ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอกซ์บอกซ์ (เครื่องเล่นวิดีโอเกม)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gm ant (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Gm ant (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 49:
 
เอกซ์บอกซ์ 360 สนับสนุนการเล่นวิดีโอเกมจากเอกซ์บอกซ์จำนวนหนึ่ง สำหรับผู้เล่นที่มีฮาร์ดไดรฟ์อย่างเป็นทางการของเอกซ์บอกซ์ 360 โดยรายชื่อเกมเอกซ์บอกซ์ที่เล่นได้บน 360 ถูกเพิ่มมาจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2550 โดยเซฟบนเครื่องเอกซ์บอกซ์ไม่สามารถย้ายมายังเอกซ์บอกซ์ 360 ได้ แม้ว่าบริการเอกซ์บอกซ์ ไลฟ์สำหรับเอกซ์บอกซ์สิ้นสุดเมื่อ 15 เมษายน 2552 แต่ทว่ายังสามารถใช้บริการออนไลน์ผ่านทั้งเอกซ์บอกซ์และเอกซ์บอกซ์ 360 ได้ผ่านชุดซอฟต์แวร์ [[XLink Kai]] นอกจากนี้ในงาน E3 2017 ได้มีการประกาศว่า[[เอกซ์บอกซ์วัน]] สนับสนุนการเล่นวิดีโอเกมจากเอกซ์บอกซ์จำนวนหนึ่งเช่นเดียวกัน
== ฮาร์ดแวร์ ==
* [[ซีพียู]]: [[เพนเทียม III]] 733 MHz ทำงานแบบ 32 บิต
* [[การ์ดแสดงผล]]: รหัส NV2A เป็นการ์ดแสดงผลรุ่นพิเศษสำหรับเอกซ์บ็อกซ์ พัฒนาโดยบริษัท [[nVidia]] โดดดัดแปลงจาก [[GeForce 3]]
* [[หน่วยความจำ]]: [[DDR SDRAM]] 64 MB
 
== ฮาร์ดแวร์ ==
เอกซ์บอกซ์เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมเครื่องแรกที่มีฮาร์ดดิสก์อยู่ภายในตัว สำหรับใช้เพื่อเก็บเซฟเกมและดาวน์โหลดเนื้อหาจากยริการเอกซ์บอกซ์ ไลฟ์ ซึ่งเป็นการทำลายระบบเมมโมรี่การ์ดที่เป็นที่นิยม ณ เวลานั้น (ก่อนหน้านี้ในเครื่องคอนโซลเก่า ๆ เช่นเครื่องอมิก้า ซีดี 32 ใช้การจัดเก็บบนหน่วความจำแฟลชที่ฝังอยู่ภายใน เครื่องอื่น ๆ เช่นเทอร์โบกราฟ-ซีดี เซก้า ซีดีและเซก้า แซทเทิร์น ใช้ระบบเก็บข้อมูลแบบใช้ไฟเลี้ยงจนถึงปี 2544) นอกจากนี้ผู้ใช้เอกซ์บอกซ์ยังสามารถทำการริบเพลงจากซีดีเพลงลงฮาร์ดดิสก์ได้และฮาร์ดดิสก์ยังใช้เป็นที่เก็บเพลงประกอบบางเพลงในบางเกม<ref>{{cite web |url = http://support.microsoft.com/kb/909942 |title = Xbox: Description of custom soundtracks |accessdate = January 13, 2008 |date = April 25, 2007 |publisher = Microsoft Knowledge Base}}</ref>
 
เอกซ์บอกซ์ยังเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเกมชิ้นแรกที่รองรับเทคโนโลยีการถอดรหัสเนื้อหาอินเตอร์แอคทีฟจากดอลบีโดยตรง ซึ่งอนุญาติให้มีการถอดรหัสแบบเรียลไทม์จากเสียงที่มาจากเครื่องเล่นวิดีโอเกม ซึ่งโดยปกติแล้วนั้นจะมีการถอดรหัสแบบดอลบี 5.1 เฉพาะในฉากคัตซีนที่เป็นแบบอัดวิดีโอไว้อยู่แล้วเท่านั้น<ref>{{cite press release |url=http://www.dolby.com/assets/pdf/press_releases/841_co.pr.0104.xbox.pdf |archiveurl=https://web.archive.org/web/20060219162524/http://www.dolby.com/assets/pdf/press_releases/841_co.pr.0104.xbox.pdf |archivedate=February 19, 2006 |title=The Xbox Video Game System from Microsoft to Feature Groundbreaking Dolby Interactive Content-Encoding Technology |date=April 18, 2001 |publisher=[[Dolby Laboratories]] |accessdate=July 3, 2008 |format=PDF}}</ref>
 
