ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สุทธิศักดิ์15132 (คุย | ส่วนร่วม)
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
{{แยก|อาณาจักรเงินยาง}}
{{ประวัติศาสตร์ไทย}}
'''โยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น''' หรือ '''แคว้นโยนก''' <ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 42</ref> (พ.ศ. 1835–2435) เป็นรัฐของชาวไทยวนที่ตั้งอยู่แถบลุ่มน้ำโขงตอนกลาง อันเป็นที่ราบลุ่มของน้ำแม่กก เป็นที่ตั้งของชุมชนที่มีมาช้านาน เช่น เมืองเงินยาง เมืองรอย และเมืองเชียงแสน แม้จะเป็นรัฐชายขอบที่ตั้งอยู่ใกล้กับอาณาจักรขนาดใหญ่ ขอม พุกาม และยูนนาน แต่ก็มีพัฒนาการที่รวดเร็วช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 ก่อนที่จะพัฒนาจนสถาปนา[[อาณาจักรล้านนา]]ในกาลต่อมา มีเรื่องราวปรากฏอยู่ในตำนานสิงหนติกุมาร(มีหลายชื่อเรียก เช่น ตำนานโยนกนครเชียงแสน ตำนานโยนกนคร ตำนานโยนกไชยบุรีศรีช้างแส่น แล้วแต่ผู้จารจะเขียนกำกับ แต่เนื้อหาคล้ายกันหมด) และตำนาน[[วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง)|พระธาตุดอยตุง]] ถ้ำปุ่ม ถ้ำปลา ถ้ำเปลวปล่องฟ้า แต่ยังไม่มีการค้นพบหลักฐานที่เก่าถึงยุคสมัยจริง
 
== ในตำนานและพงศาวดารล้านนาสิงหนติกุมาร ==
ตามตำนานสิงหนติกุมาร (ไม่ใช่สิงหนวัติ หรือ สิงหนวติ เพราะไม่ปรากฏในเอกสารใบลานชั้นต้น ซึ่งปรากฏเพียง สิงหนติ) กล่าวว่า '''เจ้าสิงหนติราชกุมาร''' โอรสของพระเจ้าเทวกาลแห่งนครไทยเทศ หรือ เมืองราชคฤห์ ได้ทำการอพยพผู้คนออกจากนครไทยเทศ เดินทางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จนมาถึงชัยภูมิที่เคยเป็นแคว้นสุวรรณโคมคำในอดีต ไม่ไกลแม่น้ำโขงมากนัก ซึ่งตอนนั้นมีชาวลัวะอาศัยอยู่ตามป่าเขาในบริเวณดอยดินแดน (ดอยตุง) มีหัวหน้าชื่อ '''ปู่เจ้าลาวกุย''' เจ้าสิงหนติได้พบกับพญานาคชื่อพันธุนาคราช ซึ่งจำแลงกายเป็นพราหมณ์มาพูดคุย และแนะนำให้สร้างเมืองในที่บริเวณนั้น แล้วกลับเป็นพญานาคช่วยขุดคูเมืองให้ เจ้าสิงหนติจึงตั้งเมืองบริเวณนั้น และนำชื่อตนประสมกับชื่อพญานาคเป็นชื่อเมืองว่า '''เมืองนาคพันธุสิงหนตินคร''' จากนั้นเจ้าสิงหนติได้แผ่อำนาจปราบปรามเมืองอุโมงคเสลานคร ซึ่งเป็นเมืองของพวกขอม และมีอำนาจเหนือกลุ่มชนพื้นถิ่นดั้งเดิมในแถบนั้นทั้งหมด ในสมัย'''พญาพันธนติ''' กษัตริย์องค์ที่2 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองมาเป็น '''เมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น''' โดยเอาเหตุนิมิตเมื่อช้างมงคลของพญาสิงหนติเห็นพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ก็เกิดการตกใจร้องเสียงดัง "'''แส่นสะเคียร'''" (ช้างแส่น คือ ช้างสั่น ส่วน แส่นสะเคียร แปลว่า สั่นสะเทือน เป็นอากัปกิริยาของช้างคำรามเสียงดังสนั่นหวั่นไหว)
เล่าว่า นานมาแล้ว (ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 13) มีพวกลัวะ หรือละว้า ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณใกล้ดอยตุง มีปู่เจ้าลาวจกหรือลวจักราช เป็นหัวหน้า(จกคือจอบขุดดิน) ต่อมาได้สร้างบ้านเมืองในทุ่งราบเรียกชื่อว่า “หิรัญนครเงินยางเชียงแสน” ลูกหลานของปู่เจ้าลาวจกหรือลวจักราช ได้ขึ้นครองเมืองต่อเนื่องกันมาหลายสิบคน และได้มีการสร้างเมืองใหม่เรียกว่า “[[ภูกามยาว]]หรือ[[พะเยา]]” มีผู้ครองเมืองต่อมาหลายคนจนถึง [[ขุนเจือง]] (พุทธศตวรรษที่ 17) และ[[พญางำเมือง]]
 
