ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันเข้าพรรษา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการก่อกวน 1 ครั้งของ 101.51.194.155 (พูดคุย) ไปยังรุ่นโดย 1.47.76.4.ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
'''วันเข้าพรรษา ''' ([[บาลี]]: วสฺส, [[สันสกฤต]]: วรฺษ, {{lang-en|Vassa}}, [[เขมร]]: វស្សា, [[พม่า]]: ဝါဆို) เป็น[[วันสำคัญในพุทธศาสนา]]วันหนึ่งที่[[พระสงฆ์]][[เถรวาท]]จะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือนตามที่[[พระธรรมวินัย]]บัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือภาษาปากว่า '''จำพรรษา''' ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง พระสงฆ์จะไม่จำพรรษาไม่ได้ เนื่องจากรูปใดไม่จำพรรษาถือว่าต้องอาบัติทุกกฏตามพระวินัย<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ 4 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1 '''วัสสูปนายิกขันธกะ'''. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=5450&Z=5501&pagebreak=0]. เข้าถึงเมื่อ 11-6-52</ref> การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือ[[วันออกพรรษา]]
 
วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางศาสนศาสนาพุทธที่สำคัญเทศกาลหนึ่งใน[[ประเทศไทย]] โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วง[[ฤดูฝน]] โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจาก[[วันอาสาฬหบูชา]] (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาว[[ไทย]]ทั้ง[[พระมหากษัตริย์]]และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่[[สมัยสุโขทัย]]
 
สาเหตุที่[[พระพุทธเจ้า]]ทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระ[[ธรรม]][[วินัย]]จากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย