ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอหัวหิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 22:
 
== ประวัติ ==
ชุมชนหัวหินก่อตั้งขึ้นในราวปี [[พ.ศ. 2377]] ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 3 เมื่อชาวบ้านกลุ่มหนึ่งจากทางตอนเหนือละทิ้งถิ่นฐานและเดินทางมาจนถึงพื้นที่ที่เป็นบริเวณใกล้กับเขาตะเกียบในปัจจุบัน แล้วได้ตั้งถิ่นฐานที่บริเวณนี้ เพราะเห็นว่าเป็นหาดทรายที่สวยงามและแปลกกว่าที่อื่น คือมีกลุ่มหินกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป อีกทั้งที่ดินก็มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับทำการเกษตรและการประมง แล้วตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านสมอเรียง"
ชุมชนหัวหินก่อตั้งขึ้นในราวปี [[พ.ศ. 2377]] ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 3 เมื่อชาวบ้านจากตำบลบางแก้ว จ.เพชรบุรี ชื่อ นายวัดและนางแก้ว และอีกครอบครัวหนึ่งจาก ต. บางจาน จ.เพชรบุรีเช่นกัน ชื่อ นายชูและนางฟูก ทั้งสองครอบครัวลงหลักปักฐานประกอบอาชีพประมง ทำโป๊ะปลา และการเกษตร ปลูกแตงโม ปลูกข้าว (บริเวณหนองปรือ) และสองครอบครัวนี้เป็นต้นตระกูลของหลาย ๆ นามสกุลของหัวหิน เช่น วัดขนาด เทียมทัด ชูตระกูล ปัญจรัตน์ มัชวงศ์ ศรีสวัสดิ์ สันตะวา เล็กน้อย ฉิ่งเล็ก เห่งรวย ไวดาบ สีดอกบวบ ธรรมโชติ แดงช่วง มากหมู่ เชียงโชติ ฮะโหม กาญจโนมัย สรรวิริยะ ฮีกหาญ สถาปนะพงษ์ ฤกษ์ดาวไชย คีรีวัฒน์ แท่นศิลา สาธุการ กระแสสินธุ์และ จูวงศ์
 
เพราะเห็นว่าเป็นหาดทรายที่สวยงามและแปลกกว่าที่อื่น คือมีกลุ่มหินกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป อีกทั้งที่ดินก็มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับทำการเกษตรและการประมง แล้วตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านสมอเรียง"
 
กระทั่ง ปี พ.ศ. 2452 (สมัยรัชกาลที่ 5) เมื่อมีการสำรวจเส้นทางก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ ต่อเนื่องจากสถานีบ้านชะอำ จ.เพชรบุรี การสำรวจพื้นที่ยังต้องใช้วิธีเดินเท้าย่ำไปตามป่า หลังจากทีมสำรวจได้ตำแหน่งอันเหมาะสมที่จะก่อสร้างสถานีรถไฟแล้ว วันหนึ่ง ‘มิสเตอร์กิตตินส์’ ( Henry Gittins ) วิศวกรชาวอังกฤษ เลขานุการกรมรถไฟหลวง วันหนึ่ง ‘มิสเตอร์กิตตินส์’ ( Henry Gittins ) วิศวกรชาวอังกฤษ เลขานุการกรมรถไฟหลวง และผู้อำนวยการสร้างทางรถไฟสายใต้ จึงชวนทีมงานสำรวจเส้นทางให้ลองเดินลัดเลาะป่าละเมาะไปทางตะวันออก ไปได้สักกิโลเมตร เมื่อโผล่พ้นป่า ทุกคนถึงกับยืนตะลึงเพราะข้างหน้านั้นคือ ทะเลกว้าง ฟ้าใส หาดทรายขาวสะอาดทรายละเอียด มีหมู่หินเรียงราย  เป็นที่ตื่นตาตื่นใจ
 
มิสเตอร์กิตตินส์ จึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลต่อ พระองค์เจ้าบูรฉัตรไชยากร ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงและเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมให้ทรงทราบ  ทรงพอพระทัยหาดทรายที่นี่เป็นอย่างมาก และทรงมีพระวินิจแยว่า “อากาศในตำบลนี้แห้งมากและเย็นสบายผิดกว่าที่อื่น ไม่มีที่ใดในพระราชอาณาเขตณ์ที่มีอากาศแห้งและความร้อนหนาวของอากาศจะเป็นปรกติไม่ผันแปรเท่าตำบลนี้ เป้นที่สำหรับคนป่ายไปรักษาตัวและคนธรรมดาไปพักตากอากาศ...”
 