ในสมัย'''พญาอชุตราช''' กษัตริย์องค์ที่3 ได้มีการสร้างพระธาตุดอยตุง พระธาตุดอยกู่แก้ว พระธาตุในถ้ำปุ่ม ถ้ำเปลวปล่องฟ้า เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าเริ่มมีพระพุทธศาสนาเข้ามาแล้ว (ซึ่งเป็นเพียงตำนานเท่านั้น ในปัจจุบันยังไม่ค้นพบหลักฐานที่เก่าถึงยุคสมัยโยนกนคร) สมัยพญามังรายนราช กษัตริย์องค์ที่4 พระองค์ไชยนารายณ์ โอรสองค์สุดท้องของพระองค์ได้ไปตั้งเมืองใหม่ คือ '''เวียงไชยนารายณ์เมืองมูล''' (สันนิฐานว่าควรอยู่บริเวณ ปงเวียงไชย บ้านปง ต.เวียงชัย อ.เวียงชัย จ.เชียงราย)
อาณาจักรหิรัญนครเงินยางเชียงแสนหรือ[[อาณาจักรเงินยาง]]นี้ประกอบด้วย เมืองเงินยาง [[เมืองไชยนารายณ์]] [[เมืองล้านช้าง]] และเมืองเชียงรุ้ง([[เชียงรุ่ง]]) ปัจจุบันอยู่ใน [[เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา]] [[มณฑลยูนนาน]] [[ประเทศจีน]]
 
เมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นมีกษัตริย์ปกครองต่อๆกันมา จนสมัย'''พระองค์พังคราช''' กษัตริย์องค์ที่42 เสียเมืองให้กับพระยาขอม เมืองอุโมงคเสลานคร และถูกเนรเทศไปเป็นแก่บ้าน'''เวียงสี่ทวง''' ส่งส่วยให้พระยาขอมเป็นทองคำปีละ4ทวงหมากพินน้อย(คือมะตูมลูกเล็ก) นำมาผ่าซีก4ส่วน นำทองคำหลอมลงไปเพียง1ซีก ที่เวียงสี่ทวง พระองค์พังคราชมีลูกชาย2คน คนโตชื่อ '''ทุกขิตะกุมาร''' คนที่2ชื่อ '''พรหมกุมาร''' เมื่อพรหมกุมารอายุได้18ปี จึงมีความคิดที่จะสู้กับพระยาขอม ได้ไปจับช้างที่แม่น้ำโขงและตีพานคำ(พาน อ่านว่าปาน คือเครื่องดนตรีล้านนาชนิดหนึ่ง คล้ายฆ้องแต่ไม่มีโหม่ง ใช้ตี)แห่เข้าเวียงสี่ทวง และทำการขุดคูเมือง ปรับปรุงกำแพงและประตูเมือง แล้วเปลี่ยนชื่อ'''เวียงสี่ทวง'''เป็น '''เวียงพานคำ''' (สันนิฐานว่าเวียงสี่ทวงและเวียงพานคำควรอยู่บริเวณเมืองโบราณที่เรียกว่าเวียงแก้ว บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน และเวียงสี่ทวงกับเวียงพานคำไม่ควรอยู่บริเวณเมืองโบราณที่ อ.แม่สาย เพราะตำนานหลายฉบับกล่าวว่าบริเวณนั้นเป็นเมืองหิรัญนครเงินยาง) และทำการซ่องสุมผู้คน สู้รบกับพระยาขอมจนได้รับชนะ ขับไล่พวกขอมและสามารถชิงเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นกลับคืนมาได้ ถวายเมืองคืนพระองค์พังคราช ส่วนพระองค์พรหมราช(พรหมกุมาร) ได้กลัวว่าจะมีข้าศึกมาอีก จึงไปสร้างเมืองใหม่ คือ '''เวียงไชยปราการ'''(สันนิฐานว่าควรอยู่บริเวณ บ้านร่องห้า (ร่องห้าทุ่งยั้ง) ต.ผางาม อ.เวียงชัย จ.เชียงราย) เมื่อสิ้นพระองค์พรหมราชแล้ว พระองค์ไชยสิริ พระโอรสได้ครองเวียงไชยปราการต่อมา แต่ถูกขอมเข้ามาคุกคามอีก พระองค์ไชยสิริจึงพาชาวเมืองอพยพลงไปทางใต้ และตั้งเมืองที่เมืองกำแพงเพชร
== พงศาวดารโยนก ==
 
