ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชาธิปไตย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7744394 สร้างโดย 2403:6200:8817:6746:C93E:3840:A33F:98C7 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 4:
{{legend|green|รัฐที่มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย}}
{{legend|red|รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ [[นครรัฐวาติกัน]] [[ประเทศซาอุดิอาระเบีย]] [[UAE]] [[กาตาร์]] [[โอมาน]] [[ฟิจิ]]และ[[บรูไน]]}}]]
'''ประชาธิปไตย'''เป็น[[ระบอบการปกครอง]]แบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของ[[พลเมือง]] ผู้เป็นเจ้าของ[[อำนาจอธิปไตย]] โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน
'''ประชาธิปไตย ลุงตู่ ระบอบอะไรครับ'''
 
ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบาง[[นครรัฐกรีก|นครรัฐกรีกโบราณ]]ช่วงศตวรรษที่ 5 [[ก่อนคริสตกาล]] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน[[เอเธนส์]]หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล<ref name="BBC1">[http://www.bbc.co.uk/history/ancient/greeks/greekdemocracy_01.shtml ประวัติศาสตร์ของระบอบประชาธิปไตยโดยบีบีซี]</ref> ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า '''[[ประชาธิปไตยทางตรง]]''' ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็น'''[[ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน]]''' โดยสาธารณะออกเสียงใน[[การเลือกตั้ง]]และเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนใน[[รัฐสภา]] จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิก[[เทศบาล]] อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียง[[การลงประชามติ]] การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง
บรรทัด 157:
สำหรับนักทฤษฎีการเมืองแล้ว ได้มีการเสนอรูปแบบของประชาธิปไตยอีกเป็นจำนวนมาก อันประกอบด้วย:
* ''ประชาธิปไตยแบบรวมกัน'' (Agregative Democracy) ซึ่งเป็นกระบวนการประชาธิปไตยที่โอนเอียงเข้าหาข้อเรียกร้องของพลเมือง จากนั้นจึงนำข้อเรียกร้องดังกล่าวเพื่อมาตัดสินรูปแบบนโยบายทางสังคมที่สมควรนำไปปฏิบัติ ฝ่ายผู้ไม่เห็นด้วยได้แสดงความคิดเห็นว่า การมีส่วนร่วมในการปกครองรูปแบบประชาธิปไตยนั้นควรจะเน้นไปยังการเลือกตั้งอันเป็นสิทธิพื้นฐาน ซึ่งนโยบายที่มีผู้สนับสนุนเป็นจำนวนมากก็จะได้รับการนำไปปฏิบัติ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายรูปแบบ
** ตามแนวคิด[[จุลนิยม]]แล้ว ประชาธิปไตย คือ รูปแบบการปกครอง ซึ่งประชาชนได้มอบสิทธิในการใช้อำนาจให้กับผู้นำทางการเมืองตามระยะเวลาการเลือกตั้งคราวหนึ่ง ตามแนวคิดจุลนิยม ประชาชนไม่สามารถและไม่มีสิทธิในการปกครอง เนื่องจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาส่วนใหญ่ของมนุษยชาตินั้นไม่มีวิสัยทัศน์หรือถ้ามีก็เลว ซึ่งโจเซฟ ชุมเปเตอร์ได้เสนอมุมมองของเขาในหนังสือเรื่อง ''Capitalism, Socialism, and Democracy'' อันโด่งดังของเขา<ref>Joseph Schumpeter, (1950). ''Capitalism, Socialism, and Democracy''. Harper Perennial. ISBN 0-06-133008-6.</ref> โดยมีผู้สนับสนุน ได้แก่ วิลเลียม เอช. ไรเกอร์ อดัม ปร์เซวอร์สกี และริชาร์ด พอสเนอร์
** อีกฝ่ายหนึ่ง แนวคิด[[ประชาธิปไตยทางตรง]] ยึดมั่นในแนวคิดที่ว่าประชาชนควรมีส่วนร่วมในกระบวนการการร่างกฎหมายและนโยบายของรัฐอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องใช้อำนาจผ่านผู้แทนราษฎร ผู้สนับสนุนประชาธิปไตยทางตรงได้ยกเหตุผลสนับสนุนระบอบดังกล่าวอยู่หลายข้อ จากการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองจะเป็นประโยชน์แก่พลเมืองของรัฐ เนื่องจากจะนำไปสู่การสร้างชุมชนและการศึกษา การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนยังจะเป็นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และเหตุผลที่สำคัญที่สุด พลเมืองมิได้ปกครองตนเองนอกเหนือจากการตัดสินใจร่างกฎหมายและร่างนโยบายโดยตรงเท่านั้น
** รัฐบาลมักออกกฎหมายและนโยบายซึ่งใกล้เคียงกับแนวคิดสายกลาง ซึ่งแท้จริงแล้ว ผลกระทบอันพึงปรารถนาเมื่อแสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์ส่วนตนและการกระทำที่ปล่อยปละละเลย เพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียงของประชาชน ซึ่งแอนโทนี ดาวนส์ได้เสนอว่าควรจะมีการจัดตั้งพรรคการเมืองในอุดมคติขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างปัจเจกบุคคลกับรัฐบาล โดยเขาได้แสดงแนวคิดของเขาในหนังสือ ''An Economic Theory of Democracy'' ใน ค.ศ. 1957<ref>Anthony Downs, (1957). ''An Economic Theory of Democracy''. Harpercollins College. ISBN 0-06-041750-1.</ref>