ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทุนนิยม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
Pory (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขการสะกด
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 5:
ระดับการแข่งขัน บทบาทการแทรกแซงและจัดระเบียบ ตลอดจนขอบเขตของหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของแตกต่างกันไปตามทุนนิยมแต่ละแบบ<ref name="Modern Economics 1986, p. 54">''Macmillan Dictionary of Modern Economics'', 3rd Ed., 1986, p. 54.</ref> นักเศรษฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์การเมือง และนักประวัติศาสตร์ได้ยึดมุมมองการวิเคราะห์ทุนนิยมแตกต่างกันและยอมรับทุนนิยมหลายแบบในทางปฏิบัติ แบบของทุนนิยมรวมถึงทุนนิยม[[ปล่อยให้ทำไป]] ทุนนิยมแบบสวัสดิการและทุนนิยมโดยรัฐ โดยแต่ละแบบเน้นระดับการพึ่งพาตลาด หน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของและการรวมนโยบายทางสังคมแตกต่างกัน การที่แต่ละตลาดมีความเป็นอิสระมากเพียงไร ตลอดจนกฎนิยามกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลมีขอบเขตเป็นอย่างไรนั้นเป็นเรื่องของการเมืองและนโยบาย หลายรัฐใช้ระบบที่เรียกว่า [[เศรษฐกิจแบบผสม]]ทุนนิยม ซึ่งหมายความถึงการผสมระหว่างส่วนที่มีการวางแผนจากส่วนกลางและขับเคลื่อนโดยตลาด<ref name="Stilwell">Stilwell, Frank. "Political Economy: the Contest of Economic Ideas." First Edition. Oxford University Press. Melbourne, Australia. 2002.</ref>
 
ทุนนิยมมีอยู่ภายใต้[[ระบอบการปกครอง]]หลายระบอบ ในหลายเวลา สถานที่ และวัฒนธรรม หลัง[[ระบบฟิวดัล]]เสื่อมลง ทุนนิยมได้กลายมาเป็นระบบเศรษฐกิจหลักในโลกตะวันตก ต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทุนนิยมได้เอาชนะการท้าทายจากเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่นวกลางส่วนกลางและปัจจุบันเป็นระบบเด่นทั่วโลก<ref name="britannica">{{cite book |title=Capitalism|publisher=Encyclopædia Britannica|year=2006}}</ref><ref>James Fulcher, ''Capitalism, A Very Short Introduction'', "In one respect there can, however, be little doubt that capitalism has gone global and that is in the elimination of alternative systems." p. 99, Oxford University Press, 2004, ISBN 978-0-19-280218-7.</ref> โดยมีเศรษฐกิจแบบผสมเป็นรูปแบบหลักในประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก
 
มุมมองทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เน้นส่วนหนึ่งที่เฉพาะของทุนนิยมในนิยามที่ให้ความสำคัญ นักเศรษฐศาสตร์ปล่อยให้ทำไปและเสรีนิยมเน้นระดับซึ่งรัฐบาลไม่ควบคุมตลาดและความสำคัญของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน<ref>{{cite book |author=Tucker, Irvin B.|title=Macroeconomics for Today|page=553|year=1997}}</ref><ref>{{cite book |author=Case, Karl E.|title=Principles of Macroeconomics|publisher=Prentice Hall|year=2004}}</ref> นักเศรษฐศาสตร์แบบคลาสสิกใหม่และนักมหเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์เน้นความจำเป็นที่ต้องมีการกำกับของรัฐบาลเพื่อป้องกัน[[การผูกขาด]]และเพื่อลดผลกระทบของวัฏจักรรุ่งเรืองและตกต่ำ (boom and bust)<ref>{{cite book|author=Fulcher, James|title=Capitalism A Very Short Introduction|page=41|publisher=Oxford University Press|year=2004}}</ref> นักเศรษฐศาสตร์แบบมากซ์เน้นบทบาทของการสะสมทุน การแสวงหาประโยชน์และค่าจ้างแรงงาน นักเศรษฐศาสตร์การเมืองส่วนใหญ่เน้นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลเช่นกัน นอกเหนือไปจากความสัมพันธ์ของ[[อำนาจทางเศรษฐกิจ|อำนาจ]] ค่าจ้างแรงงาน [[ชนชั้นทางเศรษฐกิจ|ชนชั้น]]และเอกลักษณ์ของทุนนิยมในฐานะการสร้างประวัติศาสตร์<ref name="Stilwell"/>