ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลียงผา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 22:
[[ไฟล์:Serow in the zoo.jpg|thumb]]
[[ไฟล์:Male and female have horn.jpg|thumb]]
'''เลียงผา''' หรือ '''เยียงผา''' หรือ '''โครำ''' ({{lang-en|Serows}}; [[ภาษาอีสาน|อีสาน]]: เยือง) เป็น[[genus|สกุล]]ของ[[สัตว์กีบคู่]]สกุลหนึ่ง ในวงศ์ [[Bovidae]] วงศ์ย่อย [[Caprinae]] คือ วงศ์เดียวกับ[[แพะ]]และ[[แกะ]] ใช้[[ชื่อวิทยาศาสตร์]]ว่า ''Capricornis'' (/แคป/-ปริ-คอร์-นิส/)
 
==ศัพทมูลวิทยา==
โดยคำว่า ''Capricornis'' นั้นมาจาก[[ภาษาลาติน]]คำว่า "Caprea" แปลว่า "แพะ" และคำว่า "cornis" (κορνης) เป็น[[ภาษากรีก]] แปลว่า "[[เขาสัตว์|เขา]]" รวมความหมายได้ว่า "สัตว์ที่มีเขาอย่างแพะ" ในขณะที่[[ชื่อสามัญ]]มาจากคำว่า "Saro" ใน[[ภาษาเลปชา]] ของ[[ชาวเลปชา]] ใน[[รัฐสิกขิม]] ส่วนชื่อสามัญใน[[ภาษาไทย]][[สันนิษฐาน]]ว่ามาจาก คำว่า "เยียง" แปลว่า "แพะ" เป็นคำที่ยืมมาจาก[[ภาษาจีน]] ใน[[ภาษาแต้จิ๋ว]]ออกเสียงคำนี้ว่า "เอี๊ยง" (羊) ส่วนภาษาจีนสมัยกลางในยุค[[ราชวงศ์ถัง]]และ[[ภาษาจีนกลาง]]รุ่นแรกในสมัย[[ราชวงศ์หยวน]]มีหลักฐานว่าออกเสียงเป็น "เยียง"<ref>[http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=3950 เลียงผา จาก[[ราชบัณฑิตยสถาน]]]</ref>
 
==ลักษณะ==
 
เลียงผามีลักษณะคล้ายกับ[[สกุลกวางผา|กวางผา]] ซึ่งเดิมก็เคยถูกจัดให้อยู่สกุลเดียวกันมา (ซึ่งบางข้อมูลยังจัดให้อยู่สกุลเดียวกัน<ref>{{ITIS|id=624984|taxon=''Capricornis''|accessdate=August 8, 2016}}</ref>) แต่เลียงผามีขนาดใหญ่กว่า มีลักษณะคล้ายแพะแต่มีรูปหน้ายาวกว่า มีลำตัวสั้นแต่ขายาว [[ตัวเมีย]]มีขนาดเล็กกว่า[[ตัวผู้]] มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขางอกยาวต่อเนื่องทุกปี ลักษณะของ[[กะโหลก]]เมื่อเปรียบเทียบกับกวางผาที่มีกะโหลกโค้งเว้าแล้ว เลียงผามีกะโหลกแบน ขนตามลำตัวจะแปรเปลี่ยนไปตามอายุ, สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และชนิดพันธุ์ มีขนหยาบและไม่เป็น 2 ชั้นเหมือนกวางผา ใต้ตามีต่อมน้ำมันใช้สำหรับถูตาม[[ต้นไม้]]หรือ[[หิน|โขดหิน]]เพื่อประกาศอาณาเขต พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่[[เอเชียใต้]], [[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]], [[อินโดนีเซีย]] จนถึง[[เอเชียตะวันออก]] เช่น [[จีน]], [[เกาะไต้หวัน|ไต้หวัน]], [[ญี่ปุ่น]] โดยมักอยู่ตาม[[หน้าผา]]หรือ[[ภูเขา]]สูง หรือตาม[[เกาะ]]ต่าง ๆ กลาง[[ทะเล]]<ref name="dnp">[http://www.dnp.go.th/wildlifednp/index.php?option=com_content&view=article&id=169:2011-07-25-04-24-14&catid=36:2010-11-29-10-17-46&Itemid=48 สัตว์ป่าน่ารู้ เลียงผา]</ref> มีความสามารถในการปีนป่ายที่สูงชันได้อย่างคล่องแคล่ว โดยสามารถทำความเร็วในการขึ้นที่สูงได้ถึง 1,000 เมตร ด้วยเวลาเพียง 15 นาที<ref>หน้า 19 สังคม/มวย/ฟุตบอลต่างประเทศ/สกู๊ป, ''คนขี่เสือ'' โดย พันโชค ธัญญเจริญ. '''คมชัดลึก''' ปีที่ 14 ฉบับที่ 4796: วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557</ref>
 
