ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เงินยาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
[[ลาวจังกราช]] ครองราชย์ในเมืองหิรัญนครเงินยาง เชื่อว่าอยู่บริเวณเมืองโบราณที่เรียกว่า [[เวียงพานคำ]] ใน[[อำเภอแม่สาย]] [[จังหวัดเชียงราย]] สอดคล้องกับที่'''ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ (ฉบับวัดพระงาม)'''และ'''ตำนานเมืองพะเยา''' ว่า บริเวณเมืองหิรัญนครเงินยาง อยู่แถวๆแถบแม่น้ำสาย และดอยตุง ในเขต[[อำเภอแม่สาย]] [[จังหวัดเชียงราย]] ('''ตำนานพื้นเมืองเชียงแสน'''เป็นหลักฐานเดียวที่กล่าวว่าหิรัญนครเงินยางอยู่บริเวณเดียวกับเมืองเชียงแสน ซึ่งมีความน่าเชื่อถือน้อย เพราะหลายๆตำนานระบุว่า[[พญาแสนภู|พญาแสนพู]]สร้างเมืองเชียงแสนทับเวียงรอย)
 
หลังจากนั้นในสมัย[[ลาวเคียง]] พระองค์ได้ทำการปรับปรุงขยายเขตแนวคูเมืองหิรัญนครเงินยางเพื่อให้เป็นเวียงใหม่ใกล้แม่น้ำละว้า และขนานนามเวียงที่ขยายใหม่นี้ว่า '''ยางสาย''' (พื้นเมืองเชียงใหม่ว่าตั้งชื่อเมือง'''ยางเงิน''') และทำการเปลี่ยนชื่อ'''แม่น้ำละว้า''' เป็น '''แม่น้ำสาย''' แสดงให้เห็นว่าสถานที่ตั้งของเมืองหิรัญนครเงินยางควรอยู่ติดน้ำแม่สายเชิงดอยตุง ไม่ได้อยู่บริเวณเมืองเชียงแสนดังที่เชื่อถือกันในปัจจุบัน <ref>[[เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี]].(2554).ตำนานเมืองพะเยา.</ref> ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยสำรวจพื้นที่ “เวียงพางคำ” ของ วรสิทธิ์ โอภาพ ที่พบว่าเวียงพางคำมีแนวคันดินแบ่งเป็น 2 เวียง โดยมีเมืองอยู่แล้ว แนวคันดินเพิ่งสร้างทีหลังเพื่อขยายเขตตัวเมือง (เวียงพางคำจึงควรเป็นหิรัญนครเงินยาง ไม่ควรเป็นเวียงสี่ตวง-เวียงพานคำของพระเจ้าพรหม)<ref>อภิชิต ศิริชัย. ''วิเคราะห์ตำนานจากเอกสารพื้นถิ่น ว่าด้วย โยนกนคร เวียงสี่ตวง เวียงพานคำ เมืองเงินยาง และ ประวัติวัดพระธาตุจอมกิตติ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย''. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงราย:ล้อล้านนา, 2560.</ref>
 
ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อ [[พญามังราย]]ขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ พระองค์ที่ 25 ของหิรัญนครเงินยางเชียงลาวในปี [[พ.ศ. 1805]] พระองค์ทรงมีแนวพระราชดำริจะรวบรวมแคว้นน้อยใหญ่ในอาณาบริเวณเดียวกันให้เป็นปึกแผ่น