การที่เอกซ์บอกซ์มีพื้นฐานฮาร์ดแวร์มาจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่และหนักกว่าเครื่องเล่นวิดีโอเกมอื่น ๆ ในรุ่นเดียวกัน การที่เครื่องใหญ่อันเนื่องมาจากไดร์ฟซีดีและดีวีดีที่เทอะทะ ขนาดของฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาด 3.5 นิ้ว นอกจากนี้เอกซ์บอกซ์ยังเป็นผู้บุกเบิกในเรื่องของคุณสมบัติด้านความปลอดภัยเช่นการให้สายแยกของตัวบังคับออกจากเครื่องเมื่อถูกดึงอย่างแรงเพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องตกจากที่สูง
 
ในระหว่างการพัฒนาเอกซ์บอกซ์ ได้มีการปรับปรุงฮาร์ดแวร์ภายในหลายครั้งเพื่อป้องกันการแก้ไขชิพจากบุคคลภายนอก เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิตและเพื่อทำให้ไดร์ฟดีวีดีมีความไว้วางใจได้ (เนื่องจากในบางเครื่องที่ใช้ในการทดสอบพบว่าเกิดปัญหาอ่านแผ่นผิดพลาดระหว่างที่ใช้ไดร์ฟดีวีดีของ Thomson) แม้ในเครื่องที่ผลิตออกมาช่วงหลัง ๆ จะใช้ไดร์ฟดีวีดียี่ห้อ Thomson รุ่น TGM-600 และไดร์ฟดีวีดียี่ห้อ Philips รุ่น VAD6011 แต่ยังพบถึงปัญหาที่ไดร์ฟไม่สามารถที่จะอ่านแผ่นดีวีดีรุ่นใหม่ ๆ ได้และยังปรากฎรหัสซึ่งแสดงโค้ดโดยใช้ [[Programmed input/output|PIO]]/[[Direct memory access|DMA]] ในการระบุปัญหา โดยเครื่องที่พบปัญหาเหล่านี้ไม่สามารถรับสิทธิในการซ่อมหรือเปลี่ยนเครื่องจากการรับประกัน
 
ในปี 2545 ไมโครซอฟท์และ [[Nvidia]] เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการเกี่ยวกับข้อพิพาทเกี่ยวกับการกำหนดราคาชิพของ Nvidia สำหรับเอกซ์บอกซ์<ref name="eetimes-chip-dispute">{{cite web|url=http://www.eetimes.com/electronics-news/4094562/Microsoft-takes-Nvidia-to-arbitration-over-pricing-of-Xbox-processors|title= Microsoft takes Nvidia to arbitration over pricing of Xbox processors|accessdate=June 29, 2006|date=April 29, 2002|publisher=[[EE Times]]}}</ref> ไมโครซอฟท์ยื่นฟ้องต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา โดยระบุว่าไมโครซอฟท์ต้องการส่วนลด 13 ล้านเหรียญสำหรับการจัดส่งชิบในปีงบประมาณ 2545 ของ Nvidia ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดข้อตกลงที่บริษัททั้งสองได้ทำขึ้น นอกจากนี้ยังมีคำร้องว่าต้องการให้มั่นใจอีกว่าชิปที่ผลิตออกมาในอนาคตจะได้รับการลดราคาตามข้อตกลงที่ทำก่อนหน้าและ Nvidia จะผลิตอย่างเต็มที่ตามคำสั่งซื้อจากไมโครซอฟท์โดยไม่มีข้อจำกัดทางปริมาณการผลิต เรื่องนี้ได้รับการตัดสินเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 โดยไมโครซอฟท์โดยทั้งสองฝ่ายต่างทำข้อตกลงกันใหม่<ref>{{cite web|url=http://www.eetimes.com/electronics-news/4090108/Microsoft-and-Nvidia-settle-Xbox-chip-pricing-dispute|title=Microsoft and Nvidia settle Xbox chip pricing dispute|accessdate=June 29, 2006|date=February 6, 2003|publisher=[[EE Times]]}}</ref>
 
