ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดบาหลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
| named_for =
| seat_type = [[เมืองหลัก]]
| seat = [[ไฟล์:Lambang Denpasar City.png|20px]] [[เดนปาซาร์เด็นปาซาร์]]
| government_footnotes =
| leader_title = ผู้ว่า
บรรทัด 74:
| footnotes =
}}
'''บาหลี''' ({{lang-id|Bali}}) เป็น 1 ใน 34 [[จังหวัด]]ของ[[ประเทศอินโดนีเซีย]] เมืองสำคัญคือเดินปาซาร์เด็นปาซาร์ พื้นที่ทั้งหมด 5,634.40 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 3,422,600 คน ความหนาแน่นของประชากร 607 คน/ตารางกิโลเมตร ภาษาที่ใช้คือ[[ภาษาอินโดนีเซีย]]และ[[ภาษาบาหลี]]
 
== ประวัติศาสตร์ ==
บรรทัด 89:
=== การยึดครองของฮอลันดา ===
[[ไฟล์:Taman Ayun.jpg|200px|thumb|วัดปูราตามันอายุน เดิมเป็นที่ตั้งของอาณาจักรบาดุง]]
[[ไฟล์:Mountain over denpasar.jpg|200px|thumb|left|เมืองเดินเด็นปาซาร์ในปัจจุบัน]]
ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เดินทางมายังบาหลีคือชาว[[ฮอลันดา]] ซึ่งนำโดยกัปตันโกเลอนียึส เดอ เฮาต์มัน (Colenius de Houtman) เมื่อค.ศ.1597 และเริ่มเจริญความสัมพันธ์กับราชวงค์บาหลี ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 อีกทางฝากหนึงของบาหลี ชาวฮอลันดาได้ทำสนธิสัญญาการค้าหลายฉบับกับชวา และเส้นทางการค้าเครื่องเทศส่วนใหญ่ได้ตกอยู่ในความควบคุมของชาวฮอลันดาแล้ว<ref name = "Lonely planet: Bali & Lombok"/> เมื่อค.ศ.1710 ศูนย์กลางของบาหลีได้ย้ายไปอยู่ที่กลุงกุง (Klungkung) ปัจจุบันคือเมืองเสมาระปุระ<ref name = "Lonely planet: Bali & Lombok"/><ref name = "History for Bali"/> เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ชนชั้นปกครองในบาหลีเริ่มแตกแยกและแบ่งออกเป็นอาณาจักรย่อยๆ ส่วนชาวฮอลันดาเริ่มเข้ามามีอิทธิพลโดยใช้วิธีแบ่งแยกและปกครอง<ref name = "Lonely planet: Bali & Lombok"/> การเข้าควบคุมบาหลีทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจเริ่มต้นเมื่อราวค.ศ.1840 โดยในปีค.ศ.1846 ชาวฮอลันดาได้อ้างการกู้เรือจมบริเวณชายฝั้งทางด้านเหนือ ใกล้กับเมืองสิงคราช (Singaraja) ในปัจจุบัน นำกำลังทหารเข้ามาและยึดอาณาจักรบูเลเล็ง (Buleleng) และเจ็มบรานา (Jembrana) ไว้ได้<ref name = "History for Bali"/><ref>Vickers, Adrian. (1995). In Eric Oey (Ed.), ''Bali'' (pp. 26-35). Singapore: Periplus Editions. ISBN 962-593-028-0. </ref>เมื่อยึดอาณาจักรทางตอนเหนือได้แล้ว จึงเริ่มเข้ารุกรานอาณาจักรทางตอนใต้ ในปีค.ศ.1904 ฮอลันดาได้อ้างการร่วมกู้ซากเรือจีนนอกชายฝั่งหาดซานูร์ เรียกร้องให้อาณาจักรบาดุงจ่ายค่าชดเชยเป็นจำนวนเงิน 3,000 เหรียญเงิน แต่ได้รับการปฏิเสธ ในปีค.ศ.1906 ฮอลันดาจึงได้ยกกำลังทหารเข้ามาบริเวณหาดซานูร์ โดย 4 วันหลังจากนั้น ได้บุกเข้ามาถึงชานเมืองเดินปาซาร์เด็นปาซาร์ (Denpasar) วันที่ 20 กันยายน ค.ศ.1906 ฮอลันดาจึงเริ่มยิงถล่มเมืองเดินปาซาร์เด็นปาซาร์ แต่ฝ่ายบาดุงใช้วิธีการพลีชีพของนักรบที่เรียกว่าปูปูตัน (Puputan) โดยบรรดาเชื้อพระวงค์ทรงเผาพระราชวังและแต่งพระองค์เต็มพระยศพร้อมทรงกริช ทรงดำเนินพร้อมกับเหล่านักบวชและข้าราชบริพารเข้าต่อสู้ แต่ทั้งหมดไม่ยอมจำนน กลับแทงตัวตายด้วยกริชแทน เหตุการณ์ในครั้งนั้นมีชาวบาหลีเสียชีวิตประมาณ 4,000 คน เมื่อยึดอาณาจักรบาดุงได้แล้ว ฮอลันดาจึงเข้ายึดอาณาจักรตาบานัน (Tabanan) จับกษัตริย์เป็นเชลย แต่ทรงไม่ยอมจำนนและทรงกระทำอัตนิวิบาตกรรม จากนั้นฮอลันดาได้เข้ายึดครองอาณาจักรการังอะเซ็ม (Karangasem) และเกียญาร์ (Gianyar) แต่อนุญาตให้ราชวงค์ยังทรงปกครองได้ต่อไป ส่วนอาณาจักรอื่นๆ ฮอลันดาได้ขับไล่เจ้าเมืองออกทั้งหมด ในเดือนเมษายน ค.ศ.1908 เมื่อฮอลันดาบุกยึดอาณาจักรเสมาระปุระ เช่นเดียวกับกษัตริย์ตาบานัน กษัตริย์เสมาระปุระทรงไม่ยอมจำนนและทรงกระทำอัตนิวิบาตกรรมเช่นกัน การบุกยึดครั้งนั้นทำให้พระราชวังตามันเกอร์ตาโกซา (Taman Gertha Gosa) ได้รับความเสียหายเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้ตั้งแต่ ค.ศ.1911 ฮอลันดาได้ครอบครองดินแดนของบาหลีได้ทั้งหมดและได้รวมบาหลีเข้าเป็นส่วนหนึงของอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (Dutch East Indies)<ref name = "Lonely planet: Bali & Lombok"/><ref name = "History for Bali"/><ref>[http://www.asianartmall.com/balihistory.htm History of Bali by Amanda Byron]</ref>
 