ส่วนเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นนั้น มีกษัตริย์ครองเมืองต่อมา จนถึงสมัยพระองค์มหาไชยชนะ ชาวเมืองจับได้ปลาไหลเผือกยักษ์จากแม่น้ำกก แล้วนำมาแบ่งกันกินทั้งเมืองยกเว้นแม่หม้ายเฒ่าหนึ่งคน และในคืนนั้นเมืองโยนกก็ล่มสลายลงกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ ยกเว้นแม่หม้ายเฒ่าเพียงคนเดียวที่รอดตาย (สันนิฐานว่าอาจเกิดแผ่นดินไหวจนเมืองถล่มลง จึงมาผูกเรื่องในตำนาน) ขุนพันนาและนายบ้านกับประชาชนที่รอดตายจึงรับเลี้ยงดูแม่หม้ายเฒ่า และประชุมปรึกษาเลือกนายบ้านผู้หนึ่ง ชื่อ'''ขุนลัง''' ให้เป็นผู้นำ และช่วยกันสร้างเมืองใหม่ริมฝั่งแม่น้ำโขงฝั่งตะตก และอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองโยนกนครฯ เรียกว่า'''เวียงเปิกสา (เวียงปรึกษา)''' ผู้ที่ครองเวียงเปิกษานั้นจะต้องได้รับการปรึกษาคัดเลือกจากประราชนในเมืองทั้งหมด คล้ายกับแนวทางของ[[ระบอบประชาธิปไตย]] เรียกว่า '''ไพร่แต่งเมือง''' รวมเป็นขุนผู้ครองเวียงเปิกสา 16 คน เป็นอันจบตำนานสิงหนติกุมาร<ref>. ''ใบลานตำนานโยนกนครเชียงแสน ฉบับวัดเชียงมั่น เชียงใหม่''.</ref> <ref>อภิชิต ศิริชัย. ''วิเคราะห์ตำนานจากเอกสารพื้นถิ่น ว่าด้วย โยนกนคร เวียงสี่ตวง เวียงพานคำ เมืองเงินยาง และ ประวัติวัดพระธาตุจอมกิตติ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย''. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงราย:ล้อล้านนา, 2560.</ref>
พุทธศตวรรษที่ 11–18 นั้นในพงศาวดารโยนก ได้กล่าวไว้ว่า ได้เกิดชุมชนนครสุวรรณโคมคำ เมืองโยนกนาคนคร เชียงแสน และอาณาจักรล้านนาไทยขึ้น บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง น้ำแม่กก น้ำแม่อิง และแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน ตั้งแต่สิบสองปันนาลงมาจนถึงเมืองหริภุญชัย(ลำพูน) นั้นได้มีเจ้าผู้ครองนครคนสำคัญคือ พญาสิงหนวัติ [[พระเจ้าพังคราช]] [[พระเจ้าพรหมมหาราช]] หรือ พระเจ้าพรหมกุมาร และพระเจ้ามังรายมหาราช(ครองราชย์ที่เมืองเงินยางเมื่อ พ.ศ. 1804)
 
