ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Delicious (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับปรุงข้อมูลปัจจุบัน
บรรทัด 51:
ขณะที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้ศึกษาต่อทั้งวิชาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส และวิชาเปียโนกับครูพิเศษ<ref name="ราชบัณฑิตยสถาน">[http://www.royin.go.th/upload/291/FileUpload/1001_6872.pdf พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]{{Dead link|date=พฤษภาคม 2560}}, หน้า 3 จากเว็บไซต์[[ราชบัณฑิตยสถาน]] </ref> หลังจากนั้นไม่นาน พระบิดาย้ายไป[[ประเทศเดนมาร์ก]]และ[[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]]ตามลำดับ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ก็ยังคงเรียนเปียโนและตั้งใจจะศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุง[[ปารีส]]จนจบ<ref name="ราชบัณฑิตยสถาน"/>
 
ระหว่างที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ได้มีโอกาสรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ขณะนั้นทรงศึกษาต่อที่[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์]]หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์) ซึ่งพระองค์เสด็จประพาสกรุงปารีสเพื่อทอดพระเนตรโรงงานทำรถยนต์<ref>สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. ''รัตนราชินีศรีประเทศ''. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, หน้า 17</ref> ทั้งนี้เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดการ[[ดนตรี]]เป็นพิเศษ ขณะที่หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ก็สนใจ[[ศิลปะ]]เช่นกัน ทำให้เกิดความสัมพันธ์ขึ้น
 
=== อภิเษกสมรส ===
บรรทัด 57:
[[ไฟล์:Bhumbol and Sirikit.jpg|thumb|left|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส]]
{{บทความหลัก|พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช}}
วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งโดยมีหม่อมหลวงบัวและหม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ เยี่ยมพระอาการเป็นประจำ และในช่วงระยะเวลาที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่เฝ้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่สวิตเซอร์แลนด์นั้น [[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี|สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์]] (พระนามในเวลานั้น) ได้ทรงรับเป็นธุระจัดการให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เข้าศึกษาในโรงเรียน Pensionnat Riante Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำแห่งหนึ่งของ[[โลซาน]] ประเทศสวิตเซอร์แลนด์<ref>ส.พลายน้อย. ''พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม''. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2554. หน้า 229</ref> ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ก็ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นการภายในเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492<ref name="รัตนราชินี21">สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. ''รัตนราชินีศรีประเทศ''. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, หน้า 21</ref>
 
หลังจากทรงหมั้นแล้ว หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ยังคงศึกษาต่อ กระทั่ง พ.ศ. 2493 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนครเพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร]] พระองค์ท่านโปรดฯ ให้หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ตามเสด็จพระราชดำเนินกลับด้วย<ref name="รัตนราชินี21"/>
 
เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 [[พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์จึงจัดขึ้น ณ [[วังสระปทุม]] โดยมี[[สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า]] เสด็จฯ เป็นองค์ประธาน ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในทะเบียนสมรสและโปรดให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรพร้อมทั้งสักขีพยานลงนามในทะเบียนนั้น หลังจากนั้น สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเสด็จออกในพระราชพิธีถวายน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและทรงรดน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสตามโบราณราชประเพณี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์อ่านประกาศสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรขึ้นเป็น "'''สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์'''" พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน[[เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์]]ในการนี้ด้วย<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/023/1690.PDF การพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พุทธศักราช 2493], เล่ม 67, ตอน 23ง, 25 เมษายน พ.ศ. 2493, หน้า 1690 </ref><ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/A/024/1.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระราชินี (ทรงสถาปนา หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ พระอัครมเหษี เป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์)], เล่ม 67, ตอน 24 ก ฉบับพิเศษ, 28 เมษายน พ.ศ. 2493, หน้า 1 </ref>
 
ต่อมา ในการ[[พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า ตามโบราณราชประเพณีเมื่อสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ย่อมโปรดให้สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระอัครมเหสีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น '''สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี'''<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/A/026/10.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระบรมราชินี (ทรงสถาปนาพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าราชินีสิริกิติ์ พระบรมราชินี)], เล่ม 67, ตอน 26 ก ฉบับพิเศษ, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493, หน้า 10 </ref> หลังจากนั้นทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงรักษาพระองค์และทรงศึกษาต่อ จนกระทั่ง พระองค์มีพระประสูติกาล[[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี]]และเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอมีพระชันษาได้ 3 เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระบรมราชินีจึงเสด็จนิวัติประเทศไทย<ref>สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. ''รัตนราชินีศรีประเทศ''. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, หน้า 27</ref>
 
=== สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ===
บรรทัด 71:
เมื่อ พ.ศ. 2499 [[พระราชพิธีทรงผนวชในรัชกาลที่ 9|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะเสด็จฯ ออกผนวชเป็นพระภิกษุ]]ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน เป็นระยะเวลา 15 วัน จึงต้องมีการแต่งตั้ง[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]] ดังนั้นพระองค์ทรงพระราชดำริว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีเป็นผู้ทรงพระปรีชาสามารถในอันที่จะรับพระราชภารกิจในคราวนี้ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ผนวช<ref name = "ผนวช"/>
 
ต่อมา ใน[[วันพ่อแห่งชาติ|วันเฉลิมพระชนมพรรษา]] 5 ธันวาคมปีเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการประกาศว่า ตามราชประเพณี เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เคยมีประกาศให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ผนวช และได้ปฏิบัติพระราชภารกิจแทนพระองค์ด้วยพระปรีชาสามารถ สนองพระราชประสงค์เป็นที่เรียบร้อย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีว่า "'''สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ'''"<ref name = "เฉลิม"/> นับว่าทรงเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระองค์ที่ 2 ในประเทศไทย โดยพระองค์แรก คือสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น ''[[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]]'')
 
[[ไฟล์:Koningspaar van Thailand bezoekt Rotterdam, het koninklij gezelschap op het balk, Bestanddeelnr 911-7012.jpg|thumb|left|250px|พระองค์และพระราชสวามีขณะเสด็จเยือน[[ประเทศเนเธอร์แลนด์]] ในปี พ.ศ. 2503]]