ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Aquarisces/กระบะทราย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aquarisces (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Aquarisces (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37:
| socks2 = 000000
|}}
'''สโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์''' ({{lang-en|Sunderland Association Football Club}}) ตั้งอยู่ในเมืองซันเดอร์แลนด์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ[[ประเทศอังกฤษ]] ปัจจุบันเป็นทีมฟุตบอลที่แข่งขันใน[[อีเอฟแอลแชมเปียนชิป|แชมเปียนชิป]]
 
== ประวัติ ==
สโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์ก่อตั้งขึ้นในปี 1879 ภายใต้ชื่อเดิม Sunderland & District Teachers Association ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น Sunderland Association Football Club และเข้าร่วมฟุตบอลลีกอาชีพในปี 1890 โดยในช่วงแรกระหว่างปี 1886-1898 ซันเดอร์แลนด์ได้ใช้สนาม Newcastle Road ร่วมกับ สโมสรนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ซึ่งถือเป็นคู่แข่งสำคัญ ต่อมาในปี 1898 ซันเดอร์แลนด์จึงได้ย้ายมาใช้สนามโรเกอร์พาร์ก เป็นสนามเหย้าแห่งใหม่แทน ผลงานในอดีตที่ผ่านมาซันเดอร์แลนด์เคยเป็นแชมป์ลีกสูงสุดของประเทศอังกฤษ 6 ครั้ง ในปี 1892, 1893, 1895, 1902, 1913 และ 1936 และเป็นแชมป์เอฟเอคัพ 2 ครั้ง ในปี 1937 และ 1973 ตามลำดับ
 
*'''ปี 1987-1988'''
 
ซันเดอร์แลนด์ทำผลงานได้ย่ำแย่ทำให้ตกชั้นลงไปแข่งขันในระดับดิวิชัน 3 ของอังกฤษเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ต่อมาภายใต้การทำทีมของ Dennis Smith ทำให้ซันเดอร์แลนด์มีผลงานที่ดีขึ้นเป็นลำดับ โดยสามารถคว้าแชมป์ดิวิชัน 3 ได้สำเร็จในฤดูกาลดังกล่าว
 
*'''ปี 1995-1997'''
 
ซันเดอร์แลนด์ภายใต้การนำของผู้จัดการทีมคนใหม่ "ปีเตอร์ รีด" เพียงแค่ฤดูกาลแรกก็สร้างความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ด้วยการพาทีมขึ้นสู่ระดับพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของอังกฤษ หลังจากต้องใช้ความพยายามมาอย่างยาวนาน แต่ในฤดูกาล 1996-1997 ซันเดอร์แลนด์กลับทำผลงานได้ไม่ดีนักทำให้จบฤดูกาลที่อันดับ 18 ต้องตกชั้นกลับไปเล่นในระดับดิวิชัน 1 ตามเดิม และในปีเดียวกันนั้น ซันเดอร์แลนด์ได้ย้ายสนามเหย้าจากสนาม Roker Park ที่เคยใช้งานมากว่า 99 ปี มายังสนามแห่งใหม่คือ สนาม Stadium of Light ที่มีความจุมากที่สุดแห่งหนึ่งในรอบ 70 ปีของสนามกีฬาในอังกฤษ ด้วยจำนวนที่นั่งผู้เข้าชม 42,000 คน (โดยต่อมาได้ขยายความจุเป็น 49,000 คน)
 
*'''ปี 1997-2003'''
 