ในการเชื่อต่อกับทีวีนั้นเอกซ์บอกซ์มีการให้ AV มาภายในกล่องเพื่อเชื่อมต่อ สัญญาณวีดิทัศน์คอมโพสิตและระบบเสียงทั้งแบบโมโนและสเตริโอสู่ทีวีที่ใช้ขั้วต่อแบบ RCA ในการรับข้อมูล เครื่องที่จัดจำหน่ายในทีวปยุโรปนั้นมีการแถมตัวแปลงจาก RCA สู่พอร์ต SCART เช่นเดียวกับสาย AV มาตรฐาน
 
การ์ดหน่วยความจำแบบถอดได้ขนาด 8 MB สามารถใช้เสียบเข้ากับตัวบังคับ เพื่อใช้สำหรับการนำเซฟเกมไปใช้กับเครื่องเล่นอื่น ซึ่งสามารถคัดลอกจากฮาร์ดดิสก์ของเอกซ์บอกซ์ได้ผ่านหน้าต่างตัวจัดการเซฟของเอกซ์บอกหรือทำการเซฟระหว่างเล่นเกม โดยเซฟส่วนมากของเกมบนเอกซ์บอกซ์สามารถโอนถ่ายลงสู่การ์ดและเล่นบนเครื่องเอกซ์บอกซ์อื่นได้ แต่ทว่าเซฟเอกซ์บอกซ์บางเซฟติดลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกข้อมูลบัญชีของเอกซ์บอกซ์ ไลฟ์เพื่อนำไปใช้กับเครื่องอื่นได้อีกด้วย
===รายละเอียดทางเทคนิค===
เอกซ์บอกซ์ใช้หน่วยประมวลผลกลางคือ ซีพียู เพนเทียม III แบบปรับแต่ง ความเร็ว 733 เมกะเฮิร์ตซ์ แบบ 32 บิต โดยความเร็วฟรอนต์ไซด์บัสแบบ GTL+อยู่ที่ 133 เมกะเฮิร์ตซ์แบบ 64 บิตมีแบนด์วิดท์ที่ 1.06 กิกะไบต์ต่อวินาที แรมของเครื่องเป็นดีดีอาร์ เอสดีแรม มีขนาด 64 เมกะไบต์ โดยเป็นแบบใช่ร่วมกันทั้งระบบ มีแบนด์วิดท์รวมกัน 6.4 กิกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งแบ่งใช้เป็น 1.06 กิกะไบต์ต่อวินาทีสำหรับซีพียู ส่วนที่เหลือ 5.34 กิกะไบต์ต่อวินาทีแบ่งใช้ทั้งระบบ<ref name="anandtech">{{cite web|url=http://www.anandtech.com/show/853/2 |title=Anandtech Microsoft's Xbox |publisher=Anandtech.com |date= |accessdate=November 11, 2010}}</ref>
 
สำหรับหน่วยประมวลผลทางกราฟิกนั้นได้แก่ Nvidia NV2A ความเร็ว 233 เมกะเฮิร์ตซ์ ซึ่งมีความสามารถในการประมวลผลจำนวนจุดลอยตัวที่ 7.3 กิกะฟล็อป มีความสามารถในการคำนวณทางเรขาคณิตได้สูงสุด 115 ล้านจุดต่อวินาที มีอัตราการแสดงภาพสูงสุดที่ 932 ล้านพิกเซลต่อวินาที มีความสามารถในการแสดงผลในทางทฤษฎีที่ 29 ล้านพิกเซล 32-pixel triangles ต่อวินาที แต่ด้วยข้อจำกัดของแบนด์วิธ ทำให้จะมีอัตราการแสดงผลจริงอยู่ที่ระหว่าง 250-700 ล้านพิกเซลต่อวินาทีพร้อมทั้งคุณสมบัติในการ กำหนดตำแหน่งในแกนที่ 3 การเพิ่มการรับรู้ของระยะทางโดยการแรเงาวัตถุที่ห่างไกลแตกต่างกัน
การเพิ่มผลจากสิ่งพิเศษหรือปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปลงในรูป และวางรูปพื้นผิวแบบต่าง ๆ ลงบนโครงที่ได้ออกแบบมาก่อนหน้า<ref>[https://web.archive.org/web/20010331050522/http://cube.ign.com/news/32458.html Graphics Processor Specifications], [[IGN]], 2001</ref>
 