== สิงหนติ หรือ สิงหนวัติ ==
สุวัณณะโคมฅำ เป็นชื่อตำนานและชื่อเมืองโบราณในเขต[[จังหวัดเชียงราย]] ซึ่งจิตร ภูมิศักดิ์ได้ศึกษาสรุปว่า
ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่61 ตำนานสิงหนวติกุมาร เรียกชื่อเจ้าสิงหนติราชกุมารว่า สิงหนวติกุมาร และมีการเผยแพร่และเพี้ยนไปเป็น สิงหนวัติกุมาร และเป็นชื่อที่แพร่หลายใช้ในปัจจุบัน แต่จากการสำรวจและปริวรรตเอกสารใบลานต้นฉบับภาษาล้านนาของตำนานโยนกแล้ว กลับพบว่าเขียนว่า สิงหนติ ไม่พบว่ามีการเขียนชื่อ สิงหนวติ หรือ สิงหนวัติ ในตำนานทุกฉบับ จึงสรุปว่าควรใช้ สิงหนติ ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกต้อง<ref>มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 16 - 22 ธันวาคม 2559,วันพฤหัสที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2559,เพ็ญสุภา สุขคตะ. "ปริศนาโบราณคดี : ส่งท้าย “777 ปีชาตกาลพระญามังราย” ภารกิจสะสางประวัติศาสตร์ยังไม่จบสิ้น (1)" .[https://www.matichonweekly.com/column/article_18712]</ref>
ตั้งอยู่บนเกาะใหญ่ริมแม่น้ำโขงฝั่งลาวตรงดอนมูล เยื้องปากน้ำแม่กกลงไปทางใต้เล็กน้อย อยู่ตรงกันข้ามกับบ้านสวนดอก
[[อำเภอเชียงแสน]] จังหวัดเชียงราย
 