จึงได้ชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผุ้ใหญ่ในราชสำนักมาหาซื้อที่ดินชายทะเลไว้สร้างบ้านพักผ่อนตากอากาศ
 
การตากอากาศชายทะเล เป็นรสนิยมของชนชั้นสูงที่แพร่เข้ามาพร้อมกับชาวตะวันตก เริ่มเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 จากการเรียกร้องของชาวอังกฤษในกรุงเทพฯ ที่ต้องการสถานที่พักผ่อนชายทะเลก่อนที่จะมีการค้นพบหัวหิน ชนชั้นสูงนิยมนั่งเรือไปเกาะสีชัง แต่เมื่อมีการขยายเส้นทางรถไฟไปถึงหัวหิน การโดยสารรถไฟนั้นมีความสะดวกมากกว่า หากต้องการไปพักตากอากาศก็สามารถขนข้าทาสบริวารเดินทางมาด้วยกันทั้งขบวนรถไฟ อีกทั้งชายหาดที่นี่ก็มีความสวยงาม ทั้งหมดจึงเป็นเหตุจูงใจให้พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง คหบดีจากรุงเทพฯ เริ่มมาสร้างบ้านพั้กชายทะเล
 
ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวรฤทธิ์(พระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร ต้นราชสกุลกฤดากร) ได้มาสร้างตำหนักหลังใหญ่ชื่อ "แสนสำราญสุขเวศน์" ที่ด้านใต้ของหมู่หินริมทะเล (ปัจจุบันคือบริเวณที่อยู่ติดกับโรงแรมโซฟิเทลฯ) และทรงขนานนามหาดทรายบริเวณนี้เสียใหม่ว่า "หัวหิน" จนเมื่อเวลาล่วงไป ทั้งตำบลในบริเวณนี้ก็ถูกเรียกในชื่อเดียวกันว่าหัวหิน และเจริญเติบโตขยายขึ้นเป็นอำเภอหัวหินจนถึงปัจจุบัน<ref>คู่มือท่องเที่ยว หัวหิน</ref>
 
ที่ดินส่วนใหญ่ที่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง คหบดีจากรุงเทพฯ ที่มาจับจองหาซื้อที่ดินก่อสร้างบ้านพักตากอากาศส่วนที่ถัดจากแสนสำราญสุขเวศน์ (ปัจจุบันคือบ้านลักษสุภา รีสอร์ท) จะมีพื้นที่จากชายหาดจรดยังถนนเพชรเกษม แต่พื้นที่ส่วนตำหนักแสนสำราญสุขเวศน์มิได้ติดถนนเพชรเกษม ด้วยบริเวณหน้าทางเข้านั้นเป็นหนองน้ำที่ไว้ทำนาปลูกข้าวของชาวบ้านที่อพยบมาก่อร่างสร้างเมืองกัน โดยสังเกตุได้จากเวลาฝนตกหนัก ๆ น้ำจะท่วมขังถนนหน้าโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบ้านลักษสุภา รีสอร์ท ทุกครั้ง ด้วยเพราะเป็นพื้นที่ต่ำรับน้ำ (ปัจจุบันหนองน้ำถูกถมและกลายเป็นอาคารสิ่งก่อสร้าง และเคยเป็นโรงเรียนมานะวิทยาของ โผน กิ่งเพชร แชมป์โลกมวยสากลชาวไทยคนแรกซึ่งเป็นชาวหัวหินโดยกำเนิด และเป็นลูกหลานของชาวบ้านที่มาอยู่อาศัยกันแต่เดิมด้วย)
 
