ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แผนลับ 20 กรกฎาคม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ระวังสับสน|ปฏิบัติการวาลคิรีคือเรอ}}
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
{{Infobox military conflict
บรรทัด 35:
 
== วางแผนรัฐประหาร ==
{{บทความหลัก|ปฏิบัติการวาลคิรีคือเรอ}}
=== บุคคลสำคัญ ===
<gallery perrow="5" caption="บุคคลสำคัญ (ผู้มีส่วนร่วม)">
บรรทัด 53:
 
=== แผนใหม่ ===
ขณะนี้ออลบริชท์เสนอยุทธศาสตร์ใหม่สำหรับจัดรัฐประหารต่อฮิตเลอร์ กองทัพหนุน ([[แอร์ซัทซ์เฮร์]]) มีแผนปฏิบัติการเรียก ''ปฏิบัติการวาลคิรีคือเรอ'' (ชื่อเยอรมันคือ ''วัลคือเรอ'') ซึ่งตั้งใจใช้ในเหตุการณ์ที่การทิ้งระเบิดนครเยอรมันของฝ่ายสัมพันธมิตรทำให้เกิดการขัดขวางจนไม่สามารถรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อย หรือแรงงานบังคับหลายล้านคนจากประเทศที่ถูกยึดครองซึ่งปัจจุบันถูกใช้ในโรงงานของเยอรมนีก่อการกำเริบ ออลบริชท์เสนอว่า สามารถใช้แผนนี้ระดมกองทัพหนุนเพื่อจุดประสงค์รัฐประหารได้ ในเดือนสิงหาคมและกันยายน ค.ศ. 1943 เทรสคอว์ร่างแผนวาลคีรี "ทบทวน" และคำสั่งเพิ่มเติมใหม่ คำประกาศลับเริ่มต้นด้วยคำเหล่านี้: "ฟือแรร์อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เสียชีวิตแล้ว! กลุ่มผู้นำพรรคทรยศพยายามแสวงหาประโยชน์จากสถานการณ์โดยโจมตีทหารพร้อมรบของเราจากข้างหลังเพื่อยึดอำนาจเป็นของตน" มีการเขียนคำสั่งละเอียดสำหรับการยึดกระทรวงในกรุงเบอร์ลิน สำนักงานใหญ่ของฮิมม์เลอร์ในปรัสเซียตะวันออก สถานีวิทยุและสำนักงานโทรศัพท์ และกลไกนาซีอื่นทั่วทั้งมณฑลทหารและค่ายกักกัน<ref>Fest, Joachim. ''Plotting Hitler's Death: The German Resistance to Hitler, 1933–1945'', 1996, p. 219.</ref> เดิมเชื่อกันว่าชเตาฟ์เฟนแบร์กเป็นผู้รับผิดชอบหลักของแผนวาลคีรี แต่เอกสารที่ได้จากสหภาพโซเวียตหลังสงครามและเผยแพร่ใน ค.ศ. 2007 เสนอว่า เทรสคอว์พัฒนาแผนดังกล่าวในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1943<ref>Hoffmann, Peter. [http://www.atypon-link.com/OLD/doi/pdf/10.1524/VfZg.2007.55.2.331 "Oberst i. G. Henning von Tresckow und die Staatsstreichpläne im Jahr 1943"].</ref> เอรีคา ภรรยาของเทรสคอว์ และมาร์การีเทอ ฟอน โอเฟน เลขานุการของเขา เป็นผู้จัดการสารสนเทศลายลักษณ์ทั้งหมด หญิงทั้งสองสวมถุงมือเพื่อไม่ให้ทิ้งรอยนิ้วมือ<ref>Fest, ''Plotting Hitler's Death: The German Resistance to Hitler, 1933–1945'', 1996, p. 220.</ref> ปฏิบัติการวาลคีรีสามารถใช้บังคับได้เฉพาะพลเอก ฟรีดริช ฟรอมม์ ผู้บัญชาการกองทัพหนุน ฉะนั้นเขาต้องถูกดึงมาเป็นพวกหรือให้เป็นกลางเพื่อให้แผนสำเร็จ ฟรอมม์ เช่นเดียวกับนายทหารอาวุโสคนอื่นอีกหลายคน ทราบโดยรวมว่ามีการสมคบทางทหารต่อฮิตเลอร์ แต่มิได้ทั้งสนับสนุนและรายงานต่อเกสตาโพ
 
=== ความพยายามล้มเหลวที่ผ่านมา ===
บรรทัด 96:
ในขณะที่กำลังเดินไปที่รถยนต์ ชเตาฟ์เฟนแบร์กได้ยินเสียงระเบิดและเห็นควันลอยออกจากหน้าต่างที่แตกของโรงทหารคอนกรีตนั้น ก็เชื่อว่าฮิตเลอร์เสียชีวิตแล้ว จึงโดดขึ้นรถทหารของเขาพร้อมนายทหารผู้ช่วย ร้อยโทแวร์เนอร์ ฟอน แฮฟเทิน และหลอกผ่านด่านตรวจสามแห่งก่อนออกจากรังหมาป่า จากนั้นร้อยโทแฮฟเทินได้โยนแท่งระเบิดลูกที่สองที่ไม่ได้ใช้และยังไม่ได้แทงเข็มแทงชนวนเข้าไปในป่า ขณะเร่งรุดไปยังสนามบินรัสเทนบูร์กทันก่อนทราบว่าชเตาฟ์เฟนแบร์กอาจรับผิดชอบต่อเหตุระเบิดดังกล่าว เมื่อเวลา 13.00 น. เขานั่งเครื่องไฮน์เคิล เฮอ 111 ที่พลเอกแอดวร์ท วากเนอร์ จัดเตรียมไว้ให้
 
