ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานแห่งชาติ"

ไม่มีคำอธิบายอย่างย่อ
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
'''อุทยานแห่งชาติ''' ({{lang-en|national park}}) คือ [[อุทยาน]] (park) ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใน[[การอนุรักษ์ (จริยศาสตร์)|การสงวนรักษา]] มักเป็นแหล่งสงวนที่ดินทางธรรมชาติ ที่ดินกึ่งธรรมชาติ หรือที่ดินที่สร้างขึ้น ตามประกาศหรืออยู่ในความครอบครองของ[[รัฐเอกราช]] แม้ประเทศแต่ละแห่งจะนิยามอุทยานแห่งชาติของตนไว้ต่างกัน แต่มีแนวคิดร่วมกัน คือ การสงวนรักษา "ธรรมชาติแบบป่า" (wild nature) ไว้เพื่อคนรุ่นหลัง และเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิของชาติ<ref>Europarc Federation (eds.) 2009, Living Parks, 100 Years of National Parks in Europe, Oekom Verlag, München</ref> ส่วนในระดับสากลนั้น องค์การระหว่างประเทศชื่อ "[[สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ]]" หรือ "ไอยูซีเอ็น" (International Union for Conservation of Nature: IUCN) และหน่วยงานในสังกัด คือ [[คณะกรรมการโลกว่าด้วยพื้นที่คุ้มครอง]] (World Commission on Protected Areas) เป็นผู้นิยามอุทยานแห่งชาติ และ[[พื้นที่คุ้มครอง]] ประเภท "หมวด 2" (Category II)
 