===ตัวควบคุม===
ตัวควบคุมของเอกซ์บอกซ์ประกอบไปด้วยอนาล็อก 2 ชิ้น แผ่นควบคุมทิศทางแบบกดแรงดัน อะนาล็อกทริกเกอร์สองปุ่ม ปุ่มย้อนกลับ ปุ่มเริ่ม ช่องเสียบอุปกรณ์เสริมสองปุ่มและปุ่มแอ็คชันแบบ 8 บิต (ได้แก่ปุ่ม A/สีเขียว ปุ่ม B/สีแดง ปุ่ม X/สีน้ำเงิน ปุ่ม Y/สีเหลือง ปุ่มสีขาวและดำ)<ref>{{cite web| url = http://euc.jp/periphs/xbox-controller.en.html |title = Inside Xbox 360 Controller}}</ref> โดยตัวควบคุมแบบมาตรฐาน (มีชื่อเล่นจากขนาดว่า "Fatty"<ref name="nickname">{{cite web|title=Xbox 360 Wireless Controller Tour |url=http://gear.ign.com/articles/613/613588p1.html |publisher=IGN |accessdate=July 2, 2011 |date=May 13, 2005 |quote=the original "Fatty" Xbox controller didn't have a specific public name}}</ref> อีกชื่อคือ "Duke"<ref name="nickname2">{{cite web |title=Xbox's original beast of a controller making a comeback? |url=http://news.cnet.com/8301-17938_105-20071383-1/xboxs-original-beast-of-a-controller-making-a-comeback/ |publisher=CNET |accessdate=October 16, 2011 |date=June 15, 2005 |quote=Anyone who purchased the original Xbox during its launch window quickly came to know its behemoth of a controller, now nicknamed "Duke."}}</ref>) เป็นตัวควบคุมที่มีมาภายในกล่องมาสำหรับเอกซ์บอกซ์ทุกเครื่อง ยกเว้นที่จัดจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น ตัวควบคุมได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับตัวควบคุมเกมวิดีโอเกมอื่น ๆ ในตลาด ทำให้ตัวควบคุมนี้ได้รับรางวัล "ความผิดพลาดแห่งปี" จากนิตยสาร [[Game Informer]]ในปี 2544<ref>Games of 2001. ''[[Game Informer]]'' (January 2002, pg. 48).</ref> นอกจากนี้หนังสือบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ยังบันทึกว่าเป็นตัวควบคุมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ฉบับเกมเมอร์เมื่อปี 2551 และถูกจัดให้เป็นตัวควบคุมที่แย่ที่สุดจากการจัดอันดับของ [[IGN]]<ref>{{cite web |title=Top 10 Tuesday: Worst Game Controllers |url=http://xbox360.ign.com/articles/690/690449p1.html |publisher=IGN |accessdate=August 7, 2009 |date=February 21, 2006}}</ref>
 
