ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทวารวดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 7758256 สร้างโดย 171.99.152.222 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 107:
สีมา พบตั้งแต่สมัยทวารวดี โดยพบมากใน[[ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]] เช่นที่บ้านกุดโง้ง [[จังหวัดชัยภูมิ]] ที่ เมืองโบราณฟ้าแดดสูงยาง [[จังหวัดกาฬสินธุ์]] ที่บ้านตาดทอง [[จังหวัดยโสธร]] ที่วัดพุทธมงคล [[อำเภอกันทรวิชัย]] [[จังหวัดมหาสารคาม]] เป็นต้น สีมาทวารวดีพบว่ามีการปักรอบสถูปเจดีย์ด้วย และบ่อยครั้งไม่พบซากอาคารเข้าใจว่าอาคารเดิมอาจสร้างด้วยไม้จึงผุพังไป บางแห่งปัก 3 ใบและบางแห่งพบถึง 15 ใบ นอกจากนี้บางครั้งยังพบปักรอบเพิงหินธรรมชาติ เช่น ที่หอนางอุสา [[อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท]] [[จังหวัดอุดรธานี]] ซึ่งบริเวณนี้อาจเคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อผู้คนหันมานับถือศาสนาพุทธ จึงนำคติการใช้หินปักแบบ
 
วัฒนธรรมหินตั้งเข้าผสมกับคติทางศาสนา มีการปักสีมาขึ้นกลายเป็นวัดป่าหรืออรัญญวาสีไป สีมาสมัยทวารวดีพบหลายแบบทั้งเป็นแผ่นคล้ายเสมาปัจจุบัน เป็นเสากลมหรือแปดเหลี่ยมหรือรูปสี่เหลี่ยม โดยทั่วไปสลักจากหินทราย มีขนาดใหญ่สูงตั้งแต่ 0.80 - 3 เมตร มีภาพสลักโดยทั่วไปเป็นภาพสถูปยอดแหลม หรือสลักภาพเล่าเรื่องชาดก ภาพพุทธประวัติ และลายผักกูดก้านขด เป็นต้น '''''SUANKULARB'''''
 
==โบราณวัตถุ และ ศิลปะ==