ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาร์เอ็มเอส ไททานิก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้ไขคำผิด
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 25:
| Ship out of service =
| Ship identification = สัญญาณเรียกขาน "MGY"<ref name="Great"/> <br /> ตัวเลขทางราชการของอังกฤษ : 131428
| Ship fate = เกิดเหตุเพลิงไหม้ในส่วนบล็อคบล็อกเก็บถ่านหินที่ 5 และ 6 ส่งผลให้ ผนังกั้นนํ้าของตัวเรืออ่อนแอ และมีการบิดตัว จนไม่สามารถกันแรงดันนํ้าได้ จนกระทั่งชนภูเขาน้ำแข็ง วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 เวลา 23.40 น. (เวลาเรือ) ในการเดินเรือเที่ยวแรก และอัปปาง 2 ชั่วโมง 40 นาทีให้หลัง<ref name="Maritimequest"/>
| Ship notes =
}}
บรรทัด 61:
ผู้โดยสารบนเรือมีบรรดาบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก เช่นเดียวกับผู้อพยพกว่าพันคนจากบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ สแกนดิเนเวีย เป็นต้น ซึ่งกำลังแสวงหาชีวิตใหม่ในทวีปอเมริกาเหนือ เรือได้รับการออกแบบให้มีความสะดวกสบายและความหรูหราที่สุด โดยบนเรือมียิมเนเซียม สระว่ายน้ำ ห้องสมุด ภัตตาคารชั้นสูงและห้องจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีโทรเลขไร้สายทรงพลังซึ่งจัดเตรียมไว้เพื่อความสะดวกของผู้โดยสาร เช่นเดียวกับการใช้เชิงปฏิบัติการ แต่แม้ ''ไททานิก'' จะมีคุณลักษณะความปลอดภัยที่ก้าวหน้า เช่น ห้องกันน้ำและประตูกันน้ำที่ทำงานด้วยรีโมต ก็ยังขาดเรือชูชีพที่เพียงพอสำหรับบรรทุกผู้โดยสารทุกคนบนเรือ เนื่องจากระเบียบความปลอดภัยในทะเลที่ล้าสมัย จึงมีเรือชูชีพเพียงพอสำหรับผู้โดยสาร 1,178 คนเท่านั้น เกินครึ่งของผู้ที่เดินทางไปกับเรือในเที่ยวแรกเล็กน้อย และหนึ่งในสามของความจุผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมดเท่านั้น
 
ช่วงก่อนหน้าที่ไททานิคออกเดินทาง ได้เกิดเหตุไฟไหม้บริเวณส่วนเก็บถ่านหินที่ บล็อคบล็อก 5 และ 6 และไฟยังไหมต่อเนื่องตลอดการเดินทาง ความเสียหายนั้นส่งผลให้ผนังกั้นนํ้าชั้นที่ 4 ก่อนถึงห้องเครื่อง และ ส่วนที่เก็บถ่านหินนั้นร้อนมาก อุณหภูมิไม่ตํ่ากว่า 1500 ฟาเรนไฮต์ จนผนังกั้นนํ้าร้อนจนแดง และตัวเหล็กของผนังกั้นนํ้านั้นบิด งอ ลดการทนทานนํ้าไปกว่า 75%
 