=== สงครามโลกครั้งที่สองและการประกาศเอกราช ===
[[ไฟล์:NgurahRai.png|130px|thumb|อิ กุสตี งูระห์ ไร]]
 
กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่หาดซานูร์ ในปีค.ศ.1942 และได้ตั้งกองบัญชาการที่เมืองเดินปาซาร์เด็นปาซาร์ และเมืองสิงคราช และขับไล่ชาวฮอลันดาออกไป เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สองเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ.1945 เมื่อฮอลันดาต้องการกลับเข้ามายึดครองบาหลีอีก ขบวนการต่อต้านฮอลันดาเริ่มก่อตั้งขึ้น วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ.1945 นาย[[ซูการ์โน]] (Soekarno) ถือโอกาสประกาศเอกราชแก่ดินแดนที่เคยอยู่ภายใต้การยึดครองของฮอลันดาทั้งหมดและก่อตั้ง[[สาธารณรัฐอินโดนีเซีย]]ขึ้น แต่ฝ่ายฮอลันดาไม่รับรอง ขบวนการต่อต้านฮอลันดาในบาหลีชื่อเต็นตรา เกอะอะมานัน รัคยัต (Tentra Keamanan Rakyat) หรือกองกำลังความมั่นคงแห่งประชาชน (People's Security Force) ลุกฮือขึ้นต่อต้านฮอลันดาที่เมืองมาร์กา (Marga) เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ.1946 นำโดยอิ กุสตี งูระห์ ไร (I Gusti Ngurah Rai) โดยเป็นการต่อสู้เพื่อพลีชีพของนักรบหรือปูปูตันอีกครั้ง ในที่สุดฮอลันดาประกาศรับรองเอกราชของอินโดนีเซียเมื่อปีค.ศ.1949 และบาหลีจึงเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียในปัจจุบัน<ref name = "Lonely planet: Bali & Lombok"/><ref name = "History for Bali"/><ref>[http://www.balibagus.com/articles/2001nov6-hero.html I Gusti Ngurah Rai; Balinese National Hero]</ref>
 
== การปกครอง ==
บรรทัด 106:
|align="center" | '''เขต''' ||align="center" | '''เมืองหลัก''' ||align="center" | '''พื้นที่''' (ตารางกิโลเมตร)
|-
|align="center" | บาดุง (Badung) ||align="center" | เดินปาซาร์เด็นปาซาร์ (Denpasar) ||align="center" | 420.09
|-
|align="center" | บังลี (Bangli) ||align="center" | บังลี (Bangli) ||align="center" | 520.81