ในพงศาวดารโยนก กล่าวว่า ในช่วงปลายศาสนาของพระพุทธโกนาคมะ([[พระโกนาคมนพุทธเจ้า]])นั้น ได้เกิดโรคระบาด ราชบุตรแห่งเมืองปาตลีบุตรจึงพาผู้คนอพยพไปตั้งอยู่ในเขตโพธิสารหลวง ต่อมาราชบุตรชื่อกุรุวงษากุมารได้สร้างเป็นเมืองขึ้นมา พอพระเจ้าโพธิสารหลวงทราบข่าวก็ไปรบหลายครั้งแต่ก็พ่ายแพ้ จนพระองค์ต้องยกราชสมบัติให้แก่กุรุวงษากุมาร ต่อมาได้เรียกชื่อแคว้นนั้นว่ากุรุรัฐและเรียกประชาชนว่า "กล๋อม"
ยังมีนางกุมารีผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าเมืองได้อพยพหนีโรคร้ายไปอยู่ในป่า และพาบริวารปลูกข้าวอยู่ที่ขอบหนองแห่งหนึ่ง
และได้สร้างเมืองชื่อ "อินทปฐาน" ต่อมาเจ้ากุรุวงษากุมารได้นางนั้นเป็นชายาจึงรวมสองเมืองเข้าด้วยกันให้ชื่อว่า "อินทปัตถมหานคร"
จากนั้นก็มีกษัตริย์สืบมาถึง ๔๔,๘๐๐ องค์ จนถึงสมัยพญาศรีวงษาได้ครองเมืองโพธิสารหลวง พระองค์มีราชบุตรสององค์คือ "อินทรวงษา"และองค์น้องชื่อ"ไอยกุมาร" ซึ่งอินทรวงษาก็ได้ขึ้นครองเมืองสืบจากพระบิดาและมีไอยกุมารเป็นอุปราช
ต่อมาราชบุตรของพญาอินทรวงษาชื่ออินทรปฐมได้อภิเษกกับธิดาของไอยอุปราช มีราชบุตรรวมห้าพระองค์อยู่ครองเมืองโพธิสารหลวง
ต่อมาไอยอุปราชได้ลาจาก ตำแหน่งอุปราช และพาบริวารลงเรือขึ้นไปแม่น้ำโขง จนไปถึงเขตดอนทรายกลางน้ำแม่โขงเยื้องปากน้ำแม่กก จึงตั้งเมืองอยู่ในที่นั้น
หลังจากนางอุรสา ราชเทวีของพญาอินทรปฐมคลอดราชบุตรออกทางปากมีชื่อ "สุวัณณมุกขทวาร" เมื่ออายุ ๗ เดือนก็มีอภินิหารแรงกล้า พาหิรพราหมณ์ปุโรหิตจึงไปทูลยุยงให้ลอยแพพระกุมารและพระเทวีไปเสีย มิฉะนั้นจะเกิดอุบาทว์แก่เมือง
ฝ่ายไอยมหาอุปราช ทราบว่าพระเทวีและพระกุมารถูกลอยแพก็รีบกลับเมืองแล้วให้จัดพิธีบวงสรวงพญานาคและปักเสาประทีปโคมทองทุกท่าน้ำ ครั้งนั้นพญานาคชื่อ พญาศรีสัตตนาคก็พาบริวารนำหินไปทำฝาย ปิดทางต้นน้ำแม่โขงไว้มิให้ไหลลงสู่สมุทร(ทุกวันนี้เรียกว่า"ฝายนาค"หรือ"ลี่ผี") เมื่อน้ำท้นขึ้นเต็มฝั่งแล้ว แพของพระเทวีและพระกุมารก็ย้อนไปถึงท่าโคมฅำ ไอยมหาอุปราชจึงรับธิดาและนัดดาไว้ แล้วต่อมาก็ให้สร้างเป็นเมืองให้ชื่อว่า "สุวัณณะโคมฅำ" ฝ่ายเมืองโพธิสารหลวง เมื่อลอยแพพระกุมารและพระเทวีไปแล้วก็เกิดโรคระบาด คนหนีออกจากเมืองไปสมทบกับเมืองสุวัณณะโคมฅำเป็นอันมาก
ต่อมาพระอินทร์ต้องการให้พระราชบิดาและราชบุตรได้พบกัน จึงบันดาลให้มีม้าอัศดรไปยังเมืองโพธิสาร ซึ่งผู้จับขี่ได้คือราชกุมาร ชื่อเทวินทรบวรและม้านั้นก็พาไปพบไอยอุปราชและทุกท่านในเมืองสุวัณณะโคมฅำ เมื่อพระบิดาได้ทราบข่าวแล้วก็เชิญให้พระเทวีและพระโอรสกลับเมือง แต่นางไม่ยอมกลับ พญาอินทรปฐมและไอยอุปราชจึงอภิเษกสุวัณณมุกขทวารราชกุมารขึ้นเป็นพญาในเมืองสุวัณณะโคมฅำ
องค์เทวินทรบวรราชกุมารจึงได้ครองเมืองโพธิสาร สืบจากพระราชบิดา และได้เนรเทศพาหิรพราหมณ์เสีย พาหิรพราหมณ์จึงพาบริวารไปตั้งอยู่ที่เชิงเขา ปลายน้ำแม่กกเบื้องตะวันตก ไกลจากเมืองสุวัณณะโคมฅำชั่วระยะ ๓ คืน เนื่องจากที่อยู่นั้นเป็นถ้ำใหญ่ ต่อมาจึงตั้งชื่อว่าเมือง"อุมงคเสลานคร"
กษัตริย์ในเมืองสุวัณณะโคมฅำสืบต่อจากพญาสุวัณณมุกขทวารมีถึง ๘๔๕๕๐ องค์ จึงสิ้นสุดลง และเชื้อสายฝ่ายพาหิรพราหมณ์ เมืองอุมงคเสลานครได้เป็นใหญ่ในสุวัณณะโคมฅำ และได้ข่มเหงไพร่เมืองให้ได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมาก
ยังมีชายเข็ญใจคนหนึ่ง ทำไร่อยู่ริมแม่น้ำโขง ระหว่างเมืองสุวัณณะโคมฅำและเมืองโพธิสารหลวง มีนางนาคธิดา ๓ นางไปกินข้าวไร่ของปลูกในไร่ของชายนั้น เมื่อพญาศรีสัตตนาคได้รับแจ้งจากชายเข็ญใจว่า ธิดาของตนไปลักกินพืชผลดังกล่าว จึงให้ธิดาทั้งสามแปลงเป็นคนไปรับใช้มานพนั้น ต่อมา นางทั้งสามแนะให้ชายหนุ่มไปค้าขายที่เมืองสุวัณณะโคมฅำ แต่ก็ถูกชาวเมืองทำอุบายใส่ความแล้วริบสินค้า ภายหลังนางนาคธิดาจึงไปกับเรือค้านั้นด้วย เมื่อพญาขอมในเมืองนั้นทำอุบายมาพนันเพื่อจะริบเอาสินค้า นางก็บันดาลให้พญาขอมแพ้ แต่พญาขอมไม่ยอมให้สินพนันตามสัญญาและยังหาเหตุไล่ออกจากเมืองด้วย นางจึงไปทูลพญานาคผู้บิดา พญานาคจึงพาบริวารไปขุดฝั่งน้ำ"ขลนที-ขรนที"คือน้ำของหรือแม่โขง ทำให้เมืองล่มลงในเวลาราตรี พญาขอมเจ้าเมืองและชาวเมืองจมน้ำตายไปมาก ที่เหลือก็แตกกระจายกันไป และมีจำนวนมากที่ไปสมทบอยู่กับชายเข็ญใจพ่อค้าผู้นั้นจนกลายเป็นเมืองใหญ่ขึ้นมา เมืองสุวัณณะโคมฅำก็ร้างกลายเป็นท่าหลวงไปได้ชื่อว่า "ท่าโคมฅำ"
 