หลังจากใช้ความพยายามร่วม 2 ปี ซันเดอร์แลนด์ก็กลับมาแข่งขันในพรีเมียร์ลีกอีกครั้ง โดยในฤดูกาล 1998-1999 ซันเดอร์แลนด์สามารถทำคะแนนได้สูงถึง 105 คะแนน ซึ่งกลายเป็นสถิติคะแนนสูงสุดในขณะนั้นอีกด้วย สำหรับผลงานในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 1999-2000 และ 2000-2001 ซันเดอร์แลนด์สามารถทำผลงานได้ดีจบฤดูกาลด้วยอันดับ 7 ทั้งสองฤดูกาล แต่ทว่ายังพลาดโอกาสที่จะไปเล่นฟุตบอลสโมสรยุโรป โดยในฤดูกาล 2001-2002 ซันเดอร์แลนด์ทำผลงานได้ไม่ดีนักแต่ก็สามารถหนีรอดการตกชั้นมาได้อย่างเฉียดฉิวด้วยอันดับ 17 แต่ในฤดูกาล 2002-2003 ซันเดอร์แลนด์ก็ยังทำผลงานได้อย่างย่ำแย่ต่อเนื่อง เมื่อชนะเพียง 4 เกม ยิงได้ 21 ประตู เก็บได้เพียง 19 คะแนน จบด้วยอันดับสุดท้ายของตารางจึงต้องตกชั้นไปในที่สุด โดยเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ซันเดอร์แลนด์ตกอยู่ในภาวะหนี้สินท่วมสโมสรมากกว่า 20 ล้านปอนด์ ทำให้จำเป็นต้องขายนักเตะที่ดีที่สุดไปเพื่อชำระหนี้และพยุงสถานการณ์ของสโมสรให้ดีขึ้น
 
*'''ปี 2003-2006'''
 
ซันเดอร์แลนด์โดยการทำทีมของ "มิค แมคคาร์ธธี" ใช้ความพยายาม 2 ปีจนได้แชมป์ลีก Coca-Cola Championship และได้กับมาเล่นในระดับพรีเมียร์ชิพอีกครั้ง (ครั้งที่ 3 ในรอบ 10 ปี) อย่างไรก็ตาม หลังจากจบฤดูกาล 2005-2006 ซันเดอร์แลนด์สามารถชนะได้เพียง 3 เกม และเก็บได้เพียง 15 คะแนนเท่านั้น จบด้วยอันดับสุดท้ายของตารางตกชั้นไปตามคาด โดยในครั้งนั้นซันเดอร์แลนด์ได้คะแนนน้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์ของสโมสร ส่งผลให้ มิค แมคคาร์ธธี ต้องออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในช่วงกลางฤดูกาลในที่สุด
 
*'''ปี 2006-2007'''
 
ความหวังของซันเดอร์แลนด์กลับมาเจิดจ้าอีกครั้ง เมื่อ "ไนออล ควินน์" อดีตนักเตะของซันเดอร์แลนด์ ร่วมกับกลุ่ม Irish Drumaville Consortium ได้เข้าซื้อกิจการของซันเดอร์แลนด์โดยทำการซื้อหุ้นจากประธานสโมสรคนก่อน Bob Murray พร้อมกับแต่งตั้งผู้จัดการทีมคนใหม่คือ "รอย คีน" อดีตกัปตันทีมของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เป็นผู้จัดการทีม ซึ่งเป็นอดีตนักเตะทีมชาติไอร์แลนด์ เช่นเดียวกันกับ ไนออล ควินน์ ซึ่งรับตำแหน่งประธานสโมสรในเวลาต่อมา ซึ่งหลังจากการเข้ามาของประธานสโมสรและผู้จัดการทีมคนใหม่ ซันเดอร์แลนด์สร้างสถิติไม่แพ้ใคร 17 นัดติดต่อกัน ในช่วงต้นปี 2007 เก็บคะแนนได้เป็นกอบเป็นกำ ขยับจากตำแหน่งบ๊วยของตารางขึ้นมาเป็นจ่าฝูง และทำให้ซันเดอร์แลนด์เลื่อนชั้นมาเล่นในพรีเมียร์ลีกอย่างรวดเร็วโดยใช้เวลาเพียงปีเดียวในฐานะทีมชนะเลิศ พร้อมกับ เบอร์มิงแฮม ซิตี้ (อันดับ 2) และดาร์บี เคาน์ตี้ (เพลย์ออฟ)
 
*'''ปี 2007-2010'''
 
