดูหนาว]]) ในเดือนธันวาคม ต่อมาได้เป็นที่รู้จักกันคือ "การตีหลังมือ"(backhand blow) มันชไตน์ได้ทำโจมตีตอบโต้กลับใน[[ยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3]] (กุมภาพันธ์–มีนาคม ค.ศ. 1943) ได้เข้ายึดชิงดินแดนที่สำคัญกลับคืนและส่งผลทำให้เกิดการล้างผลาญของกองทัพโซเวียตไปสามกองทัพและการล่าถอยไปอีกสามกองทัพ เขาได้เป็นหนึ่งในผู้บัญชาการหลักที่[[ยุทธการที่คูสค์]] (กรกฎาคม–สิงหาคม ค.ศ. 1943) หนึ่งในการรบของรถถังที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยความไม่ลงรอยกันอย่างต่อเนืองของเขากับฮิตเลอร์ในการดำเนินสงครามต่อไปจนทำให้เขาต้องถูกปลดออกในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 เขาไม่ได้รับคำสั่งอีกเลยและถูกจับกุมเป็นเชลยโดยอังกฤษในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 หลายเดือนหลังความพ่ายแพ้ของเยอรมนี