ต่อมาในปี พ.ศ.2464 (สมัยรัชกาลที่ 6) รถไฟสายใต้ก็สามารถรับส่งผู้โดยสารระหว่างมลายูกับกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงเป็นผู้อำนวยการจัดสร้างโรงแรมมาตรฐานชั้นดีของยุโรปขึ้น จึงได้ทรงใช้ที่ดินที่อยู่ติดกับตำหนักแสนสำราญสุขเวศน์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ สร้างเป็นโรงแรมขนาดใหญ่โดยใช้สถาปนิกชื่อ “ริกัซซี่” ให้ทำการออกแบบในสถาปัตยกรรมลักษณะยุโรป มีอาคารยาวสองหลังต่อกันเป็นมุมแก ชั้นล่างเป็นงานโครงสร้างคอนกรีตเสิรมเหล็ก พื้นห้องโถง ระเบียงทางเดิน และช่องบันได ปูด้วยหินอ่อนจากอิตาลีและไม้สัก ประตุหน้าต่างของอาคารชั้นบนล้วนเป็นงานไม้ฝีมือประณีต ภายในตกแต่งอย่างหรูหรา และจ้างผุ้ชำนาญการชาวต่างประเทศเข้ามาฝึกสอนด้านการบริหาร การบริการ ห้องพักและอาหาร จึงนับว่าโฮเต็ลหัวหินเป็นโรงเรียนสอนการอบรมการโรงแรมแห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย
 
อาคารสถานีรถไฟหัวหินหลังแรกนั้นก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2454 สำหรับอาคารสถานีรถไฟหลังปัจจุบันนี้ เดิมเป็นอาคารไม้ที่มีแผนว่าจะใช้ในงาน “สบามรัฐพิพิธภัณฑ์” ซึ่งมีแผนจะจัดที่สวนลุมพินีในปลายปี พ.ศ.2468 แต่ไม่ได้มีการจัดจริง เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยุ่หัวมีพระราชกระแสให้เลิกจัดงานดังกล่าว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน จึงได้ยกอาคารดังกล่าวมาก่อสร้างเป็นสถานีที่เห็นในปัจจุบัน  และสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2469
 
อำเภอหัวหินในอดีตเป็นพื้นที่เขตปกครองของส่วนหนึ่งในเมืองปราณบุรี (เมืองชั้นจัตวา) ขึ้นตรงแขวงเมืองเพชรบุรี จนกระทั่งมีการจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล จึงได้อยู่ในพื้นที่ของอำเภอปราณบุรี เมืองเพชรบุรี (จังหวัดเพชรบุรี)<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/005/59_1.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย (ปรับปรุงการจัดตั้งแบ่งเขตแขวงเมืองเพ็ชร์บุรีเสียใหม่ โดยให้มี ๖ อำเภอ และการจัดกรมการอำเภอ)]] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๘ ตอนที่ ๕ ประกาศ ณ วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ หน้าที่ ๕๙ </ref> ต่อมา วันที่ 2 มกราคม [[พ.ศ. 2449]] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการเหนือเกล้าให้รวมเอาอำเภอเมืองปราณบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอกำเนิดนพคุณ จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นเมืองชั้นจัตวามาก่อนเข้ารวมเป็นจังหวัดปราณบุรี<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/041/1062_1.PDF ประกาศ ตั้งเมืองปราณบุรี] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๓ ตอนที่ ๔๑ ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ หน้าที่ ๑๐๖๒ </ref> และภายหลังได้รับการจัดตั้งเป็น '''กิ่งอำเภอหัวหิน''' ขึ้นกับอำเภอปราณบุรี<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/011/214_3.PDF/ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [เรื่อง ยกเลิกอำเภอเชียงเงิน ตั้งกิ่งอำเภอหัวหิน] เล่มที่ ๒๓ ตอนที่ ๑๑ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๙ หน้าที่ ๒๑๔] </ref>