ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษารัสเซีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
{{ข้อความแก้กำกวม|รัสเซีย|รัสเซีย (แก้ความกำกวม)}}
gg5555
{{รอการตรวจสอบ}}
{{กล่องข้อมูล ภาษา
| name = ภาษารัสเซีย
| nativename = русский язык
| pronunciation = [ˈruskʲɪj jɪˈzɨk] ''รุสกีย์ ยิซึก''
| states = [[ประเทศรัสเซีย|รัสเซีย]] และอดีตประเทศใน [[สหภาพโซเวียต]]
| region = [[ยุโรปตะวันออก]] [[เอเชีย]]
| speakers = 145 ล้าน ใช้เป็นภาษาที่สอง 110 ล้าน
| script = [[อักษรซีริลลิก]]
| rank = 8
| familycolor = Indo-European
| fam2 = [[กลุ่มภาษาบอลโต-สลาวิก|บอลโต-สลาวิก]]
| fam3 = [[ภาษากลุ่มสลาวิก|สลาวิก]]
| fam4 = [[ภาษากลุ่มสลาวิกตะวันออก|สลาวิกตะวันออก]]
| nation = [[สหพันธรัฐรัสเซีย|รัสเซีย]] [[สาธารณรัฐเบลารุส|เบลารุส]] [[สาธารณรัฐคาซัคสถาน|คาซัคสถาน]] [[ประเทศคีร์กีซสถาน|คีร์กีซสถาน]] [[สหประชาชาติ]] [[ไครเมีย]] (ใน[[ประเทศยูเครน|ยูเครน]])
| agency = [[สถาบันวิทยาศาสตร์รัสเซีย]]
| iso1 = ru|iso2=rus|iso3=rus|map=[[ไฟล์:RussianLanguageMap.png|center|250px]] <center><small>ประเทศที่พูดภาษารัสเซีย</center></small>}}
 
'''ภาษารัสเซีย''' (русский язык) เป็น[[ภาษากลุ่มสลาวิก]]ที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด
เส้น 28 ⟶ 45:
เมื่อประมาณ พ.ศ. 1543 กลุ่มชนส่วนใหญ่ในบริเวณที่เป็นประเทศรัสเซีย [[ยูเครน]] และ[[ประเทศเบลารุส|ไบโลรัสเซีย]]เป็นชาวสลาฟกลุ่มตะวันออกที่พูดภาษาใกล้เคียงกัน การรวมตัวทางการเมืองบริเวณนี้เป็นเคียวาน รุสเมื่อ พ.ศ. 1423 ทำให้เกิด[[ภาษาสลาฟตะวันออกโบราณ]]ที่กลายเป็นภาษาทางวรรณคดีและการค้า ตามมาด้วยการรับอิทธิพลของ[[ศาสนาคริสต์]]เมื่อ พ.ศ. 1531 และการเข้ามาของภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณที่เป็นภาษากลุ่มสลาฟใต้ และเป็นภาษาราชการและภาษาทางศาสนาในยุคนั้น เริ่มมีการยืมคำจาก[[ภาษากรีก]]ยุคไบแซนไทน์ ทำให้ภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณเริ่มถูกเปลี่ยนแปลง
 
เมื่อเคียวาน รุสแตกสลายเมื่อราว พ.ศ. 1643 จึงมีการพัฒนาสำเนียงที่แตกต่างกัน ความแตกต่างอย่างชัดเจนเกิดขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 18 เมื่อมีการตั้งเขตของดยุกแห่งลิธัวเนีย ทางตะวันตกและดินแดนอิสระของสาธารณรัฐฟิวดัลโนฟโกรอดและดินแดนของตาตาร์ทางตะวันออก ภาษาราชการในโนฟโกรอด มอสโก และตาตาร์เป็น[[ภาษาสลาโวนิกคริสตจักร]] ที่พัฒนามาจากภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณ ภาษารัสเซียได้รับอิทธิพลจากภาษาสลาโวนิกคริสตจักรจนถึงพุทธศตวรรษที่ 22 มีการจัดมาตรฐานโดยเมเลเตียส สโมเตรียสกีเมื่อ พ.ศ. 2163 และมีการปรับตัวอักษรในพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ได้รับอิทธิพลด้านคำศัพท์จากยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะภาษาฝรั่งเศสกับภาษาเยอรมัน
ภาษารัสเซียสมัยใหม่มีการปรับเปลี่ยนอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2461 อิทธิพลในยุคของสหภาพโซเวียตทำให้ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีผู้ใช้แพร่หลายมากภาษาหนึ่ง
 
