ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานแห่งชาติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
ใช้นิยามที่ถูกต้องตามหลักสากลพร้อมอ้างอิงที่เชื่อถือได้ โดยบทความไม่เน้นการนำเสนอประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้นเช่นเดียวกับคำว่าอุทยานแห่งชาติตามวิกีในภาษาต่างๆ ของชาติต่างๆ
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติศาสตร์อุทยานแห่งชาติ: เพิ่มการระบุข้อมูลอุทยานแห่งชาติในประเทศไทยเช่นเดียวกับอุทยานแห่งชาติในภาษาอื่นๆ ที่นำเสนออุทยานแห่งชาติของประเทศตนมากกว่าที่จะนำเสนอโดยเน้นสหรัฐอเมริกา ซึ่งในภาษาอังกฤษคำว่า National Park ก็ได้นำเสนอหลักการเดียวกันคือส่วนใหญ่เกี่ยวกับสหรัฐอเมริกา
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 10:
นิยาม [[อุทยานแห่งชาติ]] ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้นิยามไว้ดังนี้ คำว่าอุทยานแห่งชาติ คือกฎหมายที่ประกาศ โดยมีพระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนดให้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในราชอาณาจักรไทยที่เป็นของราชการมิใช่พื้นที่ครอบครองของผุ้หนึ่งผู้ใดมาก่อนให้สงวนรักษาไว้ให้คงสภาพเดิมเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและความรื่นรมย์ของประชาชน โดยมีพระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนดให้เป็น อุทยานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วย[[อุทยานแห่งชาติ]] <ref>http://www.royin.go.th/dictionary/</ref> [[อุทยานแห่งชาติ]] ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า "National Park" ซึ่งหมายถึง เขตบริเวณพื้นที่ซึ่งสงวน ไว้เพื่อที่จะรักษา และทำการคุ้มครองทรัยากรทางธรรมชาติ นั้นๆ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงไป ตามหลักสากลแล้ว อุทยานแห่งชาตินั้นจะต้องมีพื้นที่ ทั่วทั้งบริเวณไม่น้อยกว่า 6,250 ไร่ หรือประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร ที่สำคัญในพื้นที่ ของอุทยานแห่งชาตินั้นจะต้องมี ธรรมชาติของ วิวทิวทัศน์ที่สวยงาม
 
==ประวัติศาสตร์อุทยานแห่งชาติของประเทศไทย==
'''แนวความคิดเรื่อง[[อุทยานแห่งชาติ]]''' เริ่มต้น 100 กว่าปีแล้วในประเทศสหรัฐอเมริกา การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทำให้มีพื้นที่เพื่อที่อยู่อาศัยและพื้นที่เพาะปลูกมีผลผลิตน้อยลง การสำรวจและบุกเบิกดังกล่าวส่งผลให้มีการค้นพบภูมิประเทศที่งดงามหลายแห่ง การตั้งถิ่นฐานและการเพาะปลูกในพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้น ทำให้พื้นที่ป่าลดลงมาก จนปี พ.ศ. 2407 แนวความคิดทางนิเวศวิทยาของ George Perkins Marsh ในหนังสือ Man and Nature ที่ว่า '''"มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกับธรรมชาติ การทำลายธรรมชาติก็เท่ากับว่าเป็นการทำลายตัวมนุษย์เอง"''' ได้จุดประกายให้มีการริเริ่มการสงวนแหล่งธรรมชาติขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2415 อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของโลกจึงได้ถูกจัดตั้งขึ้นที่ [[Yellowstone]] โดย Abraham Lincoln
'''ใน[[ประเทศไทย]]แนวความคิดในการจัดตั้ง[[อุทยานแห่งชาติ]]'''ได้ริเริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องมาจากอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการพื้นที่เพื่อการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ผลที่ตามมาคือการหักล้างถางพงเปลี่ยนสภาพป่าเป็นไร่นา ประกอบกับความเจริญทางด้านวัตถุและเทคโนโลยี มีการใช้อาวุธที่ทันสมัยล่าสัตว์อย่างล้างผลาญ ทำให้สัตว์ป่าลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว สัตว์ป่าบางชนิดสูญพันธุ์ไป จนในที่สุดรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะด้านป่าไม้และสัตว์ป่า จึงดำริให้มีการจัดตั้ง[[สวนรุกขชาติ]] [[วนอุทยา]]น และ[[อุทยานแห่งชาติ]] โดยกำหนดให้ป่าภูกระดึง [[จังหวัดเลย]] เป็นวนอุทยานแห่งแรก ในปี พ.ศ. 2486 แต่ด้วยเป็นช่วงสงครามโลก การดำเนินงานเพื่อประกาศจัดตั้ง[[อุทยานแห่งชาติ]]จึงมีอุปสรรคและต้องระงับไปจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2502 ฯลฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] ได้สั่งการให้[[กระทรวงเกษตร]]และ[[กระทรวงมหาดไทย]]ร่วมกันพิจารณากำหนดพื้นที่ป่าเพื่อจัดตั้ง'''[[อุทยานแห่งชาติ]]'''ขึ้น<ref>http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=1169</ref> ปัจจุบันประเทศไทยมีอุทยานแห่งชาติจำนวน 131 แห่ง<ref>http://portal.dnp.go.th/DNP/FileSystem/download?uuid=6c63799b-f8c5-4dc9-a153-5443f8b4debd.pdf</ref> ด้วยพื้นที่ทั้งหมด 40,000,739.00 ไร่ หรือประมาณ 64,001.18 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12.47 % ของเนื้อที่ของประเทศ จากพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด 320,696,887.50 ไร่ หรือประมาณ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร<ref>http://portal.dnp.go.th/DNP/FileSystem/download?uuid=6c63799b-f8c5-4dc9-a153-5443f8b4debd.pdf</ref>
 