หลังเดินทางออกจากเซาท์แทมป์ตันเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1912 ''ไททานิก'' ถูกเรียกที่เชอร์บูร์ก (Cherbourg) ในฝรั่งเศส และควีนส์ทาวน์ (ปัจจุบันคือ โคฟ, Cobh) ในไอร์แลนด์ ก่อนมุ่งหน้าไปทางตะวันตกมุ่งสู่นิวยอร์ก วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 ห่างจากเซาท์แทมป์ตันไปทางใต้ราว 600 กิโลเมตร ''ไททานิก'' ชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็งเมื่อเวลา 11.40 น. (ตามเวลาเรือ GMT-3) การชนแฉลบทำให้แผ่นลำเรือ''ไททานิก'' เกิดความเสียหาย นํ้าได้ทะลักเข้าไปในเรือ แล้วได้เปิดห้องกั้นนํ้าทั้งหมด แต่ทว่า ผนังกั้นนํ้าชั้นที่ 4 ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้จากห้องเก็บถ่านหิน ทำให้ผนังกั้นนํ้าชั้นที่ 4 ไม่สามารถทนทานแนงดันนนํ้าได้ จึงส่งผลให้นํ้าทะลักเข้ามาภายในตัวเรือได้ อีกสองชั่วโมง สามสิบนาทีต่อมา น้ำค่อยๆ ไหลเข้ามาในเรือและจมลง ผู้โดยสารและสมาชิกลูกเรือบางส่วนถูกอพยพในเรือชูชีพ โดยมีเรือชูชีพจำนวนมากถูกปล่อยลงน้ำไปทั้งที่ยังบรรทุกไม่เต็ม ชายจำนวนมาก กว่า 90% ของชายในที่นั่งชั้นสอง ถูกทิ้งอยู่บนเรือเพราะระเบียบ "ผู้หญิงและเด็กก่อน" ตามด้วยเจ้าหน้าที่ซึ่งบรรทุกเรือชูชีพนั้น ก่อน 2.20 น. เล็กน้อย ''ไททานิก'' แตกและจมลงโดยยังมีอีกกว่าพันคนอยู่บนเรือ คนที่อยู่ในน้ำเสียชีวิตภายในไม่กี่นาทีจากภาวะตัวเย็นเกิน (hypothermia) อันเกิดจากการจุ่มในมหาสมุทรที่เย็นจนเป็นน้ำแข็ง ผู้รอดชีวิต 710 คนถูกนำขึ้นเรืออาร์เอ็มเอส ''คาร์พาเธีย'' (RMS ''Carpathia'') อีกไม่กี่ชั่วโมงให้หลัง
บรรทัด 243:
เนื่องจาก''ไททานิก''เป็นเรือขนาดใหญ่ จุผู้โดยสารได้มาก ดังนั้นปริมาณการใช้บริการส่งวิทยุโทรเลขก็ต้องมากเป็นธรรมดา พนักงานรับส่งวิทยุโทรเลขจึงต้องทำงานค่อนข้างหนักมาก เมื่อว่างเว้นจากงานบริการผู้โดยสารแล้วจึงค่อยมาสะสางเรื่องการติดต่อเพื่อการเดินเรือ อีกทั้งในสมัยนั้นยังไม่มีขั้นตอนการนำส่งข้อความแก่กัปตันเรืออย่างเป็นระบบ ดังนั้นจึงไม่มีหลักประกันแต่อย่างใดว่าข่าวสารจะถึงมือกัปตันหรือไม่ หรือถึงช้าเร็วเพียงใด<ref name="Wireless"/>
 
เช้าวันที่ 14 เมษายน กัปตันสมิทสั่งเดินเครื่องเรือ''ไททานิก''เต็มที่ สำหรับสาเหตุของการเร่งเครื่องครั้งนี้เนื่องจาก การเกิดเหตุเพลิงไหม้ใน บล็อคบล็อกเก็บถ่านหินที่ 5 และ 6 วิธีการที่จะดับไฟจากถ่านหินคือต้องใช้ถ่านหินที่มีไฟลุกอยู่ตักเข้าห้องเครื่องให้หมด หากทว่าถ่านหินที่เก็บไว้นั้นจะไม่เพียงพอที่จะพาเรือไปยัง นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาได้หากใช้ความเร็วตํ่า เพื่อไม่ให้เสียชื่อเสียงนั้น เหตุการณ์ที่อาจจะหลีกเลี่ยงได้คือการชนภูเขานํ้าแข็ง แต่ การใช้ถ่านหินหมด เป็นไปได้มากกว่า ''ไททานิก''จึงแล่นด้วยความเร็วถึง 22.5 [[นอต]] ซึ่งเกือบถึงความเร็วสูงสุดของเรือ (23 นอต) <ref name="Atlantic"/>
 
และในวันเดียวกันนี้เอง ''ไททานิก''ได้รับวิทยุโทรเลขเตือนเรื่องภูเขาน้ำแข็งในเส้นทางเดินเรือถึง 7 ครั้ง (เอกสารบางแหล่งระบุว่า 6 ครั้ง) จากเรือเดินสมุทรในสายแอตแลนติกเหนือ อาทิ จากเรือ อาร์เอ็มเอส ''แคโรเนีย'' (RMS ''Caronia''), อาร์เอ็มเอส ''บอลติก'', เอสเอส ''อเมริกา'' (SS ''Amerika'') <ref>"Titanic & Her Sisters Olympic & Britannic" by McCluskie/Sharpe/Marriott, p. 490, ISBN 1-57145-175-7</ref>, เอสเอส ''แคลิฟอร์เนียน'' (SS ''Californian'') และ เอสเอส ''เมซาบา'' (SS ''Mesaba'') ฯลฯ และที่ร้ายก็คือ เมื่อเวลา 21.45 น. ''ไททานิก''ได้รับวิทยุโทรเลขเตือนว่ามีภูเขาน้ำแข็งและน้ำแข็งกระจัดกระจายอยู่ในเส้นทางข้างหน้า แต่พนักงานวิทยุโทรเลขไม่ได้ส่งข้อความนั้นให้แก่กัปตันหรือเจ้าหน้าที่เรือคนใดเลย ทั้งนี้ เพราะมัวยุ่งอยู่กับการส่งวิทยุโทรเลขให้แก่ผู้โดยสาร