ฤดูกาล 2007-2008 และ 2009-2010 ซันเดอร์แลนด์ ทำผลงานได้ไม่ดีนักภายใต้การคุมทีมของ รอย คีน และ ริคกี้ สบราเกีย จนต้องหนีการตกชั้นเกือบทั้งฤดูกาล และจบฤดูกาลด้วยอันดับ 15 และ 16 ตามลำดับ ทั้งที่มีนักเตะอย่าง ฌิบริล ซิสเซ่ อดีตหัวหอกลิเวอร์พูล, เคนวิน โจนส์ หัวหอกดาวซัลโวสโมสรฤดูกาล 2007-2008 รวมถึง คีแรน ริชาร์ดสัน อดีตนักเตะของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดด้วย หลังจาก ริคกี้ สบราเกีย ลาออกจากตำแหน่ง "สตีฟ บรูซ" อดีตผู้จัดการทีมวีแกนก็เข้ามารับตำแหน่งแทน และได้ดึงนักเตะอย่าง ดาร์เรน เบนท์ กองหน้าจากสเปอร์ส, เฟรเซอร์ แคมป์เบลล์ หัวหอกดาวรุ่งจากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด รวมถึง เปาโล ดาซิลวา ปราการหลังทีมชาติปารากวัย เข้ามาร่วมทีม การเสริมทัพครั้งนั้นนับว่าน่าสนใจและทำให้ซันเดอร์แลนด์ดูมีอนาคตที่ดีขึ้น โดยในช่วงต้นฤดูกาล 2009-2010 นี้เองในเกมส์ที่พบกับลิเวอร์พูลเกิดเหตุการ์ณที่สร้างความฮือฮาไปทั่ววงการเมื่อดาร์เรน เบนท์ กองหน้าซันเดอร์แลนด์ยิงไปโดนลูกบอลชายหาดที่แฟนบอลลิเวอร์พูลขว้างลงมาในสนาม ทำให้บอลเปลี่ยนทางเข้าประตูไปส่งผลให้ซันเดอร์แลนด์ชนะไป 1-0 และยังสามารถเอาชนะอาร์เซนอลด้วยสกอร์ 1-0 ก่อนที่ช่วงท้ายฤดูกาลซันเดอร์แลนด์จะฟอร์มตกจนหมดโอกาสที่จะลุ้นไปเล่นฟุตบอลยุโรปทั้งที่กองหน้าอย่างดาร์เรน เบนท์ โชว์ฟอร์มได้ยอดเยี่ยมด้วยการยิงไปถึง 24 ประตู
 
*'''ฤดูกาล 2010-2011'''
 
ซันเดอร์แลนด์มีการเปลี่ยนแปลงทีมอีกครั้งหนึ่ง เมื่อสโมสรได้ตัดสินใจขายลอริค ซานา และเคนวิน โจนส์ และได้ซื้อ อซาโมอาห์ ฌิยาน กองหน้าชาวกาน่าที่โชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยมจากศึกฟุตบอลโลก 2010 เข้ามาร่วมทีมด้วยค่าตัวที่เป็นสถิติใหม่ของสโมสรในราคาราว 13 ล้านปอนด์ ครึ่งแรกของฤดูกาลซันเดอร์แลนด์ทำผลงานได้ดี โดยอยู่ตำแหน่งที่สามารถลุ้นไปแข่งขันรายการสโมสรยุโรปได้ อย่างไรก็ดี ในช่วงเปิดตลาดซื้อขายนักเตะช่วงเดือนมกราคม ดาร์เรน เบนท์ ได้ยื่นขอขึ้นบัญชีย้ายทีม และได้ย้ายไปร่วมทีมแอสตัน วิลลา ด้วยค่าตัว 18 ล้านปอนด์ โดยทางซันเดอร์แลนด์ได้ซื้อ สเตฟาน เซสเซยง เพลย์เมคเกอร์ ทีมชาติเบนินมาจาก ปารีส แซงแชร์กแมง มาทดแทน และ ยืมตัวซุลลี มุนตารี่ มาจากอินเตอร์มิลาน มาเสริมทีม โดยในช่วงครึ่งหลังของฤดูกาล แม้จะมีปัญหาการขาดหายไปของผู้เล่นชุดใหญ่หลายคนจากอาการบาดเจ็บ โดยเฉพาะกองหน้า แต่สโมสรก็ยังสามารถจบฤดูกาลในครึ่งบนของตารางพรีเมียร์ลีกได้โดยอยู่ในอันดับที่ 10 ตามเป้าที่วางไว้
 
*'''ฤดูกาล 2011-2012'''
 
