ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอหัวหิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Olarnwilawan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
 
== ประวัติ ==
ชุมชนหัวหินก่อตั้งขึ้นในราวปี [[พ.ศ. 2377]] ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 3 เมื่อชาวบ้านจากตำบลบางแก้ว จ.เพชรบุรี ชื่อ นายวัดและนางแก้ว และอีกครอบครัวหนึ่งจาก ต. บางจาน จ.เพชรบุรีเช่นกัน ชื่อ นายชูและนางฟูก ทั้งสองครอบครัวลงหลักปักฐานประกอบอาชีพประมง ทำโป๊ะปลา และการเกษตร ปลูกแตงโม ปลูกข้าว (บริเวณหนองปรือ) และสองครอบครัวนี้เป็นต้นตระกูลของหลาย ๆ นามสกุลของหัวหิน เช่น วัดขนาด เทียมทัด ชูตระกูล ปัญจรัตน์ มัชวงศ์ ศรีสวัสดิ์ สันตะวา เล็กน้อย ฉิ่งเล็ก เห่งรวย ไวดาบ สีดอกบวบ ธรรมโชติ แดงช่วง มากหมู่ เชียงโชติ ฮะโหม กาญจโนมัย สรรวิริยะ ฮีกหาญ สถาปนะพงษ์ ฤกษ์ดาวไชย คีรีวัฒน์ แท่นศิลา สาธุการ กระแสสินธุ์และ จูวงศ์
ชุมชนหัวหินก่อตั้งขึ้นในราวปี [[พ.ศ. 2377]] ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 3 เมื่อชาวบ้านกลุ่มหนึ่งจากทางตอนเหนือละทิ้งถิ่นฐานและเดินทางมาจนถึงพื้นที่ที่เป็นบริเวณใกล้กับเขาตะเกียบในปัจจุบัน แล้วได้ตั้งถิ่นฐานที่บริเวณนี้ เพราะเห็นว่าเป็นหาดทรายที่สวยงามและแปลกกว่าที่อื่น คือมีกลุ่มหินกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป อีกทั้งที่ดินก็มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับทำการเกษตรและการประมง แล้วตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านสมอเรียง"
 
ชุมชนหัวหินก่อตั้งขึ้นในราวปี [[พ.ศ. 2377]] ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 3 เมื่อชาวบ้านกลุ่มหนึ่งจากทางตอนเหนือละทิ้งถิ่นฐานและเดินทางมาจนถึงพื้นที่ที่เป็นบริเวณใกล้กับเขาตะเกียบในปัจจุบัน แล้วได้ตั้งถิ่นฐานที่บริเวณนี้ เพราะเห็นว่าเป็นหาดทรายที่สวยงามและแปลกกว่าที่อื่น คือมีกลุ่มหินกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป อีกทั้งที่ดินก็มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับทำการเกษตรและการประมง แล้วตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านสมอเรียง"
 
กระทั่ง ปี พ.ศ. 2452 (สมัยรัชกาลที่ 5) เมื่อมีการสำรวจเส้นทางก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ ต่อเนื่องจากสถานีบ้านชะอำ จ.เพชรบุรี การสำรวจพื้นที่ยังต้องใช้วิธีเดินเท้าย่ำไปตามป่า หลังจากทีมสำรวจได้ตำแหน่งอันเหมาะสมที่จะก่อสร้างสถานีรถไฟแล้ว วันหนึ่ง ‘มิสเตอร์กิตตินส์’ ( Henry Gittins ) วิศวกรชาวอังกฤษ เลขานุการกรมรถไฟหลวง วันหนึ่ง ‘มิสเตอร์กิตตินส์’ ( Henry Gittins ) วิศวกรชาวอังกฤษ เลขานุการกรมรถไฟหลวง และผู้อำนวยการสร้างทางรถไฟสายใต้ จึงชวนทีมงานสำรวจเส้นทางให้ลองเดินลัดเลาะป่าละเมาะไปทางตะวันออก ไปได้สักกิโลเมตร เมื่อโผล่พ้นป่า ทุกคนถึงกับยืนตะลึงเพราะข้างหน้านั้นคือ ทะเลกว้าง ฟ้าใส หาดทรายขาวสะอาดทรายละเอียด มีหมู่หินเรียงราย  เป็นที่ตื่นตาตื่นใจ
 
