ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเอกาทศรถ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 25:
สมเด็จพระเอกาทศรถ หรือที่[[ชาวตะวันตก]]เรียกขานพระองค์ว่า '''พระองค์ขาว''' ตามสีพระวรกาย<ref name="หน้า121">''นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย'', หน้า 121</ref> เสด็จพระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลกในปี พ.ศ. 2103<ref name="หน้า126">''นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย'', หน้า 126</ref> เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กใน[[สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช]]กับ[[พระวิสุทธิกษัตรีย์]] เป็นพระอนุชาของ[[พระสุพรรณกัลยา]]และ[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]]
 
สมเด็จพระเอกาทศรถได้ตามเสด็จสมเด็จพระนเรศวรมหาราชออกรบอยู่เสมอจนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสวยราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา จึงทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2<ref name="หน้า121"/> เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตในปี [[พ.ศ. 2148]] โดยไม่มีพระราชโอรส<ref>''นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย'', หน้า 123</ref> บรรดาเสนาอำมาตย์จึงอัญเชิญพระองค์ขึ้นครองราชย์แต่เพียงพระองค์เดียว ทรงพระนามว่า ''พระศรีสรรเพชญ์ สมเด็จบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจักรพรรดิสร บวรราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาษภาษกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนศวรวรนาถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศัย สมุทยตโรมนต์ สากฬจักรพาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดีวิบุลย์ คุณรุจิตฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพ ตรีภูวนาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธ์ มกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูร บรมบพิตร''<ref>''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)'', หน้า 251</ref>
 
กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของพระองค์ไม่มีข้าศึกเข้าประชิดพระนคร แต่มีต่างชาติเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารมากยิ่งกว่าแต่ก่อน เช่น [[สาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ|พระเจ้าเชียงใหม่นรธาเมงสอ]] พญาตองอู พญาล้านช้าง นอกจากนี้ยังมีพระราชสาส์นติดต่อกับอุปราชโปรตุเกสประจำเมือง[[กัว]]ด้วย<ref name="หน้า126"/>