ฤดูกาล 2011-2012 ซันเดอร์แลนด์มีการปรับทัพนักเตะครั้งใหญ่ โดย สตีฟ บรูซ ได้เสริมทัพนักเตะเพิ่มอีก 10 คน โดยมี GK คีแรน เวสท์วูด, DF เวส บราวน์, จอห์น โอ’เชีย, MF เซบาสเตียน ลาร์สสัน, เจมส์ แมคคลีน, เดวิด วอห์น, เคร็ก การ์ดเนอร์, FW คอนเนอร์ วิคแฮม, จี ดง วอน, นิคลาส เบนท์เนอร์ (ยืมตัวมาจากอาร์เซนอล) แต่ก็ทำผลงานไม่ดีนัก ลงเตะ 13 นัด มีเพียง 11 คะแนน (จากการชนะ 2 นัด และเสมอ 5 นัด) พร้อมกับมีเสียงเรียกร้องให้ลาออกจากแฟนบอล โดยหลังจากที่สตีฟ บรูซ ทำทีมแพ้ วีแกน (ทีมอันดับ 20 ขณะนั้น) ในบ้านตัวเองด้วยสกอร์ 1-2 ความอดทนก็สิ้นสุดลง สตีฟ บรูซจึงถูกปลดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2011 โดย เอลลิส ชอร์ท ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานสโมสรต่อจาก ไนออล ควินน์ และเจ้าของสโมสร
 
หลังจากนั้นไม่นานในวันที่ 3 ตุลาคม 2011 ซันเดอร์แลนด์ประกาศแต่งตั้ง "มาร์ติน โอนีล" เป็นผู้จัดการทีม และได้เข้าคุมทีมอย่างเป็นทางการนัดแรกในวันที่ 11 ธันวาคม 2554 โดยซันเดอร์แลนด์สามารถคว้าชัยชนะเหนือ แบล็คเบินร์โรเวอร์ ได้ด้วยสกอร์ 2-1 หลังจากนั้นภายใต้การคุมทีมของ มาร์ติน โอนีล ก็ทำให้ซันเดอร์แลนด์มีผลงานที่ดีขึ้นเป็นลำดับและสามารถเก็บแต้มได้อย่างต่อเนื่อง จนได้รับรางวัลผู้จัดการทีมยอดเยี่ยมประจำเดือนธันวาคม 2012 และเป็นที่ชื่นชอบของแฟนบอลได้ในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ หลังจากทำแต้มในลีกห่างจากโซนตกชั้นได้แล้ว ยังทำผลงานได้ดี ในรายการฟุตบอลถ้วยเอฟเอคัพ ซึ่งสามารถผ่านเข้ารอบได้ถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย ก่อนที่จะพ่ายให้กับสโมสรเอฟเวอร์ตัน และผลงานในลีกช่วงปลายฤดูกาลเริ่มแผ่วลง ก่อนที่จะจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 13
 
*'''ฤดูกาล 2015-2016'''
ฤดูกาล 2015-2016 ซันเดอร์แลนด์จบฤดูกาลด้วยการได้อันดับที่ 17 อันเป็นอันดับสุดท้ายที่จะอยู่ในระดับพรีเมียร์ลีกใน[[พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2016–17|ฤดูกาลหน้า]]
 
*'''ฤดูกาล 2016-2017'''
ฤดูกาล 2016-2017 ซันเดอร์แลนด์ภายใต้การควบคุมสโมสรโดย [[เดวิด มอยส์]] กลายเป็นสโมสรแรกที่ตกชั้นในเล่นในระดับ[[เดอะแชมเปียนชิป]] ด้วยการอยู่อันดับที่ 20 อันดับสุดท้ายในตารางคะแนน ทั้งที่ยังไม่สิ้นสุดฤดูกาล โดยในนัดที่ 34 แพ้ต่อ[[สโมสรฟุตบอลเบิร์นลีย์|เบิร์นลีย์]] ที่สนามสเตเดียมออฟไลฟ์ของตนเองไป 0-1 มีเพียง 21 คะแนน เท่ากับว่าในนัดที่เหลือไม่สามารถทำคะแนนไล่ตามสโมสรอื่นได้ทันแล้ว <ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/Sport/ViewNews.aspx?NewsID=9600000043456|date=2017-24-29|accessdate=2017-04-30|work=ผู้จัดการออนไลน์|title=จบเห่ “แมวดำ” แพ้ 0-1 ตกชั้นสู่แชมเปียนชิป}}</ref>
 