ใน[[สหรัฐ]] แม้มีการเสนอเกี่ยวกับประเภทของอุทยานแห่งชาติมาก่อนแล้ว แต่มีการจัดตั้ง "อุทยานแห่งชาติหรือพื้นที่รื่นรมย์เพื่อประโยชน์และความเพลิดเพลินของประชาชน" (public park or pleasuring-ground for the benefit and enjoyment of the people) เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1872 คือ [[อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน]] (Yellowstone National Park)<ref>[http://memory.loc.gov/cgi-bin/ampage?collId=amrvl&fileName=vl002//amrvlvl002.db&recNum=1&itemLink=r%3Fammem%2Fconsrvbib%3A@field%28NUMBER%2B@band%28amrvl%2Bvl002%29%29&linkText=0 The Act] {{webarchive|url=https://web.archive.org/web/20170123114358/http://memory.loc.gov/cgi-bin/ampage?collId=amrvl&fileName=vl002%2F%2Famrvlvl002.db&recNum=1&itemLink=r%3Fammem%2Fconsrvbib%3A%40field%28NUMBER%2B%40band%28amrvl%2Bvl002%29%29&linkText=0 |date=23 January 2017 }}</ref> เยลโลว์สโตนไม่ได้รับการเรียกขานในกฎหมายว่า เป็นอุทยานแห่งชาติ แต่ในทางปฏิบัติถือกันว่า เป็นอุทยานแห่งชาติ<ref>[https://archive.org/stream/annualreports18721880#page/n7/mode/2up Report of the Superintendent of Yellowstone National Park for the Year 1872] {{webarchive|url=https://web.archive.org/web/20160403152134/https://archive.org/stream/annualreports18721880 |date=3 April 2016 }}, 43rd Congress, 3rd Session, ex. doc. 35, quoting Department of Interior letter of 10 May 1872, "The reservation so set apart is to be known as the "Yellowstone National Park"."</ref> และถือกันอย่างกว้างขวางว่า เป็นอุทยานแห่งชาติที่แรกในโลก และเป็นอุทยานแห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ส่วนพื้นที่คุ้มครองที่เก่าแก่ที่สุดนั้น คือ [[ป่าสงวนโทเบโกเมนริดจ์]] (Tobago Main Ridge Forest Reserve) จัดตั้งใน ค.ศ. 1776 กับเขตโดยรอบ คือ [[ภูเขาบอจด์ข่าน]] (Bogd Khan Mountain) จัดตั้งใน ค.ศ. 1778 ซึ่งเป็นเวลาเกือบหนึ่งร้อยปีก่อนเยลโลว์สโตน<ref>{{cite web | author=Hardy, U. | date=9 April 2017 | url=https://theculturetrip.com/north-america/articles/the-10-oldest-national-parks-in-the-world/ |title=The 10 Oldest National Parks In The World | publisher=The CultureTrip |accessdate=21 December 2017 }}</ref><ref>{{cite book| author=Bonnett, A. | year=2016 | title=The Geography of Nostalgia: Global and Local Perspectives on Modernity and Loss | publisher=Routledge | page=68 | isbn=978-1-315-88297-0 }}</ref> สถานที่ที่กฎหมายสหรัฐเรียกอย่างเป็นทางการว่า "อุทยานแห่งชาติ" เป็นที่แรก คือ [[อุทยานแห่งชาติแมกคะนอว์]] (Mackinac National Park) จัดตั้งใน ค.ศ. 1875 ต่อมาใน ค.ศ. 1879 มีการจัดตั้ง[[ราชอุทยานแห่งชาติ]] (Royal National Park) ใน[[ออสเตรเลีย]] จึงถือเป็นอุทยานแห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสามของโลก<ref name=StevensBertram>{{cite web|url=http://www.environment.gov.au/cgi-bin/ahdb/search.pl?mode=place_detail;place_id=105893|title=National parks|accessdate=2 November 2014|date=31 July 2007|work=Department of Communications, Information Technology and the Arts|publisher=[[Australian Government]]}}</ref> อย่างไรก็ดี ใน ค.ศ. 1895 มีการแปรสถานะแมกคะนอว์จาก อุทยานแห่งชาติ เป็น อุทยานแห่งรัฐ (state park) โดยโอนกรรมสิทธิ์จากรัฐบาลระดับชาติไปให้รัฐบาลท้องถิ่นของ[[รัฐมิชิแกน]]แทน<ref name="ReferenceA">Kim Allen Scott, 2011 "Robertson's Echo The Conservation Ethic in the Establishment of Yellowstone and Royal National Parks" Yellowstone Science 19:3</ref> ดังนั้น จึงมีผู้ถือว่า ราชอุทยานของออสเตรเลียเป็นอุทยานแห่งชาติอันเก่าแก่เป็นอันดับที่สองของโลก<ref name="ReferenceA"/><ref>{{cite web | url=http://pinkava.asu.edu/starcentral/microscope/portal.php?pagetitle=getcollection&collectionID=127 | archive-url=https://web.archive.org/web/20141102063535/http://pinkava.asu.edu/starcentral/microscope/portal.php?pagetitle=getcollection&collectionID=127 | dead-url=yes | archive-date=2 November 2014 | title=Audley Bottom | publisher=Pinkava.asu.edu | accessdate=3 November 2014 }}</ref><ref>Rodney Harrison, 2012 "Heritage: Critical approaches" Routledge</ref> ครั้น ค.ศ. 1911 [[แคนาดา]]จัดตั้งหน่วยงานชื่อ "[[อุทยานแคนาดา]]" (Parks Canada) ขึ้นดูแลอุทยานแห่งชาติ นับเป็นหน่วยราชการแห่งแรกของโลกที่จัดตั้งขึ้นเพื่องานด้านอุทยานแห่งชาติ<ref>{{cite web |url=http://www.wwf.ca/newsroom/?uNewsID=9381 |title=Archived copy |accessdate=25 May 2017 |deadurl=no |archiveurl=https://web.archive.org/web/20171107011646/http://www.wwf.ca/newsroom/?uNewsID=9381 |archivedate=7 November 2017 |df=dmy-all }}</ref>
 
อุทยานแห่งชาติขนาดใหญ่ที่สุดในโลกตามนิยามของไอยูซีเอ็น คือ [[อุทยานแห่งชาติกรีนแลนด์ตะวันออกเฉียงเหนือ]] (Northeast Greenland National Park) ซึ่งจัดตั้งใน ค.ศ. 1974 และตามข้อมูลของไอยูซีเอ็น ใน ค.ศ. 2006 มีอุทยานแห่งชาติ 6,555 แห่งที่เข้าหลักเกณฑ์ของไอยูซีเอ็น นอกจากนี้ ไอยูซีเอ็นยังพิจารณาปรับเปลี่ยนนิยามอุทยานแห่งชาติอยู่เป็นระยะ<ref>{{cite web|title=History of the National Parks|url=http://www.nationalparks.gov.uk/press/history.htm|work=Association of National Park Authorities|accessdate=12 November 2012|deadurl=yes|archiveurl=https://web.archive.org/web/20130421112821/http://www.nationalparks.gov.uk/press/history.htm|archivedate=21 April 2013|df=dmy-all}}</ref>
21,223

การแก้ไข