ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
Nubbkao ย้ายหน้า แคว้นโยนก ไปยัง โยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น: เพราะเป็นชื่อที่ถูกต้องตามตำนานเอกสารใบลานมากกว่า
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
เมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นมีกษัตริย์ปกครองต่อๆกันมา จนสมัย'''พระองค์พังคราช''' กษัตริย์องค์ที่42 เสียเมืองให้กับพระยาขอม เมืองอุโมงคเสลานคร และถูกเนรเทศไปเป็นแก่บ้าน'''เวียงสี่ทวง''' ส่งส่วยให้พระยาขอมเป็นทองคำปีละ4ทวงหมากพินน้อย(คือมะตูมลูกเล็ก) นำมาผ่าซีก4ส่วน นำทองคำหลอมลงไปเพียง1ซีก ที่เวียงสี่ทวง พระองค์พังคราชมีลูกชาย2คน คนโตชื่อ '''ทุกขิตะกุมาร''' คนที่2ชื่อ '''พรหมกุมาร''' เมื่อพรหมกุมารอายุได้18ปี จึงมีความคิดที่จะสู้กับพระยาขอม ได้ไปจับช้างที่แม่น้ำโขงและตีพานคำ(พาน อ่านว่าปาน คือเครื่องดนตรีล้านนาชนิดหนึ่ง คล้ายฆ้องแต่ไม่มีโหม่ง ใช้ตี)แห่เข้าเวียงสี่ทวง และทำการขุดคูเมือง ปรับปรุงกำแพงและประตูเมือง แล้วเปลี่ยนชื่อ'''เวียงสี่ทวง'''เป็น '''เวียงพานคำ''' (สันนิฐานว่าเวียงสี่ทวงและเวียงพานคำควรอยู่บริเวณเมืองโบราณที่เรียกว่าเวียงแก้ว บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน และเวียงสี่ทวงกับเวียงพานคำไม่ควรอยู่บริเวณเมืองโบราณที่ อ.แม่สาย เพราะตำนานหลายฉบับกล่าวว่าบริเวณนั้นเป็นเมืองหิรัญนครเงินยาง) และทำการซ่องสุมผู้คน สู้รบกับพระยาขอมจนได้รับชนะ ขับไล่พวกขอมและสามารถชิงเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นกลับคืนมาได้ ถวายเมืองคืนพระองค์พังคราช ส่วนพระองค์พรหมราช(พรหมกุมาร) ได้กลัวว่าจะมีข้าศึกมาอีก จึงไปสร้างเมืองใหม่ คือ '''เวียงไชยปราการ'''(สันนิฐานว่าควรอยู่บริเวณ บ้านร่องห้า (ร่องห้าทุ่งยั้ง) ต.ผางาม อ.เวียงชัย จ.เชียงราย) เมื่อสิ้นพระองค์พรหมราชแล้ว พระองค์ไชยสิริ พระโอรสได้ครองเวียงไชยปราการต่อมา แต่ถูกขอมเข้ามาคุกคามอีก พระองค์ไชยสิริจึงพาชาวเมืองอพยพลงไปทางใต้ และตั้งเมืองที่เมืองกำแพงเพชร
 
ส่วนเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นนั้น มีกษัตริย์ครองเมืองต่อมา จนถึงสมัยพระองค์มหาไชยชนะ ชาวเมืองจับได้ปลาไหลเผือกยักษ์จากแม่น้ำกก แล้วนำมาแบ่งกันกินทั้งเมืองยกเว้นแม่หม้ายเฒ่าหนึ่งคน และในคืนนั้นเมืองโยนกก็ล่มสลายลงกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ ยกเว้นแม่หม้ายเฒ่าเพียงคนเดียวที่รอดตาย (สันนิฐานว่าอาจเกิดแผ่นดินไหวจนเมืองถล่มลง จึงมาผูกเรื่องในตำนาน) ขุนพันนาและนายบ้านกับประชาชนที่รอดตายจึงรับเลี้ยงดูแม่หม้ายเฒ่า และประชุมปรึกษาเลือกนายบ้านผู้หนึ่ง ชื่อ'''ขุนลัง''' ให้เป็นผู้นำ และช่วยกันสร้างเมืองใหม่ริมฝั่งแม่น้ำโขงฝั่งตะตก และอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองโยนกนครฯ เรียกว่า'''เวียงเปิกสา (เวียงปรึกษา)''' ผู้ที่ครองเวียงเปิกษาสานั้นจะต้องได้รับการปรึกษาคัดเลือกจากประราชนในเมืองทั้งหมด คล้ายกับแนวทางของ[[ระบอบประชาธิปไตย]] เรียกว่า '''ไพร่แต่งเมือง''' รวมเป็นขุนผู้ครองเวียงเปิกสา 16 คน เป็นอันจบตำนานสิงหนติกุมาร<ref>. ''ใบลานตำนานโยนกนครเชียงแสน ฉบับวัดเชียงมั่น เชียงใหม่''.</ref> <ref>อภิชิต ศิริชัย. ''วิเคราะห์ตำนานจากเอกสารพื้นถิ่น ว่าด้วย โยนกนคร เวียงสี่ตวง เวียงพานคำ เมืองเงินยาง และ ประวัติวัดพระธาตุจอมกิตติ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย''. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงราย:ล้อล้านนา, 2560.</ref>
 
== สิงหนติ หรือ สิงหนวัติ ==