มิสเตอร์กิตตินส์ จึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลต่อ พระองค์เจ้าบูรฉัตรไชยากร ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงและเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมให้ทรงทราบ  ทรงพอพระทัยหาดทรายที่นี่เป็นอย่างมาก และทรงมีพระวินิจแยว่า “อากาศในตำบลนี้แห้งมากและเย็นสบายผิดกว่าที่อื่น ไม่มีที่ใดในพระราชอาณาเขตณ์ที่มีอากาศแห้งและความร้อนหนาวของอากาศจะเป็นปรกติไม่ผันแปรเท่าตำบลนี้ เป้นที่สำหรับคนป่ายไปรักษาตัวและคนธรรมดาไปพักตากอากาศ...”
 
จึงได้ชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผุ้ใหญ่ในราชสำนักมาหาซื้อที่ดินชายทะเลไว้สร้างบ้านพักผ่อนตากอากาศ
 
การตากอากาศชายทะเล เป็นรสนิยมของชนชั้นสูงที่แพร่เข้ามาพร้อมกับชาวตะวันตก เริ่มเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 จากการเรียกร้องของชาวอังกฤษในกรุงเทพฯ ที่ต้องการสถานที่พักผ่อนชายทะเลก่อนที่จะมีการค้นพบหัวหิน ชนชั้นสูงนิยมนั่งเรือไปเกาะสีชัง แต่เมื่อมีการขยายเส้นทางรถไฟไปถึงหัวหิน การโดยสารรถไฟนั้นมีความสะดวกมากกว่า หากต้องการไปพักตากอากาศก็สามารถขนข้าทาสบริวารเดินทางมาด้วยกันทั้งขบวนรถไฟ อีกทั้งชายหาดที่นี่ก็มีความสวยงาม ทั้งหมดจึงเป็นเหตุจูงใจให้พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง คหบดีจากรุงเทพฯ เริ่มมาสร้างบ้านพั้กชายทะเล
 
ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวรฤทธิ์(พระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร ต้นราชสกุลกฤดากร) ได้มาสร้างตำหนักหลังใหญ่ชื่อ "แสนสำราญสุขเวศน์" ที่ด้านใต้ของหมู่หินริมทะเล (ปัจจุบันคือบริเวณที่อยู่ติดกับโรงแรมโซฟิเทลฯ) และทรงขนานนามหาดทรายบริเวณนี้เสียใหม่ว่า "หัวหิน" จนเมื่อเวลาล่วงไป ทั้งตำบลในบริเวณนี้ก็ถูกเรียกในชื่อเดียวกันว่าหัวหิน และเจริญเติบโตขยายขึ้นเป็นอำเภอหัวหินจนถึงปัจจุบัน<ref>คู่มือท่องเที่ยว หัวหิน</ref>
 
ที่ดินส่วนใหญ่ที่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง คหบดีจากรุงเทพฯ ที่มาจับจองหาซื้อที่ดินก่อสร้างบ้านพักตากอากาศส่วนที่ถัดจากแสนสำราญสุขเวศน์ (ปัจจุบันคือบ้านลักษสุภา รีสอร์ท) จะมีพื้นที่จากชายหาดจรดยังถนนเพชรเกษม แต่พื้นที่ส่วนตำหนักแสนสำราญสุขเวศน์มิได้ติดถนนเพชรเกษม ด้วยบริเวณหน้าทางเข้านั้นเป็นหนองน้ำที่ไว้ทำนาปลูกข้าวของชาวบ้านที่อพยบมาก่อร่างสร้างเมืองกัน โดยสังเกตุได้จากเวลาฝนตกหนัก ๆ น้ำจะท่วมขังถนนหน้าโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบ้านลักษสุภา รีสอร์ท ทุกครั้ง ด้วยเพราะเป็นพื้นที่ต่ำรับน้ำ (ปัจจุบันหนองน้ำถูกถมและกลายเป็นอาคารสิ่งก่อสร้าง และเคยเป็นโรงเรียนมานะวิทยาของ โผน กิ่งเพชร แชมป์โลกมวยสากลชาวไทยคนแรกซึ่งเป็นชาวหัวหินโดยกำเนิด และเป็นลูกหลานของชาวบ้านที่มาอยู่อาศัยกันแต่เดิมด้วย)
 
