ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่โขง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 9:
 
=== '''โรงงานสุราบางยี่ขัน โรงงานสุราของรัฐ''' ===
ต่อมาในวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๗ รัฐบาลได้โอนโรงงานสุราบางยี่ขันซึ่งเดิมเป็นกิจการของเอกชนมาเป็นของรัฐโดยมีกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลังเป็นผู้ปกครองดูแลเรียกประมูลเงินผลประโยชน์เข้ารัฐในรูปแบบต่างๆแล้วตั้งผู้ประมูลได้ให้เป็นผู้รับอนุญาต ผลิตสุราออกจําหน่ายภายในเขตที่กําหนดให้เป็นเขตจําหน่ายสุราของโรงงาน วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๐ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวครบกําหนดหมดอายุสัญญาอนญุาตอนญาตให้ต้มกลั่นและจําหน่าย สุรากรมสรรพสามิตจึงได้ระงับการอนุญาตให้เอกชนต้มกลั่นและจําหน่ายสุราและเข้าดูแลควบคุมการผลิตสุราที่โรงงาน บางยี่ขันเองเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๒ มีการปรับปรุงโรงงานให้ทันสมัยและผลิตสุราชนิดใหม่คือสรุาผสม ๒๘ ดีกรี หลายยี่ห้อรวมทั้งเชี่ยงชุนที่ยังคงผลิตมาจนถึงปัจจุบัน แต่การจําหน่ายยังคงใช้วิธีการประมูลเงินผลประโยชน์ ตั้งผู้ทำการค้าส่งเป็นเขตๆ
 
ต่อมากรมสรรพสามิตได้ผลิต “สุราผสม” โดยใช้เคร่ืองสมุนไพรตามเภสัชตำรับของยาดองเหล้าแบบโบราณสกัดโดย แช่ในสุราดีกรีสูงแล้วนํามาปรุงแต่งรสกลิ่นสีและแรงแอลกอฮอล์ เป็นสุราผสมดื่มได้ทันทีโดยไม่ต้องผสมโซดาและต่อมา ได้พัฒนาเป็น“สุราปรุงพิเศษ”ดื่มโดยผสมโซดาหรือไม่ก็ได้ในขณะนั้นมีผู้นิยมดื่มวิสกี้ผสมโซดากันอย่างแพร่หลาย วิสกี้ส่วนใหญ่ต้องนําเข้าจากต่างประเทศ สิ้นเปลืองเงินตราปีละมากๆ สุราปรุงพิเศษที่กรมสรรพสามิตผลิตขึ้นจึงช่วยลดการนําเข้าได้เป็นอย่างดี
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/แม่โขง"