ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันเข้าพรรษา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 52:
# จีวรลาภอันเกิดในที่นั้นเป็นของภิกษุ (เมื่อมีผู้มาถวายจีวรเกินกว่าไตรครองสามารถเก็บไว้ได้โดยไม่ต้องสละเข้ากองกลาง)
 
== การถือปฏิบัติการเข้าพรรษาของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน ==
การเข้าพรรษานั้นปรากฏในพระไตรปิฎกเถรวาท ซึ่งพระสงฆ์ในนิกายเถรวาททุกประเทศจะถือการปฏิบัติการเข้าจำพรรษาเหมือนกัน (แต่อาจมีความแตกต่างกันบ้างในการให้ความสำคัญและรายละเอียดประเพณีปฏิบัติของแต่ละท้องถิ่น)
 
=== การเตรียมตัวเข้าจำพรรษาของพระสงฆ์ในปัจจุบัน ===
[[ไฟล์:Buddhist monk in Buddhist church.jpg|170px|thumb|เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พระสงฆ์ในวัดจะรวมตัวกันอธิษฐานจำพรรษาภายในวิหารหรืออุโบสถของวัด]]
การเข้าจำพรรษาคือการตั้งใจเพื่ออยู่จำ ณ [[อาวาส]]ใดอาวาสหนึ่งหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเป็นประจำตลอดพรรษา 3 เดือน<ref>[http://www.dra.go.th/ewtadmin/ewt/dra_buddha/main.php?filename=buddha_7_3 วันเข้าพรรษา - ศาสนาพุทธ]</ref> ดังนั้นก่อนเข้าจำพรรษาพระสงฆ์ในวัดจะเตรียมตัวโดยการซ่อมแซมเสนาสนะปัดกวาดเช็ดถูให้เรียบร้อยก่อนถึงวันเข้าพรรษา<ref>[http://lib.vit.src.ku.ac.th/actonline56/khaopansa56/khaopansa56.asp แรม 1 ค่ำ เดือน 8 วันเข้าพรรษา - นิทรรศการออนไลน์]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref>
 
เมื่อถึงวันเข้าพรรษา ส่วนใหญ่[[พระสงฆ์]]จะลงประกอบพิธีอธิษฐานจำพรรษาหลัง[[สวดมนต์ทำวัตรเย็น]]เป็นพิธีเฉพาะของพระสงฆ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะลงประกอบพิธี ณ [[อุโบสถ]] หรือสถานที่ใดตามแต่จะสมควรภายในอาวาสที่จะจำพรรษา โดยเมื่อทำวัตรเย็นประจำวันเสร็จแล้ว[[เจ้าอาวาส]]จะประกาศเรื่อง '''วัสสูปนายิกา''' คือการกำหนดบอกให้ให้พระสงฆ์ทั้งปวงรู้ถึงข้อกำหนดในการเข้าพรรษา<ref>[http://www.rakjung.com/important-day-no205.html วันเข้าพรรษา ประวัติ และความเป็นมา - รักจัง]</ref> โดยมีสาระสำคัญดังนี้
 
# แจ้งให้ทราบเรื่องการเข้าจำพรรษาแก่พระสงฆ์ในอาราม
เส้น 65 ⟶ 58:
# กำหนดบอกอาณาเขตของวัด ที่พระสงฆ์จะรักษาอรุณ หรือรักษาพรรษาให้ชัดเจน (รักษาอรุณคือต้องอยู่ในอาวาสที่กำหนดก่อนอรุณขึ้น จึงจะไม่ขาดพรรษา)
# หากมีภิกษุผู้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ก็ทำการสมมุติเสนาสนคาหาปกะ (เจ้าหน้าที่สงฆ์) เพื่อให้เป็นผู้กำหนดให้พระสงฆ์รูปใดจำพรรษา ณ สถานที่ใดในวัด
 
เมื่อแจ้งเรื่องดังกล่าวเสร็จแล้ว อาจจะมีการทำสามีจิกรรม คือกล่าวขอขมาโทษซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นการแสดงความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างพระเถระและพระผู้น้อย และเป็นการสร้างสามัคคีกันในหมู่คณะด้วย<ref>[http://www.mcu.ac.th/site/news_in.php?group_id=1&NEWSID=9190 ผู้บริหารคณาจารย์ มจร ทำสามีจิกรรมเทศกาลเข้าพรรษา]</ref>
 
จากนั้นจึงทำการอธิษฐานพรรษา เป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุด โดยการเปล่งวาจาว่าจะอยู่จำพรรษาตลอดไตรมาส โดยพระสงฆ์สามเณรทั้งอารามกราบพระประธาน 3 ครั้งแล้ว เจ้าอาวาสจะนำตั้งนโม 3 จบ และนำเปล่งคำอธิษฐานพรรษาพร้อมกันเป็นภาษาบาลีว่า
 