เมื่อเครื่องบินของชเตาฟ์เฟนแบร์กถึงกรุงเบอร์ลินเมื่อเวลาราว 16.00 น.<ref>[http://ondemand-mp3.dradio.de/file/dradio/2010/07/20/dlf_20100720_1423_950da222.mp3 German radio broadcast 10 July 2010] on [[Deutschlandfunk]] (MP3; in German)</ref><ref>[http://www.br-online.de/bayern1/mittags-in-mainfranken/regionalnews-frankenmagazin-stauffenberg-ID1279545336073.xml German radio broadcast 10 July 2010] on [[Bayerischer Rundfunk|Bayern1]] (written version; in German)</ref> นายพล[[แอริช เฟ็ลล์กีเบิล]] นายทหารที่รังหมาป่าซึ่งอยู่ในแผนลับด้วย โทรศัพท์ถึงเบนด์แลร์บล็อกและบอกผู้ก่อการว่าฮิตเลอร์รอดชีวิตจากการระเบิด ผลคือ การระดมปฏิบัติการวาลคีรีจะไม่มีโอกาสสำเร็จเมื่อนายทหารกำลังรักษาดินแดนทราบว่าฮิตเลอร์ยังมีชีวิตอยู่ มีความสับสนยิ่งขึ้นอีกเมื่อเครื่องบินของชเตาฟ์เฟนแบร์กลงจอดและเขาโทรศัพท์จากสนามบินและว่าแท้จริงฮิตเลอร์เสียชีวิตแล้ว<ref name="Kutrz, Harold 1974, p. 227">Kutrz, Harold, ''July Plot'' in Taylor 1974, p. 227.</ref> ผู้ก่อการที่เบนด์เลอร์บล็อกไม่รู้จะเชื่อใครดี สุดท้ายเมื่อเวลา 16.00 น. ออลบริชท์ออกคำสั่งให้ดำเนินปฏิบัติการวาลคิรีคือเรอ ทว่าพลเอก ฟรอมม์ผู้ลังเลโทรศัพท์หาจอมพลวิลเฮล์ม ไคเทิลและได้รับการยืนยันว่าฮิตเลอร์รอดชีวิต ไคเทิลต้องการทราบที่อยู่ของชเตาฟ์เฟนแบร์ก ซึ่งเป็นการบอกฟรอมม์ว่ามีการสืบแผนลับมาถึงสำนักงานใหญ่ของเขาแล้ว และเขาอยู่ในอันตรายใหญ่หลวง ฟรอมม์ตอบไปว่าเขาคิดว่าชเตาฟ์เฟนแบร์กอยู่กับฮิตเลอร์ <ref>Galante, pp. 11–12</ref>
 
ขณะเดียวกัน [[คาร์ล-ไฮน์ริช ฟอน ชตึลพ์นาเกิล]] ผู้ว่าการทหารในดินแดนยึดครองฝรั่งเศส จัดการปลดอาวุธเอสเดและเอ็สเอ็ส และจับตัวผู้นำส่วนใหญ่ได้ เขาเดินทางไปยังสำนักงานใหญ่ของ[[กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอ]]และขอให้เขาติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทว่า เขาได้รับแจ้งว่าฮิตเลอร์ยังมีชีวิตอยู่<ref name="Kutrz, Harold 1974, p. 227"/> เวลา 16.40 น. ชเตาฟ์เฟนแบร์กและแฮฟเทินมาถึงเบนด์แลร์บล็อก ฟรอมม์เปลี่ยนฝ่ายและพยายามจับตัวชเตาฟ์เฟนแบร์ก ซึ่งเข้าใจว่าพยายามปกป้องตัวเอง ออลบริชและชเตาฟ์เฟนแบร์กจึงใช้ปืนกักขังเขาไว้ แล้วออลบริชท์แต่งตั้งให้พลเอกแอริช เฮิพแนร์ ปฏิบัติหน้าที่แทนเขา
 
ถึงขณะนี้ ฮิมม์เลอร์เข้าควบคุมสถานการณ์และออกคำสั่งยกเลิกคำสั่งดำเนินการปฏิบัติการวาลคิรีคือเรอของออลบริชท์ ในหลายพื้นที่ รัฐประหารยังดำเนินไป นำโดยนายทหารซึ่งเชื่อว่าฮิตเลอร์เสียชีวิตแล้ว ในกรุงเบอร์ลิน พลเอก พอล ฟอน ฮาเซอ หัวหน้านครและผู้ก่อการ ออกคำสั่งกองพลกรอสส์ดอยท์ชลันด์ ภายใต้บังคับบัญชาของพันตรี [[ออทโท แอร์นสท์ เรแมร์]] ยึดวิลเฮล์มสตรัสเซอและจับตัวรัฐมนตรีโฆษณาการ [[โยเซฟ เกิบเบิลส์]]<ref name="Galante, p. 209">Galante, p. 209</ref> ในกรุง[[เวียนนา]] กรุง[[ปราก]] และอีกหลายแห่ง ทหารยึดครองสำนักงานพรรคนาซีและจับกุม[[เกาไลแตร์]]และนายทหารเอ็สเอ็สไว้
 
=== รัฐประหารล้มเหลว ===