ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชวังต้องห้าม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 162:
เมื่อเข้าจากประตูอู่เหมิน จะพบกับพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดใหญ่ มีแม่น้ำน้ำสีทองที่คดเคี้ยวไหลผ่าน ซึ่งมีสะพานข้ามทั้งหมดห้าสะพาน เมื่อข้ามสะพานไป เบื้องหน้าจะเป็นประตูไถ่เหอเหมิน (F) ตั้งอยู่ โดยด้านหลังถัดไปจากประตูคือพื้นที่จตุรัสของตำหนักไถ่เหอ<ref name="Yu 49"/> ซึ่งเป็นตำหนักที่ตั้งอยู่บนแท่นหินหยกขาวยกพื้นสูงจากจตุรัสนี้ โดยมีตำหนักทั้งหมดสามตำหนักตั้งอยู่บนแท่นหิน ซึ่งเป็นจุดสนใจของพระราชวังที่ซับซ้อนนี้ ประกอบด้วย (จากด้านทางใต้) [[ตำหนักไถ่เหอ]] ({{linktext|太|和|殿}}) [[ตำหนักจงเหอ]] ({{linktext|中|和|殿}}) และ[[ตำหนักเป่าเหอ]] ({{linktext|保|和|殿}})<ref name="Yu 48">p. 48, Yu (1984)</ref>
 
ตำหนักไถ่เหอ (ตำหนักบรรสารสูงสุด) (G) เป็นตำหนักที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่สูงกว่าปริมณฑลโดยรอบประมาณ 30 เมตรเศษ ตำหนักนี้เป็นศูนย์กลางพระราชอำนาจของฮ่องเต้ และเป็นโครงสร้างไม้ที่ใหญ่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ในประเทศจีน มีมุขกว้างเก้ามุขและมุขลึกห้ามุข <!--nine bays wide and five bays deep--> ซึ่งเลข 9 และ 5 เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงองค์ฮ่องเต้<ref name="DPM Elements">{{cite web|url=http://www.dpm.org.cn/ |title=Yin, Yang and the Five Elements in the Forbidden City |accessdate=2007-07-05 |author=The Palace Museum |language=Chinese |deadurl=yes |archiveurl=https://web.archive.org/web/20070701213540/http://www.dpm.org.cn/ |archivedate=1 July 2007 |df=dmy }}</ref> บนเพดานตรงกลางของตำหนักนั้นเป็นช่องทึบที่ถูกตกแต่งอย่างประณีตด้วยมังกรกำลังม้วนตัว ที่ปากของมังกรนั้นห้อยด้วยทรงกลมโลหะที่ถูกจัดไว้คล้ายกับโคมระย้า เรียกว่า "กระจก[[หวงตี้|ซวนหยวน]]"<ref name="Yu 253">p. 253, Yu (1984)</ref> ในสมัยราชวงศ์หมิง ฮ่องเต้ทรงโปรดให้สร้างตำหนักนี้ขึ้นเพื่อไว้ทรงบริหารกิจการรัฐ ต่อมาในราชวงศ์ชิง ฮ่องเต้เสด็จพระราชดำเนินมายังตำหนักนี้บ่อยครั้งขึ้น ทำให้ตำหนักนี้ถูกใช้งานบ่อยขึ้น และตำหนักไถ่เหอนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อการพระราชพิธีเท่านั้น เช่น พระราช[[พิธีราชาภิเษก]] พระราชพิธีสถาปนา และพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส<ref name="DPM Taihedian">{{cite web|url=http://www.dpm.org.cn/china/c/c2/c2a.htm |title=太和殿 (Hall of Supreme Harmony) |accessdate=2007-07-25 |author=The Palace Museum |language=Chinese |deadurl=yes |archiveurl=https://web.archive.org/web/20070617181501/http://www.dpm.org.cn/China/c/c2/c2a.htm |archivedate=17 June 2007 |df=dmy }}</ref>
 