== ภาษาลูกหลาน ==
 
ภาษาที่มีพัฒนาการไปจากภาษารัสเซียได้แก่
* [[ภาษาเฟนยา]] ไวยากรณ์มีจุดกำเนิดเดียวกับภาษารัสเซียแต่ใช้คำศัพท์ต่างไป
* [[ภาษาซุรเซียก]] เป็นภาษาที่มีลักษณะของภาษารัสเซียและภาษายูเครน ใช้พูดในบางบริเวณของประเทศยูเครน
* [[ภาษาทราเซียนกา]] เป็นภาษาที่มีลักษณะของภาษารัสเซียและภาษาไบโลรัสเซีย ใช้พูดในเบลารุส
* สำเนียงบาลัชกา ใช้พูดโดยชาวคอสซักก์ในบริเวณดอน คูบันและเตเรก
* [[ภาษากวูเอเลีย]] เป็นภาษาผสมระหว่างภาษารัสเซียกับภาษาเยอรมัน
* ภาษารุสเซนอร์ส เป็นภาษาผสมที่ตายแล้วใช้คำศัพท์จากภาษารัสเซียและไวยากรณ์ของ[[ภาษานอร์เวย์]] ใช้ในการติดต่อทางการค้าระหว่างชาวรัสเซียและนอร์เวย์ในอดีต
* [[ภาษารุงลิซ]] เป็นภาษาผสมระหว่างภาษารัสเซียกับ[[ภาษาอังกฤษ]] ใช้เรียกการพูดภาษาอังกฤษของชาวรัสเซียที่ใช้ลักษณะและการเรียงประโยคแบบภาษารัสเซีย
* ภาษานักซัต เป็นภาษาในนิยายพูดโดย “A Clockwork Orange” ใช้คำและคำแสลงจากภาษารัสเซียมาก
 
== ระบบการเขียน ==
 
เมเลเตียส สโมเตรียสกี นำอักษรซีริลลิกมาใช้เขียนภาษารัสเซียเมื่อราว พ.ศ. 2162 ใช้ตัวอักษร 33 ตัว มีการปรับปรุงตัวสะกดในภาษารัสเซียหลายครั้ง เช่นเมื่อ พ.ศ. 2423, 2461, และครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2533
อักษรที่ใช้เขียนภาษารัสเซียเรียกว่า[[อักษรซีริลลิก]] มีอยู่ทั้งหมด 33 ตัวด้วยกัน ดังต่อไปนี้
 
<div style="text-align: center;">Аа Бб Вв Гг Дд Ее Ёё Жж Зз Ии Йй
Кк Лл Мм Нн Оо Пп Рр Сс Тт Уу Фф
Хх Цц Чч Шш Щщ Ъъ Ыы Ьь Ээ Юю Яя</div>
 
