ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามครูเสดครั้งที่ 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Swensain (คุย | ส่วนร่วม)
แปลบทความที่เป็นภาษาอังกฤษ จากวิกิที่เป็นภาษาอังกฤษ
Swensain (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
== <small>'''[บทความแปล] สงครามครูเสดครั้งแรก''' (1095-1099) เป็นครั้งแรกที่พวกครูเสด (Crusades) พยายามทวงคืน ‘ดินแดนศักดิ์สิทธิ์’ </small>==
<small>การครูเสดถูกประกาศโดย องค์พระสันตะปาปา ออร์บันที่ 2 (Pope Urban 2) ที่สภาแห่งเคลย์มอนต์ในปี ค.ศ. 1095</small>
 
<small>พระสันตะปาปาออร์บันที่ 2 ได้รวบรวมกองกำลังทหารเพื่อให้ความช่วยเหลือ จักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือสำนักโรมันตะวันออก</small>
 
<small>หลังจากที่ได้สูญเสียดินแดนในอนาโตเลีย (Anatolia) ให้กับพวก เซลจุค เติร์ก (Seljuq Turks) การรวบรวมทหารนั้นนำโดยพวกขุนนางชาวฝรั่งเศส หรือที่รู้จักในนาม ครูเสดของเจ้าชาย (Princes’ Crusade)</small>
 
<small>ไม่เพียงแต่ทวงคือเขตอนาโตเลีย แต่ยังเดินทางเพื่อพิชิตดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ที่ตกไปอยู่ภายใต้โลกมุสลิมตั้งแต่ คริสตศตวรรษที่ 7 และถึงจุดหักมุมในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1099 ในการ ‘ยึดคืนเยรูซาเล็ม’ (Re-conqest of Jerusalem)</small>
 
<small>และการ สถาปนา ‘อาณาจักรเยรูซาเล็ม’ (Kingdom of Jerusalem)</small>
 
<small>จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอส (Alexios I Komnenos) ได้ขอความช่วยเหลือทางการทหารจาก พระสันตะปาปาออร์บันที่ 2 เพื่อเกลี้ยกล่อม ให้สภาแห่งเคลย์มอนต์ (Councill of Clermont) ช่วยทำศึกปิดล้อมเมือง ไนซีอา (Nicaea) และเมือง แอนติโอค (Antioch)</small>
 
<small>พระสันตะปาปาออร์บันที่ 2 ได้กล่าวสุนทรพจน์ ที่สภาแห่งเคลย์มอนต์ ในการเป็นประจักษ์พยาน ในการบันทึกคำพูดของพระสันตะปาปาออร์บันที่ 2 เกี่ยวกับการทวงคืน นครเยรูซาเล็มและดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นเป้าหมายรอง '''[บทนี้อาจไม่ถูกต้อง]'''</small>
 
<small>ความสำเร็จของ ‘ครูเสดของเจ้าชาย’ ถูกยกย่องโดย “ครูเสดชาวบ้าน” (People’s Crusade) และครูเสดชาวบ้านได้ถูกชักนำโดย ‘ปีเตอร์ นักพรต’ (Peter the Hermit) ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ.1096 กลุ่มชาวบ้านและฆราวาส ได้เดินทางไปที่อนาโตเลีย ที่ๆพวกเขาจักต้องเผชิญหน้ากับพวกเติร์ก</small>
 
<small>ระหว่างทางได้เกิดการโจมตีชาวยิวในส่วนหนึ่งของเยอรมันตะวันตก (Rhineland) แต่ทว่าพวกเขาก็มาพ่ายแพ้อย่างราบคาบในศึกซีวีทรอต (Battle of Civetot) ในเดือนตุลาคม</small>
 
<small>ในทางกลับกันกองทัพของ ‘ครูเสดของเจ้าชาย’ มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า ได้ทำการเดินทัพไปในปลายฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1096 และถึงกรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople)  ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1096 ถึง เดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1097</small>
 
<small>พวกครูเสดเดินทัพเข้าสู่อนาโตเลีย ยึดไนซีอา ในเดือน มิถุนายน ค.ศ. 1097 และ แอนติโอค ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1098 พวกเขาเดินทางมาถึงเยรูซาเล็มในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1099 และทำการล้อมป้อมโจมตีชิงเมือง ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ.1099 ทำการปราบปรามกองทหารประจำการ</small>
 
<small>มีการเตรียมแผนยึดเยรูซาเล็มกลับโดยพวกซาระเซ็น (Saracen) แต่แผนการนี้ก็ต้องล้มเหลวไปเพราะอัศวินครูเสดนำกองทัพเข้ามาโจมตีกองทัพมุสลิม ในศึก อาสคาลอน จึงทำให้แผนการยึดเยรูซาเล็มของมุสลิมไม่ประสบความสำเร็จ</small>
 