อนึ่ง ตำนานเมืองสุวัณณะโคมฅำนี้ เป็นที่มาของวรรณกรรมล้านนาหลายเรื่อง ดังพบว่าเรื่อง "สิรสากุมารชาดก"ในชุดปัญญาสชาดก ก็ได้กล่าวถึงสิรสากุมารว่าคลอดจากทางปาก ถูกเนรเทศ และมีปู่ "อัยยอามาตย์"เป็นผู้อุปถัมภ์คล้ายกับเรื่องในตำนาน และยังมีเรื่องชายหนุ่มไปทำไร่และมีธิดาพญานาคไปกินพืชผล จนต้องไปเป็นผู้รับใช้ ดังปรากฏในเรื่อง "อ้อมล้อมต่อมฅำ"หรือ"ชมพูราชแตงเขียว" เป็นต้น
 
== สถาปนาเมือง ==
[[พญาสิงหนวัติ]]ได้สถาปนาเมืองโยนกนาคพันธุสิงหนวัตินครขึ้นที่ลุ่ม[[แม่น้ำโขง]] ดินแดนที่ราบในเมืองเชียงราย ใน [[พ.ศ. 1117]] โดยทำการแย่งชิงดินแดนมาจากพวกที่มีอิทธิพลอยู่ก่อนคือ พวก[[ขอมดำ]]หรือกล๋อม ที่พากันหนีไปตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้บริเวณถ้ำอุโมงค์เสลานคร พญาสิงหนวัติ ทรงรวบรวมพวกมิลักขะหรือคนป่าคนดอยเข้ามาอยู่ในอำนาจของเมืองโยนกนาคนคร มีอาณาเขตทิศเหนือจดเมืองน่าน ทิศใต้จด[[ปากน้ำโพ]] ทิศตะวันออกจด[[แม่น้ำดำ]]ในตังเกี๋ย ทิศตะวันตกจด[[แม่น้ำสาละวิน]] มีเมืองสำคัญ คือเมือง[[เวียงไชยปราการ]] อยู่บริเวณ[[แม่น้ำฝาง]]และ[[น้ำแม่กก]] ดินแดนทางใต้สุดคือที่เมืองกำแพงเพชร
 