{{คำพูด|อิมสฺมิ{{˚}} อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ <u>อุเปมิ</u><br /> (ถ้ากล่าวหลายคนใช้: <u>อุเปม</u>)}}
 
หลังจากนี้ ในแต่ละวัดจะมีข้อปฏิบัติแตกต่างกันไป บางวัดอาจจะมีการเจริญพระพุทธมนต์ต่อ และเมื่อเสร็จแล้วอาจจะมีการสักการะสถูปเจดีย์ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ภายในวัดอีกตามแต่จะเห็นสมควร
 
เมื่อพระสงฆ์สามเณรกลับเสนาสนะของตนแล้ว อาจจะอธิษฐานพรรษาซ้ำอีกเฉพาะเสนาสนะของตนก็ได้ โดยกล่าววาจาอธิษฐานเป็นภาษาบาลีว่า
 
{{คำพูด|อิมสฺมิ{{˚}} วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ <u>อุเปมิ</u><br /> (ถ้ากล่าวหลายคนใช้: <u>อุเปม</u>)}}
 
[[ไฟล์:Wat Su Tat.jpg|150px|thumb|left|[[การสอบธรรมสนามหลวง]]จะจัดขึ้นในช่วงหลังออกพรรษา เพื่อวัดความรู้นักธรรมที่พระสงฆ์เล่าเรียนมาตลอดพรรษากาล]]
 
เป็นอันเสร็จพิธีอธิษฐานเข้าจำพรรษาสำหรับพระสงฆ์ และพระสงฆ์จะต้องรักษาอรุณไม่ให้ขาดตลอด 3 เดือนนับจากนี้ โดยจะต้องรักษาผ้าไตรจีวรตลอดพรรษากาล คือ ต้องอยู่กับผ้าครองจนกว่าจะรุ่งอรุณด้วย<ref>[http://www.thaistudyfocus.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%B2/ วันเข้าพรรษา Thai Study Focus]</ref>
 
=== การศึกษาพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ในระหว่างพรรษาในปัจจุบัน ===
ในอดีต การเข้าพรรษามีประโยชน์แก่พระสงฆ์ในด้านการศึกษาพระธรรมวินัย โดยการที่พระสงฆ์จากที่ต่าง ๆ มาอยู่จำพรรษารวมกันในที่ใดที่หนึ่ง พระสงฆ์เหล่านั้นก็จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้และถ่ายองค์ความรู้ตามพระธรรมวินัยให้แก่กัน
 
มาในปัจจุบัน การศึกษาพระธรรมวินัยในช่วงเข้าพรรษาในประเทศไทยก็ยังจัดเป็นกิจสำคัญของพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ที่อุปสมบททุกรูป แม้จะอุปสมบทเพียงเพื่อชั่วเข้าพรรษาสามเดือน ก็จะต้องศึกษาพระธรรมวินัยเพิ่มเติม ปัจจุบันพระธรรมวินัยถูกจัดเป็นหลักสูตรของคณะสงฆ์ ในหลักสูตร พระธรรม จะเรียกว่า ธรรมวิภาค พระวินัย เรียกว่า วินัยมุข รวมเรียกว่า "นักธรรม" ชั้นต่าง ๆ โดยจะมีการสอบไล่ความรู้พระปริยัติธรรมในช่วงออกพรรษา เรียกว่า [[การสอบธรรมสนามหลวง]] ในช่วงวันขึ้น 9 - 12 ค่ำ เดือน 11 (จัดสอบนักธรรมชั้นตรีสำหรับพระภิกษุสามเณร) และช่วงวันแรม 2 - 5 ค่ำ เดือน 12 (จัดสอบนักธรรมชั้นโทและ[[นักธรรมเอก|เอก]] สำหรับพระภิกษุสามเณร) <ref>[http://www.gongtham.org/my_data/mydata_book/exam49/index_exam49.htm กำหนดการสอบธรรมสนามหลวง]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}. สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง. เรียกข้อมูลเมื่อ 1-7-52</ref>
 
ปัจจุบันการศึกษาเฉพาะในชั้นนักธรรมตรีสำหรับพระนวกะ หรือพระบวชใหม่ จะจัดสอบในช่วงปลายฤดูเข้าพรรษา เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่จะลาสิกขาบทหลังออกพรรษา จะได้ตั้งใจเรียนพระธรรมวินัยเพื่อสอบไล่ให้ได้นักธรรมในชั้นนี้ด้วย<ref>[http://buachatrsangkapan.com/index.php?ContentID=ContentID-13070409260039971 สังฆภัณฑ์ - การศึกษาพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ในระหว่างพรรษาในปัจจุบัน]</ref>
 
== การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาในประเทศไทย ==