ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บรรดาศักดิ์ไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Slight06 (คุย | ส่วนร่วม)
ข้อความที่ยกมาขาดหลักฐานอ้างอิงที่ีน้ำหนัก
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
 
บรรดาศักดิ์ '''จมื่น''' หรือ '''พระนาย''' นั้น เป็นบรรดาศักดิ์ หัวหน้ามหาดเล็ก ในกรมมหาดเล็ก ศักดินา 800-1000 เทียบได้เท่ากับ บรรดาศักดิ์ พระ ที่มีศักดินาใกล้เคียงกัน แต่จมื่นนั้น ได้รับการยกย่องมากกว่า เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน และมักจะมีอายุยังน้อย อยู่ในระหว่าง 20-30 ปี มักเป็นลูกหลานของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่นำมาถวายตัวรับใช้ใกล้ชิด พระเจ้าแผ่นดิน และเป็นช่องทางเข้ารับราชการต่อไปในอนาคต
 
ส่วนคำว่า '''ออก''' ที่เติมหน้า บรรดาศักดิ์สมัยโบราณนั้น เช่น ออกญา ออกขุน ออกหลวง นั้น มักเป็นคำแสดงความอาวุโสที่จะเป็นบรรดาศักดิ์นั้น แต่ยังไม่ได้เลื่อนขั้นเป็นบรรดาศักดิ์ดังกล่าว เทียบในปัจจุบันคือ "ว่าที่"{{อ้างอิง}}
 
== สมเด็จเจ้าพระยา ==
บรรดาศักดิ์ สมเด็จเจ้าพระยา นั้น เพิ่งมามีครั้งแรกในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาใน[[รัชกาลที่ 4]] และ[[รัชกาลที่ 5]] ได้สถาปนาขึ้นอีก 1 ท่าน หลังจากนั้น ก็ไม่มีผู้ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาอีก สมเด็จเจ้าพระยาจึงมีเพียง 4 ท่าน คือ
# [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก]] บรรดาศักดิ์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ก่อนปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ใหม่
# [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)]] ศักดินา 30,000 สถาปนาขึ้นในรัชกาลที่ 4
# [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)]] ศักดินา 30,000 สถาปนาขึ้นในรัชกาลที่ 4
# [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)]] ศักดินา 30,000 สถาปนาขึ้นในรัชกาลที่ 5
 
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการติดต่อกับประเทศตะวันตก ฝรั่งเทียบให้บรรดาศักดิ์ "สมเด็จเจ้าพระยา" เทียบเท่ากับ ขุนนางตะวันตกชั้น "Grand Duke" โดยหนังสือที่มีถึง [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)|สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์]] นั้นเรียกท่านว่า แกรนด์ดยุก
 
สมเด็จเจ้าพระยาในสมัยรัตนโกสินทร์มีศักดินา 30,000ไร่ เสมอ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยา แล้วยังรับ เครื่องประกอบอิสริยยศ ทองคำลงยาราชาวดี เสมอเจ้าต่างกรม มีพระกลดกางกั้น มีพระแสงราชอาญาสิทธิ์ หากวายชนม์ ก็ให้ใช้คำว่า "ถึงแก่พิราลัย"