ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ณเณร ตาละลักษณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chaipasit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Chaipasit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
ร.ท. ณ เณร เป็นนายทหารกองหนุน ที่ลาออกราชการเพื่อเป็นผู้ลงสมัครสมาชิก[[สภาผู้แทนราษฎรไทย|สภาผู้แทนราษฎร]]ประเภทที่หนึ่ง ในเขต 2 [[จังหวัดพระนคร]] จาก[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476|การเลือกตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2476]] ไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ได้คะแนนเสียงมาเป็นลำดับที่สี่ จากทั้งหมดสามอันดับ และ[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481|การเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2481]] ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นลำดับแรก อีกทั้งยังเป็นบรรณาธิการและเจ้าของ[[หนังสือพิมพ์]] ''"ชุมชน"'' ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่ลงบทความวิพากษ์วิจารณ์[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 8|รัฐบาลในขณะนั้น]]ในเรื่อง พิจารณาพระราชบัญญัติงบประมาณ ที่มี [[พจน์ พหลโยธิน|พระยาพหลพลหยุหเสนา]] เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างรุนแรง ซึ่งต่อมาพระยาพหลฯได้ตัดสินใจ[[การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย|ยุบสภาฯ]] และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมกับยุติทุกบทบาททางการเมือง
 
ร.ท. ณ เณร ถูกจับในข้อหา[[กบฏ]]ร่วมกับผู้ต้องหาอีกหลายคนในกรณี[[กบฏพระยาทรงสุรเดช]] เมื่อ พันเอก [[หลวงพิบูลสงคราม]] ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อ ด้วยข้อหาว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รื้อค้นบ้านพักแล้วพบขวด[[หมึก]][[สีแดง]] 3 ขวด [[สันนิษฐาน]]ว่าเป็นยาพิษที่ใช้ลอบวางยา[[ลอบสังหาร|สังหาร]] พ.อ.หลวงพิบูลฯ ซึ่งผู้ต้องหาหลายคนถูกพยานอ้างว่า ได้วางแผนกันเพื่อลอบสังหารตัว พ.อ.หลวงพิบูลฯ และบุคคลชั้นสูง ทั้ง ๆ ที่ในบรรดาผู้ต้องหานั้นหลายคนไม่ได้รู้จักหรือเคยพบปะกันมาก่อนเลย ซึ่งตัวของ ร.ท. ณ เณร ได้ถูกศาลพิเศษที่ถูกจัดตั้งขึ้นพิพากษาให้[[ประหารชีวิต]]ในวันที่ [[20 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2482
 
ร.ท. ณ เณร ถูกจับเมื่อกลับมาจากต่างจังหวัด และถูกควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจบางกอกน้อย ต่อมาก็ถูกย้ายไปจำคุก ณ [[เรือนจำบางขวาง]] [[จังหวัดนนทบุรี]] เมื่อวันที่ [[17 ตุลาคม]] พ.ศ. 2482 และถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในเวลา 05.55 น. ของวันที่ [[3 ธันวาคม]] ปีเดียวกัน ซึ่งถือเป็นนักโทษประหารชุดสุดท้าย พร้อมกับนายลี บุญตา คนรับใช้ของ พ.อ.หลวงพิบูลฯ ที่ใช้ปืนไล่ยิง พ.อ.หลวงพิบูลฯ เมื่อวันที่ [[9 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2481