ตำหนักจงเหอ (ตำหนักบรรสารกลาง) มีขนาดรองลงมา เป็นตำหนักทรงจตุรัส ถูกใช้สำหรับให้ฮ่องเต้ทรงเตรียมพระองค์เอง และเป็นที่สำหรับทรงพักผ่อนในช่วงก่อนและในระหว่างพระราชพิธี<ref name="DPM Zhonghedian">{{cite web|url=http://www.dpm.org.cn/China/phoweb/BuildingPage/1/B484.htm |title=中和殿 (Hall of Central Harmony) |accessdate=2007-07-25 |author=The Palace Museum |language=Chinese |deadurl=yes |archiveurl=https://web.archive.org/web/20070530064123/http://www.dpm.org.cn/China/phoweb/BuildingPage/1/B484.htm |archivedate=30 May 2007 |df=dmy }}</ref> ด้านหลังเป็นตำหนักเป่าเหอ (ตำหนักดำรงบรรสาร) ใช้สำหรับฝึกซ้อมการพระราชพิธี และยังถูกใช้เป็นสนามสอบขั้นสุดท้ายของ[[การสอบขุนนาง]]ด้วย<ref name="DPM Baohedian">{{cite web|url=http://www.dpm.org.cn/China/phoweb/BuildingPage/1/B396.htm |title=保和殿 (Hall of Preserving Harmony) |accessdate=2007-07-25 |author=The Palace Museum |language=Chinese |deadurl=yes |archiveurl=https://web.archive.org/web/20070930160611/http://www.dpm.org.cn/China/phoweb/BuildingPage/1/B396.htm |archivedate=30 September 2007 |df=dmy }}</ref> ทั้งสามตำหนักมีบัลลังก์หลวง ซึ่งบัลลังก์ที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนที่สุดประดิษฐานอยู่ภายในตำหนักไถ่เหอ<ref name="Yu 70">p. 70, Yu (1984)</ref>
 
บันไดตรงกลางที่ตรงขึ้นสู่แท่นจากด้านเหนือและด้านใต้เป็นบันไดพระราชพิธี เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินของฮ่องเต้ โดยมีรูปแกะสลักนูนต่ำประดับอยู่ บันไดด้านเหนืออยู่ด้านหลังตำหนักเป่าเหอ ตัวบันไดแกะสลักขึ้นจากหินชิ้นเดียวขนาดยาว 16.57 เมตร กว้าง 3.07 เมตร และหนา 1.7 เมตร มีน้ำหนัก 200 ตันเศษและเป็นวัตถุแกะสลักขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศจีน<ref name="Yang 15"/> บันไดด้านใต้อยู่ด้านหน้าของตำหนักไถ่เหอ มีความยาวกว่า แต่ประกอบจากหินสองชิ้นเชื่อมกันด้วยคอนกรีต รอยต่อถูกซ่อนไว้อย่างชาญฉลาดโดยใช้การแกะสลักนูนต่ำที่ทับซ้อนกัน ถูกค้นพบจากการผุพังที่ทำให้ช่องว่างนั้นขยายขึ้นในศตวรรษที่ 20<ref name="Yu 213">For an explanation and illustration of the joint, see p. 213, Yu (1984)</ref>
 
ด้านใต้ฝั่งตะวันตกและด้านใต้ฝั่งตะวันออกของเขตพระราชฐานชั้นนอกเป็นตำหนักอู่หยิง (H) และตำหนักเหวินฮวา (J) ซึ่งในอดีตเคยถูกใช้สำหรับฮ่องเต้ทรงเสด็จออกรับเหล่ารัฐมนตรีและการเปิดศาล ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นที่ตั้งของโรงพิมพ์ในพระราชวัง อีกตำหนักถูกใช้เป็นสถานที่บรรยายพิธีการทางศาสนาโดยนักพรตขงจื้อขั้นสูงที่ได้รับการยกย่อง และต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นสำนักงานราชเลขาธิการ สำเนาของหนังสือ''[[ซื่อคูเฉียนชู]]''ถูกเก็บรักษาไว้ที่นี่ ส่วนด้านเหนือฝั่งตะวันออกเป็นพระที่นั่งหน่านซัน (พระที่นั่งไตรทักษิณา) ({{linktext|南|三|所}}) (K) ซึ่งเป็นที่ประทับขององค์รัชทายาท<ref name="Yu 49">p. 49, Yu (1984)</ref>
 
<!--