เลียงผา ถือเป็นสัตว์ที่มีความเก่าแก่ที่สุดในวงศ์ย่อยนี้ โดยปรากฏมาตั้งแต่ยุค[[Pliocene|ไพลโอซีน]]ราว 2-7 ล้านปีมาแล้ว <ref>[http://www.dnp.go.th/wildlifednp/index.php?option=com_content&view=article&id=169:2011-07-25-04-24-14&catid=36:2010-11-29-10-17-46&Itemid=48 Mammal species of the world : a taxonomic and geographic reference {{en}}]</ref>
 
==ปัจจัยคุกคาม==
นอกจากการที่ป่าไม้อันเป็นที่พำนักถูกทำลายแล้ว เลียงผายังถูกไล่ล่าเพราะถูกเชื่อว่าเป็นสัตว์ที่ใช้น้ำมันในการรักษาบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บจากการพลัดตกเขาหรือบาดแผลจากการถูกยิงหรือสมานกระดูกที่หักได้ ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ดังนั้นจึงมีการล่าเพื่อเอาน้ำมันเลียงผาใช้ในการรักษาบาดแผลและสมานกระดูก ทำให้ในอดีตเลียงผาถูกล่าเป็นจำนวนมาก เลียงผาแต่ละตัวสามารถสร้างเงินรายได้ให้ผู้ประกอบการขายน้ำมันเลียงผาได้อย่างมหาศาล ด้วยกระบวนการนำหัวและกระดูกของเลียงผาไปต้มกับน้ำมันมะพร้าวแล้วใส่ขวดขนาด 100-150 ซีซี ขายกันในราคาขวดละ 10 บาท รายได้จึงขึ้นอยู่กับปริมาตรน้ำมันมะพร้าวที่ใส่ลงไป นอกจากการล่าแล้วการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยและการบุกรุกป่าเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตร ทำให้หลายพื้นที่ในปัจจุบันเลียงผาถูกไล่ต้อนให้อยู่ตามภูเขาสูงโดยเฉพาะภูเขาหินปูน นอกจากนี้การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยบริเวณชายเขาหินปูนที่เลียงผามักจะลงมาหาน้ำและอาหารในที่ต่ำทำให้พื้นที่หากินลดลงและถูกล่าได้ง่ายขึ้น เลียงผาจึงลดจำนวนประชากรลงอย่างมาก นอกจากนี้การระเบิดภูเขาเพื่อการผลิตปูนซีเมนต์และเพื่อการผลิตหินคลุก เป็นการทำลายถิ่นที่อยู่ที่ปลอดภัยของเลียงผาโดยตรง<ref name="dnp"/>
 
==การจำแนกประเภท==
*''[[Capricornis crispus]]''
*''[[Capricornis swinhoei]]''
*''[[Capricornis sumatraensis]]''
*''[[Capricornis milneedwardsii]]''
*''[[Capricornis rubidus]]''
*''[[Capricornis thar]]
 
==ดูเพิ่ม==
*''[[Naemorhedus]]''
 
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}