ในภาษาอื่นที่ใช้[[อักษรซีริลลิก]] เช่น [[ภาษายูเครน]] [[ภาษามองโกเลีย]] ฯลฯ จะมีอักขระพิเศษเพิ่มขึ้นมาตามแต่ละภาษา<br />ใน[[ประเทศรัสเซีย]] [[อักษรซีริลลิก]]นอกจากจะใช้เขียนภาษารัสเซีย ปัจจุบันยังใช้เขียนภาษาของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในประเทศด้วย
== ระบบเสียง ==
=== เสียงพยัญชนะ ===
{| border="2" cellpadding="5" style="margin: 1em 1em 1em 0; line-height: 1.2em; border-collapse: collapse; text-align: center; font-family: Lucida Sans Unicode, Lucida Grande; font-size: 100%; background: #f9f9f9; border: 1px #aaa solid;"
|- style="font-size: 90%;"
| colspan = 2|&nbsp;
! [[ริมฝีปาก]]
! [[ริมฝีปากกับฟัน]]
! [[ฟัน]] & <br /> [[ปุ่มเหงือก]]
! [[หลังปุ่มเหงือก]]
! [[เพดานแข็ง]]
! [[เพดานอ่อน]]
|-
! rowspan=2 style="font-size: 90%; text-align: left;"|[[นาสิก]]
| style = "font-size: 80%;" |หนัก
| {{IPA|/m/}} ม
| &nbsp;
| {{IPA|/n/}} น
| &nbsp;
| &nbsp;
| &nbsp;
|-
| style = "font-size: 80%;" |เบา
|{{IPA|/mʲ/}} มฺย
| &nbsp;
| {{IPA|/nʲ/}} นฺย
| &nbsp;
| &nbsp;
| &nbsp;
|-
! rowspan=2 style="font-size: 90%; text-align: left;" | [[กัก]]
| style = "font-size: 80%;" | หนัก
| {{IPA|/p/}} &nbsp; {{IPA|/b/}} ป บ
| &nbsp;
| {{IPA|/t/}} &nbsp; {{IPA|/d/}} ต ด
| &nbsp;
| &nbsp;
| {{IPA|/k/}} &nbsp; {{IPA|/g/}} ก กฺง
|-
| style = "font-size: 80%;" | เบา
| {{IPA|/pʲ/}} &nbsp; {{IPA|/bʲ/}} ปฺย บฺย
| &nbsp;
| {{IPA|/tʲ/}} &nbsp; {{IPA|/dʲ/}} ตฺย ดฺย
| &nbsp;
| &nbsp;
| {{IPA|/kʲ/*}} &nbsp; {{IPA|[gʲ]}} กฺย งฺย
|-
! rowspan=2 style="font-size: 90%; text-align: left;" | [[Affricate consonant|Affricate]]
| style = "font-size: 80%;" |หนัก
| &nbsp;
| &nbsp;
|{{IPA|/t͡s/}}&nbsp;&nbsp;&nbsp; จ(ตฺซ)
| &nbsp;&nbsp;&nbsp;
| &nbsp;
| &nbsp;
|-
| style = "font-size: 80%;" |เบา
| &nbsp;
| &nbsp;
| &nbsp;&nbsp;&nbsp;
|{{IPA|/t͡ɕ/}}&nbsp;&nbsp;&nbsp; จ
| &nbsp;
| &nbsp;
|-
! rowspan=2 style="font-size: 90%; text-align: left;" | [[เสียดแทรก]]
| style = "font-size: 80%;" |หนัก
| &nbsp;
| {{IPA|/f/}} &nbsp; {{IPA|/v/}} ฟฺว
| {{IPA|/s/}} &nbsp; {{IPA|/z/}} ซ
| {{IPA|/ʂ/}} &nbsp; {{IPA|/ʐ/}} ซ(ม้วนลิ้น)
| &nbsp;
| {{IPA|/x/}} &nbsp;&nbsp; &nbsp; ฮฺค
|-
| style = "font-size: 80%;" |เบา
| &nbsp;
| {{IPA|/fʲ/}} &nbsp; {{IPA|/vʲ/}} ฟฺย วฺย
| {{IPA|/sʲ/}} &nbsp; {{IPA|/zʲ/}} ซฺย -
| {{IPA|/ɕː/}}* &nbsp; {{IPA|/ʑː/}}* ศ -
| &nbsp;
| {{IPA|[xʲ]}} &nbsp;&nbsp; &nbsp; ฮฺย
|-
! rowspan=2 style="font-size: 90%; text-align: left;" | [[รัวลิ้น]]
| style = "font-size: 80%;" |หนัก
| &nbsp;
| &nbsp;
| {{IPA|/r/}} ร
| &nbsp;
| &nbsp;
| &nbsp;
|-
| style = "font-size: 80%;" |เบา
| &nbsp;
| &nbsp;
| {{IPA|/rʲ/}} รฺย
| &nbsp;
| &nbsp;
| &nbsp;
|-
 
! rowspan=2 style="font-size: 90%; text-align: left;" | [[เปิดข้างลิ้น]]
| style = "font-size: 80%;" |หนัก
| &nbsp;
| &nbsp;
| {{IPA|/l/}} ล
| &nbsp;
| &nbsp;
| &nbsp;
|-
| style = "font-size: 80%;" | เบา
| &nbsp;
| &nbsp;
| {{IPA|/lʲ/}} ลฺย
| &nbsp;
| {{IPA|/j/}} ย
| &nbsp;
|}
 