<small>ระหว่างที่พวกเขาพิชิตดินแดน พวกนักรบครูเสดสถาปนา ‘รัฐครูเสดละติน’ (Latin Rite crusader states ) แห่ง ‘ราชอาณาจักรเยรูซาเล็ม’ (Kingdom of Jerusalem)</small>
 
<small>เมืองทิโปรี (Tripoli) ราชรัฐแอนติออก (Principality of Antioch) เมืองอิเดสซา (County of Edessa) ซึ่งตรงกันข้ามกับความปรารถนาของไบเซนไทน์ เพราะเมืองพวกนั้นเคยเป็นของไบเซนไทน์ แต่พวกครูเสดปฏิเสธที่จะให้คืนกับพวกเขา</small>
 
<small>แต่พวกที่ต้องการดินแดนส่วนนั้นจริงๆก็คือ พวกมุสลิมที่ต้องการดินแดนส่วนนั้นคืนหลังจากที่ถูกยึดโดยพวกละตินคาทอลิก</small>
 
<small>หลังจากยึดคืนเยรูซาเล็มได้แล้ว พวกนักรบครูเสดส่วนมากได้เดินทาง กลับบ้าน ซึ่งการเดินทางออกจากเยรูซาเล็มนั้น ทำให้อาณาจักรง่ายต่อพวกมุสลิมที่หวังจะกลับมายึดคืน ในสงครามครูเสดครั้งต่อไป</small>
 
=== '''<small>ครูเสดชาวบ้าน (People Crusade)</small>''' ===
<small>หล่าขุนนางและอัศวินแห่งฝรั่งเศสไม่ใช่กองทัพกลุ่มแรกที่เดินทางไปยังกรุงเยรูซาเลม  พวกเขาได้ออกเดินทางในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1096 แต่หนึ่งเดือนก่อนหน้านั้นกองทัพของหล่าชาวบ้านและขุนนางชั้นผู้น้อย ได้ออกเดินทางไปก่อนหน้าแล้ว นำโดยปีเตอร์นักพรต(Peter the Hermit)</small>
 
<small>ในศตวรรษต่อมาได้มีการวิเคราะห์กันว่ากองทัพที่ปีเตอร์นำนั้นเต็มไปด้วยชาวบ้านที่ไม่ได้รับการฝึกและไม่รู้หนังสือ แถมยังมีบ้างส่วนที่ไม่รู้จักแม้กระทั้งกรุงเยรูซาเลมอีกด้วย  แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีอัศวินจำนวนหนึ่งติดตามมาด้วยนั้นก็คือวอลเตอร์เดอะเพนนิเลส (Walter the Penniless) ซึ่งทำหน้าที่เป็นรองผู้บัญชาการ</small>
 
<small>กองทัพที่ขาดวินัยและอยู่ในดินแดนที่ไม่คุ้นเคย ปีเตอร์และคณะชาวบ้านของเขาก็พบว่าตนเองนั้นยังอยู่ในดินแดนของชาวคริสเตียน กองทัพส่วนหนึ่งที่นำโดยวอลเตอร์ได้เข้าประทะกับกองทัพฮังกาเรี่ยนที่เบลเกรด แต่ส่วนมากก็ได้ไปถึงกรุงคอนสแตนติโนเปิลอย่างปลอดภัยและได้เข้าร่วมกับขณะครูเสดจาก ฝรั่งเศส เยอรมัน และอิตาลี</small>
 
<small> ในทันทีที่เหล่าชาวบ้านได้มาถึงชานเมืองกรุงคอนสแตนติโนเปิล พวกเขาก็ได้เข้าปล้นพื้นที่ไกล้เคียงจึงทำให้จักรพรรดิอเล็กซิออสต้องทำการจัดเรือข้ามช่องแคบบอสพอรัสอย่างเร่งรีบ และเมื่อเหล่าขณะครูเสดชาวบ้านได้เหยียบดินแดนเอเชียน้อย ก็ได้แยกย้ายกันบุกเข้าปล้นดินแดนชนบท และได้ถลำลึกเข้าไปในดินแดนของเซลจุคบริเวณนครนิเซีย ก็ถูกกองกำลังของเซลจุคล้อมเอาไว้และถูกสังหารหมู่ในเดือนสิงหาคม และต่อมากองทัพของปีเตอร์ก็ได้พ้ายแพ้กองทัพเติร์กอย่างราบคาบในศึกที่ซีวีทรอตในเดือนตุลาคมโดยพลธนูของฝั่งเติร์ก ปีเตอร์และขณะชาวบ้านที่เหลือรอดก็ได้หนีกลับไปที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล และได้เข้าร่วมกับกองทัพครูเสดที่ตามมาในภายหลัง</small>{{Infobox military conflict
| conflict = สงครามครูเสดครั้งที่ 1
| partof = [[สงครามครูเสด]]