ต่อมาในปี พ.ศ.2464 (สมัยรัชกาลที่ 6) รถไฟสายใต้ก็สามารถรับส่งผู้โดยสารระหว่างมลายูกับกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงเป็นผู้อำนวยการจัดสร้างโรงแรมมาตรฐานชั้นดีของยุโรปขึ้น จึงได้ทรงใช้ที่ดินที่อยู่ติดกับตำหนักแสนสำราญสุขเวศน์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ สร้างเป็นโรงแรมขนาดใหญ่โดยใช้สถาปนิกชื่อ “ริกัซซี่” ให้ทำการออกแบบในสถาปัตยกรรมลักษณะยุโรป มีอาคารยาวสองหลังต่อกันเป็นมุมแก ชั้นล่างเป็นงานโครงสร้างคอนกรีตเสิรมเหล็ก พื้นห้องโถง ระเบียงทางเดิน และช่องบันได ปูด้วยหินอ่อนจากอิตาลีและไม้สัก ประตุหน้าต่างของอาคารชั้นบนล้วนเป็นงานไม้ฝีมือประณีต ภายในตกแต่งอย่างหรูหรา และจ้างผุ้ชำนาญการชาวต่างประเทศเข้ามาฝึกสอนด้านการบริหาร การบริการ ห้องพักและอาหาร จึงนับว่าโฮเต็ลหัวหินเป็นโรงเรียนสอนการอบรมการโรงแรมแห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย
 
อาคารสถานีรถไฟหัวหินหลังแรกนั้นก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2454 สำหรับอาคารสถานีรถไฟหลังปัจจุบันนี้ เดิมเป็นอาคารไม้ที่มีแผนว่าจะใช้ในงาน “สบามรัฐพิพิธภัณฑ์” ซึ่งมีแผนจะจัดที่สวนลุมพินีในปลายปี พ.ศ.2468 แต่ไม่ได้มีการจัดจริง เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยุ่หัวมีพระราชกระแสให้เลิกจัดงานดังกล่าว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน จึงได้ยกอาคารดังกล่าวมาก่อสร้างเป็นสถานีที่เห็นในปัจจุบัน  และสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2469
 
อำเภอหัวหินในอดีตเป็นพื้นที่เขตปกครองของส่วนหนึ่งในเมืองปราณบุรี (เมืองชั้นจัตวา) ขึ้นตรงแขวงเมืองเพชรบุรี จนกระทั่งมีการจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล จึงได้อยู่ในพื้นที่ของอำเภอปราณบุรี เมืองเพชรบุรี (จังหวัดเพชรบุรี)<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/005/59_1.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย (ปรับปรุงการจัดตั้งแบ่งเขตแขวงเมืองเพ็ชร์บุรีเสียใหม่ โดยให้มี ๖ อำเภอ และการจัดกรมการอำเภอ)]] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๘ ตอนที่ ๕ ประกาศ ณ วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ หน้าที่ ๕๙ </ref> ต่อมา วันที่ 2 มกราคม [[พ.ศ. 2449]] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการเหนือเกล้าให้รวมเอาอำเภอเมืองปราณบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอกำเนิดนพคุณ จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นเมืองชั้นจัตวามาก่อนเข้ารวมเป็นจังหวัดปราณบุรี<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/041/1062_1.PDF ประกาศ ตั้งเมืองปราณบุรี] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๓ ตอนที่ ๔๑ ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ หน้าที่ ๑๐๖๒ </ref> และภายหลังได้รับการจัดตั้งเป็น '''กิ่งอำเภอหัวหิน''' ขึ้นกับอำเภอปราณบุรี<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/011/214_3.PDF/ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [เรื่อง ยกเลิกอำเภอเชียงเงิน ตั้งกิ่งอำเภอหัวหิน] เล่มที่ ๒๓ ตอนที่ ๑๑ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๙ หน้าที่ ๒๑๔] </ref>