ตัว "Controller S" (มีชื่อเรียกระหว่างการพัฒนาว่า "Akebono") เป็นตัวควบคุมที่เล็กและเบากว่านั้น แต่เดิมเป็นตัวบังคับแบบมาตรฐานที่แถมไปในชุดจัดจำหน่ายของเอกซ์บอกซ์ในประเทศญี่ปุ่น<ref>Ninja Beach Party. ''[[Official Xbox Magazine]]'' (October 2002, issue 11, pg. 44).</ref> ถูกออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ที่มีมือขนาดเล็ก<ref>{{cite web|author=Christopher Buecheler chrisb@gamespy.com |url=http://archive.gamespy.com/hardware/march02/xboxcontrollers/ |title=GameSpy.com - Hardware: Xbox Controller S |publisher=Web.archive.org |date=June 24, 2008 |accessdate=November 11, 2010 |archiveurl = https://web.archive.org/web/20080624085615/http://archive.gamespy.com/hardware/march02/xboxcontrollers/ |archivedate = June 24, 2008}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.gamer20.com/features/150/4 |title=Xbox Retrospective: All-Time Top Xbox News |publisher=Gamer 2.0 |accessdate=November 11, 2010 |deadurl=yes |archiveurl=https://web.archive.org/web/20100503155438/http://www.gamer20.com/features/150/4 |archivedate=May 3, 2010 }}</ref> โดยตัวควบคุม "Controller S" นั้นวางจำหน่ายในประเทศอื่น ๆ หลังจากความต้องการที่มีอย่างมากและในปี 2545 ก็ได้กลายเป็นตัวบังคับแบบมาตรฐานที่แถมไปในชุดจัดจำหน่ายของเอกซ์บอกซ์ทั่วโลก โดยที่ตัวบังคับเดิมที่มีขนาดใหญ่ยังมีวางจำหน่ายในรูปแบบอุปกรณ์เสริม
 
==ซอฟท์แวร์==
 
===ระบบปฏิบัติการ===
เอกซ์บอกซ์ใช้ระบบปฏิบัติการเฉพาะที่ปรับปรุงมาจาก[[เคอร์เนล]]ของวินโดวส์ โดย[[ส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์]]มีลักษณะคล้ายกับที่พบ [[ไมโครซอฟท์ วินโดวส์]]เช่น[[ไดเรกเอกซ์]] 8.1 โดยซอฟท์แวร์นั้นมีพื้นฐานมาจากเคอร์เนลของวินโดวส์ เอ็นที แต่ปรับแต่งล็อกไฟล์<ref>{{cite web|url=http://blogs.msdn.com/xboxteam/archive/2006/02/17/534421.aspx|title=The Xbox Operating System|work=Xbox Team Blog|accessdate=July 3, 2008}}</ref>
 
[[ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้]]ของเอกซ์บอกซ์นั้นเรียกว่าเอกซ์บอกซ์ แดชบอร์ดซึ่งประกอบไปด้วย ซอฟต์แวร์เล่นสื่อที่สามารถเล่นซีดีเพลง ริบซีดีสู่ฮาร์ดดิสก์ในเอกซ์บอกซ์และเล่นเพลงในฮาร์ดดิสก์ที่ริบจากซีดี นอกจากนี้ยังให้ผู้ใช้จัดการเซฟเกม เพลงและเนื้อหาดาวน์โหลดจากบริการเอกซ์บอกซ์ ไลฟ์ ให้ผู้ใช้ลงชื่อเข้าใช้และจัดการบัญชีของพวกเขา แดชบอร์ดนั้นสามารถใช้ได้เฉพาะระหว่างที่ผู้ใช้ไม่ได้เล่นเกมหรือภาพยนตร์เท่านั้น โดยสีของแดชบอร์ดมีสีเขียวและดำซึ่งเป็นสีเดียวกับบนตัวเครื่องเอกซ์บอกซ์ ตอนที่เอกซ์บอกซ์วางจำหน่ายในปี 2544 เอกซ์บอกซ์ ไลฟ์ยังไม่เปิดให้บริการ ทำให้คุณสใบัติในส่วนออนไลน์ยังไม่สามารถใช้ได้
 
เอกซ์บอกซ์ ไลฟ์เปิดให้บริการในปี 2545 แต่ในการที่จะเข้าถึงบริการได้นั้น ผู้ใช้ต้องทำการซื้อชุดเริ่มต้นสำหรับเอกซ์บอกซ์ ไลฟ์ ซึ่งประกอบไปด้วยชุดหูฟัง และบัตรสมัครสมาชิกเพิ่มเติม. ระหว่างที่เอกซ์บอกซ์ยังคงได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์ เอกซ์บอกซ์ แดชบอร์ดได้รับการอัปเดตผ่านเอกซ์บอกซ์ ไลฟ์หลายครั้งเพื่อลดการโกงและเพิ่มคุณสมบัติ
== ดูเพิ่ม ==
* [[เอกซ์บอกซ์ 360]]