===อุทยานแห่งชาติแห่งแรกในประเทศไทยคือ===
ในปี 2505 พื้นที่ที่เขาใหญ่มีพื้นที่ติดต่อกับที่ตั้งโดยรอบถึง 11 อำเภอ ใน 4 จังหวัด อันได้แก่ อำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียว [[จังหวัดนครราชสีมา]]; อำเภอนาดี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอเมืองปราจีนบุรี [[จังหวัดปราจีนบุรี]]; อำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายก [[จังหวัดนครนายก]]; และอำเภอแก่งคอย อำเภอมวกเหล็ก [[จังหวัดสระบุรี]] โดยประกาศให้เขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย โดยได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2505 โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า "อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่" และได้รับสมญานามว่าเป็น "อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน"
 
===อุทยานแห่งชาติล่าสุดของประเทศไทยคือ===
พื้นที่ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติล่าสุดคือ [[อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้]] เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560 อยู่ที่ [[จังหวัดเชียงใหม่]] ใช้เวลายาวนานถึง 26 ปี ที่กรมป่าไม้ได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อปี 2534 เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ จนมีประกาศในราขกิจจานุเบกษาให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560 เป็น[[อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 131 ]]ของประเทศไทย<ref>http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=3855</ref> และนับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่สามในรัชกาลปัจจุบัน (ที่แรกคือ[[อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย]] ที่สอง [[อุทยานแห่งชาติขุนสถาน]])
[[อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้]] มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่[[อำเภอสันกำแพง]][[อำเภอดอยสะเก็ด]] [[อำเภอแม่ออน]][[จังหวัดเชียงใหม่]] และท้องที่[[อำเภอบ้านธิ]] [[อำเภอเมือง]] [[จังหวัดลำพูน]] ภูมิประเทศเป็น[[เทือกเขา]]สูงสลับซับซ้อน เป็นพื้นที่ต้นน้ำของลุ่มน้ำปิง มี[[พันธุ์ไม้]]มีค่าและ[[สัตว์ป่า]]ที่สำคัญหลายชนิดและประกอบ ด้วยจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งเช่น [[น้ำตก]] [[อ่างเก็บน้ำ]] [[เขื่อน]] [[หน้าผา]] และ[[ยอดเขา]]ที่สูงเด่น เป็นต้น มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 320,750 ไร่ หรือ 513.20 ตารางกิโลเมตร
 
===อุทยานแห่งชาติในประเทศไทยที่มีพื้นที่มากที่สุดคือ===
ด้วยพื้นที่ประมาณ 2,915 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,821,875 ไร่ หรือประมาณ 1.8 ล้านไร่ ทำให้[[อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน]]เป็นอุทยานแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดโดยได้รับการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2524 โดยกำหนดพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำและป่าเหนือเขื่อนแก่งกระจานเป็นเขตอุทยานฯ เป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานฯ เป็นภูเขาสลับซับซ้อนอยู่ในเทือกเขาตะนาวศรี สภาพภูมิประเทศเป็นป่าดิบชื้น ยอดเขาที่สูงที่สุดในอุทยานฯ คือยอดเขางะงันนิกยวงตอง อยู่ในเขตรอยต่อประเทศพม่าและไทย มีความสูง 1,513 เมตร รองลงมาคือยอดเขาพะเนินทุ่ง ซึ่งมีความสูง 1,207 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จากสันเขื่อนแก่งกระจาน มีถนนเลียบออกมาทางซ้ายมือเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวมหัศจรรย์เมืองไทย ประจำเดือนเมษายน โดยมีจุดเด่น คือ "ตระการตาลานผีเสื้อในป่าแก่งกระจาน"<ref>https://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน</ref>