อาณาจักรโยนกนาคนครนี้มีพระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ เช่น [[พระเจ้าพังคราช]] [[พระเจ้าพรหมมหาราช|พระเจ้าพรหม]] [[พระเจ้าชัยศิริ]] ต่อมาประมาณ [[พ.ศ. 1552]] อาณาจักรโยนกนาคนครในสมัย[[พระเจ้ามหาชัยชนะ]] ได้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องมาจากพนังกั้นน้ำหรือเขื่อนเหนือน้ำพังทลายลง จนทำให้ที่ตั้งเมืองกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ (เข้าใจว่าจะเป็นบริเวณที่เรียกว่าเวียงหนองล่ม บ้านท่าข้าวเปลือก ซึ่งอยู่ไม่ห่างจาก[[ทะเลสาบเชียงแสน]] และบริเวณที่น้ำแม่กกต่อกับแม่น้ำโขง ใกล้[[วัดพระธาตุผาเงา]]และ[[พระธาตุดอยตุง]] จังหวัดเชียงราย) จนเป็นเหตุให้บรรดาราชวงศ์กษัตริย์และขุนนางของโยนกนาคนครเสียชีวิตด้วยเหตุน้ำท่วมเมืองทั้งหมด พวกชาวบ้านที่เหลือรอดชีวิตได้ประชุมปรึกษากันเลือกตั้งให้คนกลุ่มหนึ่งที่มิใช่เชื้อสายราชวงศ์ขึ้นดูแลพวกตน เรียกว่า ขุนแต่งเมือง และเรียกชุมชนแห่งนั้นว่า “เวียงปรึกษา”เป็นเวลาต่อไปอีก 94 ปี อาณาจักรโยนกนาคนครจึงสิ้นสุดลงเพราะเกิดแผ่นดินไหว ในสมัยพระมหาชัย
 
== การรวบรวมอาณาจักร ==
 
ตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 18 พญามังราย(หรือพ่อขุนเม็งราย) ผู้สืบเชื้อสายมาจากผู้ครองเมืองเงินยางเชียงแสน ได้ทรงทำการรวบรวมอาณาจักรล้านนาไทยที่กระจัดกระจายให้เป็นปึกแผ่นขึ้นมาใหม่ และทำการสร้างเมืองเชียงรายเมื่อ พ.ศ. 1805 ครั้งนั้นพระองค์ทรงยกทัพเข้ายึดเอาอาณาจักรหริภุญชัยจากพวกมอญเชื้อสายของพระนางจามเทวีได้ใน พ.ศ. 1835 แล้วทำการตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นเรียกชื่อว่า อาณาจักรล้านนา
 
เรื่องราวของอาณาจักรแห่งนี้มีปรากฏในตำนานสุวรรณโคมคำ หิรัญนครเงินยางเชียงแสน ตำนานพระธาตุดอยตุง ตำนานสิงหนวัติกุมาร ตำนานเมืองพะเยา ตำนานเมืองเชียงใหม่และวรรณคดีล้านช้าง เรื่องท้าวฮุ่ง หรือเจือง รวมทั้งพงศาวดารโยนก เรียบเรียงโดย พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค)
 
ศิลาจารึกที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ ได้บันทึกไว้ว่า พ่อขุนเม็งรายแห่งแคว้นล้านนา พ่อขุนงำเมืองแห่งแคว้นพะเยาและพ่อขุนรามคำแหงแห่งแคว้นสุโขทัย ได้ร่วมกันวางแผนสร้างเมือง“นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่”เริ่มสร้างเมื่อวันที่12เมษายนพ.ศ. 1839 แล้วให้ย้ายเมืองหลวงของล้านนามาอยู่ที่เมืองนพบุรีนครพิงค์เชียงใหม่
 
พญามังรายทรงเป็นนักรบและนักปกครองที่สามารถ ทรงขยายอาณาเขตไปครอบครอง เมืองแม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงใหม่ เชียงราย จดเขตแดนเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง สิบสองพันนา ทรงครองราชย์อยู่ประมาณ 50 ปี ปัจจุบันได้สร้างอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายอยู่กลางเมืองเชียงราย ส่วนกษัตริย์ล้านนาองค์ต่อมาที่มีชื่อเสียงได้แก่พระเจ้าแสนภู พระองค์ทรงสร้างเมืองเชียงแสนขึ้น บนสถานที่ที่เคยเป็นเมืองเก่ามาก่อนราว พ.ศ. 1871
 