== สนามเหย้า ==
 
ในช่วงแรกของการก่อตั้งสโมสร (ระหว่างปี 1886-1898) ซันเดอร์แลนด์ได้ใช้สนาม '''Newcastle Road''' ร่วมกับ Newcastle Unted ทีมคู่ปรับร่วมเมืองทำให้ทั้งสองสโมสรกลายเป็นทีมคู่แข่งกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จากนั้นในปี 1898 ซันเดอร์แลนด์จึงได้ย้ายมาใช้สนาม '''Roker Park''' เป็นสนามเหย้าแทน และได้ใช้สนามแห่งนี้เป็นสนามเหย้ามาเป็นเวลาถึง 99 ปี ก่อนที่จะสร้างสนามแห่งใหม่คือสนาม '''Stadium of Light''' เพื่อใช้แข่งขันแทนสนามเดิมในปี 1997 และหลังจากนั้นซันเดอร์แลนด์ก็ใช้สนามดังกล่าวเป็นสนามเหย้ามาจนถึงปัจจุบัน
 
* '''แผนการสร้างสนามใหม่'''
 
ปี 1996 สโมสรได้ว่าจ้างให้ บริษัท Ballast Wiltsher จำกัด (มหาชน) (บริษัทผู้สร้างสนาม Amsterdam Arena) เป็นผู้สร้างสนามแห่งใหม่ของสโมสรด้วยงบประมาณ 15 ล้านปอนด์ โดยสามารถรองรับผู้เข้าชมได้ถึง 42,000 คน และยังออกแบบให้สามารถเพิ่มขนาดของอัฒจันทร์ให้มีความจุได้สูงถึง 66,000 คนในอนาคต ในระหว่างการก่อสร้างสนามแห่งใหม่นี้สโมสรยังไม่ได้มีการกำหนดชื่อไว้ก่อน แต่ได้มีการเรียกกันในหมู่แฟนบอลว่า Wearmouth หรือ Monkwearmounth Stadium จนในที่สุดประธานสโมสรก็ได้ตัดสินใจเลือกใช้ชื่อ Stadium of Light อันเป็นชื่อที่เขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากสนามของ Benfica ในเมือง Lisbon ที่ชื่อ Estadio da Lus (แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Stadium of Light) โดยชื่อนี้มีที่มาจากตะเกียงส่องไฟของคนทำเหมือง ซึ่งสอดคล้องกับที่ตั้งของสนามแห่งนี้ที่ตั้งอยู่บนเหมืองถ่านหินเก่า และแฟนบอลของซันเดอร์แลนด์หลายพันคนก็มีอาชีพทำเหมืองด้วยเช่นกัน จึงเป็นชื่อที่มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง
 
[[ไฟล์:The Stadium of Light.jpg|thumb|left|350px|สนาม Stadium of Light ด้านนอก]]
[[ไฟล์:Stadium of light Haway the lads.jpg|thumb|left|350px|สนาม Stadium of Light ด้านใน]]
 
* '''สนาม Stadium of Light'''
 
สนาม Stadium of Light ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 1997 โดยมีเจ้าชาย Andrew, Duke of York เป็นประธานในพิธี ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการแข่งขันนัดพิเศษระหว่างซันเดอร์แลนด์กับ Ajax Amsterdam (ทีมจากลีกเนอเธอร์แลนด์) เป็นนัดเปิดสนามอีกด้วย หลังจากนั้นสโมสรก็ใช้สนามแห่งนี้เป็นสนามเหย้าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
ในฤดูกาลแรกที่เปิดใช้สนาม ขณะนั้นซันเดอร์แลนด์แข่งขันอยู่ในลีกระดับดิวิชัน 1 (ใหม่) มีผู้เข้าชมเกมการแข่งขันในสนามเฉลี่ยนัดละประมาณ 30,000 คน และในเกมสำคัญบางเกมสูงสุดถึง 40,000 คน แต่ในฤดูกาลถัดมา (1998-1999) ซันเดอร์แลนด์สามารถทำผลงานได้อย่างดีเยี่ยมจนสามารถเลื่อนชั้นมาเล่นในระดับพรีเมียร์ลีกได้ จึงทำให้มีผู้เข้าชมเกมการแข่งขันเฉลี่ยสูงถึง 40,000 คน โดยในฤดูกาล 1999-2000 สนามเหย้าของซันเดอร์แลนด์จัดเป็นสนามแข่งขันที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของสโมสรอังกฤษรองจาก Manchester United และ Newcastle Unted เท่านั้น ต่อมาในปี 2000 สโมสรได้ทุ่มงบประมาณอีก 7 ล้านปอนด์เพื่อขยายอัฒจันทร์ด้านทิศเหนือ ทำให้ปัจจุบันสนาม Stadium of Light สามารถจุผู้เข้าชมได้สูงถึง 49,000 คนเลยทีเดียว
 
