ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บุพเพสันนิวาส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chiangmai2499 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 324:
== การตอบรับ ==
=== คำวิจารณ์และความสมจริง ===
แม้ละครเรื่อง ''บุพเพสันนิวาส '' จะสร้างขึ้นมาเพื่อความบันเทิงของผู้ชมเป็นหลัก แต่ก็ยังมีผู้ให้ข้อติติงไว้ ทั้งในเรื่องความสมจริงทางการเมืองและด้านศิลปะวัฒนธรรม วรรษชล ศิริจันทนันท์ นักเขียนจากเดอะโมเมนตัม เอาแนวคิดประวัติศาสตร์การเมืองฝ่ายซ้ายสายต่อต้านอนุรักษ์นิยม มาวิเคราะห์ละครเรื่องนี้ไว้ว่า เป็นละครหลังข่าวที่แม้จะยังคงความสนุกและความบันเทิง "แต่ก็ยังมี 'คราบ' ของอุดมการณ์ชาตินิยมและการชื่นชมความสงบสุขของอยุธยาแทรกเข้ามาอยู่เป็นระยะ จนผู้ชมเกิดอารมณ์โหยหาอดีต" โดยวรรษชลโต้แย้งว่า ''บุพเพสันนิวาส'' นำเสนอภาพในอดีตที่มองข้ามความขัดแย้งของคนไทยในราชสำนัก โดยนำเสนอว่าสังคมและวัฒนธรรมของอยุธยาเป็นสังคมที่ "สงบสุข ไม่มีการคอรัปชั่น และมีฝรั่งเป็นส่วนเกิน" เพื่อสนองความปรารถนาของผู้ชมบางส่วนซึ่ง "ไม่พอใจในปัจจุบันอันแสนจะวุ่นวาย เต็มไปด้วยการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย และไร้ซึ่งความปรองดอง จนเกิดความโหยหาอดีต"<ref>[https://themomentum.co/will-of-heaven_thai-drama/ ว่าด้วยความเชื่อ ‘ฝรั่งเลว—ไทยดี’ และสิ่งที่ ‘บุพเพสันนิวาส’ ไม่ได้บอก] เดอะโมเมนตัม</ref> นฤเบศ กูโน ผู้กำกับและนักเขียนบทละคร แสดงความเห็นว่าเพราะความสำเร็จของละครเกิดจากบทละครที่ดีและเคมีของนักแสดงที่เข้ากัน ขณะที่วัฒนธรรมการดูละครของคนไทยมีความคล้ายคลึงกับคนเกาหลี คือ ชื่นชอบละครตลก พระนางไม่ถูกกัน มีบทพูดเชือดเฉือน แต่แอบแสดงออกเล็กน้อยว่ารัก<ref name="sanook">[https://www.sanook.com/movie/76259/ "บุพเพสันนิวาส" สูตรสำเร็จละครไทย ถูกใจคอซีรีส์เกาหลี]</ref> ส่วนเว็บไซต์[[สนุก.คอม]] วิเคราะห์ความสำเร็จของละครเรื่องนี้ว่า "สะท้อนให้เห็นสูตรสำเร็จของละคร และการนำเสนอประวัติศาสตร์ไทยผ่านละครแนวใหม่ ที่มีความเข้ากันของพระนางเป็นตัวชูโรง จนสร้างความน่าสนใจในประวัติศาสตร์ไทยให้กับคนรุ่นใหม่ให้หันกลับมามองมากขึ้น"<ref name="sanook"/> ด้านงานออกแบบงานสร้าง ''[[มติชน]]'' วิจารณ์ว่า "อยู่ในมาตรฐานดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฉากที่นำเสนอฉากสมเด็จพระนารายณ์ทรงโน้มกายรับพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จาก[[เชอวาเลีย เดอ โชมองต์]] ราชทูตฝรั่งเศส ตามรอยภาพวาดโบราณซึ่งหลายคนคุ้นตาเป็นอย่างดี"<ref>[https://www.matichonweekly.com/column/article_93610 “บุพเพสันนิวาส” สายสัมพันธ์ระหว่าง “ทีวี” กับ “ภาพยนตร์”]</ref>
 
เนื่องจากเป็นละครที่มีฉากหลังอิงประวัติศาสตร์ จึงได้รับคำวิจารณ์เรื่องความสมจริง ลุพธ์ อุตมะ นักออกแบบเครื่องแต่งกาย วิจารณ์ว่า "เครื่องนุ่งห่มในเรื่องนี้ ในส่วนของชาวสยามมีการวิจัยและจัดทำได้สวยงามเหมาะสม แม้ว่าจะมีการใช้ผ้านุ่งจากประเทศราช และหัวเมืองทางเหนือมาใช้ร่วมด้วย เป็นการสื่อสารได้อย่างดีถึงความสัมพันธ์ของผู้คนและชาติพันธุ์ในสมัยนั้น ทว่าตัวละครที่ไม่ใช่คนสยามนั้นกลับพบว่ามีข้อบกพร่อง เรื่องการออกแบบ การตัดเย็บและการใช้ผ้าที่ถูกลักษณะ"<ref name="bbc">[http://www.bbc.com/thai/thailand-43312574 นักประวัติศาสตร์ติงชุดชาวต่างชาติในละครบุพเพสันนิวาสผิดยุคไปเกือบ 200 ปี] บีบีซีไทย</ref> โดยเขาชี้ข้อบกพร่อง อย่างเช่น คอนสแตนติน ฟอลคอน และมาเรีย กีมาร์ เนื่องจากรูปแบบหรือ แพทเทิร์นเป็นแบบสมัยใหม่และผิดสัดส่วนเป็นอย่างมาก กิจจา ลาโพธิ์ หัวหน้าฝ่ายออกแบบเครื่องแต่งกายในละคร ชี้แจงว่า เสื้อผ้าชาวต่างชาติในละครเป็นเรื่องที่ยากที่สุดเรื่องหนึ่ง การออกแบบพัฒนาขึ้นจากข้อมูลที่ค้นคว้า และพยายามที่จะทำให้ใกล้เคียงกับความเป็นข้อเท็จจริงมากที่สุด แต่ก็ได้เพิ่มรายละเอียดเพื่อความสวยงามและให้เหมาะสมกับตัวนักแสดง นอกจากนี้ทางสถานีที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ของตัวละครเอกให้ดูแตกต่างจากตัวละครตัวอื่น จึงเป็นเหตุให้ตัวละครเหล่านี้ฟันไม่ดำ<ref name="bbc"/>