ประชุมพงศาวดารภาคที่ 61 กล่าวว่า พระเจ้าแสนภู(หลานพ่อขุนเม็งราย)ทรงสร้างเมืองเชียงแสน ทรงสร้างวัดป่าสัก และครองเมืองอยู่ 25 ปี แล้วจึงไปครองเมืองเชียงใหม่ในปีพ.ศ. 1856 หลังจากพ่อขุนเม็งราย และขุนคราม พระราชบิดาสิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2020
 
== พงศาวดารเหนือ ==
พงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า “[[พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก]]ทรงสร้างเมืองพิษณุโลกและทรงสร้าง[[พระพุทธชินราช]] [[พระพุทธชินสีห์]] และ[[พระศรีศาสดา]] เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 ขึ้น 15 ค่ำ ปีจอ(ประมาณ [[พ.ศ. 1907]]) แล้วปลูกต้นโพธิ์สามต้นไว้ที่หล่อพระพุทธรูปสามองค์นั้นเรียกว่า โพธิ์สามเส้า
 
สมัย[[พระเจ้าติโลกราช]]นั้นได้ มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลกขึ้นที่วัดโพธาราม([[วัดเจดีย์เจ็ดยอด]])
 
*[[อาณาจักรล้านนา]]มีภาษาพูดและอักษรเขียนของตนเอง เรียกว่า[[อักษรธรรมล้านนา]]([[ตั๋วเมือง]])หรือ[[อักษรไทยยวน]](ไทยโยนก) ศิลปกรรม ล้านนาที่เหลือถึงปัจจุบันมีหลายแห่ง เช่น [[พระพุทธสิหิงค์]] ที่เชียงใหม่ เจดีย์[[วัดป่าสัก]]ที่เชียงราย เจดีย์วัดเจ็ดยอดที่เชียงใหม่ [[พระธาตุลำปางหลวง]]ที่จังหวัดลำปาง สำหรับที่เมืองเชียงแสนนั้นมีพระพุทธรูปโลหะขนาดใหญ่องค์หนึ่งชื่อพระเจ้าล้านทอง หน้าตัก 4 ศอกปลาย 2 กำ สร้างเมื่อ [[พ.ศ. 2032]] โดยพระยาศรีรัชฎเงินกองเจ้าเมือง[[เงินยางเชียงแสน]] และยังมีพระเมาฬี(ยอดผม) ของพระพุทธรูปโลหะขนาดใหญ่มากชิ้นหนึ่งอยู่ใน[[พิพิธภัณฑ์เชียงแสน]] เล่ากันว่า มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งจมน้ำอยู่หน้าที่ว่าการ[[อำเภอเชียงแสน]] ปัจจุบันยังสำรวจค้นหาไม่พบ ใน[[พ.ศ. 2088]] นั้นได้ เกิดแผ่นดินไหวในเชียงใหม่ จนทำให้ส่วนยอดของเจดีย์หลวงหักลง
*กษัตริย์[[ราชวงศ์มังราย]]ครองอาณาจักรล้านนาสืบต่อกันมาเป็นเวลา 262 ปี จนถึง [[พ.ศ. 2101]] อาณาจักรล้านนาอ่อนแอ ในไม่ช้าก็ตกเป็นเมืองขึ้นของ[[พระเจ้าบุเรงนอง]] กษัตริย์แห่งพม่า ต่อมาได้เปลี่ยนสลับมาขึ้นกับอาณาจักรสยามกลับไปกลับมาหลายครั้ง ครั้งสุดท้าย พ.ศ. 2317 เมืองเชียงใหม่ได้ตกเป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงธนบุรีจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระองค์ได้ทรงรวบรวมเมืองเชียงใหม่เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย และได้มีการพัฒนาบ้านเมืองนี้ในสมัยต่อมาเช่น พ.ศ. 2464 ได้สร้างทางรถไฟจากกรุงเทพผ่านดอยขุนตาลถึงเชียงใหม่ และ พ.ศ. 2539 เมืองเชียงใหม่ได้จัดงานฉลอง 700ปี นครเชียงใหม่
*สำหรับเหตุการณ์สำคัญนั้นคือวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2541 ได้เกิดแผ่นดินไหวที่เชียงใหม่ ทำให้ลูกแก้วบนยอดพระธาตุดอยสุเทพตกลงมาแตก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานลูกแก้วดวงใหม่ไปทดแทน
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:ไท]]