ปัจจุบันสนาม Stadium of Light ยังเป็นสนามฟุตบอลอย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัยซันเดอร์แลนด์ (University of Sunderland) ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา นอกจากนี้ สนามแห่งนี้ยังเคยถูกใช้เป็นสนามแข่งขันฟุตบอลระดับชาติครั้งแรกเมื่อปี 1999 ซึ่งเป็นการแข่งขันนัดกระชับมิตรระหว่างทีมชาติอังกฤษกับทีมชาติเบลเยียม และในการแข่งขันฟุตบอล Euro 2004 รอบคัดเลือกระหว่างทีมชาติอังกฤษกับทีมชาติตุรกี
 
== สีประจำสโมสร ==
ในอดีตซันเดอร์แลนด์ใช้ชุดแข่งขันทีมเหย้าเป็นสีน้ำเงินล้วนโดยมีสีแดงเพียงเล็กน้อยบนบ่าเท่านั้น ต่อมาซันเดอร์แลนด์จึงได้เปลี่ยนชุดแข่งขันทีมเหย้ามาเป็นสีแดงสลับขาวตั้งแต่ปี 1887 เป็นต้นมา ทำให้สีแดงสลับขาวกลายเป็นสีประจำสโมสรตั้งแต่นั้นมาจนถึงฤดูกาลปัจจุบัน (ฤดูกาล 2011-2012)
 
== ชื่อเล่น ==
 
ในอดีตที่ผ่านมาซันเดอร์แลนด์เคยมีชื่อเล่นที่เรียกกันหลายชื่อ เช่น Rokerites และ Rokermen เป็นต้น แต่หลังจากที่ซันเดอร์แลนด์ย้ายสนามเหย้าจาก Roker Park มาเป็น Stadium of Light ตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา ชื่อเล่นดังกล่าวจึงไม่มีความสัมพันธ์กับสโมสรอีกต่อไป ดังนั้น ซันเดอร์แลนด์จึงเปิดโอกาสให้แฟนบอลของสโมสรมีส่วนร่วมในการตั้งชื่อเล่นใหม่ให้กับสโมสร โดยในครั้งนั้นมีแฟนบอลเข้ามาร่วมตั้งชื่อเล่นให้กับสโมสรอย่างมากมาย ซึ่งสโมสรได้คัดเลือกชื่อที่มีความเหมาะสมและเป็นที่นิยมออกมาจำนวน 5 ชื่อ อันได้แก่ the Black Cats, the Light Brigade, the Miners, the Sols and the Mackems เพื่อให้แฟนบอลได้โหวตลงคะแนนเพื่อเลือกชื่อเล่นให้กับซันเดอร์แลนด์ในรอบสุดท้ายผ่านทางเว็บไซด์ของสโมสร ผลปรากฏว่าชื่อ the Black Cats หรือ แมวดำ ได้รับคะแนนโหวตอย่างท่วมท้นจากแฟนบอล (ราว 11,000 คะแนน) หรือคิดเป็นคะแนนโหวตถึงครึ่งหนึ่งจากทั้งหมดเลยทีเดียว ดังนั้น The Black Cats หรือ แมวดำ จึงกลายเป็นชื่อเล่นอย่างเป็นทางการของซันเดอร์แลนด์ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา
 
==ผู้เล่น==