ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ม่าจ้อโป๋"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
มาจ้อโป๋ เป็นเทพที่ได้รับการสักการะในช่วงต้นศตวรรษที่ 10 ในช่วง[[ราชวงศ์ซ่ง]] ปัจจุบันการนับถือมาจ้อโป๋มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก โดยมีศาลเจ้ามาจ้อโป๋มากถึง 3,000 แห่ง และถือว่าเป็นเทพที่ได้รับการนับถือมากที่สุดของ[[ประเทศไต้หวัน|ไต้หวัน]]อีกด้วย โดยถือว่าเป็นความเชื่อหรือศาสนาพื้นถิ่นของไต้หวัน มีการก่อตั้งเป็นสมาคมขึ้นมา โดยผู้ที่เคารพนับถือจะมีพิธีกรรมเดินทางแสวงบุญด้วยเท้า ตั้งแต่เวลากลางดึก พร้อมกับขบวนแห่เทวรูปของมาจ้อโป๋ไปตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นระยะเวลานานถึง 9 วัน เชื่อกันว่าเมื่อขบวนแห่ของมาจ้อโป๋ผ่านมาถึงที่ไหน ผู้ที่อาศัยอยู่ที่นั่นจะได้รับความสงบสุข ความสามัคคีในครอบครัว ตลอดจนความสำเร็จในชีวิต และในพิธีกรรมนี้ยังมีการจัดเลี้ยงอาหารไปตลอดทางอีกด้วย
 
ในประเทศไทย ม่าจ้อโป๋ มักจะถูกเข้าใจผิดในหมู่ชาวไทยว่าคือ เจ้าแม่ทับทิม ซึ่งความจริงแล้วเจ้าแม่ทับทิมแท้ที่จริงแล้ว คือ [[เจ้าแม่จุ้ยบ้อเนี้ย| จุ้ยบ้วยเนี้ย]] (水尾聖娘) เทวสตรีอีกองค์หนึ่งที่ถือว่าเป็นเทพแห่งท้องทะเลหรือการเดินเรือเช่นเดียวกัน โดยจุ้ยบ้วยเนี้ยนั้นจะเป็นที่นับถือของ[[ชาวไหหลำ]] ในขณะที่ม่าจ้อโป๋จะเป็นที่นับถือของชาวฮกเกี้ยน และชาวแต้จิ๋ว ซึ่งในอดีตยุคที่ยังมีการค้าขายกันระหว่างไทยกับจีนด้วยเรือสำเภา ชาวไหหลำจะเดินทางมาถึงประเทศไทยในช่วงต้นปี คือ ราวเดือนมกราคม เนื่องจาก[[เกาะไหหลำ]]นั้นมีทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้ประเทศไทยกว่า และจะทำการสักการะบูชาจุ้ยบ้วยเนี้ย เมื่อชาวฮกเกี้ยนและแต้จิ๋วเดินทางมาถึงจะอยู่ในราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม เนื่องจาก[[มณฑลกวางตุ้ง]]และ[[มณฑลฮกเกี้ยน|ฮกเกี้ยน]]นั้นตั้งอยู่ใน[[จีนแผ่นดินใหญ่|แผ่นดินใหญ่]]ซึ่งไกลกว่า และก็ทำการสักการะม่าจ้อโป๋ด้วยเช่นกัน จึงทำให้เกิดความสับสนระหว่างเทพเทวสตรีทั้งสอง อีกทั้งเครื่องประดับยังใกล้เคียงกันอีกด้วย คือ เป็นเครื่องทรง[[สีแดง]] ทั้งนี้เกิดจากฝีมือช่างที่เกิดในประเทศไทย<ref>หน้า 13 ประชาชื่น, ''ศาลเจ้าแม่หม่าโจ้วไม่ใช่เจ้าแม่ทับทิม''. "เล้ง 1919 (LHONG 1919) ท่าเรือ ย้อนเวลาสู่ประวัติศาสตร์ไทย-จีน" โดย ธนะธัช ตังคะประเสริฐ: '''มติชน'''ปีที่ 40 ฉบับที่ 14495: วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560</ref>
 
== อ้างอิง ==