== ไวยากรณ์ ==
ภาษารัสเซียมีลักษณะคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน คือมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อแสดงเพศ พจน์ กาล การก แม้ว่าในหลายภาษาในตระกูลเดียวกันกฎเกณฑ์เหล่านี้ได้หายไปบ้าง แต่ในภาษารัสเซียรวมทั้งภาษาสลาวิกอื่น ๆ ยังคงมีกฎเหล่านี้อยู่ มีการเปลี่ยนรูปคำมาก การเรียงประโยคเป็นการผสมอิทธิพลระหว่างภาษาสลาโวนิกคริสตจักรกับภาษาในยุโรปตะวันตก
 
{| class="wikitable"
| infinitive || работа'''ть''' ทำงาน ||
|-
| || รูปปัจจุบัน ||รูปอดีต
|-
| Я (สรรพนามบุรุษที่ 1 เอกพจน์) || работа'''ю''' || ช работа'''л''' ญ работа'''ла'''
|-
| Ты (สรรพนามบุรุษที่ 2 เอกพจน์) || работа'''ешь''' || ช работа'''л''' ญ работа'''ла'''
|-
| Он (สรรพนามเพศชายบุรุษที่ 3 เอกพจน์) || работа'''ет''' || работа'''л'''
|-
| Она (สรรพนามเพศหญิงบุรุษที่ 3 เอกพจน์) || работа'''ет''' || работа'''ла'''
|-
|Оно (สรรพนามเพศกลางบุรุษที่ 3 เอกพจน์)
|работа'''ет'''
|работа'''ло'''
|-
| Мы (สรรพนามบุรุษที่ 1 พหูพจน์) || работа'''ем''' || работа'''ли'''
|-
| Вы (สรรพนามบุรุษที่ 2 พหูพจน์) || работа'''ете''' || работа'''ли'''
|-
| Они (สรรพนามบุรุษที่ 3 พหูพจน์) || работа'''ют''' || работа'''ли'''
|-
|}
นอกจากนี้แล้ว กริยาภาษารัสเซีย ยังมีรูปสมบูรณ์ และ ไม่สมบูรณ์ โดยกริยาสมบูรณ์เน้นที่ผลของการกระทำกริยาตัวนั้นๆ ได้แก่ прочитать หมายถึง อ่าน (จบแล้ว)
 
''ประโยคตัวอย่าง''
 
Я прочитал эту книгу. (ฉันอ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว)
 
ส่วนกริยาไม่สมบูรณ์เน้นที่ขั้นตอนของการกระทำกริยาตัวนั้นๆ ได้แก่ читать หมายถึง อ่าน
 
''ประโยคตัวอย่าง''
 
Я читаю эту книгу. ฉันกำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่ (เริ่มอ่านแล้ว และ ยังอ่านไม่จบเล่ม)
 
 
อนึ่ง กาลของกริยาสมบูรณ์มีเพียง 2 กาล คือ อดีต และ อนาคต ต่างจากกริยาไม่สมบูรณ์ ที่มี อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต (กาลอนาคตใช้ กริยา быть มาขยายข้างหน้ากริยารูป infinitive โดยผันกริยา быть ตามประธาน กาลปัจจุบัน (เช่น Я '''буду''', ты '''будешь'''...они '''будут''')
 
== การก ==
ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการผันคำนามและคุณศัพท์ตาม[[การก]]หรือหน้าที่ของคำในประโยคนั้นๆ ภาษารัสเซียมีหกการก ดังนี้
* กรรตุการก (Именительный падеж: Nominative case)ใช้เป็นประธาน หรือผู้กระทำ
* สัมพันธการก (Родительный падеж: Genitive case)ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนหรือสิ่งของกับคน
* สัมปทานการก (Дательный падеж: Dative case)ใช้เป็นกรรมรอง เช่นได้รับของ ได้รับความช่วยเหลือ ได้รับคำแนะนำ
* กรรมการก (Винительный падеж: Accusative case)ใช้เป็นกรรมตรง หรือผู้ถูกกระทำ
* กรณการก (Творительный падеж: Instrumental case)ใช้เป็นตัวช่วย เป็นเครื่องมือ
* อธิกรณการก (Предложный падеж: Prepositional case)ใช้แสดงตำแหน่ง หรือสถานที่
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [https://sites.google.com/site/thaidictproject/#dict_rus Thai-Russian dictionary for Stardict พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย-รัสเซีย ]
 
{{วิกิภาษาอื่น|ru}}
 
{{ภาษาราชการในสหประชาชาติ}}
 
[[หมวดหมู่:ภาษารัสเซีย| ]]